เนื้อหาวันที่ : 2018-06-25 17:49:45 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1401 views

Taiwan Excellence เปิดตัวโซลูชั่นส์ล้ำยุค ตอบรับนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ในงาน Manufacturing Expo 2018

Taiwan Excellence จับมือกับ 18 ผู้ผลิตเครื่องจักรอัจฉริยะ และ 35 ผู้ผลิตสินค้านวัตกรรมจากภาคการผลิตไต้หวัน เพื่อนำเสนอขีดความสามารถด้านเครื่องจักรอัจฉริยะของประเทศ  การันตีด้วยรางวัลยอดเยี่ยมจากไต้หวัน ในงาน Manufacturing Expo 2018 ที่จัดขึ้นในประเทศไทย ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

สำหรับปีนี้ พาวิลเลียน Taiwan Excellence ได้นำเสนอเครื่องจักรและโซลูชั่นส์อุตสาหกรรมล้ำยุคที่ได้รับรางวัล ซึ่งตอกย้ำความมุ่งมั่นของไต้หวันในการส่งเสริมนโยบายด้านการพัฒนา พร้อมกับผนึกความตั้งใจดังกล่าวควบคู่ไปกับภาคส่วนอุตสาหกรรมทุกระดับ เวลานี้ถือเป็นโอกาสครั้งสำคัญของไต้หวันในการร่วมมือกับประเทศไทย และถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการพัฒนาการผลิตแบบยกระดับตามที่ได้แถลงเอาไว้ในนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในปัจจุบันของไต้หวัน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย “Thailand 4.0”

ยุคแห่งการผลิตด้วยแนวทางอัจฉริยะได้เกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบ และเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าในปัจจุบัน ไต้หวันจึงเตรียมการสนับสนุนและผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญที่จะทำให้ยุคอุตสาหกรรมอัจฉริยะสัมฤทธิ์ผล

เมื่อปี 2560 ไต้หวันเป็นประเทศผู้ส่งออกอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ด้วยเครื่องจักรและอุตสาหกรรม ICT ที่ล้ำสมัย เช่น IoT และเทคโนโลยี ฺBig-data รวมถึงความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและเอกชน ไต้หวันได้กลายเป็นประเทศผู้นำแห่งยุคการผลิต 4.0

นาย เจสัน สวี่ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทยกล่าว “ไต้หวันและประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนที่เติบโตและต่อเนื่อง เมื่อปี 2560 มูลค่าการค้าทวิภาคีสูงถึง 10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และไต้หวันก็เป็นประเทศคู่ค้าอันดับที่ 11 ของประเทศไทย”

เอดเวิร์ด ชาง ตัวแทนจาก Hiwin Mikrosystem Motor

“เป็นเครื่อง AB Robot ที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence ในปีนี้ เครื่องนี้เป็น Power Source ไม่ใช่เครื่องจักรครับ พูดง่าย ๆ ก็คือ ถ้าเปรียบสิ่งนี้เป็นมือ แล้วเราอยากจะยกอะไรซักอย่าง สิ่งนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของมือ เพื่อให้มือของเราขยับแบบ Linear Motion (การเคลื่อนที่แบบแนวนอน)ได้ นั่นหมายถึงเครื่องนี้จะเป็น Power Source ของเครื่องจักร AB Robot ของเรา ที่ได้รวมส่วนที่เป็นมอเตอร์กับ Ball Screw ไว้ด้วยกัน  รวมกันเป็น linear Stage จุดเด่นก็คือ แต่ก่อนเวลาที่จะใช้เครื่องจักแบบ Linear Motion จะต้องมีมอเตอร์แยกกับตัว Ball Screw และสาย Cable อีกหลายเส้น แต่ AB Robot จะรวมทุกอย่างไว้ในเครื่องเดียว และครื่องนี้มีขนาดที่เล็กลง ซึ่งลดเวลาในการติดตั้งลง 75% รวมถึงการเคลื่อนที่ของมันก็ยังเร็วกว่าของเดิม ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ทำให้เราสามารถชนะรางวัลได้  อีกทั้งยังช่วยให้คุณประหยัดเวลาและพื้นที่”

ไมเคิล เฉิน ตัวแทนจาก ICP DAS Co,Ltd

“สำหรับ IoT เราสามารถเชี่อมต่อเซ็นเซอร์เข้ากับระบบ Coud ได้ โดยสามารถ Monitor อุณหภูมิกับความชื้นได้ แล้วก็รวบรวมข้อมูลไปที่ตัว control และเครื่องนี้ได้รับรางวัล Taiwan Excellence โดย

