เนื้อหาวันที่ : 2017-11-09 09:34:13 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1513 views

นักศึกษาม.หอการค้าไทยคว้า CFA มาตรฐานคุณวุฒิการเงินจากสหรัฐอเมริกา

หลักสูตร CFA หรือ Chartered Financial Analysts เป็นหลักสูตรสำหรับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก ทำการการสอบเป็นครั้งแรกปี ค.ศ.1963 แต่เดิมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ The Institute of Chartered Financial Analysts (ICFA) มาจนถึงปี ค.ศ.1990 ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ Association for Investment Management and Research (AIMR) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Charlottesville รัฐ Virginia  ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เหมาะสมกับชื่อหลักสูตรมากขึ้น ในปี ค.ศ.2004 จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น CFA Institute จนถึงปัจจุบันนี้ วัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งหลักสูตร CFA เพื่อใช้เป็นใบอนุญาตมาตรฐานสำหรับการประกอบวิชาชีพทางด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์ในระดับสากล รวมถึงการสนับสนุนให้มีหลักการปฏิบัติวิชาชีพ และจรรยาบรรณในการให้บริการของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์แก่นักลงทุน โดยหลักสูตร CFA โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ

นายทิลล์ ทิม ไวน์โฮลนซ์ (น้องทิม) นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิศวกรรมการเงิน ชั้นปีที่ 4 ผู้ที่สอบ CFA มาตรฐานคุณวุฒิทารงการเงินของสหรัฐอเมริกาได้ โดยก่อนหน้านี้สามารรสอบผ่านหลักสูตรของประเทศไทย ภายใต้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชื่อหลักสูตร CISA เป็นรูปแบบภาษาไทยและค่าใช้จ่ายในการสอบถูกกว่าCFA ด้าน CISA มีการแบ่งเป็นระดับเหมือนกับ CFA แต่CISAสามารถใช้ได้ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนCFAสามารถใช้ได้ทั่วโลก CFA มีสอบปีละ 2 ครั้ง มิถุนายนและ ธันวาคม ในระดับที่ 1 ในส่วน CISA จะมีสอบทุกเดือน 

นายทิลล์ กล่าวว่า “ต่อปีในประเทศไทยมีคนสอบ CFA ระดับ 3 ทั้งหมด 300 กว่าคน และทิมก็อยากจะเป็นหนึ่งในนั้นในระดับ 3 ในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่มีการจำกัดอายุในการสอบแต่ว่าการจะสอบ CFA ระดับที่ 1 มีข้อกำหนดต้องเรียนอยู่ชั้นสุดท้ายของปริญญาตรี  ส่วน ระดับที่2 ต้องจบปริญญาตรี  และระดับ3 ต้องจบปริญญาตรีหลังจากนั้น 1 ปี ถึงสอบได้ หรือคนจบปริญญาตรีด้านการเงินไปแล้วผ่านไปหนึ่งปี ย้อนไปสอบระดับที่ 1 ก็สามารถทำได้ เร็วที่สุดในการสอบ CFA ระดับชั้นปีสุดท้ายของปริญญาตรี ภาษาที่ใช้ในการสอบที่ยังเป็นปัญหาของเด็กไทยอยู่เพราะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โชคดีที่ทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย วิชาทางด้านการเงินจะมีการพูดคุยกันเป็นภาษาไทย แต่หนังสือที่เรียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด อาจารย์ใช้ภาษาไทยในการสอนแต่หนังสือที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ เหมือนอาจารย์กับนักศึกษาช่วยกันแปลทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นทั้งระบบ 2 ภาษา”  

“ดีใจมาก ๆ ผมรู้สึกคุ้มค่ากับความเหนื่อยที่ได้ทุ่มเท ลงไป 6 เดือนในการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ และคุ้มกับเงิน 50,000 บาท ซึ่งตอนนี้ทิมสอบ CFA ผ่านระดับที่ 1 กำลังไประดับที่ 2 และกำลังเรียนจบ ในโครงการ 4+1สำหรับปริญญาโท ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยเป้าหมายของการสอบ CFA ก็เพื่อเป็นการปูทางไปสู่วิชาชีพด้านการบริหารกองทุน (Investment Profession) เนื่องจาก CFA เป็นคุณวุฒิที่มีมาตรฐานสูงและได้รับการยอมรับระดับสากล และได้รับการยกย่องจาก The Economist ว่าเป็น Gold ซึ่งผมตั้งใจที่จะไปเรียนต่อที่อังกฤษ และทำงานด้านการลงทุนและกองทุนประเทศอังกฤษ”