เนื้อหาวันที่ : 2006-08-17 08:35:47 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1823 views

ครม.อนุมัติลดหย่อนภาษีหักค่าใช้จ่าย 60% เอาใจมนุษย์เงินเดือน

ครม.อนุมัติเพิ่มวงเงินหักลดหย่อยค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็น 60% แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท จากเดิม 40% แต่ไม่เกิน 6 หมื่น ผู้มีเงินเดือนต่ำกว่า 19,166 บาทต่อเดือนไม่ต้องเสียภาษี มีผลปี 50

ครม.อนุมัติเพิ่มวงเงินหักลดหย่อยค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็น 60% แต่ไม่เกิน 1 แสนบาท จากเดิม 40% แต่ไม่เกิน 6 หมื่น ผู้มีเงินเดือนต่ำกว่า 19,166 บาทต่อเดือนไม่ต้องเสียภาษี พร้อมออกตัวไม่ใช่นโยบายหาเสียงเป็นเรื่องที่สรรพากรหารือมานานแล้ว

..

น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่นี้ 1ส.ค. ได้อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรและร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน หลังจากนี้ให้ส่งเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังการเลือกตั้งอีกครั้งก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่ต่อไป

.

ทั้งนี้ ตามหลักการของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว กระทรวงการคลังจะให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถนำค่าลดหย่อนที่กำหนดเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันได้กำหนดให้สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 40%ของรายได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท โดยเพิ่มเป็น 60% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อให้ประชาชนมีรายได้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปและให้ผู้เสียภาษีมีภาระน้อยลง รวมทั้งมีความเท่าเทียมกันในสังคมมากขึ้น แม้จะทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ไปบ้าง เนื่องจากผู้เสียภาษีสามารถหักค่าลดหย่อนเพิ่มขึ้นได้ก็ตาม

.

ขณะเดียวกันยังมีการปรับปรุงจำนวนเงินสำหรับการขายสินค้าและบริการของผู้ประกอบการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นกิจการรายย่อยที่ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีให้มีจำนวนสูงขึ้นจากเดิมไม่เกิน 1,000 บาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 5,000 บาท นอกจากนี้ ยังปรับปรุงจำนวนเงินสำหรับการชำระราคาสินค้าและบริการและผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่ต้องออกใบรับตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้มีจำนวนสูงขึ้นจากเดิมไม่เกิน 1,000 บาท เป็นไม่เกิน 5,000 บาทเช่นกัน

.

ด้านนายไชยยศ สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการเพิ่มวงเงินในการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จาก 40% แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เป็น 60% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งจะส่งผลให้ผู้มีเงินได้ 230,000 บาทต่อปี หรือ 19,166 บาทต่อเดือน ไม่ต้องเสียภาษี จากเดิมมีเงินได้ 190,000 บาทต่อปี หรือ 15,833 ต่อเดือน ไม่ต้องเสียภาษี  

.

ทั้งนี้ การเพิ่มวงเงินดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่ต้องเสียภาษีมีรายได้เหลือเก็บออมมากขึ้น โดยผู้ที่ต้องเสียภาษี 10% รายได้ จะมีเงินเหลือจากการเสียภาษี 4,000 บาทต่อปี ผู้ที่ต้องเสียภาษี 20% ของรายได้ จะมีเงินเหลือจากการเสียภาษี 8,000 บาทต่อปี ผู้ที่ต้องเสียภาษี 30% ของรายได้ จะมีเงินเหลือ 12,000 บาทต่อปี และผู้ที่ต้องเสียภาษี 37% ของรายได้ จะมีเงินเหลือจากการเสียภาษี 15,000 บาทต่อปี  

.

ยืนยันว่าการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นการหาเสียงเลือกตั้ง เพราะกรมสรรพากรมีการดำเนินการอยู่ตลอด ซึ่งการเพิ่มวงเงินในการหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในครั้งนี้จะทำให้รับสูญเสียรายได้เท่าใดนั้น กรมคงจะมีการรายงานมาอีกครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่ากฎหมายดังกล่าวคงจะใช้ไม่ทันในปีนี้ เนื่องจากไม่มีสภา ซึ่งก็คงมีผลบังคับใช้ในปี 2550

.

จากเดิม 40% แต่ไม่เกิน 6 หมื่น ผู้มีเงินเดือนต่ำกว่า 19,166 บาทต่อเดือนไม่ต้องเสียภาษี พร้อมออกตัวไม่ใช่นโยบายหาเสียงเป็นเรื่องที่สรรพากรหารือมานานแล้ว

 

ขอสรุปข้อมูลจาก Mail มาเป็นการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น ว่ามีวิธีคำนวนการอย่างไรและมนุษย์เงินเดือนอย่างพวกเราได้ประโยชน์อะไรบ้าง

 

( ผู้มีเงินได้เท่ากับหรือน้อยกว่า 19,166 ต่อเดือนหรือ 230,000 ต่อปี หักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนเพียง 2 รายการนี้เท่านั้น ก็ไม่ต้องเสียภาษีแล้ว )

 
สรุปผลประโยชน์ที่ได้รับ
  • ผู้ที่ต้องเสียภาษี   5% รายได้               ไม่ต้องเสียภาษี (เหมือนเดิม)
  • ผู้ที่ต้องเสียภาษี 10% รายได้                จะมีเงินเหลือจากการเสียภาษี                4,000 บาทต่อปี
  • ผู้ที่ต้องเสียภาษี 20% ของรายได้          จะมีเงินเหลือจากการเสียภาษี                8,000 บาทต่อปี
  • ผู้ที่ต้องเสียภาษี 30% ของรายได้          จะมีเงินเหลือจากการเสียภาษี               12,000 บาทต่อปี
  • และผู้ที่ต้องเสียภาษี 37% ของรายได้    จะมีเงินเหลือจากการเสียภาษี               15,000 บาทต่อปี
 
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราก้าวหน้า) เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ดังนี้