เนื้อหาวันที่ : 2008-05-16 09:19:53 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2265 views

กลุ่มสามารถ ส่งสัญญาณพลิกฟื้น โชว์กำไรขั้นต้น Q1 เข้าเป้าทั้งกลุ่ม

กลุ่มบริษัทสามารถในไตรมาส 1 ด้วยรายได้รวมทั้งสิ้น 4,222 ล้านบาท กำไรสุทธิ 144 ล้านบาท มีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 12.5 เป็น 20.7 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 50 มีกำไรสุทธิเพิ่มสูงขึ้นกว่า 3 เท่าตัว เป็นสัญญาณของการฟื้นตัวทางธุรกิจอย่างชัดเจน

นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงผลประกอบการโดยรวมของกลุ่มบริษัทสามารถในไตรมาส 1 ด้วยรายได้รวมทั้งสิ้น 4,222 ล้านบาท กำไรสุทธิ 144 ล้านบาท โดยมีกำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นจาก 12.5 เป็น 20.7 เปอร์เซนต์ โดยเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 50 ปรากฏว่ากำไรสุทธิเพิ่มสูงขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ถือเป็นสัญญาณของการฟื้นตัวทางธุรกิจอย่างชัดเจน

.

โดยเฉพาะรายได้จากต่างประเทศซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากธุรกิจมือถือและธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศที่ประเทศกัมพูชา ซึ่งอยู่ในระหว่างการเจรจาขอปรับค่าบริการเพิ่มขึ้นอีก 10-15 เปอร์เซนต์ คาดว่าจะทราบผลในไตรมาส 2 ยิ่งไปกว่านั้น ในไตรมาส 2 คาดว่าบริษัทฯ จะรับรู้กำไรจากการขายที่ดินจำนวน 6.25 ไร่ในประเทศกัมพูชา ของบริษัท แคมโบเดียสามารถ จำกัด

.

ซึ่งสามารถคอร์ปถือหุ้นอยู่ถึง 49 เปอร์เซนต์ ประมาณ 4.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และจากแนวโน้มการเติบโตที่โดดเด่นของธุรกิจ Contact Center ทั้งในและต่างประเทศ คณะกรรมการบริษัทฯ จึงมีมติให้จัดตั้งบริษัทใหม่ ประกอบด้วย บริษัท วันทูวัน โปรเฟสชั่นแนล จำกัด ซึ่งจะดำเนินธุรกิจทางด้านการจัดหาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการข้อมูล(Call Agent) ตลอดจนการบริหารจัดการครบวงจร และบริษัท วันทูวัน เวียตนาม จำกัด ซึ่งจัดตั้งที่ประเทศเวียตนาม เพื่อขยายธุรกิจ Contact center ครบวงจร ด้วยเงินลงทุนประมาณ 41 ล้านบาท

.

สายธุรกิจการสื่อสารข้อมูลและอุปกรณ์สื่อสารไอที (Mobile-Multimedia) นำทีมโดย SIM ทำสถิติกำไรขั้นต้นสูงสุด เพิ่มจาก 8.3 เป็น 16.7 เปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นผลจากสัดส่วนการขายมือถือแบรนด์ i-mobile ที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าเท่าตัว เสริมด้วยรายได้ที่เพิ่มขึ้นกว่า 30 เปอร์เซนต์ของธุรกิจ Content

.

บริษัท สามารถไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) เผยจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในไตรมาสแรกไปแล้วกว่า 1,128,650 เครื่อง (ในประเทศ 704,839 เครื่อง และต่างประเทศ 423,811 เครื่อง) โดยจากจำนวนเครื่องทั้งหมดที่จำหน่ายได้ คิดเป็นมือถือเฮาส์แบรนด์ “i-mobile” ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวส่งผลให้บริษัทฯ ทำกำไรขั้นต้นได้สูงสุดเป็นสถิติ ยิ่งไปกว่านั้น ไอ-โมบายยังสามารถครองส่วนแบ่งตลาด

.

อันดับ 2 ในประเทศหรือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์แม้ต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่ดุเดือด นอกจากนี้ในส่วนของบริการ Content ก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นกว่า 30 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สรุปรายได้รวมของสามารถ ไอ-โมบายในไตรมาสแรก 3,138 ล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ 131 ล้านบาท

.

ในไตรมาส 2 ไอ-โมบายพร้อมสร้างแบรนด์เพื่อรุกตลาดทั้งในและต่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ โดยจะมีการเปิดตัว Brand Ambassador คนใหม่ราวเดือนมิถุนายน พร้อมๆ กับการเปิดตัวมือถือ i-mobile รุ่นใหม่อีก 4 รุ่น นอกจากนี้ยังได้เตรียมการพัฒนาโทรศัพท์มือถือ i-mobile เพื่อรองรับเทคโนโลยี 3G ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังเร่งขยายศูนย์บริการ “i-mobile Service Center” เพิ่มขึ้นอีก 50 สาขา รวมเป็น 350 สาขาทั่วประเทศ

.

ด้านตลาดต่างประเทศ จะเน้นการใช้กลยุทธ์เข้าหาพันธมิตรท้องถิ่นให้เป็นตัวแทนจำหน่ายเป็นหลัก และใช้ Brand Ambassador ซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในประเทศนั้นๆ เพื่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ เพื่อเร่งขยายฐานการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายในต่างประเทศอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ล่าสุด ไอ-โมบายได้แต่งตั้งนาย โยชิฮิสะ ไมนากะ ซึ่งมีความช่ำชองในธุรกิจมือถือและประสบความสำเร็จในการขายมือถือแบรนด์ดังของญี่ปุ่นในต่างประเทศมาแล้ว ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการอาวุโส สายการตลาดต่างประเทศ

.

