เนื้อหาวันที่ : 2016-06-23 14:56:30 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2284 views

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์โชว์ศักยภาพ co-bots หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ในสายการผลิต ในงาน Assembly & Automation Technology 2016

 

  

ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ผู้บุกเบิกหุ่นยนต์รองรับการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ โชว์ศักยภาพ co-bots หุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ในสายการผลิต ช่วยเพิ่มผลผลิต เสริมศักยภาพสร้างความน่าเชื่อถือ และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในระยะยาว พร้อมเปิดตัวโชว์รูมออนไลน์ Universal Robots+ รองรับคู่ค้า นักพัฒนาโปรดักส์ และเอ็นด์ยูสเซอร์

 

 

          ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ (UR) ผู้พัฒนาและผู้ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีความยีดหยุ่นคล่องตัว และใช้งานง่ายชั้นหน้าของโลก ร่วมงาน Assembly & Automation Technology 2016 ที่ไบเทค นำ collaborative robots (co-bots) หรือหุ่นยนต์ที่มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับมนุษย์รุ่น UR3 และ UR10 มาแสดงศักยภาพกันในงาน ระหว่างวันที่ 22-26 มิถุนายน พ.ศ. 2559 พบกันได้ที่ บูธ 1F11

 

 

เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

 

          เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าตนเอง “ตื่นเต้นที่ได้เข้าร่วมงาน และพบปะนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ในภาคส่วนอุตสาหกรรมในงาน Assembly & Automation Technology โดยถือเป็นโอกาสดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคืบหน้าของพัฒนาการเทคโนโลยีด้านโรโบติกส์ และยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ได้นำโปรดักส์มาแสดงศักยภาพรวมถึงความชำนาญในอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นความสำเร็จของชิ้นงาน เช่น อุตสาหกรรมในภาคส่วนการผลิต การประกอบชิ้นส่วน และการผลิตเวชภัณฑ์ ในภาวะที่การแข่งขันธุรกิจเข้มข้นอย่างทุกวันนี้ เจ้าของกิจการส่วนใหญ่ต่างก็ตระหนักดีต่อความจำเป็นที่จะต้องขยายขีดความสามารถของทรัพยากรต้นทุนที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุดโดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่บริษัทของเรายินดีอย่างยิ่งที่จะได้แสดงถึงศักยภาพสุดล้ำของ co-bots จากยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ และยังเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากเทคโนโลยีนี้อีกด้วย”

 

          ทั่วโลกในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้นมาก ในปี พ.ศ. 2558 ยูอาร์ (UR) มีรายรับ 61.65 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการเติบโตจากปี พ.ศ. 2557 ถึง 91 เปอร์เซ็นต์ ในปัจจุบัน ยูอาร์ มีตัวแทนจำหน่ายทั้งสื้น 200 รายทั่วโลก และ 25 เปอร์เซ็นต์ของการจำหน่ายมาจากเอเชีย

 

          ในประเทศไทย ยูอาร์ กำลังพิจารณาขยายเครือข่ายของการจัดจำหน่ายเพื่อรองรับสนับสนุนความต้องการหุ่นยนต์ ประเภท co-bots ที่ขยายตัวขึ้น ซึ่งในตอนนี้มีการติดต่อเข้ามาแล้วหลายราย ในปัจจุบัน ยูอาร์ ทำงานร่วมกับตัวแทนจำหน่ายสามรายในประเทศไทย ได้แก่ บริษัท เซราไทย จำกัด, บริษัท เฟิร์สเม็ค จำกัด และ บริษัท เจอแรงการ์ เซอร์วิส (ไทยแลนด์) จำกัด โดยจับมือเป็นพันธมิตรกันเพื่อให้ทันต่อความต้องการในการผลิตจากลูกค้าที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ

 

 

คุณเชอร์มีน กำลังสาธิตการทำงานของหุ่นยนต์ UR10

 

          เชอร์มีน กล่าวเสริมว่า “ความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้ผลิตในประเทศไทยต่างก็เห็นทิศทางการเคลื่อนตัวมาสู่ออโตเมชั่นเพื่อการพัฒนาคุณภาพของโปรดักส์ ดังนั้น ด้วยพันธมิตรตัวแทนจำหน่ายในไทยของเรา จะช่วยให้เราเข้าถึงบริษัทธุรกิจต่างๆ ได้มากขึ้น ช่วยให้บริษัทเหล่านั้นได้ประโยชน์จากการนำ co-bots มาใช้งานในสายการผลิตของตนเอง ช่วยเพิ่มผลผลิต เสริมศักยภาพสร้างความน่าเชื่อถือ และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในระยะยาว” โดยในปัจจุบันอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน CO-BOT มาก ได้แก่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

