เนื้อหาวันที่ : 2008-07-15 16:23:27 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2216 views

นายกฯ แถลงมาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติฯลดภาษีน้ำมัน-ค่าน้ำค่าไฟ-ค่าเดินทาง ช่วยเหลือประชาชน

"สมัคร" นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เปิดแถลงมาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.51 จนถึงวันที่ 31 ม.ค.52

.

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เปิดแถลงมาตรการ"6 เดือนฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน"เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นเนื่องจากปัญหาราคาน้ำมันแพง โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.51 จนถึงวันที่ 31 ม.ค.52

.

"เมื่อถึงเวลาที่เราเห็นว่าจะใกล้ 6 เดือนจึงได้กำหนดมาตรการ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจของบ้านเมือง ไม่ใช่ความโง่เง่าไม่เข้าท่าของรัฐบาลชุดนี้ มันไม่ใช่ความไม่รอบรู้ของรัฐบาลชุดนี้...น้ำมันเป็นตัวที่ก่อให้เกิดเหตุ ใครมาเป็นรัฐบาลก็ต้องเจอสภาพนี้" นายสมัคร กล่าว

.

"มาตรการดังกล่าวประกอบด้วย การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เพื่อช่วยให้ราคาน้ำมันถูกลง, ชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)ภาคครัวเรือน, ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปา โดยหากใช้ไม่เกินเดือนละ 50 ลูกบาศก์เมตรไม่ต้องจ่ายเงิน, ลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับไฟฟ้า หากใช้ไม่เกินเดือนละ 80 ยูนิตไม่ต้องจ่ายเงิน และรัฐจะจ่ายให้ครึ่งหนึ่งถ้าใช้เกินเดือนละ 80 ยูนิตแต่ไม่เกิน 150 ยูนิต, ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง โดยจัดรถเมล์ร้อนบริการฟรี 800 คันใน 73 เส้นทาง จากที่มีรถเมล์ร้อนทั้งหมด 1,600 คัน และ รถไฟชั้น 3 ให้บริการฟรีทั่วประเทศ รัฐบาลออกให้ หน่วยงานยังได้เงินอยู่ รัฐบาลจะมีเงินที่ไปออกให้ แต่เอาไปแจกไปจ่ายเป็นคูปองไม่ได้" นายสมัคร กล่าว

.

นายสมัคร กล่าวว่า ส่วนการนำเข้าน้ำมันดีเซลราคาถูกจากประเทศรัสเซียที่มีปริมาณกำมะถันสูงนั้น คณะรัฐมนตรีวันนี้มีมติรับหลักการไว้แล้ว จาดนี้ดวาจะใช้เวลา 60 วันเพื่อตรวจสอบคุณภาพและเตรียมการทุกอย่าง คาดว่าจะนำเข้ามาในปริมาณ 3 แสนลิตร/วัน เพื่อขายผ่านสหกรณ์ไปยังผู้ใช้ในต่างจังหวัดแทนน้ำมันเขียวและน้ำมันม่วง โดยจะมีราคาถูกกว่าดีเซลปกติ 8 บาท/ลิตร

.

ด้าน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวว่า การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันนั้น ในส่วนของแก๊สโซฮอล์หลังปรับลดภาษีแล้วจะทำให้ถูกลงอีกลิตรละ 3.88 บาท/ลิตร ทำให้แก๊สโซฮอล์ถูกกว่าน้ำมันเบนซิน 95 ถึงลิตรละประมาณ 8 บาท และยังช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ขณะที่น้ำมันดีเซลหลังปรับลดภาษีสรรพสามิตแล้วจะถูกลง 2.47/2.71 บาท/ลิตร โดยต้องรอการออกประกาศกระทรวงกระทรวงการคลัง ซึ่งคาดว่าจะมีผลในวันที่ 25 ก.ค.นี้

.
พ.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ รมว.พลังงาน กล่าวว่า ทาง บมจ.ปตท.(PTT) และ บมจ.บางจากปิโตรเลียม(BCP) จะสนับสนุนโครงการขึ้นรถเมล์และรถไฟฟรีด้วยการจำหน่ายน้ำมันดีเซลราคาต่ำกว่าท้องตลาด 3 บาท/ลิตรให้เป็นเวลา 6 เดือน
.

