เนื้อหาวันที่ : 2008-07-04 10:40:30 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1553 views

เอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น ใช้จ่ายด้านไอทีธุรกิจการผลิตพุ่งพรวด ในปี พ.ศ. 2555

IDC คาดว่าการใช้จ่ายด้านไอทีของธุรกิจการผลิต ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น จะมีมูลค่าสูงถึง 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้งานบริการด้านไอทีมากขึ้น หลังจากตลาด เริ่มอิ่มตัวด้านการซื้อผลิตภัณฑ์

 IDC คาดว่าการใช้จ่ายด้านไอทีของธุรกิจการผลิต ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น จะมีมูลค่าสูงถึง 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้งานบริการด้านไอทีมากขึ้น หลังจากตลาด เริ่มอิ่มตัวด้านการซื้อผลิตภัณฑ์

.

บริษัท Manufacturing Insight Asia/Pacific ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำ ด้านงานวิจัยและให้คำปรึกษาโดยอิสระ และเป็นบริษัทในเครือของ IDC ได้ระบุถึงผลการวิจัยว่า การใช้จ่ายในธุรกิจ การผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2555 และมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ร้อยละ 9.5 ในอีก 5 ปีข้างหน้า

.

ข้อมูลดังกล่าวจะปรากฎอยู่ในรายงาน ชื่อเรื่อง "Asia/Pacific (Excluding Japan) Manufacturing IT Spending 2008-2012 Forecast" (Doc #AP664104Q) ซึ่งรายงานดังกล่าวจะบ่งบอกถึงข้อมูลการใช้จ่ายด้านไอทีของธุรกิจการผลิตในกลุ่มต่างๆ และ ยัง ครอบคลุมถึงปัจจัยเร่งและแนวโน้มที่สำคัญที่กระตุ้นตลาดให้เติบโตในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ยังได้แสดงการคาดการณ์ การใช้จ่ายในอนาคตระหว่างปี พ.ศ. 2551-2555 และยังบ่งชี้ถึงกลุ่มธุรกิจการผลิตที่มีกำลังซื้อมาก และ กลุ่มธุรกิจ ที่กำลังจะเติบโตในอนาคต

.

นายเดบาชิ ทาราฟด้าร์ ผู้จัดการอาวุโสของ Manufacturing Insights ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2550 จากภาวะที่ไม่แน่นอนจากปัจจัยต่างๆ หลายปัจจัยยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั่วโลก รวมถึง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้วย ไม่ว่าจะเป็น วิกฤตการณ์ตลาดการเงิน การอ่อนค่าลงของเงินสกุลดอลล่าสหรัฐฯ ราคา น้ำมันที่พุ่งทะยาน ความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจกำลังจะชะลอตัว ภาวะเงินเฟ้อที่กดดันให้ราคาอาหารและสินค้า อุปโภคต่าง ๆ มีราคาสูงขึ้น รวมถึงอัตราค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคนี้อีกด้วย

.

อย่างไรก็ตามภาวะการแข่งขัน ที่รุนแรงมากขึ้นของตลาด รวมทั้งตลาดยังเป็นโลกาภิวัฒน์มากยิ่งขึ้นมีส่วนผลักดันให้ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม การผลิตปรับตัวอย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่นของธุรกิจมากขึ้นเพื่อตอบรับกับตลาดที่เปลี่ยนไป มีการลงทุนด้านไอที เพื่อสนับสนุนการมีนวัตกรรมใหม่ๆ หรือการสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในองค์กร และ ความยั่งยืนของธุรกิจ

.

นอกจากนี้ในรายงานจะได้สรุปผลการวิจัยที่สำคัญอาทิ การใช้จ่ายด้านไอทีของธุรกิจการลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะยังคงมีอัตราการเติบโตในระดับที่น่าพอใจใน อีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต อย่างอุตสาหกรรมการประกอบรถยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่บรรจุเสร็จ จะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำที่มีสัดส่วนการใช้ จ่ายสูงที่สุด

.

นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายด้านไอทีของภาคธุรกิจการผลิตสูงที่สุดในภูมิภาณ ปี พ.ศ. 2551 ประเทศอินเดียจะเริ่มแซงหน้าประเทศเกาหลี และ เป็นประเทศที่มีสัดส่วนของการใช้จ่าย ด้านไอทีของภาคธุรกิจการผลิตสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

.

คล้ายกันกับปี พ.ศ. 2550 การใช้จ่ายด้านฮาร์ดแวร์ยังคงมีสัดส่วนสูงที่สุดสำหรับงบประมาณการใช้จ่ายด้าน ไอทีของภาคธุรกิจการผลิตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้ ในขณะที่ การใช้จ่ายด้านการบริการไอทีกำลังมีอัตรา การเติบโตในระดับสูงในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการใช้จ่ายด้านไอทีของภาคการผลิตที่กำลัง เข้าสู่ภาวะอิ่มตัว การวิเคราะห์ และ การคาดการณ์แนวโน้มตลาดนี้ที่ระบุในรายงานดัวกล่าวได้สะท้อนถึงภาวะที่เริ่มอิ่มตัวของภาคธุรกิจ การผลิตสำหรับตลาดไอที

.

จากการที่ภาคธุรกิจการผลิตต้องประสบปัญหาภาวะการแข่งขัน ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ความไม่แน่นอนของสภาพธุรกิจ และ ความกดดันของภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น เป้าหมายการดำเนินธุรกิจจึงเริ่มที่จะ เปลี่ยนไป จากเดิมที่ให้สายการผลิตดำเนินงานอัตโนมัติ แต่จะเป็นการผลิตตอบสนองความต้องการลูกค้า หรือการผลิต จากนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น การลงทุนด้านไอทีเริ่มที่จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจมากขึ้นเพื่อสนับสนุนการ เติบโตของธุรกิจให้ยั่งยืนมากกว่าที่จะแค่เพียงจัดซื้อและถูกมองว่าเป็นสิ่งสร้างค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจ กล่าวสรุปโดย นายเดบาชิ ทาราฟด้าร์

.

หากมองดูตลาดบริการด้านไอทีในประเทศไทยแล้ว ผู้ประกอบการธุรกิจการผลิตขนาดกลางและขนาดย่อมกำลังเริ่ม ที่จะให้ความสนใจและมองหาแอพพลิชั่นขนาดย่อมเข้ามาใช้งานในธุรกิจมากขึ้น ซึ่งการลดขนาดของแอพพลิเคชั่นให้ เล็กลงนั้นจะช่วยเปิดโอกาสในการดำเนินธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ผลิตซอฟท์แวร์ ผู้วางระบบ และ ผู้จัดหาโซลูชั่นด้านไอที ซึ่งมีความรู้และมีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดนี้ กล่าวโดย นายอรรถพล สาธิตคณิตกุล นักวิเคราะห์อาวุโสของ IDC ประเทศไทย