เนื้อหาวันที่ : 2008-03-10 14:41:05 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3485 views

พรรคการเมืองไทยและนโยบายสิ่งแวดล้อม

พรรคการเมืองส่วนใหญ่ได้ชูนโยบายที่สำคัญ ๆ เพื่อดึงคะแนนเสียงจากประชาชน เพื่อให้ได้ที่นั่งในสภาจำนวนมาก นโยบายส่วนใหญ่ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการหาเสียงคือ นโยบายด้านเศรษฐกิจ แต่นอกเหนือจากนโยบายด้านเศรษฐกิจแล้ว กรีนพีซเล็งเห็นว่านโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นนโยบายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพชีวิตและความยั่งยืนของระบบนิเวศน์ การพัฒนาใดๆ ก็ตามควรอยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

.

บทนำ

กระแสที่มาแรงมาก ๆ ก็ไม่พ้นเรื่องของการที่ทุกพรรคการเมืองต่างขับเคี่ยวหาเสียงกับแบบเอาเป็นเอาตาย โดยเฉาพะ นโยบายประชานิยมแบบลด แลก แจก แถม สะบัดช่อ1 เรียกได้ว่าแทบทุกพรรคการเมือง ทั้งรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ต่างหยิบยกมาเป็น ไม้เด็ด หวังพิชิตใจคนไทยให้เลือกพรรคเข้ามาบริหารประเทศ

.

พรรคการเมืองส่วนใหญ่ได้ชูนโยบายที่สำคัญ ๆ เพื่อดึงคะแนนเสียงจากประชาชน เพื่อให้ได้ที่นั่งในสภาจำนวนมาก นโยบายส่วนใหญ่ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นในการหาเสียงคือ นโยบายด้านเศรษฐกิจ แต่นอกเหนือจากนโยบายด้านเศรษฐกิจแล้ว กรีนพีซเล็งเห็นว่านโยบายสิ่งแวดล้อมเป็นนโยบายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพชีวิตและความยั่งยืนของระบบนิเวศน์ การพัฒนาใดๆ ก็ตามควรอยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

.

ในฐานะที่เป้นองค์กรรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม กรีนพีซทำงานผลักดันนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในประเด็นสารพิษ วิศวพันธุกรรม พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 อย่างต่อเนื่อง ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 นี้ เพื่อศึกษาวิสัยทัศน์ นโยบายและแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองที่ลงเลือกตั้ง กรีนพีซได้จัดส่งแบบสอบถามไปยังพรรคการเมือง 7 พรรค

.

ได้แก่ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชณิมาธิปไตย พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาและพรรคความหวังใหม่ โดยมีพรรคการเมือง 3 พรรค ที่ตอบรับให้เข้าสัมภาษณ์เพิ่มเติมคือ พรรคชาติไทย2 พรรคพลังประชาชน3 พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา4 พรรคที่ได้ตอบรับแต่ยังไม่สามารถเข้าสัมภาษณ์ได้คือพรรคประชาธิปไตย5 ส่วนพรรคการเมืองที่เหลือคือพรรคเพื่อแผ่นดิน พรรคมัชฌิมาธิปไตย และพรรคความหวังใหม่นั้นไม่มีการตอบรับแบบสอบถามแต่อย่างใด

.

วิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมสวยหรู

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พรรคการเมืองไทยได้ผนวกเอาประเด็นสิ่งแวดล้อมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายทั้งนี้ เพื่อตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ ที่โลกทั้งโลกเชื่อมต่อกันมากขึ้น และหารเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อมในภาคประชาชน โดยสรุปได้ดังนี้

.

พรรคประธิปไตย6 เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการเร่งด่วน เพราะนับวันปัญหาเหล่านี้จะมีผลกระทบกับธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ต้นไม้ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และจะเกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น การขาดแคลนน้ำ การเกิดมลพิษในน้ำอากาศ การเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน

.

การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อมทุกอย่างต้องทำควบคู่กันไป นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการเร่งด่วน เพราะนับวันปัญหาเหล่านี้จะมีผลกระทบกับธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ต้นไม้ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และจะเกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น การขาดแคลนน้ำ การเกิดมลพิษในน้ำและอากาศ การเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน

.

การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อมทุกอย่างต้องทำควบคู่กันไป นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต้องยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก และเหนือผลประโยชน์อื่นใดคือ การสนองโครงการพระราชดำริ โดยให้ประชาชนมีชีวิตพอเพียงสมฐานะ7

.

พรรคพลังประชาชน ประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติที่มีมูลค่ามหาศาล ซึ่งจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดและไม่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมตามมา ตลอดทั้งการจัดลำดับความสำคัญของการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ กรณีการสร้างมูลค่าเพิ่มจึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอันก่อให้เกิดความเปรียบเทียบหากนำมาใช้ตลอดจนการสร้างหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านธุรกิจการสร้าง Brand การสร้างเครือข่ายการตลาดที่มีประสิทธิภาพ8

.
พรรคชาติไทย9 รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม-มุ่งมั่นส่งเสริมให้มีการดูแลรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ จะสร้างมาตรการเพื่อจูงใจให้ธุรกิจเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชนให้ความสำคัญต่อกิจกรรมเพื่อการฟื้นฟูและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวมทั้งจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด และเด็ดขาดต่อผู้ก่อมลภาวะ ทั้งนี้ เพื่อรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ไว้สำหรับอนุชนรุ่นหลัง
.

รักษาสมดุลระบบนิเวศน์-มุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างและรักษาเสถียรภาพ และความยั่งยืนของระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศน์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนองค์กรพัฒนาเอกชนท้องถิ่น และความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ รวมทั้งจะมุ่งคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากระบบนิเวศน์

.

พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา10 จะไม่พูดเรื่องสิ่งแวดล้อมโดด ๆ จะพูดถึงคุณภาพชีวิต การกินการอยู่ความเป็นความตายของคน ซึ่งทั้งปวงนั้นโยงกับเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โยงกับเร่องคุณภาพชีวิต หมายความถึงการจัดการทรัพยากร สิทธิการเข้าถึงทรัพยากรของชุมชน การสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพยากร ในเรื่องของการที่ทำให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทรัพยากรและการใช้ที่ดิน การทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไกลจากอุบัติภัยอันมาจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม สิ่งแวดล้อมโยงถึงเรื่องเศรษฐกิจสีเขียวและฐานทรัพยากร

..

การสร้างความมั่นคงทางนิเวศของประเทศไทยเพื่อเตรียมให้ประเทศไทยพร้อมที่จะเผชิญกับปัญหาภาวะโลกร้อน และการฟื้นฟูฐานทรัพยากรทั้งที่ดิน น้ำ ป่าไม้และปะการังในทะเล โดยมาตรการการเตรียมการรับภัยพิบัติ ซึ่งเหล่านี้จะยึดโยงกับคน ภายใต้หลักการสิทธิทางสิ่งแวดล้อม การเข้าถึงฐานทรัพยากรโดยชุมชน

.

แต่ในทางปฏิบัติมีปัญหาและขัดแย้ง

ผลสำรวจแนวนโยบายของพรรคการเมืองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าทุกพรรคการเมืองล้วนเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมและยอมรับถึงสถานการณ์ความเสื่อมถอยของคุณภาพสิ่งแวดล้อมจนเกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประชาชนทั่วไป โดยพรรคการเมืองกล่าวถึงแนวคิดที่จะให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติอย่างเท่าเทียมกัน การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน และหลักการของการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบ การมีส่วนร่วมของประชาชน และมาตรการการจัดการต่าง ๆ เป็นต้น

.

อย่างไรก็ตามจะสังเกตได้ว่า ในทางปฏิบัติแล้วไม่มีพรรคการเมืองใดเลยที่จะมุ่งเน้นแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นวาระเร่งด่วนเหมือนปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเกือบทุกพรรคการเมืองยกเป็นจุดขายในการหาเสียงแต่ละพรรคการเมืองยังไม่แสดงจุดยืนที่ชัดเจนที่จะปกป้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและป้องกันผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมมากกว่าการแลกกับตัวเลขการลงทุนและผลประโยชน์ในมิติเชิงเศรษฐกิจซึ่งมุ่งเน้นการขยายการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและพลังงาน

.

เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยอิทธิพลของกลุ่มทุนอุตสาหกรรม และบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่ไม่เพียงมีอิทธิพลต่อทุกพรรคการเมือง หากแต่ยังมีอิทธิพลเหนือรัฐ แนวโน้มที่เกิดขึ้นคือไม่ว่าพรรคการเมืองใดที่ได้เป็นรัฐบาล ก็ไม่อาจดำเนินนโยบายหรือการปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่ขัดแย้งต่อผลประโยชน์ของกลุ่มทุนดังกล่าวได้

.

ความท้าทายของปัญหามลพิษอุตสาหกรรม

ทุกพรรคการเมืองต่างเห็นพ้องว่าหนึ่งสาเหตุหลักของปัญหามลพิษอุตสาหกรรมคือการบริหารจัดการของภาครัฐที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการบูรณาการ ความอ่อนแอของมาตรการที่เกี่ยวข้องต่างๆ และการบังคับใช้ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ กรีนพีซได้ยกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมลพิษอุตสาหกรรมที่สำคัญบางประเด็นมาสอบถามพรรคการเมืองถึงแนวนโยบายในการป้องกันและแก้ปัญหา สรุปได้ดังนี้

.

1.  มาตรการป้องกันและควบคุมมลพิษและบังคับใช้ที่ยังหย่อนยานขาดประสิทธิภาพ

พรรคการเมืองต่างสนับสนุนให้มีการแก้ไขกฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยควรระดับมาตรฐานให้สูงขึ้นและบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น พรรคชาติไทยเสนอแก้ไข พรบ. ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้มาตรฐานให้เข้มข้นรัดกุมและแก้ไขประเด็นอำนาจหน้าที่ในการบริหารปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน พรรคพลังประชาชนเสนอแก้ข้อกฎหมายให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามทุกพรรคการเมืองยังไม่สามารถลงรายละเอียดและแจงถึงแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน

.

เป็นที่น่าสังเกตว่าพรรคการเมืองต่างมองเห็นประเด็นการขัดแย้งของอำนาจหน้าที่ในการบริหารปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานว่าเป็นหนึ่งอุปสรรคต่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือกรณีของกรมควบคุมมลพิษซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบติดตามปัญหาด้านมลพิษ แต่ไม่มีอำนาจในลงโทษผู้ก่อมลพิษเช่นโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำผิด อำนาจดังกล่าวกลับตกอยู่กับกรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นการที่โรงงานอุตสาหกรรมกระทำผิดและจะถูกลงโทษโดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมนั้น จึงเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยได้เห็นมากนัก ซึ่งประเด็นดังกล่าวได้มีการถกเถียงกันมานานและทุกพรรคการเมืองต่างตระหนักถึงปัญหาพร้อมทั้งจะสนับสนุนให้มีการแก้ไข

.

