เนื้อหาวันที่ : 2017-02-10 15:11:37 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 727 views

ฟูจิ ซีร็อกซ์ เปิดตัวแนวคิด Smart Work Gateway เสริมกลยุทธ์องค์กรในยุคไทยแลนด์ 4.0

ฟูจิ ซีร็อกซ์  เปิดตัวแนวคิด Smart Work Gateway สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน พร้อมเปิดตัวเครื่องมัลติฟังก์ชัน ApeosPort-VI C / DocuCentre-VI C ซีรีส์ พร้อมชู Cloud Service Hub แพลตฟอร์มใหม่เพื่อการเชื่อมต่อกับบริการคลาวด์ในหลายรูปแบบรองรับการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล

               

 

มร.โคจิ เทสึกะ ประธาน บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด

 

          มร.โคจิ เทสึกะ ประธาน บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่าปี 2560 นี้ ฟูจิ ซีร็อกซ์ ฉลองครบรอบ 50 ปีในประเทศไทย เดินหน้าขยายฐานลูกค้า ด้วยการเปิดตัวแนวคิด Smart Work Gateway” เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นโมเดลพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทย ที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้ทุกภาคส่วนปรับการดำเนินธุรกิจให้ก้าวทันกระแสโลก ด้วยการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจให้พร้อมแข่งขัน และสร้างรายได้ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และโซลูชั่นภายใต้แนวคิด Smart Work Gateway ของ ฟูจิ ซีร็อกซ์ สามารถสนับสนุนรูปแบบการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัลที่ต้องการความยืดหยุ่น ด้วยเครื่องมือการสื่อสารที่หลากหลาย และสามารถปรับให้เหมาะกับความต้องการส่วนบุคคลของลูกค้าได้

               

 

 

          แนวคิด  Smart Work Gateway ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของลูกค้า เนื่องจากอุปกรณ์มัลติฟังก์ชันแบบเดิมเพียงอย่างเดียวไม่อาจตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าวได้ ฟูจิ ซีร็อกซ์จึงเร่งพัฒนาธุรกิจ ผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตร เพื่อยกระดับบทบาทของอุปกรณ์มัลติฟังก์ชันให้กลายเป็นพอร์ทัลการสื่อสารในที่สุด  ด้วยการเชื่อมโยงอุปกรณ์มัลติฟังก์ชันเข้ากับบริการคลาวด์ ต่าง ๆ  ซึ่งเป็นระบบการสื่อสารแบบเปิดที่ปลอดภัย และสามารถปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของลูกค้าแต่ละรายได้ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน และยกระดับการทำงานของผู้ใช้ภายในองค์กรธุรกิจ และกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น และเพื่อเสริมสร้างแนวคิด Smart Work Gateway ให้สมบูรณ์แบบ ฟูจิ ซีร็อกซ์ จึงได้เปิดตัวเครื่องมัลติฟังก์ชัน ApeosPort-VI C / DocuCentre-VI C ซีรีส์ ที่สามารถรองรับการทำงานบนระบบคลาวด์จำนวน 14 รุ่น อีกด้วย

         

      

          นอกจากนั้น ฟูจิ ซีร็อกซ์จะมีการจัดกิจกรรมแนะนำโซลูชั่นใหม่ๆให้ลูกค้ารู้จักอย่างต่อเนื่อง ผ่านกิจกรรม งานสัมมนาให้ความรู้ต่างๆ ร่วมกับพันธมิตรทางการค้า รวมทั้งจะเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ทดลองใช้เครื่องมัลติฟังก์ชั่น และโซลูชั่นใหม่ๆ ตามจุดให้บริการ อาทิ ร้านคาเฟ่ใจกลางเมือง และพื้นที่สำนักงานให้เช่าต่างๆ เพื่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการ และรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ที่ง่าย และสะดวกสบายยิ่งขึ้น ด้วยโซลูชั่นที่สามารถรองรับการทำงานในทุกที่ ทุกเวลา ในรูปแบบที่ต้องการ เพื่อสร้างสมดุลในการทำงาน และการดำเนินชีวิต

               

 

          นางสาวโลจนันท์ ชลลัมพี Head of Product Marketing บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ ApeosPort-VI C / DocuCentre-VI C ซีรีส์ ใหม่นี้ จะสร้างระบบสื่อสารที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในสถานที่ทำงานด้วย Cloud Service Hub หรือแพลตฟอร์มใหม่ที่เชื่อมโยงเครื่องมัลติฟังก์ชัน เข้าด้วยกันกับบริการคลาวด์มาตรฐานที่เปิดให้บริการอยู่เป็นจำนวนมาก โดยผู้ใช้จะสามารถเข้าสู่ระบบคลาวด์ดังกล่าวได้โดยการลงชื่อเข้าใช้เพียงครั้งเดียว และสามารถสแกนหรือบันทึกเอกสารไปยังระบบคลาวด์และสั่งพิมพ์เอกสารจากระบบคลาวด์ได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาเอกสารข้ามบริการคลาวด์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับ Cloud Service Hub ได้ ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนให้กระบวนการทางธุรกิจมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