จุดเด่นของมันคือเป็นเครื่องที่ใช้งานง่าย ไม่ต้องติดตั้งอะไรมากมาย สามารถใช้งานได้เลย คล้ายๆกับการที่เราสร้างบัญชีในเฟสบุ๊กแล้วข้อมูลของเราก็จะรวมอยู่ในนั้น โดยการเชื่อมต่อ สามารถใช้ได้ 2 แบบ ทั้งแบบสายต่อ หรือ Wireless เช่น wifi 3g 4gก็ได้ สำหรับสายจะเป็นสาย 2 สายที่ติดอยู่กับเครื่อง โดยให้นึกถึงเวลาที่เราใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งจะมีการส่งข้อมูลไปที่ Protocol แล้วก็ส่งต่อมาทางเรา ทั้งนี้เราสามารถตั้งระบบให้เป็นส่วนตัวหรือสาธารณะได้ เพื่อเอาไว้เมมโมรี่ข้อมูลต่างๆ และเครื่องนี้สามารถวิเคราะห์ในแบบง่ายๆได้ด้วย สำหรับในประเทศไทย บริษัทที่นำเครื่องของเราไปใช้คือ Golden Oil ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันปาล์ม โดยจะใช้เช็คสภาพของเครื่องจักร และการใช้พลังงานของเครื่องจักร เพื่อที่จะนำเครื่องจักรเหล่านั้นไปดูแลรักษาได้ และถ้าหากเกิดปัญหาอะไร เครื่องนี้ก็จะแจ้งเตือน

สำหรับจุดเด่นก็คือ เราจะนำเอาเครื่องนี้ไปที่บริษัทของลูกค้าก่อน เพื่อปรับให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคนตามที่ลูกค้าต้องการ และยังสามารถปรับเปลี่ยนเซ็นเซอร์ได้ เพราะแต่ละโรงงานมีความต้องการเซนเซอร์ที่แตกต่างกัน ซึ่งบริษัทของเราได้รับรางวัลต่อเนื่องกันมาตลอด 10 ปี และยังมีสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ อีก 3 พันชิ้นเลยทีเดียว”

มาร์ค ชาง ตัวแทนจาก Shin Yain Industrial Co,Ltd

“บริษัท Shin-Yain ก่อตั้งแต่ปี 1997 และเริ่มมีสาขาในประเทศไทยเมื่อปี 2009 โดยบริษัทผลิตเกี่ยวกับ เครึ่องยึด (Tool Holder) เครื่องเกาะยึด (Collet) และเครื่องตัด (Cutting Tool) และอื่นๆอีกมากมาย แต่วันนี้เราจะโฟกัสเกี่ยวกับ Tool Holder ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญของเครื่องจักรแบบที่ทำการยึดระหว่าง cnn machine และ cutting tool และถ้าหากเราใช้ tool holder ที่มีคุณภาพต่ำ ก็จะส่งผลให้ระยะเวลาการใช้งานของเครื่องจักรต่ำลง และชิ้นงานก็จะมีคุณภาพต่ำลงด้วย ในส่วนของสินค้าชิ้นแรกคือ PNER โดยมีขนาดเล็กลง เพื่อลดการสั่น ทำให้ชิ้นงานที่ออกมามีความสวยงามมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี่กำลังเป็นเทรนด์ในอุตสาหกรรม 4.0 สามารถช่วยให้ตัดเหล็กได้เหมือนเนยเลยทีเดียว ต่อมาคือ SAG-DE Angle Head Holder ซึ่ง Angle Head เป็นส่วนหนึ่งของ Tool Holder ที่ช่วยให้สามารถหมุนได้ทั้งแนวนอนและแนวตั้ง โดยอุปกรณ์ชิ้นนี้ทำมาจาก 7075 อัลลูมิเนียม อัลลอย และเป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมยานอวกาศ เพราะน้ำหนักเบา ทนทาน และมีขนาดเล็กจนทำให้สามารถใช้กับชิ้นงานขนาดเล็กได้”

นายเจสัน กล่าวปิดท้ายว่า “พาวิลเลียน Taiwan Excellence ในงาน Manufacturing Expo 2018 ครั้งนี้ เป็นครั้งที่สองหลังจากประสบความสำเร็จอย่างมากเมื่อปีที่แล้ว โดยปีนี้มีผลิตภัณฑ์ชั้นนำ 35 ชิ้น จากบริษัท 18 แห่งที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence และคัดเลือกมาเปิดตัวในงานนี้โดยเฉพาะ” 