สำหรับมาตรการการป้องกันและควบคุมมลพิษที่พรรคการเมืองทุกพรรคต่างหยิบยกมาพิจารณาและให้การสนับสนุนในหลักการคือมาตรการสิ่งแวดล้อมด้านการเงินหรือการจูงใจ (Economic Environmental Measures) โดยยึดหลักยุติธรรมง่ายๆ คือผู้ก่อมลพิษหรือผู้ที่ทำกิจกรรมที่ก่อผลกระทบจะต้องรับผิดชอบและรวมค่าเสียหายเข้าไปในต้นทุนการผลิต (Internalization of externalities) หรือหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (polluter pays principle) พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอการนำภาษีสิ่งแวดล้อมมาใช้สำหรับการลดมลพิษ

.

ในกรณีของการลดมลพิษจากกระบวนการผลิตนั้น ได้มีการหยิบยกเทคโนโลยีผลิตที่สะอาด (clean produation technology) มาใช้แก้ปัญหา โดยพรรครวมใจไทยพัฒนาเสนอมาตรการจูงใจเป็นตัวผลักดัน เช่น เงินกู้พิเศษ หรือ ยกเลิกภาษี 3 ปี ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ SME ในการใช้เทคโนโลยีที่สะอาดมาใช้ พรรคพลังประชาชนจะเน้นการให้การสนับสนุนโดยภาครัฐ อย่างไรก็ตามยังไม่มีพรรคการเมืองใดกล่าวถึงการสนับสนุนให้มีการยกเลิกการใช้สารเคมีอันตราย (elimination of hazardous substances) และทดแทนโดยสารเคมีที่ปลอดภัยกว่าซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

.

2.  ขยะและสารพิษอันตรายจากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หมดอายุการใช้งาน

นอกเหนือจากประเด็นด้านมลพิษอุตสาหกรรมแล้ว ขยะอันตรายรวมถึงขยะอิเล็กทรอนิส์กำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมหลักเช่นกันและที่สำคัญประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่อย่างไม่รู้ตัว สารพิษที่มีอยู่ในขยะดังกล่าว สามารถการปนเปื้อนและแพร่กระจายลงสู่แหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินโดยการชะล้าง และสู่อากาศโดยการระเหยและเผาทำลาย ซึ่งมีความเป็นพิษสูงมากและสามารถก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศน์ได้อย่างรุนแรง

.

ประเด็นปัญหาที่น่าจับตาคือ การอาศัยช่องว่างกฎหมายและการลักลอบแอบนำเข้าขยะอันตรายรวมถึงผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์มือสองจากประเทศที่พัฒนาแล้วมาทิ้งและทำลายในประเทศไทย การลักลอบนำขยะพิษอุตสาหกรรมขนออกจากโรงงานอย่างผิดกฎหมายและจำกัดอย่างผิดวิธี และการไร้ความรับผิดชอบของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของตนทำให้ภาระทั้งหมดตกเป็นของภาครัฐและผู้บริโภค

.

ทั้งนี้ พรรคการเมืองต่างเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากขยะอันตรายและเห็นด้วยที่จะมีการผลักดันกฎหมายหรือมาตรการต่างๆ ที่สามารถนำมาแก้ปัญหาได้ พรรคชาติไทยได้เสนอให้ประเทศไทยควรมีแผนขยะแห่งชาติ และให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างศูนย์กำจัดขยะกลางที่มีขนาดใหญ่ทุกจังหวัด เพื่อใช้กำจัดขยะของทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน และพรรคการเมืองทุกพรรคจะสนับสนุนให้มีการแยกขยะกันอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามนโยบายดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวโยงโดยตรงที่จะนำไปสู่แนวทางปฏิบัติเฉพาะสำหรับแก้ไขแก้ไขป้องกันปัญหาข้างต้นที่เกี่ยวกับประเด็นขยะอันตราย

.

ตัวอย่างเช่น การแก้ปัญหาการนำเข้าขยะอันตรายรวมถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มือสองเข้ามาทำลายหรือรีไซเคิลในเมืองไทยโดยการลงสัตยาบันข้อห้ามอนุสัญญาบาเซล ว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายขยะอันตรายข้ามพรมแดนและการกำจัดขยะมีพิษ การแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์และสารพิษในผลิตภัณฑ์โดยนำนโยบายความรับผิดชอบที่ขยายขอบเขตออกไปของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility หรือ EPR) มาบังคับใช้เป็นกฎหมาย

.

ซึ่งจะผลักดันให้ผู้ผลิตต้องมีความรับผิดชอบต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากผลิตภัณฑ์ของตน รวมถึงผลกระทบต้นทางที่เกิดจากการเลือกวัสดุและกระบวนการผลิตและผลกระทบปลายทางที่เกิดจากการใช้งานและการกำจัดเมื่อหมดอายุใช้งานแล้ว เป็นต้น ทั้งนี้จากการนำเสนอนโยบายการปฏิบัติเฉพาะเรื่องดังกล่าวของกรีนพีซต่อพรรคการเมืองให้นำไปใช้แก้ไขปัญหา พบว่าพรรคการเมืองเห็นด้วยในหลักการและพร้อมที่จะสนับสนุน

.

กรณีตัวอย่างในการพยายามขอประเทศที่พัฒนาแล้วในการหาแหล่งทิ้งขยะอันตรายนอกประเทศตนเอง เช่นกรณีของการลงนามในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) ระหว่างรัฐบาลไทย-ญี่ปุ่น (ลงนามโดย รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกสุรยุทธ์  จุลานนท์  และได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางในประเด็นความชอบธรรมในการเจรจาลงนามและบังคับใช้โดยไม่ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา) ที่ได้เปิดช่องให้มีการนำเข้าของเสียอันตรายจากญี่ปุ่นมายังไทย เป็นต้น น่ายินดีว่าพรรคการเมืองทุกพรรคต่างกล่าวว่าจะนำข้อตกลงดังกล่าวมาพิจารณาอีกครั้ง เพื่อแก้ไขในประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึ่งภาคประชาชนคงต้องติดตามต่อไปว่าคำมั่งดังกล่าวจะเป็นจริงเพียงใด

.

