เนื้อหาวันที่ : 2008-03-10 12:26:13 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1515 views

บรอดแบนด์ไร้สายเพื่อสิ่งที่ดีกว่าของทุกคน

บรอดแบนด์ไร้สายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการเลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูล ระหว่างเมืองและชนบท HSPA มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนบรอดแบนด์สู่ตลาดโลก ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นจากหลายล้านรายเป็นพันล้านราย

 

 .

บรอดแบนด์ไร้สายเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการเลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงข้อมูล ระหว่างเมืองและชนบท HSPA มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนบรอดแบนด์สู่ตลาดโลก ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นจากหลายล้านรายเป็นพันล้านราย

 .

ขณะที่มีผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ประมาณ 350 ล้านรายทั่วโลก แต่ทว่าความจริงก็คือ ประชากรส่วนใหญ่ของโลกยังไม่สามารถเชื่อมต่อบรอดแบนด์ได้ โดยเฉพาะพื้นที่ในชนบทที่ยังอยู่ห่างไกล ดังนั้น ทางออกเดียวก็คือ การรวมกันของบรอดแบนด์มีสายกับเทคโนโลยีล่าสุดของ HSPA เพื่อสามารถให้บริการการเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์แก่ทุกคนได้

 .

รัฐบาลของหลายประเทศและองค์กรระหว่างประเทศได้ให้ความสำคัญต่อบรอดแบนด์ไร้สาย เนื่องจากก่อประโยชน์มากมายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ บรอดแบนด์ทำให้ชีวิตประจำวันของเราดีขึ้น ทั้งการเข้าถึงบริการทางด้านสุขภาพและการศึกษา ข้อมูลต่างๆ และความบันเทิง นอกจากนี้ บรอดแบนด์ยังก่อให้เกิดกิจกรรมทางการค้าใหม่ๆ รวมทั้งความเจริญของอุตสาหกรรมและทำให้สังคมเติบโตต่อไปได้อีกด้วย

 .

การให้บริการบรอดแบนด์ที่ทั่วถึงแก่ประชากรทุกคนของประเทศเป็นสิ่งสำคัญ บรอดแบนด์ไร้สายเป็นวิธีที่รวดเร็วและประหยัดที่สุดในการเชื่อมต่อพื้นที่ชนบทหรือพื้นที่ที่ไม่มีโทรศัพท์พื้นฐานหรือมีโทรศัพท์พื้นฐานน้อย ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ เทลสตาร์ (Telstra) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศออสเตรเลียเลือกอีริคสันเพื่อติดตั้งบรอดแบนด์ด้วยเทคโนโลยี WCDMA/HSPA การติดตั้งใช้เวลาไม่ถึง 10 เดือนสามารถครอบคลุมประชากรกว่า 98%

 .

การให้บริการทางด้านบรอดแบนด์ในพื้นที่เล็ก ๆ สามารถก่อให้เกิดผลที่ยิ่งใหญ่ได้ เช่น  MTN ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแอฟริกาใต้ ใช้นวัตกรรมแฟรนไชส์ เริ่มจากการให้บริการบรอดแบนด์โดยผ่านร้านเล็กๆที่ให้บริการอินเตอร์เน็ตในชนบท   MTN ให้ความสำคัญในเรื่องบริการส่งข้อมูลผ่านโครงข่าย HSPA ที่ติดตั้งโดยอีริคสัน   ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 12 เดือนการใช้งานเครือข่ายเพิ่มขึ้นถึง 230% และผู้ใช้บริการรายเดือนเพิ่มขึ้น 78%

 .

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการเชื่อมต่อความเร็วสูงทำให้การส่งข้อมูลแบบไร้สายเติบโต ทำให้ผู้ใช้งานตื่นตาตื่นใจกับบริการแปลกใหม่มากมาย ผู้ให้บริการรายหนึ่งในแถบเอเซียแปซิฟิกพบว่าการใช้งานเครือข่ายเพิ่มขึ้นถึง 560% ใน 9 เดือน ในขณะที่ผู้ให้บริการอีกรายในทวีปยุโรปพบว่า การใช้งานเครือข่ายเพิ่มขึ้นมากกว่า 300% ในระยะเวลาเดียวกัน ส่วน “3” ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสวีเดน ตั้งแต่เสนอบริการ HSPA ที่คิดราคาแบบอัตราเดียว (flat rate) การใช้เครือข่ายได้เติบโตอย่างยิ่งถึง 300% ในเวลาเพียงแค่ 3 เดือน เช่นเดียวกับ Mobikom ในประเทศออสเตรีย ก็มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดดเช่นเดียวกันในการขาย HSPA ดาต้าการ์ด

 .

ประโยชน์ ที่เกิดขึ้นเพราะคุณสมบัติของบรอดแบนด์ที่เชื่อมต่อได้ทันทีทุกที่ทุกเวลามีมากมาย อาทิเช่น ความก้าวหน้าในด้านแพทย์ทางไกล (telemedicine) แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคโดยผ่านวีดิโอ คอนเฟอเรนซ์ซิ่ง (video conferencing) และการส่งข้อมูล อาทิเช่น x-rays และผลการตรวจได้โดยไม่ต้องเดินทาง  ประชาชนที่อยู่ในสังคมที่มีการใช้บรอดแบนด์จะได้รับริการสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 .

