เนื้อหาวันที่ : 2006-02-18 02:31:12 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 6636 views

การพัฒนาอุตสาหกรรมในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน

เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีศักยภาพสูง และน่าสนใจมากสำหรับทั้งผู้ประกอบการ นักลงทุน นักการตลาดและแรงงานทั่วไป

 

 

 

 

 

 

 

 

คุณสมศักดิ์ จันทรรวงทอง

อุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี

  

 

 

 

ภาคอุตสาหกรรมถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ทำรายได้จำนวนมากให้กับประเทศไทย ปัจจุบันอุตสาหกรรมในแต่ละจังหวัดได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงมาก เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายให้การส่งเสริมสนับสนุน การประกอบอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง จังหวัดปทุมธานีจัดเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ มีความเหมาะสมในการพัฒนาอุตสาหกรรมยิ่ง เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งดี อยู่ใกล้เมืองหลวง มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางจังหวัด มีการคมนาคมขนส่งที่สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ ทางเรือและทางเครื่องบิน

 

จากการสำรวจของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี มีโรงงานอุตสาหกรรมมากถึง 2,258 โรงงาน มีเงินทุน 197,909 ล้านบาท มีการจ้างงานชายและหญิงรวมได้ถึง 236,808 คน นอกจากนั้นยังมีเขตอุตสาหกรรม และชุมชนอุตสาหกรรมที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนอยู่ในเขตจังหวัดปทุมธานีจำนวน 9 แห่ง จำนวนโรงงานในเขต/ชุมชนอุตสาหกรรมจำนวน 345 โรงงาน เงินลงทุนในเขต/ชุมชนอุตสาหกรรมจำนวน 89,332 ล้านบาท หรือร้อยละ 45.14 ของเงินลงทุนรวมภาคอุตสาหกรรม

 

ปทุมธานีจึงยังเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูง และน่าสนใจมากสำหรับทั้งผู้ประกอบการ นักลงทุน นักการตลาดและผู้ต้องการหางานทำ ในปีนี้และปีต่อ ๆ ไป ซึ่งในบทความนี้จะได้นำเสนอบทสัมภาษณ์ คุณสมศักดิ์ จันทรรวงทอง อุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี ซึ่งจะได้บอกเล่าถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ซึ่งประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง โดยเฉพาะในจังหวัดปทุมธานีที่มีเขตหรือชุมชนอุตสาหกรรมกระจัดกระจายในทุกพื้นที่

 

 

Q: จากนโยบายที่ภาครัฐกำหนดให้นั้น ส่งผลให้ทิศทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมของจังหวัดในปัจจุบัน เป็นอย่างไร?

A: เวลานี้ทิศทางของการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ไม่ใช่แยกพัฒนาเป็นจังหวัดเดี่ยว ๆ เหมือนในอดีตแล้วครับ แผนยุทธศาสตร์ของรัฐนั้นแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัด ปัจจุบันมีราว 19 กลุ่มจังหวัด ปทุมธานีอยู่ใน กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ซึ่งประกอบด้วย นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง แต่ละจังหวัดต้องสนับสนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยอาศัยศักยภาพเด่นที่มีอยู่ เช่น จังหวัดอ่างทองเป็นเจ้าภาพด้านการเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นเจ้าภาพด้านการท่องเที่ยว สำหรับจังหวัดปทุมธานีรับเป็นเจ้าภาพด้านอุตสาหกรรม โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 4 จังหวัดต้องให้ความช่วยเหลือพัฒนาผู้ประกอบการรายเดิม และส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ตลอดจนการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม

 

Q: แผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานฯ สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานีเป็นอย่างไรบ้าง ?

A: แผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด รวมเอาวิสัยทัศน์และภารกิจและเป้าประสงค์ไว้ด้วยกันครับ วิสัยทัศน์หรือ Vision ของเรา คือ ารเป็นองค์กรนำของจังหวัดในการส่งเสริม ัฒนาอุตสาหกรรมละผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างสมดุลและยั่งยืน ส่วนภารกิจหรือ Mission นั้น ได้แก่ ารสร้างโอกาสและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนและการประกอบกิจการ ารสนับสนุนและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ของอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SME วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการให้เข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ภารกิจข้อสุดท้าย คือ การกำกับดูให้การประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมมีการพัฒนาในระดับสากลอย่างสมดุลและยั่งยืน

 

Q: เป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับมีอะไรบ้างหากดำเนินภารกิจครบถ้วนดังที่กำหนดแนวทางไว้?