นอกจากนี้หากกล่าวถึงปัญหาขยะ ประเด็นที่สำคัญในคือวิธีการจัดขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แม้ว่าพรรคการเมืองทุกพรรคล้วนสนับสนุนการลดขยะ แยกขยะ และการนำขยะมาใช้ประโยชน์ เช่นการนำมาใช้ใหม่ การรีไซเคิล และทำปุ๋ย เป็นต้น แต่หากมีการดำเนินนโยบายจัดการขยะที่ผิดพลาดและขาดกรอบการทำงานและบูรณาการของทุกภาคส่วน จะทำให้ต่างฝ่ายต่างปฏิบัติและอาจจะไม่สามารถบรรลุการจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวได้ ในที่สุดวิธีการจัดการขยะอาจจะลงเอยที่การเผาทำลาย ซึ่งเป็นวิธีที่นักการเมืองชอบ

.

โดยเฉพาะนักการเมืองท้องถิ่น เนื่องจากเป็นวิธีที่ง่ายและได้รับงบประมาณจำนวนมาก ทั้งนี้การเผาทำลายขยะ (ไม่ว่าจะนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าก็ตาม) จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากมายตั้งแต่อากาศเป็นพิษจากการเผา จนถึงการปนเปื้อนสารพิษในน้ำผิวดินและใต้ดินจากการชะล้างเถ้าเผาขยะ หากมีการจัดการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวได้เกิดขึ้นทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม ทั้งนี้พรรคการเมืองทุกพรรค ยังไม่มีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำวิธีเผาขยะมาใช้ในการจัดการขยะ แต่เห็นว่าเป็นหนึ่งทางเลือกที่ต้องศึกษาและป้องกันผลกระทบให้มากที่สุดหากนำมาใช้

.

3.  มลพิษทางน้ำและสถานการณ์น้ำในอนาคตที่น่ากังวล

ประเทศไทยมีแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภคอยู่จำกัดและยังต้องเผชิญปัญหาของการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลต่อปริมาณน้ำ ขณะที่แนวโน้มปริมาณความต้องการใช้นำได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นจากการขยายภาคอุตสาหกรรม หากปล่อยให้มีการปล่อยสารพิษลงในแหล่งน้ำต่อไป จะก่อให้เกิดวิกฤตน้ำในอนาคตอย่างแน่นอนและก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ อย่างร้ายแรง

.

ดังนั้นทุกพรรคการเมืองต่างมีนโยบายเกี่ยวกับน้ำ หากแต่จะเน้นเฉพาะการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของทุกภาคส่วนเท่านั้น ซึ่งนอกเหนือจากมาตรการการป้องกันและควบคุมมลพิษที่กล่าวข้างต้นแล้ว ทุกพรรคการเมืองยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติที่จะทำให้แหล่งน้ำที่มีอยู่จำกัดเหล่านี้ปลอดภัยจากการคุกคามของสารพิษ และทำให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้อย่างเป็นธรรม

.

ขณะนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังรวบรัดเร่งรีบพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ ซึ่งจะมีผลให้ทรัพยากรน้ำกลายเป็นรัฐและขัดต่อหลักการที่จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเข้าถึงทรัพยากร ผลกระทบอาจทำให้ประชาชนรากหญ้าและภาคเกษตรที่ไม่มีกำลังต่อรองเสียเปรียบต่อภาคอุตสาหกรรมและพาณิชกรรมในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำ พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำฉบับนี้จึงอาจสร้างวิกฤตสงครามน้ำให้เกิดขึ้นในอนาคต11 รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งสมัยหน้าจะทำอย่างไรเพื่อให้ความเป็นธรรมคืนสู่ประชาชนที่แท้จริง ข้อความในนโยบายหาเสียงของทุกพรรคที่จะให้ประชาชนเข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียบและเป็นธรรมเป็นเรื่องที่ดี แต่จะเป็นจริงได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณธรรมความจริงใจของนักการเมืองที่จะเอาประชาชนเป็นที่ตั้งไม่ใช่นายทุนและผลประโยชน์ส่วนตัว

.

4.  ทิศทางการพัฒนาประเทศที่แลกกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

ดังที่ได้เกริ่นนำข้างต้น ทิศทางพัฒนาของประเทศไทยที่ขับเคลื่อนประเทศเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรม โดยเปิดประเทศเป็นฐานการผลิตสินค้าสู่ตลาดโลกได้สร้างความมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศและโดยเฉพาะกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มทุนบางกลุ่มอย่างมหาศาล ในทางกลับกันความมั่งคั่งดังกล่าวได้ถูกแลกไปกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมลงและกลายเป็นภาระของสาธารณะที่ต้องแบกรับต้นทุนดังกล่าวไว้

.

พรรคการเมืองทุกพรรคเห็นว่าควรมีการทบทวนพิจารณาประเภทของอุตสาหกรรมต่างๆ  ที่จะมาลงทุนในประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมที่สะอาด และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พรรคพลังประชาชนจะเน้นใช้เครื่องมือ Environmental Impact Assessment – EIA พรรครวมใจไทยชาติพัฒนาเสนอแนวคิดความมั่งคงทางระบบนิเวศน์ Ecological Security มาใช้เป็นพื้นฐานในการพิจารณาตัดสินใจ

.

