เนื้อหาวันที่ : 2007-11-22 09:19:24 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1764 views

ดีเอชแอล ลุยตลาดส่งออกสำหรับภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย

กระตุ้นเตือนรัฐบาลในประเทศอาเซียน ในการเพิ่มความพยายามอีกเท่าตัวที่จะลดพรมแดนทางการค้าในแต่ละประเทศ หวังสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในภูมิภาค

ดีเอชแอล ผู้นำธุรกิจขนส่งด่วนและลอจิสติกส์ระดับโลก เปิดเผยถึงผลการศึกษาล่าสุด ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (Economist Intelligence Unit – EIU) เป็นผู้จัดทำ เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางการค้าในภูมิภาค โดยผลการศึกษาที่มีชื่อว่า ปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นมุมมองใหม่สำหรับการส่งออกในอาเซียนและภูมิภาคเอเชีย (Trading up: A New Export Landscape for ASEAN and Asia ) นี้ ได้ตรวจสอบถึงความเคลื่อนไหวของปริมาณสินค้าที่ผ่านพรมแดนของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย

.

โดยมีจุดเริ่มต้นจากประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งพบว่า แม้ประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีจุดมุ่งหมายความร่วมมือทางการค้าแบบบูรณาการ แต่จากผลการศึกษาล่าสุดชี้ว่า ภาพรวมของตลาดการส่งออกใหม่ในเอเชียของประเทศกลุ่มอาเซียนกลับอยู่บนทางแยกระหว่าง การดำเนินการด้านความร่วมมือทางการค้าแบบ บูรณาการในมิติที่ลึกยิ่งขึ้นระหว่างประเทศสมาชิก หรือ การลดความสัมพันธ์ในมิติดังกล่าวลงเพื่อไปพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าแบบคู่ขนานกับประเทศจีน ซึ่งจากการศึกษานี้พบว่า สัดส่วนของการส่งออกไปยังประเทศจีนจากทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน ยกเว้นประเทศเวียดนามนั้น มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การค้าภายในประเทศอาเซียนเองมีแนวโน้มการเติบโตที่ลดลง

.

ช่วงเวลาของการแผยแพร่ผลการศึกษาดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นในเช่วงเดียวกับ การประชุมสุดยอดด้านธุรกิจและด้านการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Business and Investment Summit – ASEAN-BIS) ซึ่ง ดีเอชแอลเป็นผู้สนับสนุนหลักเป็นเวลากว่า 5 ปีมาแล้ว โดยการศึกษานี้ มุ่งเน้นไปที่ 6 ประเทศที่มีความเจริญทางด้านเศรษฐกิจที่สุดของกลุ่มอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ประเทศไทย และเวียดนาม และวิเคราะห์การค้าของคู่แข่งที่ใกล้ชิดที่สุดในภูมิภาค คือ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย พร้อมด้วยการวิเคราะห์แนวโน้มที่เปลี่ยนไปของการนำเข้าและส่งออกจากปี 2000 ถึงปี 2007

.

โดยมุ่งเน้นเป็นพิเศษที่บทบาทการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูง เปรียบเทียบกับสินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่าแต่มีการขนส่งในปริมาณมาก การศึกษาดังกล่าวเป็นผลการวิจัยต่อเนื่องจากการศึกษาในหัวข้อ "การส่งออกของอาเซียน: วันนี้ พรุ่งนี้ และความท้าทายในการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูง (ASEAN Export: Today, Tomorrow and the High-value Challenge)" ซึ่ง ดีเอชแอลและหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ ได้ร่วมกันเผยแพร่ผลวิจัยนี้ในการประชุมสุดยอดด้านธุรกิจและด้านการลงทุนอาเซียน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2006

 .

 ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณการค้าในช่วงระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา โดยมีการเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบทางการค้า และที่สำคัญที่สุดคือ ปริมาณการค้าได้ถูกปรับเปลี่ยนใหม่เพื่อตอบสนองกับเศรษฐกิจและเงื่อนไขทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ ดีเอชแอลเชื่อว่า ในการที่จะรักษาการเติบโตสำหรับประเทศอาเซียนนั้น รัฐบาล และภาคธุรกิจ ต้องมีความเข้าใจในวิวัฒนาการของแบบแผนและการเคลื่อนไหวของปริมาณการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันได้มีศูนย์กลางการผลิตแห่งใหม่ๆ อย่างเช่น จีน และอินเดีย เกิดขึ้นในระบบการค้าโลก

 .
"บทบาทของเราในฐานะกลไกขับเคลื่อนทางการค้า เป็นมากกว่าผู้เคลื่อนย้ายสินค้า ดีเอชแอลสนใจในการติดตามศึกษาแบบแผนทางการค้า และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเอเชียและทั่วโลกแดน แมคฮิวจ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าว รายงานนี้ช่วยแสดงให้รัฐบาลของประเทศในอาเซียนเข้าใจถึงวิวัฒนาการของแบบแผนทางการค้าทั้งภายในและภายนอกกลุ่มประเทศอาเซียน พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมให้กับภาคธุรกิจด้วยข้อมูลในเชิงลึก เพื่อการประเมินและปรับกลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจในภาพรวมใหม่ของตลาดส่งออกอีกด้วย"
 .

อย่างไรก็ตาม แม้การศึกษานี้ได้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การค้าภายในอาเซียนมีปริมาณลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของประเทศจีน ดีเอชแอลยังเชื่อมั่นว่าภูมิภาคอาเซียนจะมั่นคง แข็งแรง และเติบโตต่อไป การศึกษาดังกล่าวนี้ยังสนับสนุนอย่างหนักแน่นอีกว่า รัฐบาลและภาคธุรกิจต่างๆ จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลุ่มการค้าไปสู่การเป็นห่วงโซ่มูลค่าทางด้านการส่งออก โดยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และมุ่งเน้นการนำเข้าและส่งออกสินค้ามูลค่าสูงเพิ่มมากขึ้น เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และอุปกรณ์ทางการแพทย์

 .
"ดีเอชแอล คือ ผู้นำด้านบริการการขนส่งด่วนในอาเซียน ซึ่งจากผลการศึกษาเหล่านี้ยืนยันสิ่งที่ลูกค้าหลายรายมักกล่าวชื่นชมเรา การกำหนดทิศทางใหม่ต่อการเคลื่อนไหวของปริมาณการค้าไปยังประเทศจีนนั้น สะท้อนความแข็งแกร่งของดีเอชแอลในตลาดจีน หากแต่เราอยากจะกระตุ้นเตือนรัฐบาลในประเทศอาเซียน ในการเพิ่มความพยายามอีกเท่าตัวที่จะลดพรมแดนทางการค้าในแต่ละประเทศ การค้าภายในอาเซียนยังคงมีศักยภาพอย่างมากในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในภูมิภาค" แมคฮิวจ์ กล่าวทิ้งท้าย