เนื้อหาวันที่ : 2008-01-21 14:11:48 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3410 views

นักวิจัยมะกันพบหญ้าพลังงาน ผลิตเอทานอลดีกว่าข้าวโพด

พืชตระกูลหญ้าพื้นเมือง ในชื่อ หญ้าสวิตช์กราส (switchgrass) หรือในชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panicum virgatum ซึ่งขึ้นได้ตลอดทั้งปีตามธรรมชาติในเขตอเมริกาเหนือ กำลังเป็นความหวังในงานวิจัยด้านพืชพลังงาน ซึ่งเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารทั้งคนและสัตว์

พืชตระกูลหญ้าพื้นเมืองในชื่อ หญ้าสวิตช์กราส (switchgrass) หรือในชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Panicum virgatum ซึ่งขึ้นได้ตลอดทั้งปีตามธรรมชาติในเขตอเมริกาเหนือ กำลังเป็นความหวังในงานวิจัยด้านพืชพลังงานเนื่องจากผลการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนโดยกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา (ดีโออี) พบว่า หญ้าดังกล่าวให้เชื้อเพลิงชีวภาพอย่างเอทานอลได้ดีกว่าข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารทั้งคนและสัตว์

.

.

.

เกษตรกรในรัฐเนบราสก้าและดาโกต้าของสหรัฐอเมริกา ทำให้ความหวังของสหรัฐที่ต้องการเป็นตลาดใหญ่ผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ หรือ biofuel ของโลกใกล้ความจริงมาอีกขั้น ด้วยการร่วมโครงการปลูกหญ้าสวิตช์กราสดังกล่าวในระดับไร่นาขนาดใหญ่เป็นครั้งแรก และพิสูจน์ให้เห็นว่าวัชพืชต้นสูงดังกล่าวซึ่งตามธรรมชาติมักจะขึ้นตามขอบชายพื้นที่เพาะปลูก สามารถให้พลังงานมากกว่าพลังงานที่ต้องใช้ในการเพาะปลูกเป็นสัดส่วนถึง 5 เท่า

.

โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างเกษตรกรกับกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา หรือ ยูเอสดีเอ ซึ่งดำเนินการมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว โดยเกษตรกรจะเฝ้าสังเกตและเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณเมล็ดพันธุ์หญ้าที่นำมาปลูก ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ในการเลี้ยงหญ้า เชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการปลูก ปริมาณน้ำฝน และปริมาณหญ้าทั้งหมดที่เก็บเกี่ยวได้ตลอดระยะทดลอง 5 ปี ซึ่งขนาดไร่นาที่ใช้เพาะปลูกหญ้าในโครงการมีหลายขนาดตั้งแต่ 7-23 เอเคอร์ หรือ 17.5- 57.5 ไร่ ผลปรากฏว่า ปริมาณหญ้าที่เก็บเกี่ยวได้สำหรับนำไปใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพนั้น คือประมาณ 5.211.1 เมตริกตันต่อพื้นที่ 1.5 เอเคอร์ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา

.

นาย เค็น โฟเกล นักวิทยาศาสตร์การเกษตรของยูเอสดีเอ เปิดเผยว่า ปริมาณของหญ้าที่เก็บเกี่ยวได้มีความผกผันไปตามปริมาณน้ำฝน โดยในฤดูใบไม้ผลิถึงช่วงกลางฤดูร้อน หญ้าสวิตช์กราสจะต้องการความชื้นมากเป็นพิเศษ แต่ถ้าปีไหนฝนตกลงมาในช่วงฤดูใบไม้ร่วงก็จะไม่ส่งผลดีต่อปริมาณหญ้าที่จะเก็บเกี่ยวได้ หญ้าดังกล่าวใช้เวลาปลูกเพียงครั้งเดียว เมื่อนำไปผลิตเป็นเอทานอล หากกระบวนการผลิตต้องใช้พลังงาน 1 เมกะจูลก็จะได้เอทานอลที่ให้พลังงานเฉลี่ย 13.1 เมกะจูลเลยทีเดียว

.

จึงกล่าวได้ว่าวัชพืชชนิดนี้นำมาผลิตเป็นพลังงานได้มากกว่าที่ต้องใช้พลังงานในการผลิต ซึ่งพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิตนั้นรวมไปถึงพลังงานจากไนโตรเจนที่อยู่ในปุ๋ยและน้ำมันดีเซลจากรถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการปลูกและเก็บเกี่ยว โฟเกลกล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีโรงงานกลั่นเอทานอลจากพืชให้เส้นใยสูงอย่างหญ้าสวิตช์กราส ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงต้องใช้การวิธีการคำนวณเอา

.

.

.

แต่เชื่อว่าผลผลิตเอทานอลจริงๆ ที่จะได้จากหญ้าสวิตช์กราสคงไม่ห่างจากตัวเลขคำนวณมากนัก และหากจะเทียบกับเอทานอลที่ผลิตจากข้าวโพด เขาก็พบว่า เอทานอลจากหญ้าสวิตช์กราสน่าจะให้พลังงานในสัดส่วน 540 % ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ในการผลิต ซึ่งต่างกันอย่างมากจากเอทานอลข้าวโพดที่ให้พลังงานในสัดส่วนราวๆ 25 % ของพลังงานที่ใช้ในกระบวนการผลิต

.

ปัจจุบันกระทรวงพลังงานของสหรัฐ หรือ ดีโออี ให้เงินสนับสนุนบางส่วนในการก่อสร้างโรงกลั่นเชื้อเพลิงชีวภาพจากเส้นใยพืชการเกษตรจำนวน 6 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะใช้งบก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 1,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 40,800 ล้านบาท แห่งแรกชื่อโรงงานเรนจ์ ฟิวเอิลส์ ไบโอรีไฟเนอรี เริ่มการก่อสร้างแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในเมืองโซเพอร์ตั้น รัฐจอร์เจีย โรงงานดังกล่าวใช้เศษไม้รวมทั้งขี้เลื่อยจากอุตสาหกรรมไม้มาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีภัณฑ์ ดีโออีให้งบสนับสนุนเพื่อการก่อสร้างขั้นต้น 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นาย ซามูเอล บ็อดแมน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของสหรัฐ กล่าวว่า

.

แม้กระบวนการกลั่นเอทานอลจากหญ้าสวิตช์กราสและจากขี้เลื่อย-เศษไม้ จะมีความซับซ้อนทางเทคนิคมากกว่า แต่เมื่อพิจารณาด้านราคาและพลังงานแล้ว เชื่อว่าจะเป็นโครงการที่คุ้มค่ากับการลงทุน เพราะเอทานอลจากเส้นใยพืชให้พลังงานมากกว่าเอทานอลจากข้าวโพด แต่สร้างก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตทั้งหมดน้อยกว่า 

.

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