เนื้อหาวันที่ : 2008-03-24 13:32:52 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2988 views

กทม. ลุยรื้อถอนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ผิดกฎหมาย

กรุงเทพมหานครเดินหน้าลุยรื้อถอนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ผิดกฎหมายในพื้นที่กลุ่มกรุงธนใต้ 5 เขต เล็งเอาผิดกับเจ้าของป้ายทั้งแพ่งและอาญา ด้านที่ปรึกษาฯ จักรพันธ์ เผยทั่วกรุงเทพฯ มีป้ายเข้าข่ายผิดกฎหมาย 299 ป้าย กำลังรื้อถอน 275 ป้าย คาดแล้วเสร็จทั้งหมด 15 เม.ย. นี้

.

กรุงเทพมหานครเดินหน้าลุยรื้อถอนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่ผิดกฎหมายในพื้นที่กลุ่มกรุงธนใต้ 5 เขต เล็งเอาผิดกับเจ้าของป้ายทั้งแพ่งและอาญา ด้านที่ปรึกษาฯ จักรพันธ์ เผยทั่วกรุงเทพฯ มีป้ายเข้าข่ายผิดกฎหมาย 299 ป้าย กำลังรื้อถอน 275 ป้าย คาดแล้วเสร็จทั้งหมด 15 เม.ย. นี้

.

ดร.จักรพันธ์ พรนิมิตร ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานและติดตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประจำกรุงธนใต้ พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจติดตามการรื้อถอนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ที่บริเวณปากทางลงทางด่วนสะพานพระราม 9 ถ.สุขสวัสดิ์ฝั่งซ้าย เขตราษฎร์บูรณะ และบริเวณริมคลองบางเชือกหนัง เขตบางแค ตามนโยบายการจัดระเบียบป้ายโฆษณาของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

.

จากการที่กรุงเทพมหานครมีนโยบายในการจัดระเบียบป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ และป้ายโฆษณาบนทางเท้า เพื่อจัดทัศนียภาพกรุงเทพมหานครให้ดูสวยงาม และคืนพื้นที่ให้กับประชาชนได้ใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะป้ายโฆษณาขนาดใหญ่นั้น กรุงเทพมหานคร ได้เร่งให้สำนักงานเขตตรวจสอบป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมาย พร้อมทั้งดำเนินการเอาผิดกับเจ้าของป้ายทั้งทางแพ่งและอาญา ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 มาตรา 43 (2)

.
โดยในพื้นที่กรุงธนใต้มีรายงานเขตที่มีป้ายโฆษณาผิดกฎหมาย จำนวน 5 เขต รวม 34 ป้าย ประกอบด้วย เขตราษฎร์บูรณะ จำนวน 14 ป้าย รื้อถอนป้ายพร้อมโครงเหล็กแล้ว 2 ป้าย อยู่ระหว่างการดำเนินการอีก 12 ป้าย เขตบางขุนเทียน จำนวน 5 ป้าย อยู่ระหว่างการรื้อถอน 1 ป้าย และกำลังดำเนินการ 4 ป้าย เขตบางบอน 1 ป้าย เจ้าของป้ายกำลังดำเนินการรื้อถอน เขตภาษีเจริญ จำนวน 3 ป้าย
.

.

ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินรื้อถอน และสำนักงานเขตบางแค จำนวน 11 ป้าย รื้อถอนป้ายพร้อมโครงเหล็กแล้ว จำนวน 2 ป้าย และอีก 9 ป้ายอยู่ระหว่างการดำเนินการ ส่วนอีก 2 เขต คือ เขตทุ่งครุ และหนองแขม ไม่มีรายงานป้ายผิดกฎหมาย สำหรับการดำเนินการตามกฎหมายแพ่งกับเจ้าของป้ายโฆษณาที่ผิดกฎหมายนั้นสำนักงานเขตจะจัดทำคำสั่งให้เจ้าของ ป้ายโฆษณาดำเนินการรื้อถอนภายใน 30 วัน ซึ่งหากครบกำหนดแล้วยังเพิกเฉย ทางสำนักงานเขตจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปรื้อถอนเอง และจะดำเนินคดีทางอาญาด้วย ซึ่งหากผู้ใดก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร

.

โดยเจ้าของอาคารไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่ได้แจ้ง ต้องระวางโทษไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้จะต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือจนกว่าได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ผู้ใดได้รับคำสั่งจะต้องรื้อถอนอาคารโดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงซึ่งออกตามความในมาตรา 8 (11) แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือข้อบัญญัติท้องถิ่น

.

ซึ่งออกตามความในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อแก้ไขเพิ่มเติม โดย พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 มิฉะนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และจะต้องระวางโทษระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 30,000 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่อยู่ระหว่างการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ถ้าเป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา หรือการสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่า ให้เช่าซื้อขาย หรือจำหน่ายโดยมีค่าตอบแทนจะต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ

.

นายจักรพันธ์ เปิดเผยว่า พื้นที่กรุงเทพมหานครมีป้ายที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย จำนวน 299 ป้าย ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่าง การรื้อถอน จำนวน 275 ป้าย คาดว่าจะสามารถดำเนินการรื้อถอนป้ายเสร็จทั้งหมดประมาณวันที่ 15 เม.ย. 51 นี้ ส่วนงบประมาณที่ใช้ดำเนินการรื้อถอนนั้นเบื้องต้นกรุงเทพมหานครได้จัดสรรงบประมาณ 73 ล้านบาท เพื่อจัดจ้างกลุ่มผู้รับเหมาดำเนินการรื้อถอน ก่อนที่จะเรียกเก็บค่าดำเนินการดังกล่าวย้อนหลังกับเจ้าของป้ายต่อไป