เป็นที่น่าเสียดายว่านโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมดที่แต่ละพรรคการเมืองได้นำเสนอข้างต้นนั้น  อาจไม่สามารถบรรลุหรือนำมาปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างจริงจัง เนื่องจากในทางปฏิบัตินั้น ทุกพรรคการเมืองเห็นว่าทิศทางการพัฒนาเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจกันภายในรัฐบาล โดยจะยึดกรอบและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นที่ตั้งหลัก ในส่วนของการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมจะเป็นเพียงการทำให้ทิศทางการพัฒนาดังกล่าวเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่านั้น นอกจากนี้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละพรรคยังอาจขัดแย้งกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละพรรคเอง ซึ่งพรรคการเมืองส่วนใหญ่ล้วนถูกครอบงำ

.

โดยกลุ่มทุนและมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของแต่ละพรรคเอง ซึ่งพรรคการเมืองส่วนใหญ่ล้วนถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนและมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ แม้ว่า การลงทุนดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรมก็ตาม เช่นกรณีการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด และพื้นที่อื่นๆ โครงการสัมปทานต่างๆ จนถึงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เป็นต้น

.

โดยที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคมิได้แสดงจุดยืนที่ชัดเจนที่จะเสนอให้มีกาทบทวนหรือปรับปรุงมาตรการและข้อกำหนดต่างๆ เป็นวาระเร่งด่วนก่อนตัดสินใจอนุมัติโครงการต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาและแก้ไขปัญหามลพิษที่ค้างคา มากกว่าเพียงแค่การใช้ระบบชดเชยความเสียหายของผู้ที่ได้รับผลกระทบ การทำ EIA เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบ การใช้มาตรฐานขั้นต่ำด้านสิ่งแวดล้อมมาควบคุมมลพิษ และนำตัวเลขการลงทุนมาสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มทุนดังกล่าวในการตักตวงผลประโยชน์และทรัพยากรของประเทศสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเองดังเช่นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

.

การพัฒนาในทิศทางดังกล่าวกับการขาดการให้คำมั่นสัญญาหรือความมุ่งมั่นที่ชัดเจนที่จะแกไขกระบวนการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม การปกป้องทรัพยากรจากการคุกคามของมลพิษ และพัฒนากลไกที่เป็นรูปธรรมในการทำให้เกิดการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติที่เท่าเทียมกันอย่างยุติธรรมและแท้จริง อาจเพิ่มวิกฤตความเสื่อมโทรมของสภาพและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องอาศัยทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีพอในการดำรงชีพก็จะได้รับผลกระทบอย่างหนัก และในที่สุดแล้วจะส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จนไม่สามารถพัฒนาสู่ทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง

.

จีเอ็มโอกับกระแสการเมือง

นับตั้งแต่กรณีที่กรมวิชาการเกษตรร่วมกับบริษัทมอนซานโต้ทดลองปลูกฝ้ายจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดจนเป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของฝ้ายดังกล่าวออกสู่แปลงของเกษตร เมื่อปี 2542 จนเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรี ฉบับวันที่ 3 เมษายน 2544 ที่ห้ามทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอทุกชนิดในระดับไร่นา เป็นผลให้การทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอทุกชนิดในพื้นที่เปิดผิดกฎหมาย เพราะขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี

.

แม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวจะเข้ามาควบคุมไม่ให้มีการทดลองในพื้นที่เปิดจนทำให้สิ่งแวดล้อมปนเปื้อนจีเอ็มโอแลวก็ตาม แต่ในปี 2547 กรีนพีซพบการปนเปื้อนของมะละกอจีเอ็มโอจากแปลงทดลองของกรมวิชาการเกษตร เป็นการตอกย้ำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การทดลองพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิดไม่สามารถควบคุมการปนเปื้อนได้ ในขณะเดียวกันปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น หากปล่อยให้มีการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เข้ามาควบคุมการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโออย่างชัดเจน

.

นับตั้งแต่มีมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเกิดขึ้น และไม่ว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนโฉมหน้า รัฐมนตรีถูกเปลี่ยนตัว แต่พบว่าการเคลื่อนไหวเพื่อล้มมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีมาอยู่อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร คณะกรรมการเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้เสนอต่อรัฐบาลให้มีการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่ได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากภาคประชาชน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคและกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลในสมัยนั้นได้ถอนวาระดังกล่าวออก และให้มีการร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันมิให้เกิดการปนเปื้อนของพืชจีเอ็มโอและไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน ถึงกระนั้นรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร ก็ยังไม่สามารถทำให้กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพเป็นรูปเป็นร่างได้

.

แม้ว่าในปี 2549 จะเกิดรัฐประหารจนนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว แต่ด้วยฐานรากที่แน่นหนาของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สนับสนุนให้มีการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดอย่างเต็มตัว ทำให้การเปลี่ยนรัฐมนตรีไม่มีผลต่อนโยบายของกระทรวง ล่าสุด รัฐมนตรีธีระ  สูตะบุตร เดินหน้าผลักดันให้มีการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิด ท่ามกลางกระแสคัดค้านจากประชาชน

.

สิ่งที่น่าสนใจคือ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่กำลังจะเข้ามาจากการเลือกตั้งนั้น จะสามารถถอนรากเหง้ากระทรวงเกษตรฯ ที่ฝังแน่นมาหลายรัฐบาลได้หรือไม่ เพื่อปรับทิศทางของกระทรวงเกษตรฯ ใหม่ และหันไปพัฒนาระบบเกษตรกรรมของไทยในแนวทางที่ยั่งยืนและพึ่งพาตนเองได้ โดยไม่ต้องอ่ศัยเทคโนโลยีจีเอ็มโอ

.

