เนื้อหาวันที่ : 2008-03-31 08:49:16 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1667 views

การเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ด้วยมาตรฐาน RosettaNet

ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งกว่าหนึ่งร้อยเหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในวันนี้ ส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของ ไทย รวมทั้งสินค้าต่างๆ สูงขึ้นอย่างมาก การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทาง ธุรกิจโดยเฉพาะด้านการผลิตและโลจิสติกส์เป็นยุทธศาสตร์ที่ผู้ประกอบการใหญ่เล็กทั่วโลก

ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งกว่าหนึ่งร้อยเหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในวันนี้ ส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์ของ ไทย รวมทั้งสินค้าต่างๆ สูงขึ้นอย่างมาก การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการทาง ธุรกิจโดยเฉพาะด้านการผลิตและโลจิสติกส์เป็นยุทธศาสตร์ที่ผู้ประกอบการใหญ่เล็กทั่วโลก เห็นพ้องต้องกันว่าเป็นวิถีสำคัญในการช่วยลดต้นทุน ช่วยในการประสานงาน ลดความผิดพลาดในการตอบสนองคู่ค้า และเพิ่ม ความสามารถในการแข่งขันได้

.

ในปัจจุบันสำหรับคู่ค้าที่มีการทำธุรกรรมเป็นประจำอยู่แล้วเราสามารถใช้กระบวนการมาตรฐานและอัตโนมัติในการโต้ตอบระหว่างคู่ค้าที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน อาทิ การสอบถาม ราคาสินค้า การสั่งซื้อสินค้า การติดตามสถานภาพของคำสั่งซื้อ และคำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวกับธุรกรรม โดยการใช้มาตรฐาน RosettaNet ในการสื่อสาร และทำให้ข้อมูลส่งผ่านระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องให้ คนพิมพ์ขอ้ มูลด้วยมือเข้าสู่ระบบอีกครั้ง

.

ทำให้สามารถลดเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ โทรสาร email หรือแม้แต่การเข้าไปดูข้อมูลผ่าน web site เป็นต้น RosettaNet จึงเป็นมาตรฐานในการทำธุรกิจ อิเล็กทรอนิกส์ (B2B e-business) ที่น่าสนใจและควรได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ เนื่องจากภาคธุรกิจของไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักการใช้ RosettaNet เลยในขณะที่ประเทศคู่ค้าและคู่แข่งของไทยมีการใช้มาตรฐานนี้อย่าง กว้างขวาง ในอดีตที่ผ่านมา ถึงแม้ RosettaNet จะแพร่หลายในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ในระดับโลก แต่แนวโน้มสำคัญก็คือการแพร่กระจายเข้าไปในอุตสาหกรรมอื่นในเร็ว ๆ นี้

.

บทความนี้มีจุดประสงค์ในการกระตุ้นให้ภาครัฐและภาคธุรกิจตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมการใช้ RosettaNet ในประเทศไทย RosettaNet คือภาษากลางทางธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-transaction) ผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีความแพร่หลายในอุตสาหกรรมไฮเทคในต่างประเทศมาตั้งแต่ปี 2000 โดยเฉพาะในหมู่บริษัทผู้ประกอบการข้ามชาติ เช่น Intel, Dell, Sony, Nokia, IBM, HP, Fujitsu, Seagate, AMD, Hitachi, Motorola, NEC, Sanyo, Canon, Solectron และอื่น ๆ อีกมาก

.

นอกจากนั้นบริษัทผู้ให้บริการโลจิสติกส์ข้ามชาติ เช่น DHL, CEVA และอื่นๆ ที่ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายสินค้าให้กับผู้ประการข้ามชาติเหล่านั้นก็เชื่อมโยงกันด้วยมาตรฐาน RosettaNet ในการรวบรวมสินค้าวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์เพื่อการผลิตและการกระจายสินค้าสำเร็จรูปให้กับลูกค้าทั่วโลก ปัจจุบันมีบริษัทที่ใช้ RosettaNet กว่า 1,600 บริษัททั้งเล็กและใหญ่ และมีโครงข่ายการเชื่อมโยงโซ่อุปทานในหมู่คู่ค้าเหล่านี้กว่า 12,000 การเชื่อมต่อ (partner connections) ทั่วโลก

.

F รายงานว่าถึงแม้ RosettaNet จะถูกพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริการ่วมกับประเทศในซีกโลกตะวันตก แต่ปัจจุบันการใช้งาน (ปริมาณธุรกรรม) ในซีกโลกเอเซียแปซิฟิคมีสูงถึง 55% ในขณะที่ทวีปอเมริกามีการใช้ 30% และยุโรป 15% เท่านั้นทั้งนี้เป็นเพราะศูนย์การผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเอเซียแปซิฟิค ปัจจุบันมีศูนย์พัฒนา เกี่ยวกับ RosettaNet ถึง 3 ศูนย์ในเอเซียคือในฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ และในเอเซียประเทศที่สนับสนุน การใช้มาตรฐานนี้คือ ญี่ปุ่น สิงคโปร์และไต้หวัน

.

