เนื้อหาวันที่ : 2008-06-03 12:45:05 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2299 views

วิกฤติโลกร้อน

ปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาการเมืองคอร์รับชั่น ปัญหาการละเมิดสิทธิมานุษยชน เร็วๆ นี้คงไม่ใช่แค่ปัญหามลภาวะหรือ โลกร้อน แต่สังคมมนุษย์เองก็น่าจะร้อน เพราะสงคราม การแย่งชิง การต่อสู้ เพื่อสิทธิและประทังชีวิต ให้รอดบนโลกนี้

 

โดย : อัฎธิชัย ศิริเทศ

.

อาทิตย์ที่ผ่านๆ มา คนเกือบทั่วโลกต่างก็คงได้ยิน หรือได้ดูอภิมหามหกรรมคอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ซึ่งจัดเป็นครั้งแรก คือ คอนเสิร์ต ไลฟ์เอิร์ท (Live Earth : http://www.liveearth.org) ซึ่งมีคนเข้าร่วม มีศิลปินเข้าร่วมมากมายเป็นประวัติศาสตร์ เพราะถ่ายทอดสดไปทั่วโลก มีเวทีที่จัดมากถึง 8 ประเทศ จาก 7 ทวีป รวม 9 เวที และถูกถ่ายทอดไปทั่วโลก ซึ่งทำให้มีผู้ชมมากถึง 2000 ล้านคน

.

วาระสำคัญของการจัดการคอนเสิร์ตนี้คือ รณรงค์ให้ร่วมมือกันกอบกู้สภาวะแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องภาวะโลกร้อน โดยแกนนำในการจัด ก็มาจากประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม อย่าง ยุโรป จีน อเมริกา ญี่ปุ่น บราซิล เป็นต้น ซึ่งโตโผใหญ่ อาทิ นาย อัลกอร์ และอดีตนายกฯ โทนี่ แบล ประมาณว่าเพื่อเป็นการปลุกกระแสสำนึกชุดใหญ่ ให้แก่ชาวโลก

.

ปัญหาสิ่งแวดล้อมและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาตินั้น ผลพวงเกิดขึ้นตั้งแต่ ยุคล่าอาณานิคม ที่ประเทศทางยุโรปกระทำต่อชาวโลก เป็นต้นมา จนถึงยุคการก่อตั้งรัฐชาติเมื่อ 100 กว่าปีก่อน ที่รัฐยึดเอาทรัพยากร แล้วเปิดให้นายทุนสัมปทาน มาสู่การพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีผล อย่างสูงในการขยายตัวต่อความต้องการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ออกไปในระดับปัจเจกและครัวเรือน ทุกๆ ภาคการผลิต

.

รวมกับผลพวงจากการหันมา แข่งขันทางการค้า การเปิดตลาดเสรี การสร้างระบบการเมืองระบอบประชาธิปไตยแบบเอื้ออำนวยหมาป่า และการกระตุ้นสังคมให้ขยายความต้องการบริโภคแบบไล่ตามติดกระแสและนวัตกรรมอย่างบ้าคลั่ง รวมไปถึงการแปลงทรัพยากรธรรมชาติ ที่บริสุทธิ์งดงาม และวัฒนธรรมดั้งเดิม ให้เป็นสินค้า เพื่อการท่องเที่ยวทั้งหมด คือ ที่มาของปัญหา ทั้งหมด ไม่นับรวมความล่มสลายรากฐานทางสังคมแบบดั้งเดิมในเกือบทุกๆ สังคม ที่ด้านหนึ่งนั้น ค้ำจุนโลกมากกว่า ปัจจุบัน

.

พูดง่ายๆ การรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อนนั้น รากฐานปัญหากลับมีที่มามีสาเหตุซับซ้อนมากกว่าที่เราชาวโลกเข้าใจ เอาแค่ผิวเผิน ก็อาทิ ระบบชีวิตปัจเจกเองในปัจจุบัน เป็นระบบชีวิตที่ล้วนแต่ถลุงทำลายโลก และมันฝังอยู่ในสำนึกตัวคน ทุกๆ คน ฝังมานานแล้ว ดังนั้นก้าวแรก คือการพุ่งเป้าไปที่ประเทศผู้นำด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ก็นับว่าดีแต่ก็ยังพาโลกใบนี้พ้นไปจากวิกฤติได้ เพราะต้นตอปัญหาอาทิ ปัญหาการครอบงำ ชี้นำทางวัฒนธรรม ระหว่างประเทศอุตสาหกรรมกับประเทศกสิกรรม ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ปัญหาการค้าการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาการมีส่วนร่วม ปัญหาการละเมิดสิทธิ เป็นต้น ยกตัวอย่าง เช่น สินค้าฟุ่มเฟือยบางชนิด เดินทางข้ามถิ่น ข้ามทวีป ซึ่งหมายถึง การเดินทางของสินค้าก็ล้วนแต่มีส่วนทั้งสิ้น

.

