เนื้อหาวันที่ : 2017-09-27 10:51:36 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1382 views

ชไนเดอร์ อิเล็คทริคแนะเตรียมบ้านให้พร้อมรับมืออันตรายจากไฟฟ้าและฟ้าผ่าช่วงหน้าฝน

ชไนเดอร์ อิเล็คทริคชี้ช่วงหน้าฝนเป็นฤดูที่มีความเสี่ยงที่สุดจากอันตรายจากไฟฟ้าและฟ้าผ่า เตรียมพร้อมรับมือกับภัยร้ายที่มองไม่เห็นในช่วงฤดูฝนโดยมีน้ำเป็นสื่อกลางตัวนำไฟฟ้า ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายจากไฟดูด ไฟชอร์ต กระแสไฟเกินจากฟ้าผ่าได้ ชไนเดอร์ฯ พร้อมช่วยแนะนำวิธีป้องกันอันตรายด้วยวิธีง่าย ๆ เพียงหมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมถึงการติดตั้งเบรกเกอร์และตัวกันไฟดูด กันฟ้าผ่าที่ได้มาตรฐานเพื่อลดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน
กุศล กุศลส่ง รองประธานธุรกิจค้าปลีก ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย จำกัด แนะนำว่าในช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ทุกบ้านต้องเตรียมพร้อมรับมือกับอันตรายที่มองไม่เห็น นั่นก็คือ อันตรายจากไฟฟ้า โดยมีน้ำเป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้าที่ก่อให้เกิดไฟดูด ไฟชอร์ตได้ ยิ่งโดยเฉพาะเวลาที่โดนฝนจนตัวเปียก แล้วเผลอไปสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยไม่รู้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นชำรุด มีไฟรั่ว หรือสวิตซ์ไฟที่มีช่องห่างระหว่างแป้นกับสวิตซ์ ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟดูดได้เมื่อน้ำไหลเข้าไป หรือในกรณีที่บางบ้านเกิดมีหลังคาชำรุด ผนังบ้านมีน้ำหยดซึมลงมาโดนบริเวณปลั๊กไฟ หากเสียบปลั๊กอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร และถูกไฟดูดได้ด้วยเช่นกัน ชไนเดอร์ อิเล็คทริคเล็งถึงเห็นอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยที่ไม่รู้ตัว จึงต้องให้ความสำคัญในการติดตั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์และเบรกเกอร์กันไฟดูดหรือ RCBO (Residual Current Breaker With Overload Protection) รวมไปถึงอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากจากฟ้าผ่า (Surge Protection) ซึ่งทั้ง 3 ตัวมีหน้าที่ช่วยปกป้องชีวิตและทรัพย์สินเหมือนกัน หากเป็นไปได้ควรติดตั้งให้ครบทั้ง 3 ชนิด ดังนั้นการเลือกตู้ไฟหรือตู้คอนซูเมอร์ยูนิตจึงไม่ใช่เพียงหน้าที่ของช่างไฟโดยเฉพาะ แต่ผู้อาศัยควรมีความตระหนักและมีความเข้าใจว่าอันตรายจากทั้ง 3 เหตุการณ์เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ
1. เมนเบรกเกอร์กันดูด (RCBO 2 Pole) ช่วยป้องกันทั้งไฟชอร์ต ไฟลัดวงจร และไฟดูด
2. อุปกรณ์กันไฟกระชาก (Surge Protection) ป้องกันแรงดันไฟฟ้าส่วนเกินจากฟ้าผ่าที่อาจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจร เป็นอันตรายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านได้
3. เบรกเกอร์กันดูดแบบลูกย่อย (RCBO 1 Pole) สามารถตัดไฟเฉพาะจุดที่มีปัญหา ไฟไม่ดับทั้งบ้าน ทำให้ปลอดภัยและได้รับความสะดวกสบาย
นอกจากนี้การเลือกตู้ไฟ นอกจากความปลอดภัยแล้ว ยังต้องดูถึงดีไซน์ที่เข้ากันได้กับบ้าน สามารถติดตั้งที่ใดก็ได้เพื่อความสะดวกแก่การเข้าถึง ที่สำคัญต้องง่ายในการติดตั้งหรือการเปลี่ยนเบรกเกอร์ใหม่ในอนาคต ซึ่งถ้าเป็นแบบปลั๊กออนจะง่ายและปลอดภัย ลดโอกาสทำให้เบรกเกอร์หลอมละลายเมื่อเกิดเหตุสุดวิสัย อีกประการหนึ่งคือตู้ไฟสมัยใหม่จะมีเทคโนโลยี QR Code ช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถเรียกดูข้อมูลการติดตั้ง และข้อมูลของช่างไฟที่มาติดตั้งได้ด้วย ช่วยให้ง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น
เพราะไฟฟ้าเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น ชไนเดอร์ อิเล็คทริคจึงอยากให้ทุกคนให้ความสนใจกับเรื่องเหล่านี้ สามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ก่อนเกิดเหตุเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตัวคุณและคนที่คุณรัก