 

          อันเนื่องมาจากความยืดหยุ่นคล่องตัว และสมรรถนะในการทำงานร่วมกับมนุษย์ในพื้นที่จำกัด หุ่นยนต์ประเภท CO-BOT นี้มีคุณสมบัติที่ให้ประโยชน์อยู่หลายประการเหมาะสำหรับวิสาหกิจขนาดเล็กและกลาง (SMEs)  ซึ่งคิดเป็น 98.5 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในประเทศไทย[1] ประโยชน์เหล่านั้น ได้แก่ ขนาดที่กะทัดรัดจึงคล่องตัวสำหรับติดตั้งใช้งานในพื้นที่การผลิตรูปแบบต่างๆ กันไป และมีอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่าย เซ็ตอัพสะดวก    

 

          ปัจจัยหลักในการพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาสู่รูปแบบการทำงานเคียงข้างกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ คือ ความปลอดภัยและความเชื่อมั่น โปรดักส์ของยูอาร์ ประกอบด้วยรุ่น UR3, UR5 และ UR10 ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO10218 สำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรม และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดตัวข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค (TS) ล่าสุดสำหรับ CO-BOTS และ ISO/TS 15066 ซึ่งเป็นแนวทางที่สนับสนุนมาตรฐานที่มีอยู่แล้วคือ ISO 10218 สำหรับความปลอดภัยในการปฏิบัติการของ CO-BOTS เช่นที่ยูอาร์ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางอยู่แล้ว

 

          พร้อมกันนี้ ยูอาร์ ได้แนะนำ Universal Robots+ โชว์รูมออนไลน์ที่มีปลั๊กแอนด์เพลย์แอพพลิเคชั่นโซลูชั่นไว้อำนวยความสะดวกแก่บริษัทที่กำลังสนใจจะติดตั้งหุ่นยนต์ของยูอาร์เพื่อการใช้งาน

 

 

          “Universal Robots+ เป็นแพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงออโตเมชั่นโซลูชั่นที่ทรงประสิทธิภาพ ผ่านการพิสูจน์ และมีความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งได้ยกระดับสู่ขั้นตอนที่ได้ผนวกกับองค์ประกอบที่สำคัญอื่น นั่นคือ นักพัฒนาโปรดักส์ ด้วยการผนวกรวมแอคเซสซอรี่คอมโพเน้นท์ที่สร้างขึ้นสำหรับใช้กับแขนกลของเราโดยเฉพาะ จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ใช้ไปกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและการทดสอบได้ของทั้งพันธมิตรคู่ค้าและเอนด์ยูสเซอร์ของเราลงได้” เชอร์มีนกล่าว “ด้วย Universal Robots+ ทุกฝ่ายล้วนได้ประโยชน์ร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่ คอมมูนิตี้นักพัฒนา พันธมิตรคู่ค้า และลูกค้าอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน”

 

          นักพัฒนาสามารถเข้าร่วมโปรแกรม +YOU ที่อยู่ใน Universal Robots+ เพื่อรับการสนับสนุนจากยูอาร์ในการพัฒนา URCaps ซึ่งเป็นแอคเซสซอรี่คอมโพเน้นท์ที่ต่อยอดสมรรถนะของแขนกลของยูอาร์ โดยจะเป็นฮาร์ดแวร์คอมโพเน้นท์ หรือซอฟท์แวร์ปลั๊กอิน หรือแม้แต่ทั้งสองอย่างรวมกันก็ย่อมได้ เมื่อใดที่ส่งมอบ URCaps ให้ยูอาร์ บริษัทจะทำการทดสอบโปรดักส์เพื่อให้แน่ใจว่าถึงมาตรฐานคุณภาพตามที่ยูอาร์กำหนดไว้ นักพัฒนาผู้ที่ได้รับการอนุมัติให้นำ URCaps มาแสดงกับ Universal Robots+ จะไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และเท่ากับได้เข้าอยู่ในแพลตฟอร์มการตลาดระดับมืออาชีพ ที่อนุญาตให้มีแอคเซสเข้าถึงไปยังเครือข่ายกว้างใหญ่ที่เชื่อมโยงลูกค้าทั้งโลกไว้ด้วยกัน