A:  เป้าประสงค์ของเรา ก็คือ การลงทุนและการประกอบกิจการ มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมั่นคง โดยเน้นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ ข้อถัดไป คือ จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้ SMEs อุตสาหกรรม ละวิสาหกิจชุมชน เป้าหมายประการสุดท้าย คือ กำกับดูแล สนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในภาคอุตสาหกรรมอย่างสมดุลและยั่งยืน

 

 

Q: จะทราบได้อย่างไรว่า การดำเนินงานได้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้ มีอะไรเป็นตัวบ่งชี้บ้าง ?

A: แน่นอนครับ เรามีตัวชี้วัดหรือ KPI หลายตัวทีเดียว ัวชี้วัดตัวแรก คือ อัตราเพิ่มของผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 9.3 ต่อปี ตัวที่สอง คือ จำนวนร้อยละที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5 ต่อปี ตัวที่สาม คือ จำนวนสถานประกอบการที่ได้รับมาตรฐานสากลและมาตรฐานอื่น ๆ เช่น ISO 9000 มอก.18000 HACCP มผช. เพิ่มขึ้น 50 มาตรฐานต่อปี ตัวที่สี่ คือ มีจำนวนกลุ่มอุตสาหกรรม หรือที่เรียกว่า คลัสเตอร์ ี่เกิด ละได้รับการพัฒนา 1 กลุ่มต่อปี ัวที่ห้า ือ ีระบบสารสนเทศด้านอุตสาหกรรมผ่านเครือข่าย Internet 1 ระบบ ตัวชี้วัดที่หก คือ มีจำนวนสถานประกอบการเป็นกรณีตัวอย่างที่ได้รับการพัฒนา 4 รายต่อปี ตัวชี้วัดตัวสุดท้าย คือ มีการตรวจติดตาม กำกับดูแลสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อ มและความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมให้ปฏิบัติตามกฎหมายปีละ 1,300 ราย

 

Q: ปีงบประมาณ 2548 ได้ผ่านครึ่งทางแล้ว มีตัวชี้วัดตัวใดบ้างที่บ่งชี้ว่าบรรลุเป้าประสงค์ในระดับหนึ่งแล้ว ?

A: ัวชี้วัดตัวที่สอง ที่กำหนดจำนวนร้อยละที่เพิ่มขี้นของเงินทุนภาคอุตสาหกรรมร้อยละ 5 เป็นตัวชี้วัดของกลุ่มจังหวัด ซึ่งขณะนี้ตัวเลขร้อยละที่เพิ่มขึ้นของเงินทุนภาคอุตสาหกรรมในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาสูงถึงร้อยละ 6.99 เมื่อเปรียบเทียบกับเงินลงทุนในภาคอุตสาหกรรม เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2547

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลความเคลื่อนไหวด้านการเงินลงทุนในภาคอุตสาหกรรม   กลุ่มจังหวัด ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยาและอ่างทอง

 

 

Q: ื้นฐานเงินลงทุนด้านอุตสาหกรรมของปีที่แล้วกับปีนี้ ที่ชี้ให้เห็นว่ามากกว่าร้อยละ 5 ทั้งที่ยังมีเวลาเหลือเกือบครึ่งปีงบประมาณ ?

A: ปีงบประมาณ 2547 มีการประกอบกิจการโรงงานในกลุ่มจังหวัด (นนทบุรี, พระนครศรีอยุธยา, อ่างทองและปทุมธานี) จำนวน 5,650 โรง งินลงทุนประมาณ 473,489.37 ล้านบาท ต่มาปีงบประมาณนี้ ค่ถึงสิ้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 5,976 รง งินลงทุนเพิ่มเป็น 506,578.91 ล้านบาท เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะได้ตัวเลขว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.99  รับ สำหรับจังหวัดปทุมธานีเงินลงทุนเพิ่มจาก 186,692.93 ล้านบาทเป็น 197,597.24 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.84  ซึ่งก็ีทั้งผู้ก่อตั้งโรงงานใหม่ และผู้ที่ขยายกำลังการผลิต เช่น เพิ่มเครื่องจักร เพิ่มคนงาน ขยายพื้นที่ เป็นต้น

 

Q: สมาชิกกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ที่มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด ละมีโรงงานที่ได้รับมาตรฐานสากลมากน้อยเพียงใด?