                 

          นอกจากนี้ Cloud Service Hub จะทำงานร่วมกับ Fuji Xerox Direct Management Console ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ฟรีที่จะแสดงเนื้อหาของ Fuji Xerox Direct ซึ่งเป็นเว็บไซต์พอร์ทัลที่รวบรวมบริการอินเทอร์เน็ตต่างๆ ของฟูจิ ซีร็อกซ์ บนเครื่องพีซีของลูกค้า ด้วยซอฟต์แวร์ดังกล่าวนี้ ลูกค้าสามารถ ซื้อ ดาวน์โหลด และติดตั้งแอพพลิเคชันสำหรับเครื่องมัลติฟังก์ชันผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างง่ายดายจากศูนย์กลาง ด้วยการลากแล้ววาง (dragging and dropping) และยังสามารถแสดงสถานะของสิทธิ์การใช้งานแอพพลิเคชัน เพื่อการตรวจสอบที่รวดเร็วอีกด้วย ด้วยการการใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าวผ่านเครื่องพีซี ผู้ใช้สามารถจัดการ และตั้งค่าอุปกรณ์มัลติฟังก์ชันจำนวนมากได้พร้อมกัน จึงดำเนินปรับเปลี่ยนได้รวดเร็วในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหันในกระบวนการทำงาน ซึ่งส่งผลให้ระบบการทำงานมีความยืดหยุ่น และเสริมสร้างประสบการณ์การใช้งานแบบใหม่ให้กับผู้ใช้ในยุคนี้เป็นอย่างดี

               

          “โดยอุปกรณ์มัลติฟังก์ชันรุ่นใหม่นี้ใช้หมึก Super EA Eco ซึ่งเป็นหมึกแบบใหม่ที่มีอนุภาคเล็กที่สุดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นเดียวกันในตลาด จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างภาพพิมพ์แบบฮาล์ฟโทน (Half Tone) ทั้งยังสามารถรวมตัวกันได้ดีที่อุณหภูมิประมาณ 10 องศาเซลเซียสซึ่งต่ำกว่าหมึกทั่วไป สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้อย่างมาก และสำหรับรุ่น ApeosPort-VI C7771/C6671, DocuCentre-VI C7771/C6671 ได้เพิ่มประสิทธิภาพการสแกนมากขึ้น โดยสามารถสแกนแบบสองหน้า (Duplex) ที่ความเร็ว 270 หน้าต่อนาที ซึ่งถือว่าเร็วที่สุดเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์รุ่นเดียวกันในตลาด จึงสามารถสแกนเอกสารจำนวนมากด้วยการสแกนเอกสารด้านหน้าและด้านหลังพร้อมกันในการสแกนครั้งเดียว นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลช่วยเหลือและวิธีใช้บนเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลล่าสุดในการใช้งานที่แสดงบนแผงควบคุมของเครื่องมัลติฟังก์ชัน หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ตามต้องการ” นางสาวโลจนันท์ กล่าวทิ้งท้าย

 

ภาพบรรยากาศ

 

 

 

 

 

 

 

เกี่ยวกับบริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์:

                บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ จำกัด ก่อตั้งในปี พ.ศ.2505 เป็นบริษัทชั้นนำด้านการสื่อสารและการบริการด้านเอกสาร โดยพร้อมนำเสนอโซลูชั่นและบริการเพื่อช่วยลูกค้ารับมือกับความท้าทายทางธุรกิจของตนได้อย่างรอบด้าน สำหรับโซลูชั่นและบริการที่โดดเด่นของบริษัท คืออุปกรณ์มัลติฟังก์ชันสำหรับสำนักงานระดับโลก เครื่องพิมพ์มาตรฐานทั่วไป และเครื่องพิมพ์ระดับโปรดักชั่นที่เรามุ่งมั่นพัฒนาและผลิตสำหรับการจัดจำหน่ายทั่วโลก นอกจากนี้ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ ยังมีโซลูชั่นระบบคลาวด์และระบบมือถือสำหรับการสร้างระบบสื่อสารที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ในเวลาที่เหมาะสม และในรูปแบบที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่มีค่ายิ่งของลูกค้า

                ทั้งนี้ บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ เป็นบริษัทร่วมทุนในสัดส่วน 75-25 ระหว่างบริษัท ฟูจิฟิล์ม โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น กับบริษัท ซีร็อกซ์ คอร์ปอเรชั่น โดยมีทีมขายครอบคลุมทั่วทั้งประเทศญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศจีนด้วย บริษัทมีพนักงานประมาณ 45,000 คนทั่วโลก โดยมีสำนักงานทั้งภายในประเทศ สำนักงานสาขา และส่วนงานขายทั่วโลกมากกว่า 80 แห่ง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ สามารถดูได้ที่เว็บไซต์ www.fujixerox.com