ผู้บริโภคในประเทศไทยควรเพิ่มการรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์มือถือก่อนกิจกรรม 11/11 Singles' Day และ Cyber Monday Shopping ยอดนิยม
ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยแบบไซเบอร์แบบบูรณาการและแบบอัตโนมัติออกมาเตือนผู้ซื้อและนักช็อปออนไลน์ ให้เพิ่มการรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์มือถือของตนและระวังอาชญากรไซเบอร์ก่อนที่จะเข้าร่วมในเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก "11/11 Singles 'Day" ของอาลีบาบา และการขาย Cyber Monday ในสหรัฐอเมริกา
กิจกรรมลดราคาสินค้าบนออนไลน์ช้อปปิ้งประจำปีที่เรียกว่า Singles' Day ของอาลีบาบาจะมีขึ้นในวันที่ 11 พฤศจิกายนศกนี้ คาดว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดกิจกรรมลดราคาสินค้าขายปลีกออนไลน์ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้ ย้อนไปในปี พ.ศ.2560 กิจกรรมลดราคาสินค้า "11/11" นี้ได้สร้างสถิติใหม่ เมื่อสามารถสร้างรายได้มากถึง 25.3 พันล้านดอลลาร์ในหนึ่งวัน เนื่องมาจากการที่ผู้บริโภคทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมักพึ่งพาโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟนเป็นอย่างมากในการทำธุรกรรมออนไลน์จากระบบ e-banking ชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ e-hailing และแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบออนไลน์ต่างๆ
ตามการสำรวจกิจกรรมช้อปปิ้งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของ Mastercard ในปี ค.ศ.2017 พบว่ากิจกรรมการช้อปปิ้งผ่านโทรศัพท์มือถือในตลาดเกิดใหม่ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีอัตราการซื้อขายสูง และแซงหน้าประเทศที่พัฒนาแล้ว นั่นคือ ในประเทศฟิลิปปินส์ (53.5 เปอร์เซ็นต์) และมาเลเซีย (55.6 เปอร์เซ็นต์) เป็นประเทศที่มียอดซื้อสูงสุดของปี (Year-on-year growth) ขณะที่อินเดีย (75.8 เปอร์เซ็นต์) มีจำนวนผู้ช้อปปิ้งผ่านโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในภูมิภาคโดยได้ซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถืออย่างน้อย 1 ครั้งในช่วง 3 เดือนก่อนที่จะมีการสำรวจครั้งนี้ ตามมาด้วยจีน 71.4% และประเทศไทย 65%
เดวิด มาซียาค ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยด้านความปลอดภัยของฟอร์ติเน็ตกล่าวว่า “คาดว่าการช้อปปิ้งผ่านโทรศัพท์มือถือของประเทศไทยจะเป็นการเพิ่มปริมาณการโจมตีทางอินเทอร์เน็ตและการหลอกลวงทางไซเบอร์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่ฤดูช้อปปิ้งออนไลน์สิ้นปีในช่วงหลายสัปดาห์ที่จะถึงนี้ เช่น กิจกรรม Singles' Day และ Cyber Monday”
ฟอร์ติเน็ตจึงมีข้อเสนอแนะด้านความปลอดภัย 5 ประการสำหรับผู้ซื้อในวันหยุดออนไลน์เพื่อให้อุปกรณ์เคลื่อนที่ประเภทต่างๆ ของตนมีความปลอดภัย:
1.สร้างรหัสผ่านที่รัดกุมและเปลี่ยนบ่อยๆ - บ่อยครั้งในกระบวนการเข้าถึงข้อมูลบนโทรศัพท์มือถือจะมีการแจ้งให้ใส่รหัสผ่านหลายครั้ง ท่านไม่ควรระบุขอให้อุปกรณ์นั้นจำรหัสผ่านของท่าน ท่านควรสร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อนที่ไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย เช่น "1234" หรือวันเกิด ให้ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันสำหรับโปรแกรมต่างๆ และใช้ประโยชน์จากวิธีการรับรองความเป็นตัวตนที่ถูกต้องของท่าน (Authentication) เพิ่มเติมที่ระบบหรือเครื่องนั้นมีให้
2.เก็บข้อมูลสำคัญแยกต่างหาก – ทำสำรองและบันทึกข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือไปยังอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ถอดเคลื่อนย้ายได้ให้เป็นประจำ เก็บอุปกรณ์นั้นไว้ในที่อื่นแยกออกไปและเป็นที่ที่ปลอดภัย เมื่อจำเป็นต้องใช้การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์เก็บข้อมูลดังกล่าว ให้ใส่ไว้กับของมีค่าอื่นๆ เช่น กระเป๋าถือและกุญแจ ซึ่งท่านมักจะให้ความสำคัญและปกป้องมากขึ้น
3.เข้ารหัสไฟล์ – การเข้ารหัสไฟล์จะทำให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตและแฮ็กเกอร์ไม่สามารถดูข้อมูลบนอุปกรณ์ได้ สำหรับท่านที่ใช้แล็ปท็อป โปรดพิจารณาใช้การเข้ารหัสดิสก์แบบเต็มรูปแบบ (Full disk encryption) ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้การโจรกรรมเริ่มที่แล็ปท็อป เนื่องจากไม่มีวลีรหัสผ่าน (Passphrase) ทั้งนี้ เมื่อใช้การเข้ารหัสแล้ว ท่านจะต้องจำรหัสผ่านและวลีรหัสผ่านให้ได้ ถ้าท่านลืมหรือทำหาย ท่านอาจสูญเสียข้อมูลได้
4.ติดตั้งและบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส - ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งหมดและอัพเดตไวรัสให้ทันสมัยอยู่เสมอ หากซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสไม่มีซอฟต์แวร์ป้องกันสปายแวร์ ให้ลองติดตั้งซอฟต์แวร์แยกต่างหากเพื่อป้องกันภัยคุกคามดังกล่าว
5.ติดตั้งและบำรุงรักษาไฟร์วอลล์ – เป็นสิ่งสำคัญที่ท่านจะต้องจำกัดทราฟฟิคที่เข้ามาและออกจากอุปกรณ์ใดๆ ที่ต่อเชื่อมกับอินเทอร์เน็ต ไฟร์วอลล์จะช่วยกรองว่าแอปใดบนอุปกรณ์ดังกล่าวจะสามารถต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้หรือไม่ อย่างไร