เนื้อหาวันที่ : 2008-06-03 10:00:32 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4232 views

ความสำเร็จของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีน (ตอนที่ 2)

บทบาทที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองในขณะที่ทฤษฎีของภาครัฐเชิงพัฒนาเห็นว่าบทบาทของภาครัฐในการสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของตนเองมีความ สำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมนี้ โดยประเทศในเอเชียใต้ไม่เพียงแต่ยืมเทคโนโลยีหรือเอาเทคโนโลยีใหม่กว่าจากตะวันตกมาใช้เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเท่านั้น ภาครัฐยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของตนเองอีกด้วย

บทบาทที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองในขณะที่ทฤษฎีของภาครัฐเชิงพัฒนาเห็นว่าบทบาทของภาครัฐในการสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของตนเองมีความ สำคัญยิ่งต่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมนี้ โดยประเทศในเอเชียใต้ไม่เพียงแต่ยืมเทคโนโลยีหรือเอาเทคโนโลยีใหม่กว่าจากตะวันตกมาใช้เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเท่านั้น ภาครัฐยังมีบทบาทสำคัญในการสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของตนเองอีกด้วย

.

เนื่องจากนักวางแผนการพัฒนาพบว่าวิธีการที่จะยกระดับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมคือการปรับปรุงขีดความ สามารถทางเทคโนโลยีของประชากรภายในประเทศ ซึ่งประเทศเหล่านี้ได้พัฒนากลไกควบคุม (Control Mechanism) เชิงสถาบัน เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว โดยกลไกควบคุมนี้ให้เงินอุดหนุนและสิ่งจูงใจทางภาษีจำนวนมากต่อ

.

โครงการวิจัยและกิจกรรมทางการผลิตที่ได้รับการคัดเลือกและปกป้องตลาดภายในประเทศเพื่อธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ และลงทุนมหาศาลในสถาบันการวิจัยของ รัฐ การศึกษาและการฝึกอบรมด้านอุตสาหกรรมความสำเร็จของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีน ก็ใช้วิธีการแบบเดียวกันนี้ นอกจากต้นทุนแรงงานในจีนต่ำกว่าในยุโรปและอเมริกาเหนือมาก และต่ำกว่าในกลุ่มประเทศในเอเชียไม่มากนักที่สำคัญคือสิ่งจูงใจพิเศษจากภาครัฐเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ เช่น การอุดหนุนที่ดิน การอุดหนุนเงินกู้ ส่วนลดสำหรับด้านสาธารณูปโภคและโลจิสติกส์ เป็นต้น

.

นอกจากผลประโยชน์ด้านการแข่งขันแล้วการมีฐานการผลิตในจีนยังได้ประโยชน์ทางโลจิสติกส์อย่างเห็นได้ชัดในด้านการให้บริการแก่ลูกค้า นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากกฎระเบียบของจีน เช่น กฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐฉบับใหม่ (Government Procurement Law: GPL) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อมกราคม 2003 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้ออกแบบเพื่อให้เกิดความโปร่งใสมากยิ่งขึ้นต่อการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล โดยบริษัทต่างชาติที่มีสาขาเป็นเจ้าของเองทั้งหมดในจีนจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่ากับบริษัทท้องถิ่น นอกจากนี้เพื่อเป็นการ

.

เรียนรู้จากแหล่งความรู้จากต่างชาติ กลไกนี้ใช้การร่วมทุน (Joint Venture) ระหว่างธุรกิจต่างชาติและธุรกิจท้องถิ่นเพื่อกำหนดความต้องการสัดส่วนวัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) ในการผลิตและใช้การเข้าถึงตลาดภายในประเทศเพื่อค้าขายกับธุรกิจต่างชาติในเทคโนโลยีที่เข้าใหม่

.
3. บทเรียนและข้อสังเกตของผู้สรุป

เซมิคอนดักเตอร์ได้กลายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ ตั้งแต่อิเล็กทรอนิกส์ผู้บริโภค สื่อสารคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงเครื่องมืออุตสาหกรรมและระบบทางทหารที่ทันสมัย ดังนั้นอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จึงเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สามารถสร้างผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ และต่อความมั่นคงของชาติได้อีกด้วย

.
3.1 บทเรียนที่ประเทศไทยได้รับ

 

ผลความสำเร็จของจีนชี้ให้เห็นว่าการขยายตัวอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์/เซมิคอนดักเตอร์ของจีนขึ้นอยู่กับอุปทานตามปกติของวงจรรวม (ไอซี) เพื่อตลาดส่งออก ในขณะเดียวกัน อุปสงค์ภายในประเทศกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้สร้างความต้องการในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ และอื่นๆ ที่ขับเคลื่อนด้วยเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้ยอดขาย chips ในจีนสูงขึ้นมากคิดเป็นร้อยละ 40 ของยอดขายในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ถ้าไม่มีความต้องการนี้

.

อุตสาหกรรมไอซีของจีนก็ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นและยังอยู่ห่างไกลจากการเป็นผู้สร้างนวัตกรรมในด้านการออกแบบ chip เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทำให้คาดว่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีนกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดรองจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นสาเหตุสำคัญมาจากจีนใช้นโยบายอุปสงค์เพิ่มอุปทานภายในประเทศ

.

โดยเฉพาะสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology:ICT)จนกลายเป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดในโลกและได้สร้างอุปสงค์ปลายทาง (End Use Demand)จำนวนมหาศาลแก่เซมิคอนดักเตอร์ (ไอซี) แต่ความสามารถของจีนตามลำพังสามารถบรรลุได้เพียงประมาณร้อยละ 30 ของอุปสงค์ภายในประเทศ รัฐบาลจีนจึงได้พัฒนากลไกควบคุม(Control Mechanism) เชิงสถาบัน เพื่อบรรลุความสามารถในการผลิต

.

โดยกลไกบังคับนี้ให้เงินอุดหนุนและสิ่งจูงใจทางภาษีจำนวนมากต่อโครงการวิจัยและกิจกรรมทางการผลิตที่ได้รับการคัดเลือกและปกป้องตลาดภายในประเทศเพื่อธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ ลงทุนมหาศาลในสถาบันการวิจัยของ รัฐ การศึกษาและการฝึกอบรมด้านอุตสาหกรรม ตลอดจนมีนโยบายในการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ทั้งที่เป็นภาษีและมิใช่ภาษี เพื่อให้การลงทุนจากต่างชาติ (บริษัทข้ามชาติ) มาตั้งโรงงานผลิตไอซีในจีน

.

นโยบายดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยในด้านการสูญเสียโอกาสในการผลิต การตลาด การลงทุน และเทคโนโลยี ซึ่งมีมูลค่าสูงมาก โดยอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทยที่มีแค่การประกอบและทดสอบ(เป็นขั้นตอนที่มีมูลค่าเพิ่มน้อย) มีแนวโน้มจะย้ายฐานการผลิตไปที่ประเทศจีนสูง หากรัฐบาลไม่ดำเนินการอะไรต่อไป อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยก็ได้รับบทเรียนจากจีนที่ควรนำมาพิจารณาต่อไปดังนี้

.

1) บทเรียนบทแรกคือไทยควรใช้นโยบายที่นำด้วยอุปสงค์ (Demandled Policy) เพื่อสร้างอุปทานภายในประเทศ แทนนโยบายแบบเดิมที่นำด้วยอุปทาน (Supplyled Policy) โดยการเพิ่มความต้องการภายในประเทศ และสร้างความเป็นมืออาชีพทางวิศวกรรม(Engineering Talent) เพื่อสร้างบรรยากาศให้พร้อมสำหรับการผลิตเพื่อดึงนักลงทุนทั้งจากต่างประเทศให้มาตั้งโรงงาน เนื่องจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีการแข่งขันสูง มีประเภทและขนาดของผลิตภัณฑ์ต่างกันจำนวนหลากหลาย ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง จึงมีน้อยรัฐบาลที่จะมีทรัพยากรด้านการเงิน ทุนมนุษย์ หรือองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีที่จะตามทันการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงดังกล่าว

.