แน่นอนว่าในระดับโลกต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง และต้องไม่ใช่ภาพก้ำกึ่งระหว่างงานโชว์ศักยภาพผู้นำและชนชั้นนำระดับโลก ในระดับนโยบายรัฐ ก็จำต้องออกมาตรการไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกัน ทั้งบังคับและส่งเสริมสนับสนุนไปสู่ทิศทางลดการมลภาวะในอนาคต ที่สำคัญในระดับสังคม ก็สำคัญไม่น้อย ที่ต้องรื้อพลิกเปลี่ยนแปลง รูปแบบวิถีชีวิตกันใหม่ทั้งหมด รื้อสร้างวัฒนธรรมกันใหม่ อาทิ เกี่ยวพลังงานน้ำมัน การรณรงค์ให้ผู้ใช้รถส่วนบุคคล เผื่อแผ่ให้ผู้อื่นอาศัย ซึ่งผู้อาศัยก็ช่วยแบ่งปันค่าน้ำมัน

.

โดยสนับสนุนมาตรการความปลอดภัย เช่น ติดตั้งเครื่องแสกนนิ้วมือ หรือ งดใช้รถยนต์ส่วนบุคคล หันมาใช้รถขนส่งมวลชน สำหรับในช่วงวันหยุดก็งดออกนอกบ้าน หรือนอกชุมชน แล้วหันมาทำกิจกรรมกับครอบครัวกับชุมชน ลดการใช้ไฟฟ้า การดูทีวี เปิดแอร์เปิดพัดลม อีกทั้งการให้เวลากับชุมชนนั้น สามารถสร้างการเรียนรู้ และยังนำไปสร้างใหม่เกี่ยวกับวัฒนธรรมแรงงานได้อีกด้วย เช่น การออกปากขอแรงลงไร่ ซึ่งสามารถลดการเผา การใช้เครื่องจักได้ด้วย เป็นต้น ทั้งหมดนี้มีรัฐสนับสนุนส่งเสริม และมีพลังทางสังคม ขับเคลื่อนเอาจริงเอาจัง

.

โครงการดีๆ อย่าง โครงการลดขยะ โครงการเอาขยะแลกกล้าไม้ ไปจนถึงนโยบายจัดเทศกาลปลูกต้นไม้เพื่อรักษาโลกประจำปี เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นโครงการดีๆ ที่กระตุ้นให้ประชาชน รักการปลูกต้นไม้ รักสิ่งแวดล้อม มากขึ้น และยังได้ปลูกฝังสำนึกที่ตระหนักถึงผลกระทบ ที่ตนเองกระทำต่อโลกอีกด้วย

.

ดังนั้นหลังเทศกาล อภิมหามหกรรมคอนเสิร์ตไลฟ์เอิร์ทนี้สิ้นสุดลง การกล่าวถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาภาวะโลกร้อน แบบเหมารวมไม่จำแนก ระดับและความเหลื่อมล้ำ จากการพัฒนาที่เกิดขึ้นก็คงไม่ยุติธรรมนัก ประเทศที่รวย สังคมที่มั่งคั่งก็ยังกระทำต่อโลก ขณะที่ประเทศยากจนก็ถูกกดดันมากขึ้น ให้ร่วมมือลดมลภาวะ ส่วนประเทศรวยๆ ก็เพียงแค่หันมาลงทุนรณรงค์ แต่ไม่ลงมือปฏิบัติการจริงจัง และไม่แบ่งปัน ไกล่เกลี่ยทรัพยากร เพื่อเพิ่มความสุขสมบูรณ์ให้ถ้วนหน้ากัน ก็คงไม่ยุติธรรม และยังเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกร้อนเมื่อเทียบกับท้องหิว และสิทธิเสรีภาพยังถูกละเมิด ก็ยังจะเลือกแก้ไขก่อน อยู่ดี

.

เมื่อประเทศที่รวยและชนชั้นนำเริ่มเปิดประเด็นก่อน ก็ว่ามาก่อนเลยว่าออกมาตรการ และจะปรับมาตรฐานของรูปแบบชีวิตอย่างไร จะแบ่งปันเจือจานกันอิ่มเพื่อถนอมและรักษาโลก อย่างไร การพูดถึงภาวะสิ่งแวดล้อม หรือ โลกร้อน แล้วขับรถกลับบ้าน เปิดแอร์ เปิดพัดลมนอน

.

แล้วลืมพูดถึงปัญหาความยากจน ปัญหาหนี้สิน ปัญหาการเมืองคอร์รับชั่น ปัญหาการละเมิดสิทธิมานุษยชน เร็วๆ นี้คงไม่ใช่แค่ปัญหามลภาวะหรือ โลกร้อน แต่สังคมมนุษย์เองก็น่าจะร้อน เพราะสงคราม การแย่งชิง การต่อสู้ เพื่อสิทธิและประทังชีวิต ให้รอดบนโลกนี้

.

น่าจะเป็นปัญหาเดียวกันกับ ดาราลูกไฮโซ ควบรถเบนซ์ไล่ชนผู้โดยสารรถเมล์จนบาดและล้มตาย ซึ่งใครหล่ะ จะอยากจน อยากโหนรถเมล์ จริงไหม๊ครับ 

.
ที่มา : http://www.thaingo.org