 

          Universal Robots+ เป็นแพลตฟอร์มที่ตัวแทนจำหน่ายใช้ต่อยอดขยายสินค้าข้อเสนอต่างๆ ให้แก่ลูกค้า สามารถแอคเซสโชว์รูมเพื่อค้นหา URCaps ที่ผ่านการอนุมัติทั้งหมด ที่ล้วนปรับแต่งมาโดยเฉพาะเพื่อเป็นโซลูชั่นที่เหมาะสมที่สุดต่อความต้องการใช้งานของลูกค้าเฉพาะรายไป ด้วยการเลือกแอคเซสซอรี่, ข้อต่อสุดท้ายที่ปลายแขนกล (end-effectors) และซอฟท์แวร์โซลูชั่นจาก Universal Robots+ ทั้งตัวแทนจำหน่าย และเอนด์ยูสเซอร์จะสามารถที่เห็นได้เลยตั้งแต่ต้นว่าแอพพลิเคชั่นทำงานดีหรือไม่ ประหยัดเวลาที่มิเช่นนั้นแล้วต้องเสียไปกับขั้นตอนต่างๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน กว่าจะผ่านช่วงการทำคอนเซ็ปท์และมาสู่ขั้นการปฏิบัติงานจริง

 

          เป้าหมายของ Universal Robots+ คือการลดช่วงเวลาที่ใช้ไปกับการติดตั้ง เพิ่มความสะดวกสบายของผู้ใช้ และลดค่าใช้จ่ายสำหรับทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยโชว์รูมใหม่นี้ ยูอาร์ได้สร้างระบบนิเวศน์เป็นของตัวเองขึ้นมา สนับสนุนแอพพลิเคชั่นที่วนเวียนเกี่ยวข้องกับแขนกลของหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์เพื่อพัฒนาและนำมาแสดงต่อไป

 

          URCaps ที่ได้รับการอนุมัติเป็นรายแรก ปัจจุบันกำลังเปิดแสดงอยู่ที่งาน AUTOMATICA เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี สามารถชมได้ที่ Universal Robots+ Showroom

 

 

          ส่งท้าย สำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัส CO-BOTS ทั้ง 3 รุ่น จาก Universal Robots อย่างใกล้ชิด พบกันได้ที่งาน Assembly & Automation Technology 2016 ที่ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 22-26 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ที่ บูธ 1F11 ครับ

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เกี่ยวกับยูนิเวอร์แซล โรบอทส์

 

          ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์เป็นผลแห่งความสำเร็จในการวิจัยค้นคว้าด้านหุ่นยนต์อย่างหนักหน่วงติดต่อกันหลายปี ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2005 โดยนักวิจัยสามท่าน คือ เอสเบน ออสเตอร์การ์ด แคสเปอร์ สตอย์ และ คริสเตียน แคสซอว์ ที่ประสงค์จะสร้างเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ จึงได้สร้างหุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดเล็ก เป็นมิตรต่อผู้ใช้ ราคาสมเหตุสมผล มีความคล่องตัว สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย และใช้ในงานอัตโนมัติและปรับปรุงกระบวนการในงานอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทประกอบด้วย หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ UR3 UR5 และ UR10 หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้ตั้งชื่อรุ่นตามน้ำหนักที่รับในหน่วยกิโลกรัม

 

          ตั้งแต่ UR ตัวแรกก้าวเข้าสู่ตลาดเมื่อเดือนธันวาคมปี 2008 บริษัทก็ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง หุ่นยนต์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้งานนี้สามารถทำตลาดได้ในประเทศต่างๆ มากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ระยะเวลาในการคืนทุนโดยเฉลี่ยสำหรับหุ่นยนต์ UR นี้ภายใน 12 เดือนเท่านั้น ถือเป็นอัตราที่เร็วที่สุดในอุตสาหกรรม บริษัทยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท เทราไดน์ อิงค์ ที่มีฐานอยู่ที่เมืองบอสตัน บริษัทมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองโอเดนส์ ประเทศเดนมาร์ก และมีสาขาและสำนักงานภูมิภาคอยู่ที่สหรัฐอเมริกา สเปน เยอรมนี สิงคโปร์ สาธารณรัฐเช็ก อินเดีย และจีน มีพนักงานทั่วโลกกว่า 200 คน สนใจข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ที่ www.universal-robots.com

 

[1] http://www.asiapathways-adbi.org/2015/07/importance-of-smes-in-the-thai-economy/