A: ทุมธานีมีโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด คือ องพันเศษ องลงมาเป็นนนทบุรี ัดมาเป็นอยุธยา ละน้อยที่สุด คือ อ่างทองครับ มาตรฐานสากลที่เราคุ้น ๆ กัน เช่น ISO 9000 ISO 14000 ปัจจุบันมีมาตรฐานสากลและมาตรฐานอื่น ๆ ีก ด้แก่ HACCP QS 9000 TIS 18000 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดปทุมธานีมีจำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับมาตรฐาน ISO 9000 จำนวน 337 ราย ISO 14000 66 ราย HACCP, QS 9000, TIS 18000 จำนวน 57 ราย ่วนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนมี 82 รายครับ นี่เป็นข้อมูลเมื่อต้นปี คือ ราว ๆ เดือนกุมภาพันธ์มีนาคม 2548 นะครับ
 

Q: มีการแบ่งประเภทของอุตสาหกรรมในจังหวัดอย่างไรบ้าง ?

A: แบ่งเป็นประเภทหลัก ๆ ว้ 9 ประเภท ได้แก่ เกษตร อาหาร เครื่องดื่ม มี 261 โรง สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เครื่องหนัง มี 121 โรง ไม้และเฟอร์นิเจอร์ 225 โรง กระดาษและสิ่งพิมพ์ 90 โรง เคมี ปิ โต รเคมี 159 โรง ยาง พลาสติก อโลหะ 369 โรง โลหะ เครื่องจักรกล ยานยนต์ 711 โรง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 135 โรง ที่เหลือเป็นอุตสาหกรรมอื่น ๆ ประมาณ 187 โรง

 

Q: โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของจังหวัดปทุมธานีอยู่ในพื้นที่ใด ?

A: จังหวัดปทุมธานีมีพื้นที่ประมาณ 953,600 ไร่ โรงงานอุตสาหกรรมภายในจังหวัดได้กระจายไปตามอำเภอต่าง ๆ ทั่วทั้งจังหวัด อำเภอคลองหลวง ซีกตะวันตกมีจำนวนโรงงานกระจุกตัวมากที่สุดถึง 705 โรง รองลงมา คือ อำเภอเมือง มี 442 รง ถัดไปเป็นอำเภอลำลูกกา 405 โรง องลงไป คือ ำเภอธัญบุรี มี 272 โรง อำเภอลาดหลุมแก้วมี 228 โรง อำเภอสามโคกมี 159 โรง น้อยที่สุด คือ ในอำเภอหนองเสือ ซึ่งก็อยู่ไกลสุดติดชายแดนจังหวัดนครนายก มีเพียง 47 โรง  รวมเงินลงทุนทั้งหมดถึง197,909 ล้านบาท

 

Q: สมาชิกกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบนมีการรวมอุตสาหกรรมหรือคลัสเตอร์หรือไม่ ?

A: เราเพิ่งจะจัดทำกลุ่มอุตสาหกรรมหรือคลัสเตอร์ในปีนี้เองครับ เริ่มที่อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ก่อน แล้วตามด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนในอนาคต 2-3 ปีข้างหน้า ก็จะเป็นการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เหตุที่เราเริ่มพัฒนาคลัสเตอร์ุตสาหกรรมแม่พิมพ์ เพราะมีโรงงานที่เกี่ยวกับด้านนี้เป็นจำนวนมาก เช่น กลุ่มโรงงานประเภทโลหะ ผลิตภัณฑ์จากโลหะ เครื่องจักรกล ขนส่ง ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยาง พลาสติก อโลหะ ซึ่งมีโรงงานอยู่ถึง 1,215 โรง กระจายอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะโรงงานในเขตอุตสาหกรรม กลุ่มนี้จึงมีความพร้อมมากกว่า ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมมีโครงการที่จะจัดตั้งสถาบันแม่พิมพ์กรุงเทพฯเหนือที่จังหวัดปทุมธานีอีกด้วย โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมและบุคลากรทางด้านอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ในแต่ละปีประเทศไทยต้องนำเข้าแม่พิมพ์สูงถึงปีละ 20,000 ล้านบาท
 

Q: มีเกณฑ์ในการคัดเลือกโรงงานอุตสาหกรรมที่จัดให้เป็นกรณีตัวอย่างอย่างไรบ้าง ?