ดังนั้นรัฐบาลจะไม่ลงทุนเอง แต่อาจลงทุนร่วมกับบริษัทข้ามชาติเพื่อวัตถุประสงค์การยืมใช้เทคโนโลยีและการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างไรก็ตาม ความสำคัญของการผลิตแผ่นวงจรรวม ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream industry) ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้สูง ที่ขณะนี้ยังไม่มีการผลิตในประเทศไทย หากพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ แล้วมีความสำคัญมาก

.

(1) ปัจจัยด้านอุปสงค์ที่มาจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยคิดเป็นสัดส่วนการผลิตเพียงร้อยละ 1.5 ของมูลค่าการผลิตทั่วโลก (สหรัฐฯ และญี่ปุ่นมีการผลิตมากที่สุดรวมกันคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 50 ในภูมิภาคอาเซียนมีสิงคโปร์ผลิตได้ร้อยละ 4 และมาเลเซียร้อยละ 3.1) การผลิตแผ่นวงจรรวมขึ้นอยู่กับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ดังนั้นการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั้งนี้เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมีความสำคัญในด้าน

(1.1) การเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้เกิดในประเทศมากขึ้น โดยสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ร้อยละ 50 เปรียบเทียบกับการประกอบชิ้นส่วนซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มได้เพียงร้อยละ 10 ถ้าประเทศไทยสามารถผลิตแผ่นวงจรรวมได้เองจะสามารถเพิ่มมูลค่าเพิ่มได้ร้อยละ 40

(1.2) เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพการส่งออกสูง ดังจะเห็นได้จากในปี 2548 ประเทศไทยสามารถส่งออกแผ่นวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี (ไอซี) ได้ถึง221,450 ล้านบาท เป็นอันดับสองรองจากส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งส่งออกได้ 461,901 ล้านบาท

(1.3) เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีการประยุกต์ใช้ในงานอย่างกว้างขวาง จึงทำให้มีตลาดขนาดใหญ่และมีการขยายตัวสูง

(1.4) ทำให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมภายในประเทศ เนื่องจากวงจรรวมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด หากประเทศไทยยังไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมต้นน้ำดังกล่าว ประเทศไทยจะสูญเสียโอกาสในการสร้างรายได้แก่ประเทศ และการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และที่เกี่ยวข้อง จำนวนมาก

.

(2) ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในแถบเอเชียได้ให้ความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวม และรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอย่างจริงจังทั้งในด้านเงินทุน เทคโนโลยีบุคลากร และสาธารณูปโภค เช่น จีน โดยรัฐได้ให้สิ่งจูงใจพิเศษเพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ เช่น การอุดหนุนที่ดิน การอุดหนุนเงินกู้ ส่วนลดสำหรับด้านสาธารณูปโภคและโลจิสติกส์ เป็นต้นเกาหลีใต้เริ่มในปี ค.ศ. 1970 โดยรัฐจัดหาสินเชื่อ เงินให้เปล่า และทุนวิจัยแก่เอกชน ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตสารกึ่งตัวนำรายใหญ่ของโลก ไต้หวัน เริ่มในปี ค.ศ. 1976 โดยรัฐร่วมทุนกว่าร้อยละ 40 ในการก่อตั้งโรงงานผลิตแผ่นวงจรรวม ปัจจุบันมีโรงงานอยู่รวม 20 แห่งสิงคโปร์ เริ่มในปี ค.ศ. 1985 รัฐบาลร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติเพื่อลงทุนในโรงงานผลิตแผ่นวงจรรวมหลายแห่ง

.

ในปัจจุบันมีโรงงานผลิตแผ่นวงจรรวม 5 แห่ง และกำลังก่อสร้างอีก 7 แห่งรัฐบาลได้ตั้งกองทุน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อส่งเสริมสิงคโปร์ให้เป็น Wafer Fabrication Hub ของเอเชียในปี ค.ศ. 2005 และมาเลเซีย รัฐบาลได้ลงทุนก่อตั้งโรงงานผลิตแผ่นวงจรรวมสองแห่ง คือ โรงงาน First Silicon ลงทุน 1,000-1,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมี Sharp จาก ญี่ปุ่นร่วมเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยีและการตลาด ส่วนอีกโครงการคือ Silterra ลงทุน 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มี LSI Logic จากสหรัฐอเมริการ่วมเป็นพันธมิตรทางเทคโนโลยี ในขณะที่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และสหรัฐฯ ต่างได้พัฒนาโครงการสิ่งจูงใจพิเศษเพื่อดึงดูดและรักษาเงินลงทุนของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของต่างชาติ ประเทศไทยขาดแรงจูงใจดังกล่าวที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมสำคัญนี้

.

(3) ภาวะตลาดของแผ่นวงจรรวม โดยตลาดโลกที่นับวันจะมีการขยายตัวสูงขึ้น เนื่องจากแผ่นวงจรรวมเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิด เช่น อุปกรณ์โทรคมนาคม และคอมพิวเตอร์ ซึ่งแนวโน้มของธุรกิจในระยะที่ผ่านมาโรงงานผู้ผลิตไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับความต้องการของตลาด ปัจจุบันอุปสงค์ประมาณร้อยละ 15 ของแผ่นวงจรรวม ต้องการเทคโนโลยีการผลิตที่ระดับ 0.5 ไมครอน ซึ่งในกลุ่มนี้มีประเทศจีนครองตลาดกว่าร้อยละ 50 แต่จีนมีจุดอ่อนอยู่ที่การใช้เครื่องจักรเก่า ในขณะที่ตลาดภายในของไทยมีความต้องการมาก แต่เนื่องจากยังไม่มีการผลิตแผ่นวงจรรวมได้เองในประเทศจึงต้องนำเข้าทั้งหมด มูลค่าการนำเข้าในปี 2005 เท่ากับ 321,254 ล้านบาท (มากกว่ามูลค่าการส่งออกอยู่ 99,804 ล้านบาท) ซึ่งสูงกว่าการนำเข้าส่วนประกอบของอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ถึง 116,540 ล้านบาท การนำเข้าส่วนนี้จะลดลงถ้ามีโรงงานผลิตแผ่นวงจรรวมภายในประเทศ

.

(4) การลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตแผ่นวงจรรวม จากที่เคยมีผู้ศึกษาไว้ทราบว่าแนวทางการลงทุนที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน ให้ผลตอบแทนการลงทุนในระดับที่น่าสนใจ คือ การลงทุนตั้งโรงงานผลิตแผ่นวงจรรวมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว ขนาดลายวงจร 0.18-0.25 ไมครอน โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 25,00030,000 แผ่นต่อเดือน ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 1-1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะมีกำไรอยู่ระหว่าง 193-280 ล้านเหรียญสหรัฐฯ IRR ร้อยละ 16-24 และระยะเวลาคืนทุนอยู่ระหว่าง 4-5 ปี

.

 (5) ห่วงโซ่มูลค่า และห่วงโซ่อุปทาน ของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย ห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จะเหมือนกันหมด ตัวอย่างเช่นอุตสาหกรรมผลิตไอซี (ดังแสดงไว้ในแผนภาพที่ 1) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่

(5.1) การออกแบบ มูลค่าส่วนใหญ่จะอยู่ที่ขั้นตอนนี้ เพราะเป็นขั้นตอนที่ต้องใส่จินตนาการสูง และต้องทดลองผลิตต้นแบบเครื่องมือที่ใช้ ซึ่งจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ มันสมอง และซอฟต์แวร์ ซึ่งซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่จะมีราคาสูง เพราะมีทั้ง Computer Aided Design (CAD) และ Computer Aided Engineering (CAE) เมื่อได้แบบที่ต้องการแล้วต้องนำไปสร้างต้นแบบ โดยผ่านการสร้างมาส์ก ประเทศไทยจะมีโรงงานอยู่ 4 แห่ง