บรอดแบนด์ไร้สายยังนำไปสู่การเรียนรู้แบบใหม่  ทำให้สะดวกในการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ตัวอย่างเช่น ความร่วมมือระหว่างอีริคสันและมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ที่นำประโยชน์จากการเรียนทางไกลสู่หลายประเทศในทวีปแอฟฟริกา ส่งผลให้นักศึกษาในพื้นที่ที่ห่างไกลในทานซาเนีย อูกานดาและแอฟฟริกาใต้สามารถส่งและรับวีดิโอ ภาพและเนื้อหาในเอกสารการเรียนรวมถึงสามารถเข้าร่วมในการอภิปรายออนไลน์ได้

 .

ผลการศึกษาของกระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2549 ระบุถึงผลประโยชน์มากมายของ บรอดแบนด์ รวมถึงการก่อให้เกิดการเติบโตทางด้านการจ้างงานและธุรกิจ ที่น่าสนใจก็คือ การค้นพบว่าในภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอจะค่อนข้างได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเชื่อมต่อผ่านบรอดแบนด์

 .

 .

เป็นที่ชัดเจนว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างอัตราการเติบโตทางเศรษกิจและการเข้าถึงเทคโนโลยีข้อมูลการสื่อสาร บรอดแบนด์เป็นตัวเร่งการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้วยเหตุผลที่สำคัญเช่นนี้ ส่งผลให้รัฐบาลมาเลเซียทำการเปิดตัวนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อมุ่งที่จะเพิ่มอัตราการเข้าถึง บรอดแบนด์จากเกือบ 0% ในปี พ.ศ. 2548 เป็น 10% ภายในปี พ.ศ. 2551

 .

ปัจจุบันเครือข่ายไร้สาย HSPA สามารถรองรับความเร็วในการดาวน์โหลดได้สูงถึง 7.2 Mbps และความเร็วในการอัพโหลดที่ 1.4 Mbps ซึ่งเร็วกว่าการเชื่อมต่อแบบบรอดแบนด์มีสาย ภายในสองปีข้างหน้า การพัฒนาของ HSPA จะทำให้ความเร็วในการดาวน์โหลดเพิ่มสูงถึง 42 Mbps และความเร็วในการอัพโหลดสูงถึง 12 Mbps ซึ่งพัฒนาการไม่ได้หยุดยั้งเพียงแค่นั้น แต่ยังก้าวไปสู่ Long Term Evolution (LTE) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีขั้นต่อไปของ GSM/HSPA ที่คาดว่าจะเพิ่มความเร็วไปถึง 200 Mbps.

 .

การเลือกใช้ HSPA ยังเป็นการประหยัดจากการขยายการผลิต (economies of scale) เนื่องจากHSPA เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี GSM/HSPA ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ทั่วโลกกว่า 2,500 ล้านราย มีโครงข่าย   WCDMA/HSPA เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์มากมายทั่วโลกเกือบ 140 โครงข่าย และอีก 47 โครงข่ายที่กำลังจะเปิดให้บริการในอนาคต

 .

การเปิดตัวเครือข่าย HSPA ได้รับการยอมรับสูงกว่าที่คาดไว้ ทำให้จำนวนผู้ใช้บริการโครงข่ายบรอดแบนด์ไร้สาย  HSPA มีมากกว่า 800 ล้านรายแล้ว นักวิเคราะห์คาดว่าจากยอดผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ทั่วโลกประมาณ 1,800 ล้านราย ภายในปี พ.ศ. 2555 จะเป็นผู้ใช้บริการโครงข่ายไร้สายประมาณ 1,200 ล้านราย และจากรายงานการวิจัยของจูนิเปอร์ รีเสิร์ช (Juniper Research) คาดว่าเกือบ 70% ของผู้ใช้บริการบรอดแบนด์ไร้สาย จะใช้โครงข่าย WCDMA/HSPA

 .

ความต้องการใช้บริการบรอดแบนด์ไร้สายอย่างมากมาย หมายถึงความต้องการแถบความถี่มากขึ้น เรื่องนี้กำลังเป็นประเด็นสำคัญ ITU (International Telecommunication Union) คาดว่าจะมีความต้องการแถบความถี่เพิ่มขึ้นประมาณ 700-1200 MHz เพื่อรองรับบริการบรอดแบนด์ไร้สายสาธารณะจนถึงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งหมายความว่ามีความต้องการแถบความถี่เพิ่มขึ้นสองหรือเกือบสามเท่าของที่มีอยู่ในปัจจุบัน

 .

ยังมีการคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2553 จะมีการใช้บริการทางด้านข้อมูลมากกว่าบริการทางด้านเสียง ปรากฎการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นแล้วที่ประเทศญี่ปุ่น คาดว่าเมื่อถึงปี พ.ศ. 2558 จะมีเพียงแถบคลื่นความถี่ IMT-2000 extension band 2500-2690 MHz เท่านั้นที่จะนานาประเทศจะตกลงร่วมกันว่าเป็นแถบคลื่นความถี่เพิ่มเติมเพื่อใช้สำหรับเทคโนโลยี 3G

 .

เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากบรอดแบนด์ไร้สาย มีการใช้งานอย่างครอบคลุมอย่างแท้จริงและคุ้มค่าในการลงทุน ต้องมีการจัดสรรแถบความถี่อย่างเพียงพอ ทั่วโลกควรร่วมมือกันเพื่อเลือกเทคโนโลยีและมาตรฐาน ไม่ควรจัดสรรแถบความถี่เดียวกันให้แก่เทคโนโลยีที่ไม่มีข้อกำหนดควบคุม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการรบกวนของคลื่นความถี่ในพื้นที่นั้นๆ และหลีกเลี่ยงการเสียเปล่าของแถบความถี่ที่เว้นไว้เพื่อป้องกันการรบกวนระหว่างกัน (guardbands)