A: โรงงานที่ประกอบกิจการมานานแต่เดิมชุมชนจะอยู่ห่างไกล ภายหลังมีหมู่บ้านจัดสรรมาตั้งอยู่ติดกับโรงงานทำให้เกิดปัญหาการก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญแบบซ้ำซากเรื้อรัง ซึ่งจำเป็นต้องเข้าไปช่วยแนะนำแก้ไขในด้านสิ่งแวดล้อม และการทำมวลชนสัมพันธ์สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ชุมชน บางครั้งราษฎรอาจได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะได้รับอันตรายในระยะยาวต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับ ซึ่งบางครั้งอาจมีไม่มากถึงขั้นเดือดร้อนรำคาญจริง ๆ ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งรัดให้โรงงานเป้าหมายแก้ไขปัญหาการก่อเหตุในระดับที่ไม่เกินมาตรฐาน และเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนที่พักอาศัยอยู่ใกล้เคียงโรงงาน

 

ตามดัชนีชี้วัดหรือตัว KPI ที่ผมได้กล่าวถึงเมื่อตอนต้นว่า ตัวชี้วัดตัวหนึ่ง คือ จำนวนสถานประกอบการเป็นกรณีตัวอย่างที่ได้รับการพัฒนา 4 รายต่อปี ที่ผ่านมาเราได้คัดเลือกมา 4 รายได้แก่ บริษัท สยามแปซิฟิก อิเล็กทริก ไวร์ แอนด์ เคเบิล จำกัด อยู่อำเภอ เมือง บริษัท ไทยพิมพ์เท็กซ์ อุตสาหกรรม จำกัด อยู่ที่ อ.ธัญบุรี บริษัท เจ เอ็ม อุตสาหกรรมอาหาร จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงสีไฟแสงประทีปพาณิชย์เจริญ การพัฒนาที่จะให้แก่สถานประกอบการก็คือ การควบคุมปัญหาการปล่อยของเสีย หรือมลภาวะในระดับที่ไม่เกินมาตรฐาน และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งได้เริ่มมาในระดับ หนึ่ง แล้ว จนเห็นผลแล้วในระดับ หนึ่ง ซึ่งสำนักงานจะติดตามดูแลให้โรงงานเหล่านี้ ดำเนินการตามทิศทางที่ถูกต้อง และติดตามผลการดำเนินการจนเป็นที่พอใจของผู้อาศัยข้างเคียง

 

 

Q:  มีแผนงานหรือโครงการใดที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรมซึ่งดำเนินอยู่ในขณะนี้ ?

A: แผนงานหลัก ๆ ี่ต้องให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ ด้แก่ แผนงานการส่งเสริมการผลิตอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ แผนงานกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโรงงาน แผนงานบริหารจัดการอุตสาหกรรม ภายใต้แผนงานแรกนั้น เรากำลังทำโครงการต่าง ๆ ได้แก่ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมและSMEs โครงการพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและ SMEs โครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่จังหวัดปทุมธานี โครงการสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันแม่พิมพ์ปทุมธานี โครงการสนับสนุนการประกอบกิจการในเขต/นิคม/ชุมชนอุตสาหกรรม ส่วนแผนงานด้านสิ่งแวดล้อม เราก็จะทำโครงการตรวจสอบ ควบคุมดูแลด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในโรงงานและสถานประกอบการที่เกี่ยวกับแร่ สำหรับแผนงานบริหารจัดการอุตสาหกรรม ก็มีโครงการเดียวก่อน คือ โครงการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดปทุมธานี ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูล และจัดทำ GPP สาขาอุตสาหกรรม (การผลิต) และสาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน

 

Q: ในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP มีวิธีการอย่างไรบ้าง?

A: ตามแผนกลยุทธ์ปี 2548-2551 นั้น เราได้กำหนดไว้ว่า จะมีการให้คำปรึกษาแนะนำและถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต การจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การจัดตั้งธุรกิจอุตสาหกรรม การฝึกอบรม และให้ความรู้ในการจัดระบบบริหารงานคุณภาพ การฝึกอบรมเพื่อสร้างหรือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่ม OTOP เราะฝึกอบรมราษฎรเพื่อเพิ่มทักษะการผลิต เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนหรือ มผช. และให้บริการด้านการขอรับรองมาตรฐาน มผช. ด้วย และสำหรับผู้ประกอบการใหม่เราก็จะมีการฝึกอบรมให้ด้วย แต่ยังไม่ได้เริ่มในปีงบประมาณนี้ เพราะโครงการที่มีอยู่นี้ก็ค่อนข้างมากแล้ว และกลุ่มเป้าหมายในปีแรกค่อนข้างมาก คงต้องรออีกสักหน่อยครับ
 

Q: มีการนำองค์ความรู้มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการ SMEs หรือไม่ ?