ไฮไลท์ในพาวิลเลียน Taiwan Excellence ประจำปีนี้ คือ

  • โซลูชั่นส์อุตสาหกรรมอัตโนมัติ 0 จากบริษัท Avantech จำกัด
  • โซลูชั่นส์บำรุงรักษาอุตสาหกรรมจาก Axiomtek
  • ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีมอเตอร์แบบไฮเทคจาก Hiwin Mikrosystem Corp.
  • SAG-DE Angle Head Holder สำหรับเครื่องจักรหัวคู่จาก บริษัท Shin-Yain Industrial จำกัด
  • หุ่นยนต์ TM-5 จากบริษัท Techman Robot จำกัด หุ่นยนต์ที่สามารถคิดและปฏิบัติงานได้เหมือนมนุษย์

 

เกี่ยวกับ Taiwan Excellence

สัญลักษณ์ Taiwan Excellence บ่งบอกความเหนือชั้นของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากไต้หวัน ซึ่งส่งมอบมูลค่าอันหาที่เปรียบมิได้ให้แก่ผู้ใช้งานทั่วโลก ผลิตภัณฑ์ที่มีตราสัญลักษณ์นี้ได้รับคัดเลือกสำหรับรางวัล Taiwan Excellence  Awards จากความเป็นเลิศด้านการออกแบบ คุณภาพ การตลาด การวิจัยและพัฒนาของไต้หวัน และการผลิต สัญลักษณ์ Taiwan Excellence เป็นความคิดริเริ่มจากกระทรวงกิจการเศรษฐกิจ (Ministry of Economic Affairs – MOEA) แห่งไต้หวัน เมื่อปี 2535 และได้รับการยอมรับใน 102 ประเทศทั่วโลก    

จัดโดย

สำนักการค้าต่างประเทศไต้หวัน (Bureau of Foreign Trade – BOFT) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงกิจการเศรษฐกิจ (Ministry of Economic Affairs – MOEA) แห่งไต้หวัน มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการปรับใช้นโยบายและ ระเบียบควบคุมการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ

BOFT ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม ปี 2512 โดยมีบทบาทและสถานะที่คอยปรับให้เข้ากับความจำเป็นทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศและสภาพแวดล้อมทางการค้าที่ผันแปรไปมา BOFT ได้มอบแนวทางและร่วมมือกับสภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน (Taiwan External Trade Development Council–TAITRA) ในโครงการและการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก ทั้งสองหน่วยงานได้ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ BOFT จึงยังคงมอบหมายให้ TAITRA เป็นผู้ดำเนินโครงการของรัฐบาลที่สำคัญต่าง ๆ ในด้านธุรกิจ การค้าและการลงทุน ไปพร้อมๆ กับการส่งเสริมไต้หวันในระดับนานาชาติ   

สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน (Taiwan External Trade Development Council–TAITRA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2513 เพื่อช่วยส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ โดยเป็นองค์กรกึ่งภาครัฐด้านการส่งเสริมการค้าแบบไม่แสวงหาผลกำไรระดับแนวหน้าของไต้หวัน ด้วยการสนับสนุนร่วมกันจากรัฐบาล สมาคมอุตสาหกรรม และองค์กรการค้าต่างๆ TAITRA ให้ความช่วยเหลือธุรกิจและภาคการผลิตจากไต้หวันโดยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในระดับนานาชาติ และรับมือกับความท้าทายในตลาดต่างประเทศ TAITRA มีจุดเด่นที่เครือข่ายข้อมูลข่าวสารและการส่งเสริมการค้าที่สอดคล้องกันเป็นอย่างดี ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดระหว่างประเทศจำนวนมากกว่า 1,200 คนที่ประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่ในกรุงไทเป และในสำนักงานอีก 50 แห่งทั่วโลก TAITRA และหน่วยงานพันธมิตรอย่างศูนย์ส่งเสริมการค้ารัฐบาลไต้หวัน (Taiwan Trade Center–TTC) และศูนย์ส่งเสริมการค้านานาชาติรัฐบาลไต้หวัน (Taipei World Trade Center–TWTC) ได้ร่วมกันสร้างความรุ่งเรืองด้านโอกาสทางการค้า ผ่านยุทธศาสตร์การส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพ