เนื้อหาวันที่ : 2008-01-09 09:44:25 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1510 views

เทรนด์ ไมโคร เผยภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลปี 2550

เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท เผยถึงพัฒนาการของภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลในในปีนี้ยังคง มีการใช้บ็อตส์ และบ็อตเน็ตส์เพิ่มขึ้น เพื่อแพร่กระจาย สแปม และมัลแวร์ และก่ออาชญากรรมออนไลน์ บ็อตเน็ตส์ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง

.

เทรนด์ ไมโคร เผยสรุปภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลปี 2007 พร้อมชูเทคโนโลยีใหม่ Web Reputation ดันยอดขายในไทยปีนี้โต  30

.

บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท  ผู้นำระดับโลกด้านซอฟต์แวร์ และการบริการด้านการป้องกันไวรัสบนเครือข่ายและการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เปิดเผยถึงพัฒนาการของภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลในปีนี้ยังคง มีการใช้บ็อตส์ และบ็อตเน็ตส์เพิ่มขึ้น เพื่อแพร่กระจาย สแปม และมัลแวร์ และก่ออาชญากรรมออนไลน์โดยบ็อตเน็ตส์ยังคงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงของผู้เขียนมัลแวร์สำหรับการก่ออาชญากรรมออนไลน์ 

.

จากรายงานล่าสุดของศูนย์วิจัยเทรนด์แลบส์ ของเทรนด์ ไมโครยังระบุด้วยว่า ยุคนี้ถือเป็นยุคแห่งการแพร่ระบาดของมัลแวร์อย่างแท้จริง  การคุกคามของมัลแวร์ในปัจจุบันยังคงยากที่จะตรวจจับได้ และขณะนี้ได้พุ่งเป้าไปยังผู้ใช้ในภูมิภาค ประเทศ หรือกลุ่มที่เฉพาะเจาะจง  การโจมตีเหล่านี้จะเป็นแบบผสมผสาน ผู้เขียนมัลแวร์จะใช้การผสมผสานของมัลแวร์หลายประเภท ด้วยวิธีการใช้เว็บไซต์เป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูล อัพเดท และโจมตีรุนแรงขึ้น เช่น การโจมตีเพื่อนำข้อมูลที่ขโมยมาส่งกลับไปยังอาชญากรคอมพิวเตอร์หรือผู้เขียนมัลแวร์  ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายก็คือรายได้จากข้อมูลที่ขโมยมา

.

นายรัฐสิริ  ไข่แก้ว ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "ปัจจุบันภัยคุกคามบนเว็บส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นนั้นยังเอื้อประโยชน์ทางการเงินให้กับเหล่าแฮคเกอร์  จึงทำให้มีการโจมตีผู้ใช้ในองค์กรธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การรั่วไหลของข้อมูล หรือการขโมยข้อมูลได้มากกว่าที่เคยเป็น ภัยคุกคามที่มีพัฒนาการ และศักยภาพสูงเหล่านี้จะเข้าสู่เครือข่ายของบริษัทอย่างเงียบๆ

.

โดยจะมีผลเสียต่อข้อมูลของบริษัทในทันที และยังกระทบต่อความสามารถในการผลิต ชื่อเสียงองค์กร และรายได้ของบริษัทที่ตกเป็นเหยื่อด้วย ซึ่งโซลูชั่นการป้องกันภัยคุกคามที่สมบูรณ์แบบของเทรนด์ ไมโคร จะช่วยลดปัญหาด้านความเสี่ยงที่เกิดจากการรั่วไหลของข้อมูลที่สำคัญ หรือการสูญเสียข้อมูลส่วนตัว รวมทั้งป้องกันการทำลายภาพ ลักษณ์ของบริษัทที่เกิดจากกาโจมตีในลักษณะนี้ได้"

.

ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้เทรนด์ ไมโครประสบความสำเร็จในปีนี้ นอกเหนือจากการคว้าอันดับหนึ่งในตลาดซอฟต์แวร์ ป้องกันไวรัสในไทย (SCM - Security Content Management Software)  ด้วยส่วนแบ่งตลาด 34 เปอร์เซ็นต์ จากรายงาน “IDC Asia/Pacific Semiannual Security Software Tracker 1H 2006   ของบริษัท ไอดีซี ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิคแล้ว

.

บริษัทฯ ยังเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในตลาด ที่เรียกว่า "เทคโนโลยีตรวจสอบประวัติเว็บ" (Web reputation technology)  ที่ช่วยป้องกันการติดไวรัสด้วยการระบุ "ประวัติที่มา" ของเว็บไซต์ ตามการประเมินความน่าเชื่อถือของยูอาร์แอลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของโดเมน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารป้องกันภัยคุกคามบนเว็บรวมถึงการโจมตีแบบซีโร่เดย์ก่อนที่ภัยร้ายจะเข้าถึงระบบเครือข่ายได้ เทคโนโลยีการตรวจ สอบประวัติเว็บของบริษัท เทรนด์ ไมโครสามารถติดตามโดเมนเว็บนับร้อล้านชื่อได้   

.

รวมไปถึงการเปิดตัวโซลูชั่นการป้องกันภัยคุกคามบนเว็บแบบครบวงจร (Total Web Threat Protection) โซลูชั่นที่ป้องกันภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีประสิทธิภาพสูงสุด  ทั้งนี้โซลูชั่นของเทรนด์ ไมโคร นั้นจะเปลี่ยนจากเดิมที่นำเสนอผลิตภัณฑ์แต่ละจุดใช้งานมาเป็นโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยแบบรวมที่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การรักษาความปลอดภัย ณ จุดใช้งาน จะไม่ใช่แค่การป้องกันไวรัส ป้องกันสปายแวร์ แต่ยังรวมถึงการป้องกันภัยคุกคามบนโฮสต์ (Host Intrusion Prevention System HIPS) และเทคโนโลยีป้องกันข้อมูลรั่วไหล (Data Leak Prevention - DLP) เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า

.

นายรัฐสิริ กล่าวเพิ่มเติมว่า "สำหรับแนวโน้มของตลาดรักษาความปลอดภัยและบริหารจัดการข้อมูล (Security Content Management – SCM) จะเห็นได้ว่ากลุ่มลูกค้ากำลังมองหาโซลูชั่นเดียวที่สามารถบริหารจัดการระบบ การแจ้งเตือนภัย และอัพเดทไวรัสใหม่ๆ รวมทั้งตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว และทุกองค์กรต้องการโซลูชั่นที่สามารถรวมไฟล์ ข้อมูลและโครงสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถจัดการได้จากส่วนกลาง  ซึ่งแนวโน้มนี้จะยังเกิดขึ้นต่อเนื่องจากต้นปี 2551 ไปจนถึงอีก 2 ปีข้างหน้า"

.

"ในส่วนยอดขายรวมของเทรนด์ ไมโครในประเทศไทยปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งเป็นสัดส่วนรายได้ที่มาจากหน่วยงานราชการและภาคการศึกษา ประมาณ  20 เปอร์เซ็นต์  สถาบันการเงินและธนาคาร ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ และลูกค้าอื่นๆ อีก 65 เปอร์เซ็นต์ ด้านกลยุทธ์ที่จะบุกตลาดซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในปีหน้า จะเน้นเรื่องการให้ความรู้เรื่องภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ

.

 และนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาให้กับกลุ่มลูกค้าอย่างใกล้ชิด รวมถึงการเปิดตัวเทคโนโลยีและบริการใหม่ที่จะช่วยป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง และยังมีแผนที่จะขยายสินค้าและบริการเข้าสู่กลุ่มลูกค้าโซโห (Small Office Home Office: SOHO) เพิ่มมากขึ้นด้วย   นายรัฐสิริ กล่าวสรุปท้าย