A: ปัจจุบันผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs ยังได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มไม่มากนัก เน้นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เข้าถึงตลาดได้น้อย เข้าถึงแหล่งทุนได้จำกัด และยังขาดการรวมกลุ่มและขาดนวัตกรรม  ดังนั้น จึงต้องมีการหาวิธีการส่งเสริมสนับสนุนให้ SMEs เพื่อนอนาคตจะผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น  มีการใช้องค์ความรู้มากกว่าทรัพยากร  มีความสามารถด้านการตลาดเป็นเยี่ยม เพื่อให้เข้าถึงตลาดทุกระดับ เงินทุนก็ต้องได้รับอย่างเหมาะสม ที่สำคัญจะต้องเข้าสู่ยุคของการรวมกลุ่มครัสเตอร์และการบริหารแบบซัพพลายเชนครับ

 

ดังนั้น จึงต้องมีการสร้างกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ต้นแบบประสิทธิภาพสูงครับ ริ่มจากแนวคิดธุรกิจ ไปสู่องค์ความรู้ เอาไปพัฒนาสินค้า เพื่อจะได้เพิ่มช่องทางตลาด แล้วให้มีการพัฒนาคน จะได้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ แน่นอนที่เดียวสิ่งที่เกื้อหนุนการพัฒนากระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์จะต้องอาศัยสถาบันการศึกษา เทคโนโลยี ICT ด้วย ถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานีก็มีอยู่ราว 10 กว่าแห่ง อุทยานวิทยาศาสตร์ก็อยู่ที่นี่ ที่อยุธยาก็มีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

 

ดังนั้น จึงต้องมีการสร้างกระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์ต้นแบบประสิทธิภาพสูงครับ ริ่มจากแนวคิดธุรกิจ ไปสู่องค์ความรู้ เอาไปพัฒนาสินค้า เพื่อจะได้เพิ่มช่องทางตลาด แล้วให้มีการพัฒนาคน จะได้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ แน่นอนที่เดียวสิ่งที่เกื้อหนุนการพัฒนากระบวนการผลิต และผลิตภัณฑ์จะต้องอาศัยสถาบันการศึกษา เทคโนโลยี ICT ด้วย ถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดปทุมธานีก็มีอยู่ราว 10 กว่าแห่ง อุทยานวิทยาศาสตร์ก็อยู่ที่นี่ ที่อยุธยาก็มีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร

 

Q: กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในจังหวัดปทุมธานีมีกลุ่มใดบ้าง?

A: กลุ่มแรก คือ วิสาหกิจชุมชนหรือ Village SMEs เป็นกลุ่มที่ผลิตสินค้า OTOP หรือ บริการชุมชน ถัดมาเป็นกลุ่ม Local SMEs ได้แก่ ผู้ประกอบการเครื่องจักรกล แม่พิมพ์ หล่อโลหะ บรรจุภัณฑ์ วิชาชีพ การศึกษา การค้าส่ง-ค้าปลีก ต่อไปเป็นกลุ่ม New Entrepreneur ได้แก่ ฟรนไชส์ ไอที อฟต์แวร์ สมุนไพร บริการสุขภาพ นันทนาการ กลุ่มสุดท้าย คือ Exchange Earner ด้แก่ าหาร ัตตาคาร สินค้าแฟชั่น ท่องเที่ยว/โรงแรม ชิ้นส่วนยานยนต์ ซอฟต์แวร์
 

Q: ปัจจุบันในจังหวัดปทุมธานีมีเขตหรือชุมชนอุตสาหกรรมกี่แห่ง ?

A: ในปทุมธานีไม่มีเขตอุตสาหกรรมของภาครัฐครับ โดยจะป็นของเอกชนที่เข้ามาลงทุนทั้งหมด ี่คุ้นเคยกันดีก็ เช่น นวนคร เพราะตั้งมานานแล้ว เขตอุตสาหกรรมนวนคร มีพื้นที่ราว 6,000 ไร่ ใหญ่ที่สุด ยู่อำเภอคลองหลวง  เขตอุตสาหกรรมบางกระดี ยู่ในอำเภอเมือง มีพื้นที่ 1,174 ไร่ ุมชนอุตสาหกรรมแฟคคอม ยู่อำเภอลาดหลุมแก้ว ีพื้นที่ ขนาดเล็ก 76 ร่  ส่วนชุมชนอุตสาหกรรมรังสิตพรอเพอร์ เอสเตท อยู่อำเภอคลองหลวง มีพื้นที่ไม่มาก ราว 113 ไร่ ุมชนอุตสาหกรรมบิ๊กแลนด์ มีพื้นที่ 80 ไร่อยู่อำเภอคลองหลวงเช่นกัน ชุมชนอุตสาหกรรมอรดา อยู่อำเภอลำลูกกา มีพื้นที่ 86 ไร่ ชุมชนอุตสาหกรรมแฟคเฮ้าส์ อยู่อำเภอธัญบุรี มีพื้นที่น้อยที่สุดคือ 39 ไร่ ในอำเภอธัญบุรียังมีอีกแห่งคือ เขตอุตสาหกรรมไทยซูซูกิ มีพื้นที่ 199 ไร่ จะเห็นได้ว่าไม่มีนิคมอุตสาหกรรมเลย แต่ในกลุ่มเดียวกันกับเรา คือ จังหวัดอยุธยามีนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมรัตนนคร

 

Q: มีวิธีการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยอย่างไรบ้าง ?

A: แน่นอนทีเดียว เราให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในสถานประกอบการ ดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรม มีการตรวจสอบ วิเคราะห์ควบคุมโรงงานที่มีมลพิษทางน้ำ ทางอากาศ และความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น การควบคุมการระบายน้ำทิ้งออกนอกโรงงาน ให้น้ำทิ้งที่ระบายออกมาเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด การนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงาน จะต้องขออนุญาต หรือแจ้งกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานให้ทราบด้วย ในทางปฏิบัติถ้าเป็นขยะทั่วไป ก็สามารถใช้บริการขนขยะขององค์กรท้องถิ่น หากเป็นของเสียที่ไม่ใช้แล้ว หรือกากอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนสารพิษหรือสารเคมีที่เป็นอันตราย จะต้องมีการกำจัด หรือบำบัดตามที่กฎหมายระบุไว้ โดยจัดส่งไปบำบัดในสถานที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณา แล้วปลอดภัยต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสถานที่ดังกล่าวต้องได้อนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับเทศบาล มีบ่อทิ้งขยะที่ดำเนินการโดยเทศบาล ส่วนขยะอุตสาหกรรมนั้น แบ่งได้เป็นขยะทั่วไป และขยะที่เป็นสารพิษหรือ Hazardous Waste ประเภทหลังนั้น ต้องจัดการตามหลักวิชาและต้องได้รับอนุญาตก่อน โดยในอนาคตอันใกล้นี้จะมีระบบติดตามกากของเสียเหล่านี้ ว่าถูกส่งไปยังสถานีปลายทางที่ถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบทิ้งตามสถานที่ต่าง ๆ ส่วนขยะอุตสาหกรรมทั่วไปนั้น สำนักงานฯ ของเราเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้นำขยะออกจากโรงงานอุตสาหกรรม จากนั้นเป็นขั้นตอนของการนำไปฝังกลบบ้าง นำไปแยกขยะเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่บ้าง ราจะไม่ดูแลในรายละเอียดมากนัก เพราะขยะเหล่านี้ไม่มีอันตรายและมีการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น เศษเหล็ก เศษไม้ เศษพลาสติก แต่ทางโรงงานเขาต้องทำรายงานส่งเราตลอดว่า ได้ดำเนินไปอย่างไรบ้าง มีใบเสร็จค่าใช้จ่าย ๆ ต่าง ๆ ก็ต้องส่งมาให้เราดูด้วย เราทราบจากช่องทางนี้เท่านั้น อย่างน้อยก็ยังดีนะครับ เพราะมีเอกสารที่ตรวจสอบได้ หากมีผู้ร้องเรียนเราก็ยังพอค้นหาหลักฐานได้

 
ปริมาณขยะอุตสาหกรรมในกลุ่มจังหวัดของเรานั้น แน่นอนทีเดียวปทุมธานีผลิตขยะได้มากที่สุด ข้อมูลเดิมที่เราเคยมีอยู่ไม่กี่ปีมานี้ คือ โรงงานอุตสาหกรรม 1,890 โรง ลิตขยะปริมาณมากถึง 725, 033 ตันต่อปี แบ่งได้เป็นขยะมีพิษ 156, 950 ตันต่อปี และขยะไม่มีพิษ 568, 083 ตันต่อปี ึ่งจะเห็นได้ว่ามากกว่ากันหลายเท่าตัว ละทำให้เกิดรายได้กับกลุ่มที่รู้จักนำไปขายต่ออีก สำหรับตัวเลขปริมาณขยะเป็นการประมาณกัน ซึ่งขณะตัวเลขจริงยังไม่แน่นอนเพราะโรงงานส่วนใหญ่ นิยมเก็บสะสมขยะไว้ให้มีปริมาณมากพอแล้วค่อยขายออกไป ทำให้การรวบรวมข้อมูลที่แท้จริงทำได้ค่อนข้างยาก
 