ซึ่งเริ่มในปี 2000 เกาหลีเริ่มในปี 2001 มาเลเซียในปี 2002 ประเทศจีนและฟิลิปปินส์ในปี 2003 ออสเตรเลียในปี 2004 และประเทศไทยในปี 2005 อนึ่ง องค์กรของภาครัฐ ของหลาย ๆ ประเทศได้หันมาใช้ RosettaNet เป็นยุทธศาสตร์การค้า อาทิ - รัฐบาลของประเทศมาเลเซีย (ผ่านหน่วยงาน MITI และ SMIDEC) ได้สร้างแรงจูงใจในรูปแบบของเงินสมทบ (Matching Grant) ให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของมาเลเซีย เพี่อให้ประยุกต์ใช้มาตรฐาน RosettaNet ตั้งแต่ปี 2002

.

และในขณะนั้นมีงบประมาณ ส่งเสริมจำนวน 5 ล้านริงกิต (ประมาณ 50 ล้านบาท) โดยการส่งเสริมมี 2 รูปแบบคือ 1. ในรูปแบบทางตรงเงินสมทบจะเท่ากับ 50% ของการลงทุนไม่เกิน 100,000 ริงกิต 2. ในรูปแบบของ ASP (Application Service Provider) เงินสมทบจะสูงถึง 70% แต่ไม่เกิน 30,000 ริงกิต หน่วยงานรัฐ SMIDEC ของมาเลเซีย (ดู HUwww.miti.gov.myUH หรือ Hwww.smidec.gov.myH) เป็น ผู้ให้เงินสมทบเพื่อส่งเสริมให้ SMEs

.
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งซัพพลายเออร์ tier 2 และ tier 3) หันมาทำการเชื่อมโยงกับบริษัทใหญ่ๆ (ซัพพลายเออร์ tier 1) ซึ่งเชื่อมโยงกับบริษัทข้ามชาติ (ผู้ซื้อระดับโลก) อยู่แล้ว ทั้งนี้เพื่อว่ามาเลเซียจะสามารถเชื่อมโยงทางอิเล็กทรอนิกส์กับโซ่อุปทานระดับโลกและคงไว้ซึ่งศักยภาพในการแข่งขันในเวทีการค้าโลก และตั้งแต่ปี 2002 และจนถึงเดือนกรกฏาคม 2007 มีบริษัทที่ใช้ RosettaNet จำนวน 446 บริษัทและ 2 ใน 3 ของบริษัทเหล่านี้เป็น SMEs และมาเลเซียมีโครงการลดหย่อนภาษี (ผ่านหน่วยงาน IRB) ให้กับผู้ประกอบการที่ลงทุนใน RosettaNet ด้วย
.

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศจีนก็มีกลยุทธ์เช่นเดียวกับมาเลเซีย นอกจากนั้นยังจะใช้ RosettaNet เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการก่อให้เกิดการบูรณาการกับการใช้ RFID ด้วย โดยที่ประเทศจีนมีแนวคิดในการสร้างโครงข่าย Digital Hub ใน 96 เมืองต่างๆเพื่อส่งเสริมให้ SMEs ของ จีนสามารถเชื่อมโยงกับบริษัทข้ามชาติได้โดยใช้มาตรฐาน RosettaNet และรองรับการใช้มาตรฐานเชื่อมโยงที่ต่างกันได้ด้วย ในปี 2006 มีบริษัทที่เป็นสมาชิกของ RosettaNet 75 บริษัท มีการส่งเสริมการใช้ RosettaNet

.

ในอุตสาหกรรมอื่นที่ไม่ใช่ hi-tech - ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสิงคโปร์กำลังมีโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ e-business และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันจากการที่สิงคโปร์มี RosettaNet Architecture Centre of Excellence ซึ่งศูนย์นี้ใช้เงินลงทุนถึง 1.42 ล้านเหรียญสหรัฐในการศึกษาว่าการทำ e-business ให้ดีขึ้นนั้นจะช่วยให้มีการยอมรับ e-business standard โดยธุรกิจ SMEs อย่างไร ศูนย์นี้จะสำรวจ เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น web services และ RFID ว่าจะนำมาใช้ร่วมกับมาตรฐาน RosettaNet ได้ อย่างไร และจะให้ผู้ใช้ RosettaNet ในสิงคโปร์ได้ทดลองใช้กระบวนการมาตรฐานใหม่ๆ

.

ซึ่งการทำ เช่นนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนแรกเริ่มของผู้ใช้ได้อย่างมาก และการทำเช่นนี้จะเป็นประโยชน์ แก่ผู้ประกอบการที่เป็น SMEs จำนวนมากกว่า 3,000 รายในอุตสาหกรรมผู้ผลิตสินค้าไฮเทคของสิงคโปร์ ศูนย์นี้เป็นความร่วมมือระหว่าง RosettaNet, Infocomm Development Authority of Singapore (IDA), Nanyang Polytechnic’s School of Information Technology และ บริษัทต่างๆ - จนถึงปี 2003 รัฐบาลของชาติเอเซีย 7 ประเทศได้ให้เงินช่วยเหลือ SMEs ของตนเองไปแล้วกว่า $51 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อส่งเสริมการใช้ RosettaNet

.

สำหรับในประเทศไทยองค์กรที่ดูแลคือ NECTEC กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนั้นสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ที่มีโครงการศึกษาและสนับสนุนการใช้มาตรฐานนี้มาตั้งแต่ปี 2004 แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการทำให้เกิดการใช้จริงกับผู้ประกอบการในประเทศไทย ผู้เขียน ดร.ปรีชา พันธุมสินชัย, CPIM, CSCP กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มโฟกัส จำกัด ศาสตราภิชาน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2003-2006 สนใจอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ www.m-focus.co.th