เนื้อหาวันที่ : 2018-09-12 12:01:38 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1592 views

มองให้ลึกถึงเทคโนโลยีเวชศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในประเทศไทย

มร.เชเรดนิเชนโก, Mr.Cherednichenko, CEO of Rusatom Healthcare  

เทคโนโลยีนิวเคลียร์มีส่วนในการสนับสนุนการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นเวลากว่าทศวรรษ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในทางปฏิบัติการของวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ก้าวไปไกลกว่าการผลิตไฟฟ้า บทความนี้จะกล่าวถึงประเด็นที่มักจะถกถียงกันว่านิวเคลียร์สร้างประโยชน์ให้แก่ประชากรอย่างไรบ้าง? ปัจจุบันหลายประเทศได้นำโซลูชั่นทางนิวเคลียร์มาใช้เพื่อรองรับความต้องการของภาคสังคม เช่น ในด้านการแพทย์ เกษตรกรรม และในสาขาอื่น ๆ

จากข้อมูลของรัสอะตอม เฮลท์แคร์ ปัจจุบันไอโซโทปกัมมันตรังสี[1]ที่ผลิตออกมามากกว่าร้อยละ 50 ถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์ เวชศาสตร์นิวเคลียร์เป็นที่รู้จักในด้านวิธีการตรวจวินิจฉัยทางนวัตกรรม รอสอะตอมผลิตโมลิบดีนัม[2]-99 สำหรับป้อนตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไอโซโทปดังกล่าวใช้เพื่อการผลิตเทคนีเชียม[3]–99 เอ็ม นิวไคลด์กัมมันตรังสีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยเป็นหลัก

วิธีการนำไปใช้คือ การนำเทคนีเชียม-99 เข้าไปในร่างกายของคนไข้ จากนั้นใช้โทโมกราฟีเพื่อติดตาม ดูผลโดยจะแสดงผลเป็นภาพ 3 มิติเพื่อดูตำแหน่งของเนื้องอก การแพร่กระจาย และจุดที่ผิดปกติ เทคนิคการถ่ายภาพด้วยนิวเคลียร์มี 2 รูปแบบ คือ เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ (สเป็กต์)[4] และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์โพซิตรอน (เพ็ต)[5] เทคนิคทั้งสองรูปแบบนี้ไม่เพียงแค่ทำให้การถ่ายภาพฯ ถูกต้องแม่นยำเท่านั้น แต่ยังทำให้รู้กรณีการเจ็บป่วยของคนไข้แต่ละรายได้อย่างละเอียดมากขึ้นอีกด้วย  จากรายงานดัชนีชี้วัดเรื่องมะเร็งวิทยา  การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยการสแกนแบบสเป็กต์ (SPECT) และเพ็ท (PET) มีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นจนมีการคาดการณ์ว่าตลาดเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในเอเชียแปซิฟิคจะเพิ่มขึ้นถึง 10% (CAGR) ในปี 2561-2566

ปัจจุบันเทคนิคการตรวจวินิจฉัยทางนิวเคลียร์ถูกนำไปใช้ในด้านหทัยวิทยาและประสาทวิทยาโดยส่วนใหญ่ รวมถึงได้มีการนำมาใช้กันทั่วไปในการตรวจหาเนื้องอกและการแพร่กระจายของมะเร็ง จากสถิติการตรวจด้วยการถ่ายภาพทางนิวเคลียร์ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้ได้ดำเนินการใช้กับผู้ป่วย 40 รายต่อประชากรทุกหนึ่งพันคนในแต่ละปี ขณะที่ญี่ปุ่นใช้กับผู้ป่วย 25 ราย และในออสเตรียจำนวน 19 ราย

ไอโซโทปกัมมันตรังสียังคงมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวางเพื่อการรักษาเนื้องอก วิธีการนี้เรียกว่ารังสีรักษา โดยได้มีการนำรังษีรักษาไปใช้กับผู้ป่วยที่มีเนื้อร้ายมากกว่าร้อยละ 80 มีทั้งที่เป็นการรักษาแบบวิธีเดี่ยว  หรือรักษาควบคู่กับการผ่าตัด หรือรักษาควบคู่กับเคมีบำบัด ตัวอย่างเช่น รังสีรักษาระยะใกล้เป็นรูปแบบหนึ่งของรังสีที่ต้องวางแหล่งกำเนิดรังสีใกล้กับตำแหน่งที่เกิดโรค ซึ่งมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในการรักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง

ไอโซโทปกัมมันตรังสีสำหรับเวชศาสตร์นิวเคลียร์นั้น ผลิตขึ้นโดยเครื่องปฏิกรณ์และไซโคลทรอน สำหรับประเทศไทยนั้นได้มีการลงนามสัญญาระหว่างบริษัท ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท รอสอะตอม (รัสเซีย) ในปี 2560 ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันสร้างศูนย์ไซโคลทรอน[6] และจัดหาเภสัชภัณฑ์รังสีให้กับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)

เกี่ยวกับโครงการศูนย์ไซโคลทรอนและเภสัชภัณฑ์รังสีในประเทศไทย

เครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคลทรอนใหม่นี้จะผลิตไอโซโทปทางการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งไอโซโทปเหล่านี้จะช่วยในตรวจวินิจฉัยระยะของเนื้องอก โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคระบบประสาทได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และในผู้ป่วยหลายรายวิธีนี้อาจเป็นเพียงวิธีการรักษาเดียวที่เหมาะสม ศูนย์ไซโคลทรอนในประเทศไทย จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดส่งไอโซโทปกัมมันตรังสีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยมะเร็ง ไปยังผู้ป่วยทั่วประเทศ ช่วยประหยัดเวลาในการเริ่มต้นการรักษาที่เหมาะสม

โครงการดังกล่าวจะตั้งขึ้นที่ศูนย์วิจัยนิวเคลียร์องครักษ์ จังหวัดนครนายก ด้วยเนื้อที่มากกว่า 5,400 ตารางเมตรโครงการศูนย์ฯ แห่งใหม่นี้จะมีเครื่องไซโคลทรอน และห้องปฏิบัติการวิจัยอีกหลายห้องสำหรับการผลิตเภสัชภัณฑ์รังสีให้กับเวชศาสตร์นิวเคลียร์  และเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่นเดียวกับการให้บริการในฐานะหน่วยงานด้านวิจัยและพัฒนาในสาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางรังสี

ก่อนหน้านั้นไอโซโทปแบบสเป็กต์ (SPECT) ทั้งหมดที่มีในประเทศไทยนำเข้าจากต่างประเทศ โดยไอโซโทปเพ็ตบางชนิดสามารถผลิตในโรงพยาบาลในประเทศไทยได้ปริมาณหนึ่ง แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นเครื่องเร่งอนุภาคแบบไซโคลทรอนใหม่ที่จัดหาโดยรอสอะตอมนี้จะทำให้ประเทศไทยสามารถผลิตไอโซโทปได้อย่างเพียงพอ และจะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยและพัฒนาในสาขาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ได้อีกด้วย

“นอกจากศูนย์ไซโคลทรอนที่สร้างร่วมกับสนท.แล้ว เรามีความเชื่อมั่นอย่างสูงว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำในการอภิปรายและการศึกษาวิจัยทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์  เราได้ร่วมมือกับพันธมิตรเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและของภูมิภาค ซึ่งไม่เพียงแต่หมายถึงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างประเทศไทยและรัสเซียได้เติบโตขึ้น แต่ยังรวมถึงกระชับความความมุ่งมั่นและการมีส่วนร่วมในการเจรจาเพื่อสร้างการรับรู้ทางด้านนิวเคลียร์และผลกระทบที่มีต่อประเทศไทยอีกด้วย” กล่าวโดย เดนิส เชเรดนิเชนโก ผู้อำนวยการทั่วไปของรัสอะตอมเฮลท์แคร์