โดยในปี 2551 นี้ บริษัทฯ จะเข้าไปเจาะตลาดในเม็กซิโกและตุรกีซึ่งมีประชากรมากและมีโอกาสเติบโตสูง โดยขณะนี้มียอดสั่งซื้อจากต่างประเทศในไตรมาส 2 รวมกันแล้วประมาณ 500,000 เครื่อง จึงคาดว่ายอดขายในตลาดต่างประเทศปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วประมาณ 50-80 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเป้าหมายทั้งปีรวม 5 ล้านเครื่อง ในประเทศ 3 ล้านเครื่อง และต่างประเทศ 2 ล้านเครื่อง

.

สายธุรกิจสื่อสารไอทีและโทรคมนาคมครบวงจร (ICT Solutions) โดย SAMTEL Q1กำไรเพิ่มขึ้น เตรียมพร้อมขยายธุรกิจไอทีโซลูชั่นอย่างเต็มรูปแบบ ผลประกอบการไตรมาสแรก ของบริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) มีรายได้รวมทั้งสิ้น 618 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 27 เปอร์เซ็นต์ มีกำไรสุทธิ 34 ล้านบาท อันเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนของภาครัฐซึ่งมีนโยบายชัดเจนในการนำเทคโนโลยีด้านไอทีมาใช้ในการพัฒนาประเทศ

.

โดยในไตรมาส 1 บริษัทฯได้เซ็นสัญญารับงานไปแล้วร่วม 1 พันล้านบาท ประกอบด้วย โครงการระบบเครือข่ายการสื่อสาร ของกระทรวงกลาโหม มูลค่าโครงการกว่า 700 ล้านบาท และอื่นๆ นอกจากนี้ คาดว่าน่าจะปิดดีลการเทคโอเวอร์บริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ซึ่งมีมูลค่าโครงการรวม 3,500 ล้านบาทได้เสร็จสมบูรณ์ในไตรมาส 2 ซึ่งจะส่งผลให้มีรายได้ต่อเดือน 53.2 ล้านบาท ต่อเนื่องรวม 5 ปี ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการประมูลที่คาดว่าน่าจะปิดได้ในไตรมาส 2 อีกนับพันล้านบาท จึงนับว่าปี 2551 เป็นปีแห่งการฟื้นตัวทางธุรกิจของสามารถเทลคอมอย่างแท้จริง ด้วยเป้าหมายรายได้ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวในปีนี้

.

ส่วนสายธุรกิจเทคโนโลยีอื่นๆ (Technology Related Businesses) ได้แก่ บริษัท แคมโบเดีย แอร์ทราฟฟิคเซอร์วิส จำกัด ผู้ให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศในประเทศกัมพูชา สามารถสร้างรายได้ไตรมาสแรก รวม 185 ล้านบาท โดยมีจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งไปกว่านั้น ขณะนี้บริษัทฯ อยู่ในระหว่างการเจรจาขอขึ้นค่าบริการ 10-15 เปอร์เซนต์

.

ซึ่งคาดว่าน่าจะทราบผลในไตรมาส 2 ส่วนบริษัท Kampot Power Plant จำกัด ซึ่งได้เริ่มผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โรงงานกัมปอตซิเมนต์ที่ประเทศกัมพูชา ก็เริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาส 1 แล้ว 52 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัท เรดิเทค จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ก็อยู่ระหว่างการเตรียมสร้างโรงงาน คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จได้ในปลายปีนี้ สุดท้าย

.

จากการเติบโตของตลาด Contact Center ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด หนึ่งในกลุ่มสามารถ จึงได้จัดตั้งบริษัทใหม่ 2 บริษัท คือ บริษัท วันทูวัน โปรเฟซชั่นแนล จำกัด เพื่อให้บริการจัดหาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการข้อมูล ตลอดจนการบริหารจัดการศูนย์บริการข้อมูลครบวงจรและบริษัท วันทูวัน เวียตนาม จำกัด ที่ประเทศเวียตนาม เพื่อเป็นฐานในการขยายธุรกิจสู่ต่างประเทศด้วยเงินลงทุน ประมาณ 41 ล้านบาท

.

นายวัฒน์ชัย กล่าวทิ้งท้ายว่า "กลุ่มบริษัทสามารถยังคงตั้งเป้ารายได้ของทั้งกลุ่มไว้ที่ 30,000 ล้านบาท เพราะเรามั่นใจว่าโครงการต่างๆ ที่กำลังจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาส 2 จะสามารถสร้างรายได้ตามเป้าหมาย และด้วยนโยบายเชิงรุกของแต่ละบริษัทที่มีความชัดเจน โดย SIM มีแผนรุกตลาดคอนซูมเมอร์ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่วน SAMTEL ตั้งเป้ารุกตลาดองค์กรภาคเอกชนอย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น"

.

 กลุ่มบริษัทสามารถ มุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์ และบริการด้านเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าอย่างครบวงจร ภายใต้บริษัทในเครือกว่า 20 บริษัท และมี 3 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน)

.

และเพื่อก่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารและดำเนินธุรกิจ จึงมีการแบ่งสายธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม คือสายธุรกิจการสื่อสารข้อมูลและอุปกรณ์สื่อสารไอที (Mobile-Multimedia) สายธุรกิจสื่อสารไอทีและโทรคมนาคมครบวงจร (ICT Solutions) ส่วนสายธุรกิจเทคโนโลยีอื่นๆ (Technology Related Businesses)