เนื้อหาวันที่ : 2006-07-07 16:19:14 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1062 views

การนิคมอุตฯ ระบุการลงทุนในนิคมฯดีขึ้นจากปีก่อนกว่า 3,000 บาท

กนอ.ระบุ การลงทุนในการนิคมฯปีนี้ดีขึ้น มีรายได้โตขึ้นจากปีก่อน 600 ล้านบาทเป็น 3,000 ล้านบาท ชี้ ปีหน้ารายได้อาจลดลงเล็กน้อย เพราะมีบางอุตสาหกรรมที่ออกจากแผนฟื้นฟูไปแล้ว ชี้มีนิคมเอกชนสนใจขอเข้ามาอยู่ในกฎหมายของ กนอ.

กนอ.ระบุ การลงทุนในการนิคมฯปีนี้ดีขึ้น มีรายได้โตขึ้นจากปีก่อน 600 ล้านบาทเป็น 3,000 ล้านบาท ชี้ ปีหน้ารายได้อาจลดลงเล็กน้อย เพราะมีบางอุตสาหกรรมที่ออกจากแผนฟื้นฟูไปแล้ว ชี้มีนิคมเอกชนสนใจขอเข้ามาอยู่ในกฎหมายของ กนอ.

 

นายอุทัย จันทิมา ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่าปัจจุบันการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของ กนอ.มีทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมของเอกชนโดยรายได้ของปีนี้อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีรายได้เพียง 600 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ที่ดินของการนิคมฯและที่ดินที่เป็นการนิคมเอกชนสามารถขายที่ดินได้ไปแล้วประมาณ 3,500 ไร่ จากเป้าที่วางไว้ว่าจะสามารถขายที่ดินได้ 4,000 ไร่ภายในปีนี้ ซึ่งดีกว่าเมื่อปีก่อนที่ขายได้เพียง 2,500 ไร่ แต่รายได้ในปีหน้าอาจจะลดลงเล็กน้อย

 

เพราะในปีหน้าจะมีบางอุตสาหกรรมที่ออกจากแผนฟื้นฟูไปแล้ว เช่น การท่าเรือระยองและการรถไฟ เป็นต้น สาเหตุที่การขายที่ดินในการนิคมฯปีนี้ดีขึ้น เพราะว่ามีการมาลงทุนในลักษณะอุตสาหกรรมต่อเนื่องตามบริษัทอุตสาหกรรมแม่ที่เข้ามาลงทุนก่อนหน้านี้ และ กนอ.เองก็ยังมีพื้นที่เหลืออีกประมาณ 1 หมื่นกว่าไร่ ซึ่งยังสามารถใช้ได้อีกหลายปี และยังไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นราคา โดยกำลังเร่งพัฒนาพื้นที่ในเฟส 2 อยู่ นายอุทัย กล่าว

 

เพราะในปีหน้าจะมีบางอุตสาหกรรมที่ออกจากแผนฟื้นฟูไปแล้ว เช่น การท่าเรือระยองและการรถไฟ เป็นต้น สาเหตุที่การขายที่ดินในการนิคมฯปีนี้ดีขึ้น เพราะว่ามีการมาลงทุนในลักษณะอุตสาหกรรมต่อเนื่องตามบริษัทอุตสาหกรรมแม่ที่เข้ามาลงทุนก่อนหน้านี้ และ กนอ.เองก็ยังมีพื้นที่เหลืออีกประมาณ 1 หมื่นกว่าไร่ ซึ่งยังสามารถใช้ได้อีกหลายปี และยังไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นราคา โดยกำลังเร่งพัฒนาพื้นที่ในเฟส 2 อยู่ นายอุทัย กล่าว

 

ทั้งนี้การที่การนิคมอุตสาหกรรม(กนอ.) ยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ทำให้การเดินทางไปโรดโชว์ในต่างประเทศเจรจาง่ายขึ้นและขณะนี้ก็มีบริษัทเครือเครือสหพัฒน์พิบูล จำกัด(มหาชน) บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) และบริษัท สหวิริยา จำกัด (มหาชน)ที่เดิมบริษัทเหล่านี้มีนิมอุตสาหกรรมของตัวเองอยู่แล้วในลักษณะสวนอุตสาหกรรมกำลังเจรจาขอเป็นการนิคมฯที่อยู่ในกฎหมายการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)