สำนักงาน ฯ ยังมีหน้าที่ต้องไปตรวจโรงงานต่าง ๆ ในจังหวัดมีประมาณสองพันกว่าโรง เราก็ต้องไปตรวจให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 โรงหรือ 50% ในแต่ละปี สำหรับจังหวัดปทุมธานี ก็มีการร้องเรียนของประชาชน คือ เป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญจากการดำเนินกิจการโรงงาน เพราะมีบางโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้ชุมชน ละปัญหาน้ำเสีย เป็นต้น
 

Q: มีปัญหามลพิษทางน้ำในพื้นที่อนุรักษ์บ้างไหม เนื่องจากยังมีโรงงานอุตสาหกรรมกระจัดกระจายอยู่ใกล้แหล่งน้ำ?

A: คณะรัฐมนตรีเคยมีมติเมื่อปี 2521 ให้ อ.สามโคก เป็นเขตอนุรักษ์น้ำดิบ เพื่อทำน้ำประปาให้กับกรุงเทพมหานคร ห้ามตั้งโรงงานอุตสาหกรรมประเภทที่มีน้ำทิ้ง ซึ่งมีค่าความสกปรกในรูปของค่า BOD มากกว่า 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือ ประมาณ 50 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และต้องไม่มีโลหะหนักปนเปื้อนด้วย นอกจากนั้นก็มีพื้นที่เฉพาะตำบลคลอง หนึ่ง ของอำเภอคลองหลวง ที่เป็นเขตอนุรักษ์น้ำดิบเช่นกัน อำเภอสามโคกมีโรงงานอุตสาหกรรม 159 โรงงาน ส่วนใหญ่ไม่มีน้ำทิ้งจากการประกอบกิจการโรงงาน สำหรับปัญหาน้ำเน่าเสียในแหล่งน้ำคูคลองต่าง ๆ แก้ไขได้ยากเนื่องจากมีน้ำทิ้งจากหลายแหล่ง เช่น ชุมชน ร้านอาหาร โรงแรม ศูนย์การค้า หอพัก หมู่บ้านจัดสรร และโรงงานอุตสาหกรรม แม้ว่าน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมจะมีมากที่สุด แต่กฎหมายได้กำหนดให้ต้องมีการบำบัดน้ำทิ้งก่อนปล่อยออกมา โดยกำหนดมาตรฐานน้ำทิ้งที่ยอมให้ปล่อยออกมาได้ เช่น ค่า BOD ต้องไม่เกิน 20 mg/l เมื่อดูจากค่าความสกปรกที่ระบายออกมา โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยค่าความสกปรกออกมาเพียงร้อยละ 15 ที่เหลือเป็นส่วนที่ออกมาจากชุมชน       
 
การแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและชุมชน ยกตัวอย่าง น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานีแห่งเดียว จากโรงงาน 147 โรง มีปริมาณน้ำทิ้ง 169, 708 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ค่า BOD inf เฉลี่ย 725.9 Mg/l ค่า BOD eff เฉลี่ย 12.3 Mg/l ในขณะที่น้ำทิ้งจากบ้านเรือนและชุมชนในจังหวัดนี้ จำนวน  708,909 คน ีปริมาณน้ำทิ้ง 141,781.8 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ค่า BOD เฉลี่ย 80 Mg/l หมายความว่า ประชาชน 1 คนปล่อยน้ำเสียวันละ 200 ลิตร ค่า BOD เฉลี่ย 80 Mg/l ค่าความสกปรกพบว่ามีตัวเลขที่ต่างกันมาก โดยน้ำเสียจากโรงงาน 147 โรง ปริมาณ  169, 708 ลบ ม./วัน มีค่าความสกปรก  123, 191 kg BOD/day ส่งเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน ออกมาได้ค่าความสกปรก 2,087 kg BOD/day คิดเป็นเพียง 15.54% ก่อนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประสิทธิภาพของระบบบำบัด 98.3%แต่น้ำเสียจากบ้านเรือน 141, 781 ลบ ม./ วัน มีค่าความสกปรก  11, 342 kg BOD/day ส่งตรงลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 84.46%
 
Q: สำนักงาน ฯ มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศด้านอุตสาหกรรมหรือไม่ ?