อ้างอิง

รอสอะตอมเป็นบริษัทประกอบกิจการทางด้านนิวเคลียร์ของสหพันธรัฐรัสเซียซึ่งประกอบด้วยบริษัทและสถาบันอุตสาหกรรมนิวเคลียร์มากกว่า 350 แห่ง โดยมีประสบการณ์ในสาขาเทคโนโลยีนิวเคลียร์มากกว่า  70 ปี รอสอะตอมทำงานในระดับโลกเพื่อให้บริการด้านนิวเคลียร์แบบครบวงจร ตั้งแต่การเสริมสมรรถนะยูเรเนียมไปจนถึงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และเป็นหนึ่งในผู้นำระดับโลกด้านอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยประยุกต์และนวัตกรรมเป็นอย่างมาก รวมทั้งลงทุนในโครงการวิจัยและพัฒนาถึงร้อยละ 4.5 ของรายได้ประจำปี เทคโนโลยีของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ของรัสเซียได้สร้างเครื่องปฏิกรณ์วิจัยมากกว่า 120 เครื่องทั่วโลก

บริษัท รัสอะตอม อินเตอร์เนชั่นแนล เน็ตเวิร์ค เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมภายใต้การกำกับดูแลของรอสอะตอม โดยมีภารกิจเพื่อพัฒนาและบริหารจัดการเครือข่ายของศูนย์ภูมิภาคของรอสอะตอม บริษัทฯ ประกอบด้วยศูนย์ภูมิภาค 11 แห่ง งานหลักของบริษัทฯ และศูนย์ภูมิภาค คือ การแสวงหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อการขยายธุรกิจ ส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัทนิวเคลียร์ของรัสเซียทั่วโลก

รอสอะตอมให้บริการด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์อย่างเต็มรูปแบบผ่านบริษัทรัสอะตอม เฮลท์แคร์ บริษัทในเครือของตน ตั้งแต่การก่อสร้างสถานประกอบการและระบบปฏิบัติการไปจนถึงการจัดหาไอโซโทปทั่วโลก   บริษัทฯ ดำเนินโครงการสองด้าน คือ เวชศาสตร์นิวเคลียร์และเทคโนโลยีการประมวลผลผลิตภัณฑ์ทางนวัตกรรม

บริษัท ไคเนติคส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นครบวงจรในสาขาวิศวกรรมและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในตลาด และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน  การก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สี่ของไคเนติคส์ยังคงยึดมั่นในหลักการที่จะพัฒนาเพื่อสร้างอนาคตที่ดีที่สุด

[1] ไอโซโทปของธาตุที่ไม่เสถียร มีการสลายเพื่อลดระดับพลังงานโดยการปลดปล่อยรังสีออกมา มักใช้แทนคำว่านิวไคลด์กัมมันตรังสี

ที่มา : สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, “ศัพทานุกรมนิวเคลียร์”(กรุงเทพฯ: สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, 2552.)

[2] ธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 42 และสัญลักษณ์คือ Mo โมลิบดีนัมเป็นโลหะทรานซิชัน มีสีขาวเงินมีเนื้อแข็งมากอยู่กลุ่มของธาตุที่มีจุดหลอมเหลวสูงที่สุด

ที่มา : วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี, “โมลิบดีนัม” (https://th.wikipedia.org/wiki/โมลิบดีนัม)

[3] เทคนีเชียม-99 เอ็ม เป็นไอโซเมอร์ชนิดนิวเคลียสอุปเสถียร (metastable nuclear isomer) ของเทคนีเชียม-99 มีสัญลักษณ คือ 99mTc ที่ใช้ในการวินิจฉัยทางการแพทย์

ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ, “เทคนีเชียม-99 เอ็ม” (https://www.tint.or.th/sites/default/files/knowledge_file/STKC%2357%20by%20Gomol%2339.pdf)

[4] เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์ โดยการตรวจวัดรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาหลังการฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีเข้าไปในกระแสเลือด

[5] เทคนิคการถ่ายภาพด้วยวิธีกราดวิเคราะห์โพซิตรอนที่ปล่อยออกมาหลังจากฉีดเภสัชภัณฑ์รังสีที่มีครึ่งชีวิตสั้นมากเข้าไปในกระแสเลือด

[6] เครื่องเร่งอนุภาค ที่ถูกเร่งด้วยสนามไฟฟ้าและควบคุมด้วยสนามแม่เหล็ก

ที่มา : สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, “ศัพทานุกรมนิวเคลียร์” (กรุงเทพฯ: สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, 2552.)