ส่วนการปรับลดภาษีนั้นต้องขอเวลาประมาณ 7-9 วัน เพื่อเช็คสต็อกน้ำมันที่เหลืออยู่ และเชื่อว่าหลังจากปรับลดภาษีสรรพสามิตแล้วจะมีประชาชนหันมาใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ซึ่งกระทรวงพลังงานรับรองว่าจะมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการใช้อย่างแน่นอน *รัฐเสียงบ 4.6 หมื่นลบ.หวังช่วยพยุงเงินเฟ้อปีนี้ไม่ให้เกิน 6-7% GDP ครึ่งปีหลังโตกว่าคาด

.

นายสมัคร กล่าวว่า มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤติฯ น่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท แต่จะช่วยบรรเทาค่าครองชีพให้ประชาชนตก 1 พันบาท/เดือน/ครัวเรือน แบ่งเป็นค่าน้ำค่าไฟ 300-400 บาท/เดือน/ครัวเรือน ขณะที่ค่าเดินทางลดลง 400-500 บาท/เดือน/ครัวเรือน

.

อย่างไรก็ตาม จากเอกสารของกระทรวงการคลังประเมินว่า รัฐบาลจะใช้งบประมาณในการดำเนินมาตรการดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 4.94 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 3.2 หมื่นล้านบาท ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับไฟฟ้า 1.2 หมื่นล้านบาท ค่าใช้จ่ายน้ำประปา 3.9 พันล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 1.47 พันล้านบาท

.

นพ.สุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ในช่วงครึ่งปีหลังหากรัฐบาลไม่ออกมาตรการเหล่านี้มาดูแลจะส่งผลเรื่องเงินเฟ้อ รายจ่ายค่าครองชีพ การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอาจไม่ได้ตามเป้า และอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก ซึ่งมาตรการล่าสุดจะช่วยฝห้อัตราเงินเฟ้อในปี 51 ปรับตัวสูงขึ้นไม่เกิน 6-7% จากที่มีผู้คาดการณ์ว่าอาจโตเกิน 2 digit จากผลกระทบราคาน้ำมัน โดยในครึ่งปีหลังน่าจะอยู่ในระดับไม่เกิน 9%

.

สำหรับในส่วนของการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน เพื่อช่วยให้ราคาน้ำมันถูกลงที่คาดว่ารัฐอาจเสียรายได้ประมาณ 3.2 หมื่นล้านบาทนั้น คาดว่า หลังจากมาตาการออกไปแล้วจะช่วยทำให้เศรษฐกิจกลับมาเดินหน้าได้ปกติ และเก็บภาษี VAT ได้ตามเป้า เพราะฉะนั้นอาจเสียแค่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น

.

"ขณะที่ 6 มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GPD) ในครึ่งปีหลังเพิ่มขึ้น 0.3-0.5% จากที่คาดการณ์ไว้ 5.5-6.0%      พร้อมยืนยันว่าช่วง 6 เดือนที่มีมีมาตรการ" 6 เดือนฝ่าวิกฤตเพื่อไทยทุกคน" รัฐบาลจะไม่ยุบสภาเพื่อใช้เป็ฯทางการออกทางการเมืองแน่นอนไม่มีการยุบสภา ไม่อยู่ในความคิดเรา หากยุบสภาจะมีสูญญากาศทางการเมืองและไม่เกิดประโยชน์ เราไม่ได้ทำมาตรการนี้เพื่อหวังผลจากการเลือกตั้ง"

.

"ส่วนกรณีมีการตั้งข้อสังเกตุว่า การให้รัฐวิสาหกิจให้มาอุดหนุนนโยบายของภาครัฐจะไม่กระทบต่อรายได้และโบนัสของรัฐวิสาหกิจ โดยจะนำผลประกอบการจากครั้งนี้ไปรวมในบัญชีพิเศษ PSO เพราะฉะนั้นพนักงานที่อยู่ในรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องไม่ต้องกังวลว่ารายได้จะลดลงหรือผลประกอบการรัฐวิสาหกิจจะแย่ลง สำหรับโครงการคูปองคนจน ได้ยกเลิกโครงการไปแล้วเนื่องจากติดขัดในเรื่องของคำนิยาม และเกรงจะเกิดปัญหาการรั่วไหลของการจัดสรรคูปอง" รองนายกฯและรมว.คลังกล่าว