เนื้อหาวันที่ : 2016-04-01 14:13:32 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1644 views

บก.ปอศ. โชว์ผลงานยอดเยี่ยมในไตรมาสแรก ตรวจค้นองค์กรธุรกิจพบคอมพิวเตอร์กว่า 617 เครื่องติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์เถื่อนมูลค่ากว่า 97 ล้านบาท

เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) แสดงผลงานยอดเยี่ยมในช่วงสามเดือนแรกของปี 2559 โดยสามารถดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจมากกว่า 59 แห่ง พบคอมพิวเตอร์มากกว่า 600 เครื่อง ติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ คิดเป็นมูลค่ากว่า 97 ล้านบาท ในจำนวนองค์กรธุรกิจที่ถูกดำเนินคดี พบว่าบางแห่งติดตั้งและใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิมากที่สุด ตั้งแต่ดำเนินคดีมา

บก.ปอศ. ได้เข้าตรวจค้นบริษัทผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์มือถือยี่ห้อดัง พบว่าใช้ซอฟต์แวร์ที่เข้าข่ายไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและผิดกฎหมายบนคอมพิวเตอร์ 98 เครื่อง ในแผนกการเงินและแผนกบุคคล ทำให้ข้อมูลสำคัญมีความสุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม  บริษัทดังกล่าวมีชาวไทยและชาวจีนเป็นผู้ถือหุ้น ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร

พร้อมกันนี้ บก.ปอศ. ยังได้เข้าตรวจค้นโรงงานผู้ผลิตขวดแก้วสำหรับบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องสำอางและยารักษาโรคในจังหวัดฉะเชิงเทรา พบซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิติดตั้งและใช้งานอยู่บนคอมพิวเตอร์จำนวน 52 เครื่อง มูลค่าการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทั้งสองแห่งมากรวมกันกว่า 10 ล้านบาท

เมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ให้หมดไป บก.ปอศ. จึงเพิ่มความพยายามมากยิ่งขึ้นในการให้ความรู้และเพิ่มความเข้มข้นในปราบปรามองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย 

องค์กรธุรกิจจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อของอาชกรรมไซเบอร์หรือถูกคุกคามทางไซเบอร์ บ่อยครั้งที่พบว่าใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย

“บริษัทที่มีการรายงานว่าตกเป็นเหยื่อของอาชกรรมไซเบอร์ มักพบว่าใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงจำเป็นจริงๆ ที่บริษัทจะต้องมีการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างระมัดระวังด้วยวิธีการที่ถูกต้อง” พ.ต.อ. ดร. กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บังคับการ บก.ปอศ. กล่าว พร้อมเสริมว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า “ไม่ซื้อ ไม่ใช้ และไม่ขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นแนวทางที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหานี้” เราจึงได้ทำตามหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจ และร้านค้าจำหน่ายติดตั้งซอฟต์แวร์เถื่อนให้หมดสิ้นไป”

เร็วๆ นี้ บก.ปอศ. ได้เข้าร่วมสนับสนุนโครงการรณรงค์ระดับประเทศประจำปี 2559 หัวข้อ ‘Safe Software, Safe Nation’ ที่เน้นเรื่องการให้ความรู้กับองค์กรธุรกิจและประชาชนทั่วไป เรื่องความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ รวมถึง โอกาสที่จะถูกมัลแวร์จู่โจมที่มีอยู่สูงมากในกรณีที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาบและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ โครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาและสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

“องค์กรในภาคธุรกิจจะพบกับความเสี่ยงต่างๆ มากมาย และมีโอกาสสูงมากที่จะเผชิญกับความเสี่ยงดังกล่าว ในกรณีที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ” พ.ต.อ. ดร. กิตติศักดิ์ กล่าว “องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ ถือว่าขาดความรับผิดชอบอย่างมาก เพราะเท่ากับว่ากำลังทำให้ข้อมูลสำคัญของคู่ค้าและพนักงานมีความเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม  ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเข้ามาดูแลควบคุมการใช้งานสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ และต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้อยู่ถูกกฎหมายและมีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเท่านั้น”

ปัจจุบันพบว่าจำนวนผู้รายงานการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการสนับสนุนโครงการรณรงค์ ‘Safe Software, Safe Nation’ และทำให้ประเทศไทยของเรามีความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์มากยิ่งขึ้น ท่านสามารถแจ้งเบาะแสการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านสายด่วนที่ 02-714-1010 หรือรายงานผ่าน www.stop.in.th