A: เรามีระบบสารสนเทศด้านอุตสาหกรรมผ่านเครือข่าย Internet 1 ระบบ  โดยจังหวัดเป็นผู้พัฒนาระบบขึ้นในปี 2547 ซึ่งใช้เชื่อมกับรัฐบาลที่รู้จักกันดีในชื่อ POC (Provincial Operation Center) ซึ่งสำนักงานได้นำระบบ GIS โรงงานเข้าไปติดตั้งไว้แล้วดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลด้านโรงงานอุตสาหกรรมกับระบบฐานข้อมูลโรงงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้เรียกดูข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม สารเคมี กากของเสีย กำลังการผลิต เป็นต้น แต่ในส่วนนี้ยังดูได้เฉพาะเจ้าหน้าที่กำหนดเท่านั้นเพราะข้อมูลบางรายการยังเป็นความลับอยู่ สำหรับการเชื่อมโยง ได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานการจัดทำข้อมูลสารเคมีต้นแบบ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับหน่วยงานวิจัยจัดทำขึ้นเป็นโครงการนำร่อง

 

Q:   การที่ส่งเสริมให้มีโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นๆ  ในอนาคตจะมีการแบ่งโซนนิ่งหรือไม่อย่างไร?

A:  ยุทธศาสตร์ของการพัฒนาอุตสาหกรรม คือ ต้องการให้มีโซนนิ่งโรงงาน  ปัจจุบันในจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี มีเขตอุตสาหกรรม 14 แห่ง ระกอบด้วย ิคมอุตสาหกรรม ขตอุตสาหกรรม ละชุมชนอุตสาหกรรม ฉพาะในจังหวัดปทุมธานีมีเขตอุตสาหกรรมรวม 9 แห่ง ซึ่งเป็นของเอกชนทั้งหมด  จึงต้องส่งเสริมให้มีเขตอุตสาหกรรมให้พอเพียงกับความต้องการของผู้ประกอบการ เพราะสามารถกำกับดูแลได้ง่าย ควบคุมเรื่องมลพิษได้สะดวก และจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ แต่ทุกวันนี้ หากผู้ประกอบการใดยื่นเรื่องขอจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมนอกโซน แต่มีเอกสารหลักฐานต่าง ๆ มาให้ถูกต้องตามระเบียบหรือพระราชบัญญัติโรงงานฯ ก็ได้รับการอนุญาตทุกรายไป จะบังคับให้อยู่ในเขตอุตสาหกรรมไม่ได้  ที่อำเภอสามโคกก็เหมือนกัน กฎหมายยังตามไม่ทันกับการเกิดใหม่ของโรงงาน นอกจากนั้น เรื่องการแบ่งโซนของผังเมืองก็ยังตามไม่ทันด้วย ทุกวันนี้สนง.ต้องปฏิบัติตามกฏหมายที่มีอยู่   เราปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายที่มีอยู่ ได้แก่ พระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรม  พระราชบัญญัติผังเมือง และมติคณะรัฐมนตรีที่มีผลบังคับใช้  ก็แค่นี้เท่านั้น   ต่เราก็ตระหนักดีในเรื่องนี้ ึงได้มีการพิจารณาเรื่องผังเมืองใหม่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้มีทางออกที่เหมาะสมที่สุด

 

Q:  ในอนาคตจะรักษาอัตราการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างไรกับพื้นที่ซึ่งมีจำกัด?

A :  สำหรับแนวคิดของผมที่พยายามผลักดันให้ผังเมืองฉบับใหม่ทีจะประกาศใช้ จะไม่ใช่วิธีแบบเดิม ๆ ที่มีการกำหนดพื้นที่ที่ยอมให้โรงงานบางประเภทหรือชนิดตั้งได้หรือไม่ได้ แต่ควรมีการเขียนข้อกำหนดที่จะยอมให้โรงงานบางประเภท สามารถตั้งได้แต่ต้องมีการกำหนดให้เป็นเขต/ชุมชน/นิคมอุตสาหกรรมขึ้นมาเสียก่อน โดยเชื่อมโยงกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำหนดเขตอุตสาหกรรมตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรมปี พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ท้องที่หนึ่งท้องที่ใด เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมตามประเภท หรือชนิดที่กำหนดได้ ถ้าเป็นเช่นนั้นโรงงานก็จะอยู่เป็นกลุ่มเป็นเขต สามารถกำกับความคุมได้ง่ายยิ่ง ถ้าเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตถูกลง ปัจจุบันค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ของโรงงานในประเทศสูงมาก ทำให้ไม่สามารถแข่งขันได้