1.  นโยบาย GMOs ของพรรคการเมือง

กรีนพีซได้สำรวจนโยบายของพรรคการเมืองที่ลงแข่งในสนามเลือกตั้งครั้งนี้ ทั้งพรรคการเมืองขนาดใหญ่ เช่น พรรคพลังประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ หรือแม้กระทั่งพรรคชาติไทยที่ถูกจับตามองว่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล รวมไปถึงพรรคการเมืองขนาดเล็กอย่างพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยสามารถสรุปสาระสำคัญของนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่เกี่ยวกับการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอ ได้ดังต่อไปนี้

1.     พรรคการเมืองส่วนใหญ่ เห็นว่าประเทศไทยไม่มีความพร้อมในการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิด เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ แต่ไม่มีพรรคการเมืองใดที่ประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าจะให้ประเทศไทยปลอดจีเอ็มโอ ถึงแม้ว่าจะมีหรือไม่มีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพก็ตาม

2.     พรรคพลังประชาชนเสนอนโยบายให้ประเทศไทยมีเขตปลอดจีเอ็มโอ แต่มิได้ลงในรายละเอียดว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ อย่างไร

3.     พรรคการเมืองส่วนใหญ่ แสดงจุดยืนว่าหากรัฐบาลชั่วคราวนี้ล้มมติคณะรัฐมนตรี ฉบับวันที่ 3 เมษายน 2544 และเปิดให้มีการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิดแล้ว จะทบทวนให้มีการนำมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวกลับมาใช้ใหม่

4.     พรรคการเมืองส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการทดลองข้าวจีเอ็มโอ เนื่องจากข้าวเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็นสำหรับพืชจีเอ็มโอชนิดอื่นๆ

5.     พรรคการเมืองขนาดเล็กอย่างพรรครวมใจไทยพัฒนา ดำเนินนโยบายด้านจีเอ็มโอภายใต้หลักความมั่งคงทางทรัพยากร เนื่องจากมองว่าเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก และโอกาสในการเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมีน้อย ดังนั้นโอกาสของพรรครวมใจไทยชาติพัฒนาในรัฐบาล คือการนำเสนอแนวนโยบายส่วนอำนาจในการตัดสินใจจะอยู่ที่พรรคที่เป็นแกนนำเท่านั้น

6.     พรรคการเมืองเกือบทุกพรรคเห็นว่ากฎติดฉลากอาหารจีเอ็มโอยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับผู้บริโภค แต่ไม่มีพรรคการเมืองใดที่เห็นว่าควรมีการแก้ไขกฎติดฉลากให้เข้มงาดมากกว่าที่เป็นอยู่

.

2.  บทวิเคราะห์

หากพิจารณาเฉพาะนโยบายของพรรคการเมืองโดยปราศจากจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ เข้ามาแทรกแซงในอนาคตเราอาจเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลอดจีเอ็มโอ มีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพที่เข้มแข็งและบังคับใช้ได้จริง พร้อมทั้งเดินหน้าพัฒนาเกษตรกรรมอินทรีย์อย่างเต็มตัวโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจีเอ็มโอ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่น ๆ มากมายที่ทำให้นโยบายของพรรคการเมืองเหล่านี้เป็นนโยบายขายฝัน เช่น ผลประโยชน์ทางการเมือง, แนวทางการพัฒนาประเทศ เป็นต้น

.

เป็นที่น่าสังเกตว่า พรรคการเมืองเกือบทุกพรรคเห็นด้วยที่จะให้คณะรัฐมนตรีคงมติคณะรัฐมนตรี 3 เมษายน 2544 ที่ห้ามทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอทุกชนิดในพื้นที่เปิด แต่อย่างไรก็ตามหากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวถูกล้มไปในรัฐบาลชั่วคราวชุดนี้โอกาสที่รัฐบาลชุดใหม่จะดึงมติดังกล่าวกลับคืนมานั้นเหมือนที่เคยให้นโยบายไว้ในช่วงหาเสียงนั้น ก็อาจจะสายเกินไปเพราะการทดลองในพื้นที่เปิดได้ดำเนินไปแล้วพร้อมๆ กับการปนเปื้อนของยีนแปลกปลอมออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างควบคุมไม่ได้ และเมื่อนั้นเราจะไม่สามารถเรียกสิ่งแวดล้อมเดิมของเรากลับคืนมาได้

.

ที่น่าท้าทายมากกว่านั้นคือ ว่าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนใหม่ ที่จะเข้ามาพัฒนาระบบเกษตรกรรมของไทยนั้นจะดำเนินนโยบายตามพรรคการเมืองเหล่านี้หรือไม่ รวมไปถึงคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดใหม่ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากน้อยเพียงใด

.

ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสังคมไทยในขณะนี้คือ ให้มีมติคณะรัฐมนตรี 3 เมษายน 2544 ดังกล่าวไว้เพื่อไม่ให้มีการทดลองปลูกพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิด พร้อมทั้งสนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์ซึ่งเป็นทางอนาคตของเกษตรกรรมไทย

.

พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

.

1.  จับกระแสโลกร้อน

ภายใต้กระแสโลกร้อนที่กำลังมาแรงและในฐานะที่ชุมชนวิทยาศาสตร์ภายใต้คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เห็นพ้องต้องกันว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) และมีความจำเป็นเร่งด่วนในการลงมือปฏิบัติการ

.

ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การจัดเวทีและข้อมูลจากแหล่งต่างๆ พอที่จะสรุปได้ว่า พรรคการเมืองแต่ละพรรคให้หยิบยกประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผนวกเข้าไปในนโยบายเป็น คำหลัก (Keyword) ที่สำคัญ

.
พรรคประชาธิปัตย์ : โยงนโยบายพลังงาน มาตรการทางภาษีและการรับมือกับภัยพิบัติเข้าด้วยกัน

ปฏิรูปโครงสร้างและระบบพลังงานครั้งใหญ่โดยยึดแนวทางการพัฒนาพลังงานแบบพึ่งตนเองให้มากที่สุดและการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างพอเพียง คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และปัญหาโลกร้อน เพิ่มงานวิจัยพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน และการแก้ปัญหาโลกร้อน (หนึ่งในเป้าหมายหลักภายใต้นโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) สนับสนุนด้วยมาตรการทางภาษีและสิทธิต่างๆ กับผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการแก้ปัญหาโลกร้อนและการลดมลพิษ ให้มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าและระบบช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ครอบคลุมทุกแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติธรรมชาติ (ในนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)12

.
พรรคชาติไทย : กำหนดจุดยืนของประเทศไทยเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในเวทีเจรจาสิ่งแวดล้อมโลก

เรื่องโลกร้อนเป็นปัญหาหนักที่ต้องตระหนัก เพราะถึงที่สุดแล้วประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายจะตกเป็นเหยื่อประเทศพัฒนาแล้วในเวทีโลก ดังนั้น ต้องมีการผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกัน เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศพัฒนาแล้วให้มากขึ้น13

.

เราไม่สามารถลดภาวะโลกร้อนลงได้ ตราบเท่าที่ยังใช้วิธีคิดเมอยู่ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในเวทีนานาชาติจำเป็นต้องมีการสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอกว่า ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนมากที่สุด ทั้งในระดับอนุภูมิภาค ระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ กดดันให้ประเทศอุตสาหกรรมลดการปล่อยลง

.

ภาวะโลกร้อนเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานอย่างชัดเจน ต้องประกาศให้การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นวาระแห่งชาติ มติ ครม. สามาถกำกับในเรื่องการประหยัดพลังงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในเรื่องนี้

.
พรรคพลังประชาชน : ไม่ขายคาร์บอนเครดิตจากการปลูกป่า รักษาป่าเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันทางอุตสาหกรรมในอนาคต
.

รักษา พื้นที่ว่าง (room) ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันทางอุตสาหกรรม เมื่อที่ดิน ป่าไม้หมดไป ประชาชนต้องรับภาระ จำเป็นต้องปลูกป่าเพื่อรักษาไว้ ถ้าขายเป็นคาร์บอนเครดิตไปหมด ซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรม

.
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา : เน้นสร้างความมั่นคงทางนิเวศเพื่อรับมือโลกร้อน

 

ทำให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงสิทธิในทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างทั่วถึง รวมทั้งจะสร้างความมั่นคงทางระบบนิเวศ เพื่อให้ประเทศพร้อมรับมอกับภาวะโลกร้อน
.

รายงานการประเมินผลครั้งที่สี่ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยืนยันบทสรุปทางวิทยาศาสตร์ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง และเกิดจากฝีมือมนุษย์ รัฐบาลเกือบทุกประเทศลงมติเห็นพ้องยอมรับ หลังจากผลงานวิจัย The Economics of Climate Change ความหนา 700 หน้าของสเติร์น รัฐบาลแทบทุกประเทศยอมรับเช่นกันว่าหนทางแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ คุ้มค่ายิ่งกว่าการอยู่นิ่งเฉยไม่ทำอะไร

.

จากการสำรวจนโยบายพรรคการเมือง กรีนพีซเห็นว่าโมเมนตัมทางการเมืองเริ่มเคลื่อนออกจากที่แล้ว ซึ่งเป็นข่าวดี แต่ผลลัพธ์เป็นรูปธรรมยังไม่น่าประทับใจ แม้ว่ารัฐบาลและพรรคการเมืองจะตระหนักถึงภาวะโลกร้อน แต่การลงมือปฏิบัติไม่ถึงขั้นต่ำที่จำเป็นในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศช่องว่างระหว่างหลักฐานทางวิทยาศาสตร์กับการตอบสนองทางการเมืองยังถางกว้าง การสั่งสมของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบในวงกว้างที่สำคัญที่สุด

.

วัฏจักรคาร์บอนมิได้หมุนเคลื่อนตามวัฏจักรการเมือง ผู้นำทางการเมืองที่ดำรงตำแหน่งในยุคปัจจุบัน ไม่อาจแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ตามลำพัง เพราะการควบคุมการปลอดปล่อยแก๊สเรือนกระจก จำเป็นต้องติดตามผลยาวนานเป็นทศวรรษ ไม่ใช่ช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปี อย่างไรก็ตาม การดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้อำนาจในการเปิดหน้าต่างโอกาสเพื่อคนรุ่นหลัง หรือไม่ก็เลือกที่จะปิดหน้าต่างโอกาสนั้น

.

2.  การทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า

กรีนพีซร่วมกับมูลนิธินโยบายสุขภาวะได้นำเสนอกรอบวิธีคิดใหม่เปรียบเทียบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับล่าสุดหรือ PDP2007 โดยเรียกว่า แนวทางเลือก 20:20 ภายในปี 2020 ภายใต้แนวทางดังกล่าวสามารถลดการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ลงได้อย่างมาก เนื่องจากการจัดการด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า (ประมาณ 6,992 เมกะวัตต์) เพื่อลดความต้องการไฟฟ้าลงร้อยละ 20 ทำให้โดยรวมแล้วสามารถลดกำลังการผลิตที่จะต้องติดตั้งใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2564 ลงได้ถึง 10,000 เมกะวัตต์

.

ขณะเดียวกัน โรงไฟฟ้าใหม่ที่จะสร้างก็จะเน้นโรงไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์มากขึ้น โดยจะสร้างโรงไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์เพิ่มขึ้นจาก 1,700 เมกะวัตต์ ขึ้นเป็น 6,400 เมกะวัตต์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2,800 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000 เมกะวัตต์ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศลงจาก 5,090 เมกะวัตต์ เหลือเพียง 2,143 เมกะวัตต์ และลดการสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติลงจาก 18,200 เมกะวัตต์เหลือเพียง 8,400 เมกะวัตต์

.

