เนื้อหาวันที่ : 2017-01-17 11:15:26 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1363 views

โครงข่ายสาธารณูปโภคจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ในส่วนงานวิกฤติ IOT (หรือ Mission Critical IoT)

          ประเทศไทยกำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ Smart Grid เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  

 

          ในอนาคตอันใกล้นี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) กำลังจะทดลองใช้โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะในเขตพื้นที่เมืองพัทยา โดยการติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะจำนวน 120,000 มิเตอร์สำหรับใช้ในช่วงทดลองนี้

 

          โครงการดังกล่าว ถือเป็นก้าวที่สำคัญของยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 และเราเชื่อว่าไม่ช้าก็เร็วการไฟฟ้านครหลวง (กฟน) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ) จะประกาศแผนการขยายการใช้งานมิเตอร์อัจฉริยะไปยังภูมิภาคอื่นๆ ทั้งโครงข่ายการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาต่อไป

 

          นี่เป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับประเทศไทย เพราะมิเตอร์อัจฉริยะจะมีส่วนช่วย กฟภ และ กฟน ลดภาระต้นทุน และประหยัดพลังงาน รวมถึงลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Emission) ได้ดีขึ้น

 

          ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ผู้บริหารงานด้านสาธารณูปโภคของไทยจำเป็นต้องพิจารณาตัดสินใจดำเนินงานในหลายๆ เรื่อง ซึ่งบางเรื่องส่งผลถึงประสิทธิผลของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ  และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงข่ายนี้ ในขณะที่บางเรื่องที่ผู้บริหารต้องตัดสินใจนี้ส่งผลในด้านความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบสาธารณูปโภคสำคัญของประเทศ

 

          เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า หนทางเดียวที่จะทำให้เกิดความมั่นคงและปลอดภัยในการใช้โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ คือการใช้งานคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต หรือ licensed spectrum ในการติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะเพื่อเชื่อมการสื่อสารระหว่างครัวเรือนและองค์กรธุรกิจกับผู้ให้บริการด้านสาธารณูปโภค   

 

          หนทางดังกล่าวเป็นแนวทางเดียวกันกับที่รัฐบาลอังกฤษใช้ในโครงการติดตั้งมิเตอร์อัจฉริยะ ณ ครัวเรือนและวิหากิจขนาดเล็กหลายล้านแห่งทั่วภาคเหนือของประเทศภายในปี พ.ศ. 2563 และแนวทางการเลือกใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตนี้เป็นแนวปฏิบัติที่รัฐบาลอื่นๆ ทั่วโลกนำมาใช้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ

 

          เหตุผลที่รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจเลือกใช้งานคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น (licensed spectrum) สำหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ได้แก่   

 

          ประการแรก อีกไม่นานเราจะมีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตได้จำนวนหลายพันล้านเครื่อง  รัฐบาลอังกฤษจึงเห็นควรว่าอุปกรณ์เกี่ยวกับสาธารณูปโภคควรจะมีคลื่นความถี่เฉพาะสำหรับเชื่อมต่อโดยไม่ต้องไปแย่งจำนวนแบนด์วิดท์กับอุปกรณ์ IoT ที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนวิกฤติ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในเรื่องที่ไม่จำเป็น(non-critical IoT devices) ยกตัวอย่างเช่น ห้องน้ำ IoT ชุดโต๊ะเก้าอี้ IoT หรือแม้กระทั่งเครื่องสำอาง IoT ซึ่งรัฐบาลอังกฤษเห็นว่าข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ไม่ควรใช้แบนด์วิดท์ร่วมกับโครงข่ายสำคัญเช่นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT สำหรับส่วนงานวิกฤติ ที่ติดตั้งโดยผู้ให้บริการสาธารณูปโภค

อินเทอร์เน็ต

 

          ประการที่สอง รัฐบาลอังกฤษพิจารณาการเลือกใช้คลื่นความถี่โดยการจัดลำดับความสำคัญและพบว่าโซลูชั่นที่ได้รับอนุญาต(licensed solutions) มีความปลอดภัยกว่าโซลูชั่นที่ไม่ได้รับอนุญาต และมีระบบป้องกันการรรบกวนสัญญาณที่ดี ทำให้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของประเทศมีความปลอดภัย ซึ่งนอกจากรัฐบาลอังกฤษแล้ว ยังมีรัฐบาลของอีกหลายประเทศเลือกใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต (licensed spectrum) ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง

 

          จากเหตุผลดังกล่าวเหล่านี้ รัฐบาลอังกฤษจึงใช้งานคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต และปัจจุบันรัฐบาลหลายๆ ประเทศต่างก็เลือกแนวทางเดียวกันนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

          ประกอบกับจำนวนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน การตัดสินใจของรัฐบาลอังกฤษ จึงเป็นการตัดสินใจที่ชาญฉลาด ทั้งนี้จากข้อมูลของการ์ตเนอร์ (Gartner) ระบุว่าภายในสิ้นปี พ.ศ. 2559 นี้จะมีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้มากถึงหกหมื่นล้านเครื่องอิบนโลกของเรา และผู้เชี่ยวชาญได้คาดการณ์ว่าในประเทศไทยจะมีอุปกรณ์เหล่านี้เราวห้าร้อยล้านเครื่องที่ภายในปี พ.ศ. 2563

 

          แน่นอนว่าการพัฒนาเทคโนโลยี IoT นั้นย่อมส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทย เนื่องจาก IoT นั้นเปิดโอกาสให้เกิดการเติบโตทางด้านธุรกิจ พัฒนาคุณภาพชีวิตและตรงกับความต้องการของกลุ่มคนที่ขาดโอกาสทางสังคม ในทำนองเดียวกันกับการพัฒนาและการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยที่มีภาครัฐเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ความสำเร็จของการพัฒนา IoT ในประเทศไทยก็ต้องอาศัยภาครัฐเช่นกัน

 

          อุปกรณ์ IoT ใหม่ๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตที่นับวันยิ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดจนผลของอุปกรณ์เหล่านี้ที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม ทำให้การพิจารณาเลือกใช้คลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต (licensed spectrum) หรือ คลื่นความถี่ทั่วไป (unlicensed spectrum) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้บริหารด้านสาธารณูปโภคต้องตัดสินใจ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในแง่ของความปลอดภัยและแผนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เรามั่นใจว่าผู้บริหารของหน่วยงานสาธารณูปโภคจะเลือกใช้งานคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต (licensed spectrums) สำหรับการพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะของไทยในอนาคต เพราะท้ายที่สุดแล้วโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่ใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาต จะนำประเทศชาติไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขัน ความมั่นคงปลอดภัย และผลักดันสู่ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

 

Arthur Chu

Director, Strategic Customer Team, APAC

 

          อาเธอร์ ชูว์ มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ และเป็นผู้บริหารงานทางด้านไฟฟ้าและประปา ในภูมิภาคเอเชียแฟซิฟิก Sensus เป็นบริษัทที่มีโครงการติดตั้งระบบมิเตอร์อัจฉริยะมากที่สุดในโลก จากความร่วมมือกับรัฐบาลสหราชอาณาจักรซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่ติดตั้งใช้งานมิเตอร์อัจฉริยะมากกว่า 10 ล้านครัวเรือน