(5.2) การสร้างมาส์ก เป็นการสร้างลวดลายบนกระจกควอทซ์ ซึ่งเป็นการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีแสง ที่ยังไม่มีในประเทศไทย

(5.3) กระบวนการผลิต ในขณะนี้ยังไม่มีโรงงาน แต่มีที่ ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) แห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2538 เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีซีมอส (Complementary metal-oxide semiconductor: CMOS)ขนาด 0.5 ไมครอน

(5.4) การประกอบ จะทำการประกอบไอซีที่ผลิตขึ้นมาได้เพื่อนำไปใช้งาน ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศไทยจะอยู่ที่ขั้นตอนการประกอบ (มีทั้งหมด 17 โรงงาน) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำที่มีมูลค่าเพิ่มน้อยที่สุด (เน้นแรงงานที่ไม่เน้นความรู้) เป็นการเชื่อมต่อลวดนำไฟฟ้าระหว่างตัวไอซีกับขาโลหะ และทำการปิดด้วยอีพอกซิ หรือเซรามิก

(5.5) การทดสอบ เป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อทดสอบก่อนสง่ ไปใช้ในงานวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งมี 3 โรงงานในประเทศไทยจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมไอซีหรือเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทยนั้นมีแค่ส่วนของการประกอบและทดสอบ ในส่วนของการออกแบบนั้นเพิ่งเริ่มต้น  จึงทำให้มีการพัฒนาไม่ครบขั้นตอน ซึ่งขั้นตอนที่สำคัญที่จะทำให้เกิดอุตสาหกรรมอื่นๆ ตามมา แต่ใช้เงินลงทุนมาก คือ ขั้นตอนการผลิต เช่นอุตสาหกรรมการทำมาส์ก สารเคมี เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไต้หวันจะเห็นว่ามีความสมบูรณ์ในตัวเอง เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้เจริญก้าวหน้าและทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล

ในส่วนของห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จะประกอบด้วยวัตถุดิบ ซึ่งเป็นแผ่นซิลิกอน และสารเคมีชนิดต่างๆ นั้นส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า  จากการประเมินศักยภาพของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย และสิ่งท้าทายจากประเทศจีนในขณะนี้ เห็นว่า ผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับคือ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่มีแค่การประกอบและทดสอบมีแนวโน้มจะย้ายฐานการผลิตไปประเทศจีน ทั้งๆ ที่ในตลาดโลกถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงมาก และยังเติบโตไปได้เรื่อยๆ หากประเทศไทยมีนโยบายที่จะแข่งขัน ก็ต้องกระทำทันที (Take action)

2) ประการที่สอง ไทยยังมีความจำเป็นต้องรักษาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ส่วนที่เป็นการประกอบชิ้นส่วนและการทดสอบในประเทศไว้ต่อไป ไม่ควรให้ย้ายฐานการผลิตไปจีน เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมภายในประเทศและการจ้างงานจำนวนมาก ถึงแม้จะมีมูลค่าเพิ่มต่ำก็ตาม

3) ประการสุดท้าย เนื่องจากประเทศไทยได้ลงทุนจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) จึงควรใช้ศูนย์ฯ เป็นกลไกควบคุมอย่างจีนได้ โดยกลไกควบคุมนี้ให้เงินอุดหนุนและสิ่งจูงใจทางภาษีจำนวนมากต่อโครงการวิจัยและกิจกรรมทางการผลิตที่ได้รับการคัดเลือกและปกป้องตลาดภายในประเทศเพื่อธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ และลงทุนมหาศาลในสถาบันการวิจัยของ รัฐ การศึกษาและการฝึกอบรมด้านอุตสาหกรรม และเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) ให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนหรือร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์อย่างครบวงจร

.
3.2 ข้อสังเกตของผู้สรุปและวิเคราะห์
จากการศึกษาความสำเร็จของจีนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ผู้สรุปและวิเคราะห์มีข้อสังเกตบางประการ ดังนี้

1)ความสำเร็จของจีนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ยังคงเป็นเพียงความสำเร็จในการรับจ้างผลิตเท่านั้น ไม่ใช่ความสำเร็จในการออกแบบอย่างเช่นของไต้หวันและเกาหลีใต้

2) ในภาพรวม บริษัทในจีน โดยเฉพาะบริษัทใหญ่ กำลังมองการส่งออกเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การเจริญเติบโตมากกว่าการอาศัยการบริโภคภายในประเทศ

3) รัฐบาลจีนค่อนข้างให้ประโยชน์แก่ต่างชาติที่ไปลงทุนในจีนมากกว่าผู้ลงทุนที่เป็นคนจีนเอง จนนักลงทุนคนจีนต้องไปจดทะเบียนในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง และเข้าไปลงทุนในนามของบริษัทต่างชาติ เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เนื่องจากจีนต้องการสร้างเครือข่ายพันธมิตร ซึ่งมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอย่างมาก

4)การที่มีเงินทุนไหลเข้าจีนจำนวนมากเนื่องจากสิทธิประโยชน์และสิ่งจูงใจที่รัฐบาลจีนให้และช่องว่างการค้าระหว่างประเทศกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่องจะสร้างแรงกดดันต่อค่าเงินหยวนของจีน จนในที่สุดจีนอาจต้องประกาศขึ้นค่าเงินหรือหาทางเลือกอื่น เช่น การสร้างคลังน้ำมันสำรองเพื่อลดช่องว่างดังกล่าว หรือแก้กฎหมายการให้สิทธิประโยชน์แก่เงินทุนไหลเข้าซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในอนาคตได้

5) เมื่อธุรกิจย้ายเข้าไปอยู่ในภูมิภาคที่มีต้นทุนต่ำ ผลข้างเคียงคือ เงินเฟ้อค่าจ้าง สำหรับคนในท้องถิ่น โดยเฉพาะแรงงานนั่งโต๊ะ (white-collar) ค่าจ้างกำลังสูงขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว สำหรับแรงงานที่รับค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ค่าจ้างกำลังสูงขึ้นในอัตราที่ช้ากว่ามาก

6) ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากคนจีนส่วนใหญ่ที่มีทักษะดีต้องการทำงานในเมืองใหญ่ เพราะมีทุกอย่างที่ดีกว่า เช่น โครงสร้างพื้นฐาน มาตรฐานความเป็นอยู่ การศึกษาของเด็กๆที่ดีกว่า เป็นต้น

7) ความมั่งคั่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้จะไม่มีการกระจายอย่างเท่าเทียมกัน แต่ส่วนมากจะกระจุกอยู่ในพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์มากกว่าที่ซึ่งมีคนอาศัยอยู่น้อยกว่า 150 ล้านคนเท่านั้น

.
4. แนวทางการปรับตัวของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย

 เนื่องจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นฐานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้าที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มผลิตภาพ ขีดความสามารถในการแข่งขัน และความเจริญเติบโตในระยะยาว ผู้สรุปและวิเคราะห์จึงขอนำ เสนอแนวทางในการปรับตัวของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศไทย เป็นสองแนวทางหลัก เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน smiling curve ของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต (ดังแผนภาพที่ 3) โดยมุ่งเน้นบทบาทของภาครัฐที่มีความสำคัญและจำเป็นเป็นพิเศษต่อการปรับตัวของอุตสาหกรรมฯ

4.1 อุตสาหกรรมฯ ในไทยไม่ปรับตัวแต่ต้องปรับบทบาทของภาครัฐให้มีการสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตไอซีอย่างจริงจังทั้งในด้านเงินทุน เทคโนโลยี บุคลากร และสาธารณูปโภค เพื่อรักษาส่วนที่เป็นการประกอบชิ้นส่วนและการทดสอบในประเทศไว้ต่อไป ในขณะเดียวกันชักจูงให้การย้ายฐานจากประเทศอื่นเข้ามาในไทย โดยใช้การสนับสนุนภาครัฐเป็นกลไกดังที่ประเทศจีนได้ดำเนินมาแล้ว

4.2 การสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตแผ่นวงจรรวมในประเทศไทย เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้เกิดในประเทศมากขึ้น เพื่อให้มีศักยภาพในการส่งออกและการจ้างงานสูงขึ้นและขยายตลาดให้ใหญ่ขึ้น รวมทั้งทำให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมภายในประเทศโดยภาครัฐควรกำหนดเป้าหมายที่จะเร่งสนับสนุนให้เกิดโรงงานผลิตแผ่นวงจรรวมอย่างน้อย 1-2 โรงงานภายในระยะเวลา 5 ปี โดยคำนึงปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จพร้อมกำหนดแนวทางดำเนินการให้เกิดอุตสาหกรรมต้นน้ำดังกล่าว ดังนี้

.
1) ชักจูงผู้ร่วมทุน (Joint Venture)

 (1) ผู้ร่วมทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากไต้หวัน ซึ่งประเทศไทยมีการนำเข้าเซมิคอนดักเตอร์มาก และไต้หวันเป็นประเทศที่มีความสำเร็จจากเทคโนโลยีของตนเองมากกว่าความสำเร็จจากการรับจ้างผลิตอย่างจีน เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง อีกทั้งการแข่งขันในตลาดโลกต้องมีพันธมิตรทางการลงทุนที่มีความพร้อมทั้งเทคโนโลยีและการตลาดจากต่างประเทศ

(2) ผู้ร่วมลงทุนในประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีฐานการผลิตและประกอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่แห่งหนึ่งของโลกดังจะเห็นได้มูลค่าการส่งออก อีกทั้งยังมีบริษัทที่สนใจที่จะขยายการลงทุนเข้าสู่อุตสาหกรรมระดับต้นน้ำเพื่อยกระดับศักยภาพในการแข่งขันในอนาคต การลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จึงสมควรที่จะสนับสนุนให้มีการร่วมทุนจากภาคเอกชนในประเทศด้วย

.
2) การพัฒนาบุคลากร

บุคลากรเป็นหัวใจสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมไอซี ขณะนี้ประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านอิเล็กทรอนิกส์ จึงจำเป็นต้องมีแผนพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในด้านการออกแบบและวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในจำนวนที่เพียงพอเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมฯต่อไปทั้งนี้ในการดำ เนินงานโรงงานผลิตไอซี 1 โรงในระดับเงินลงทุน 40,000-50,000 ล้านบาท ต้องการพนักงานประมาณ 400-1,000 คน โดยจะเป็นฝ่ายบริหารและวิศวกรประมาณ 150-250 คน ที่เหลือเป็นนักเทคนิค ช่างควบคุมเครื่องจักร และพนักงานอื่นๆ วิศวกรสำหรับโรงงานจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์และได้รับการฝึกอบรมที่เหมาะสม

.

ปัจจุบันประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยมากกว่า 50 แห่งที่มีการสอนในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และมีสถาบันการศึกษาที่สามารถผลิตนักเทคนิคและช่างควบคุมเครื่องจักรเพื่อป้อนให้แก่อุตสาหกรรมนี้ ในช่วงเริ่มต้นอาจจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศจากบริษัทของผู้ร่วมทุนต่างชาติมาฝึกและถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่พนักงานไทย แต่ในระยะยาวประเทศไทยจะมีศักยภาพเพียงพอ นอกจากนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (TMEC) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ศูนย์นี้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศแล้วบางส่วน

.

3) การพัฒนาเทคโนโลยี

การร่วมทุนกับต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดกระบวนการสรรหาและถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่บุคลากรของไทย แนวทางดำเนินการคือเชิญชวนผู้ร่วมลงทุนต่างชาติที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีมาเข้าร่วมทุน หรืออาจให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์เป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนร่วมกับมหาวิทยาลัยในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี

.