ผลลัพธ์จากทางเลือกดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยสามารถประหยัดค่าลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 240,000 ล้านบาท ลดค่าลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินลงได้ 153,000 ล้านบาท ลดค่าลงทุนในโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติลงได้ 184,000 ล้านบาท รวมกันประหยัดค่าลงทุนลงได้เกือบ 600,000 ล้านบาท นอกจากนั้นยังประหยัดการนำเข้าเชื้อเพลิงได้เกือบ 80,000 ล้านบาท/ปี ในปี ค.ศ. 2020 และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 50 ล้านตันต่อปี

.

จากการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องและค้นคว้าเอกสารของพรรคการเมืองพบว่า ทุกพรรคการเมืองไม่สามารถตอบประเด็นเรื่องการทบทวนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้านี้ได้ โดยอ้างว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายพลังงานและเศรษฐกิจซึ่งทีมงานของพรรคที่ดูแลด้านสิ่งแวดล้อมไม่สามารถให้รายละเอียดได้ จากการสำรวจมีเพียงพรรคประชาธิปัตย์ที่ระบุไว้ในนโยบายพลังงาน (การไฟฟ้า) ว่าจะ ทบทวนเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2550-2564 (PDO 2007) ใหม่ให้ถูกต้องแม่นยำ

.

เพื่อไม่ให้เป็นการลงทุนที่สูงเกินความเป็นจริงและต้องสำรองกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 เพื่อความมั่นคงด้านไฟฟ้า" และ "ปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2550-2564 (PDP 2007) โดยให้มีการศึกษาแผนพลังงานทางเลือกที่หลากหลาย" รวมถึง "ปรับเพิ่มเป้าหมายการผลิตของผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2550-2564 (PDP 2007) โดยเร่งรัดโครงการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนใต้พิภพ"

.

3.  การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ : พรรคการเมืองแทงกั๊ก รัฐมนตรีขิงแก่โยนเผือกร้อน

ทุกพรรคการเมืองมีความเห็นไปในทำนองเดียวกันว่า ยังไม่สร้างแต่ควรที่จะมีการศึกษา พรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า "ไม่เห็นด้วยกับการให้เช็คเปล่ากับใครคนใดคนหนึ่งเพื่อไปกำหนดการใช้พลังงานของลูกหลานในอนาคต" พรรคพลังประชาชนเห็นว่า "ขอให้เป็นทางเลือกสุดท้ายเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นๆ แล้วในเรื่องพลังงาน" พรรคชาติไทยมองว่า การกำกับดูแลโดยใช้กรอบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ประเทศมีอยู่นั้นไม่เพียงพอที่จะรับมือกับโครงการใหญ่ๆ อย่างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้เลย" ส่วนพรรครวมใจไทยชาติพัฒนาก็มีความเห็นไปในทำนองที่ว่า ประเด็นอุบัติภัยเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องคำนึงถึง"

.

อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นคือ ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยมี ดร.กอปร์  กฤตยากรรณ ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นประธาน มีหน้าที่ศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยและการเตรียมการด้านกฎหมาย เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการที่ไทยจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอีก 13 ปีข้างหน้า

.
ในขณะที่พรรคการเมืองทั้งหมายแทงกั๊กในเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีชุดขิงแก่ได้ทำการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอร่าง พรบ. พลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ……. โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ ตัวย่อ คือ พ.ป.ส ประกอบด้วย
.

บทสรุป : พรรคการเมืองยังสอบตกเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อม

แผนผังด้านล่างเป็นการสรุปให้เห็นถึงตำแหน่งแห่งที่ของนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองแต่ละพรรคจากการวิเคราะห์เบื้องต้นของกรีนพีซ การที่นโยบายสิ่งแวดล้อมนั้นมีเชื่อมโยงกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาความสอดคล้องต้องกันนโยบายในภาพรวมมาพิจารณาด้วย
.
ที่มา : ข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์พรรคการเมือง-พฤศจิกายน 2550
หมายเหตุ : สีแดงในตารางแทนพรรคการเมืองทั้ง 4 พรรค (ประชาธิปัตย์ ชาติไทย พลังประชาชนและรวมใจไทยชาติพัฒนา) ส่วนสีเหลืองแทนพรรคประชาธิปัตย์
.

ข้อสรุปที่ชัดเจนคือพรรคการเมืองทั้งหมดสอบตกเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อม (อยู่ในโซนสีเทา) ถึงแม้ว่าวิสัยทัศน์ด้านสิ่งแวดล้อมจะเขียนไว้ดีอย่างไร แต่การแปรผลให้เป็นในทางปฏิบัตินั้นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องการ เจตจำนงทางการเมือง (Political Will) และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความชัดเจนและสอดคล้องต้องกันในทางนโยบาย ตัวอย่างเช่น ขณะที่พรรคการเมือง บอกว่าจำเป็นจะต้องมีการปฏิรูปทางการเมืองหรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการพัฒนา แต่ในอีกด้านหนึ่งได้นำเอาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งทางทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพมาเป็น จุดขายของนโยบายทางเศรษฐกิจ" เป็นต้น

.

การก้าวเข้าสู่อำนาจของการบริหารประเทศในอนาคตของพรรคการเมืองต่างๆ นอเหนือจากความเร่งด่วนในการกอบกู้เศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของสังคม และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้น กรีนพีซเชื่อว่าการดำเนินนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมๆ ไปกับความเป็นธรรมทางสังคมนั้นเป็นภาคบังคับและนำไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

.
ที่มา : กรีนพีซ