4) การสนับสนุนสาธารณูปโภค

โรงงานผลิตไอซีแต่ละโรงจำเป็นต้องใช้ระบบสาธารณูปโภคที่มีมาตรฐานสูงในราคาที่เหมาะสม เช่น น้ำที่มีความสะอาดสูงมาก ปริมาณ 5,000 ลบเมตรต่อวัน ไฟฟ้าที่มีแรงดันคงที่และมีกำลังไฟฟ้าประมาณ 10-14 เมกกะวัตต์ พื้นที่และอาคาร ประมาณ 220,000 ตารางฟุต และถนนภายในรัศมี 1-2 กม. จะต้องมีความราบเรียบเพื่อลดความสั่นสะเทือน เพราะแผ่นวงจรรวมต้องการความแม่นยำสูง สิ่งแวดล้อมต้องมีระบบกำจัดของเสียอุตสาหกรรม รัฐบาลจึงต้องให้การประสานการจัดหาหรือร่วมทุนด้านสาธารณูปโภคทั้งการจัดการของเสีย

.
5) มาตรการอื่นเพื่อสนับสนุนการผลิต

เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมฐานรากและเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า รัฐบาลจะต้องสนับสนุนและส่งเสริมโดยมีมาตรการที่ครบวงจรในด้านต่างๆ แก่กิจการลงทุนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่มาตรการด้านสิทธิประโยชน์เพื่อการลงทุนการสนับสนุนด้านเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร เป็นต้นทั้งนี้ ได้มีผู้วิเคราะห์ว่าประเทศไทยมีโอกาสในการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำดังกล่าวค่อนข้างมาก ด้วยเหตุผลทางด้านการผลิต เทคโนโลยี อุปสงค์ และศักยภาพด้านบุคลากรดังนี้

(1) แผ่น Wafer Fabrication ขนาด 6 นิ้ว (ปัจจุบันมีขนาด 8 นิ้ว และ 12 นิ้ว) มีต้นทุนแผ่นเปล่า $US100 รวมค่าแปรเป็นไอซี $ 600 ในกรณีที่ไทยสามารถผลิตWafer Fabrication จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ร้อยละ 50 เปรียบเทียบกับการประกอบ ชิ้นส่วนซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มได้เพียงร้อยละ 10

(2) เทคโนโลยี Wafer Fabrication เป็นเทคโนโลยีที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นเทคโนโลยี CMOS ระดับ 0.1-0.5 ไมครอน จะสามารถใช้ได้ในระยะ 10 ปีข้างหน้า ซึ่งในอนาคตการพัฒนาระดับเทคโนโลยีที่มีขนาดซิลิคอนเล็กกว่า 0.1 ไมครอน เป็นไปได้ยาก และ แนวโน้มการแข่งขันในอนาคตจะเข้าสู่การแข่งขันกันผลิตเครื่องจักรเพื่อสร้างความได้เปรียบ

 

 

(3) ปัจจุบันอุปสงค์ร้อยละ 18 ของวงจรไอซี ต้องการเทคโนโลยีการผลิตวงจรรวม (Wafer Fabrication) ที่ระดับ 0.5 ไมครอน ซึ่งในกลุ่มผู้ผลิตวงจรรวมที่ระดับเทคโนโลยีดังกล่าว มีประเทศจีนครองตลาดกว่าร้อยละ 50 จีนมีจุดอ่อนคือใช้เครื่องจักรเก่า

(4) ไทยมีศักยภาพในบุคลากรด้านการออกแบบไอซีมากที่สุด เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยถึง 15 แห่ง ที่ผลิตบุคลากรทางด้านนี้ แต่ไม่มีอุตสาหกรรมรองรับที่เพียงพออุตสาหกรรมส่วนใหญ่ที่มีอยู่มีการออกแบบ chip แต่ไม่มีการผลิตไอซีที่มีมูลค่าเพิ่มสูงกว่า

.

ถึงแม้โอกาสของประเทศไทยยังมีอยู่มาก แต่ก็ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน 3 ประการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้แก่ 1) ความเข้มข้นทางความรู้ที่เพิ่มขึ้นและสูงขึ้น 2) การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเทคโนโลยีและตลาด และ 3) กระแสโลกาภิวัตรที่ขยายตัวมากขึ้น ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดรูปแบบการแข่งขันใหม่ที่ผู้ชนะได้หมด (Winnertakes all competitive model)

ที่มา : สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