เนื้อหาวันที่ : 2015-12-25 16:59:22 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1567 views

Wi-Fi: สิ่งจำเป็นสำหรับอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์

ไรอัน โกห์, รองประธานและผู้จัดการทั่วไป, ซีบรา เทคโนโลยีส์ เอเชียแปซิฟิก

แนวคิด “Industry 4.0” หรือการปฏิวัติทางด้านอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ของโลกที่ประเทศเยอรมนีกล่าวขึ้นเป็นรายแรกในปี ค.ศ. 2011 แนวคิดดังกล่าวต้องการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการผลิตโดยการใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการเครื่องจักรมากขึ้น หลังจากนั้นเพียง 4 ปี Industry 4.0 กลับกลายเป็นความจริงไปแล้ว ซึ่งขับเคลื่อนโดยอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ หรือ IoT เนื่องจาก Industry 4.0 ที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องพึ่งการเชื่อมต่อที่มีมาตรฐานและแพร่หลายในการส่งต่อข้อมูลระหว่างเครื่องจักรสู่เครื่องจักร, เครื่องจักรสู่มนุษย์ และ มนุษย์สู่เครื่องจักร ไรอัน โกห์, รองประธานและผู้จัดการทั่วไป, ซีบรา เทคโนโลยีส์ เอเชียแปซิฟิก ได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของ Wi-Fi ในแง่ของการเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการเชื่อมต่อสิ่งเหล่านั้น

ความสำคัญของเทคโนโลยีที่มีมาตรฐานและประสิทธิภาพ

หัวใจสำคัญของ IoT  คือดีไวซ์นับล้านชิ้นที่รับส่งข้อมูลไปยังระบบกลาง โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถเป็นได้หลายอย่าง ตั้งแต่ระดับความชื้นและอุณหภูมิของเครื่องจักร, ระบุตำแหน่งที่อยู่ของเจ้าหน้าที่ จนไปถึงสถานะการจัดส่งสินค้า สำหรับข้อมูลดังกล่าวถูกส่งไปยังระบบ คลาวด์ หรือ ดีไวซ์อื่นๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือวิเคราะห์เพิ่มเติม

การเชื่อมต่ออุปกรณ์มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก โดยมีทางเลือกหลายช่องทาง อาทิ Wi-Fi, Bluetooth, Low Energy (BLE), RFID และ NFC ซึ่งการเลือกระบบการเชื่อมต่อที่ถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สิ่งแวดล้อม (วัสดุของอุปกรณ์), ความหนาแน่นของเซนเซอร์ และระดับของการเชื่อมต่อและความรวดเร็ว

ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับ IoT มากที่สุดคือ Wi-Fi ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกาวที่ยึดการเชื่อมต่อทั้งหมดไว้ด้วยกัน

Node หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างไร้ขีดจำกัด จึงทำให้การเชื่อมต่อดีไวซ์ที่กว้างขวางและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ การใช้มาตรฐานเครือข่าย 802.11ac จะช่วยรองรับความต้องการเหล่านั้น

ความต้องการทางด้านความเร็ว

อุตสาหกรรมต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานเครือข่ายนานถึง 6 ปี จากมาตรฐานเครือข่าย 802.11n เป็น 802.11ac ที่ใช้ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนเป็นเวลานาน แต่ว่าก็คุ้มค่าแก่การรอคอย ข้อดีของมาตรฐานเครือข่าย 802.11ac คือความเร็วบนความถี่ 5 GHz ซึ่งเร็วกว่ามาตรฐานเก่าถึงถึง 10 เท่า นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กับเน็ตเวิร์คไร้สาย (WLAN) อีกด้วย 802.11ac พร้อมสำหรับการใช้งานบนความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz โดยสามารถรองรับผู้ใช้งานได้ถึง 100 คนในแต่ละความถี่

ในขณะเดียวกัน เครือข่ายจำเป็นต้อง 1) ขยายพื้นที่ครอบคลุมเพื่อสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น, 2) รองรับการใช้งานบนดีไวซ์และระบบปฏิบัติการหลายรูปแบบ และ 3) มีระบบความปลอดภัยที่มีคุณภาพเพื่อปกป้องข้อมูลองค์กร ระบบไร้สายของคุณจำเป็นต้องพร้อมรับมือทางด้านความเร็วและการใช้งานที่หนักหน่วง และควรจะมีประสิทธิภาพทางด้านความปลอดภัยเท่าเทียมกับระบบเน็ตเวิร์คแบบต่อสาย

มาตรฐานเครือข่าย 802.11ac เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแบบสเปกตรัม, รองรับการใช้งานที่หนักหน่วง และช่วยลดความผิดพลาดของการเชื่อมต่อ มาตรฐานดังกล่าวเหมาะกับดีไวซ์ที่ไม่มีเสารับสัญญาน เช่นสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต โดยมีการคาดการณ์ว่ามาตรฐาน 802.11ac จะมาแทนที่ระบบ 802.11n ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2018

ความต้องการทางด้านความปลอดภัย

ผลวิจัยจากบริษัท จูนิเปอร์ รีเสิร์ช เผยว่า IoT จะเชื่อมต่อกว่าสามหมื่นแปดพันล้านดีไวซ์ในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งจะทำให้เป็นเรื่องยากที่ผู้ดูแลระบบจะจับตามองการสื่อสารได้ทั้งหมด จึงเพิ่มความปลอดภัยของระบบลดน้อยลง

อุตสาหกรรมหลายๆแขนงที่เริ่มนำ IoT เข้ามาใช้งาน ข้อมูลจะถูกส่งโดยปราศจากการแทรกแซง ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการผลิต ข้อมูลจากระบบปฏิบัติการของรถยกสามารถถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างอัตโนมัติ โดยที่ผู้ขับไม่ต้องอัพโหลดข้อมูล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระบบรักษาความปลอดภัยที่ป้องกันข้อมูลตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

ระบบการป้องกันรูปแบบ Wireless Intrusion Protection อย่างเช่น AirDefence จากซีบรา จะสามารถช่วยป้องกันระบบจากการบุกรุกได้ โดยจะช่วยป้องกันข้อมูล, ทรัพย์สินองค์กร, ความเป็นส่วนตัวของพนักงานและลุกค้าได้ ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศควรพึงระวังระบบการรักษาความปลอดภัยของตนสามารถรับมือกับการคุกคามข้อมูลได้รวดเร็วเพียงใด

อนาคตของเครือข่ายระบบไร้สายและ IoT

เมื่อไม่นานมานี้ ซีบรา เทคโนโลยีส์ และ ฟอเรสเตอร์ ได้ร่วมมือทำการสำรวจ โดยการสรุปผลสำรวจจากอุตสาหกรรมการค้าปลีก, การให้บริการ และการขนส่งและโลจิสติกส์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป พบว่ากว่า 60% ได้ขยายหรือวางแผนเกี่ยวกับเทคโนโลยีสำหรับ IoT และจากจำนวนดังกล่าวกว่า 50% ได้ทำการปรับระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับดีไวซ์และบริการใหม่ๆ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มว่าจะดำเนินการตามแบบดังกล่าวเช่นเดียวกัน

เมื่อมองถึงความต้องการด้าน IoT ที่ขยายตัว รวมไปถึงความต้องการของ Wi-Fi ที่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้เราเห็นแน่ชัดว่าระบบไร้สายหรือ Wireless คือปัจจัยสำคัญในการเชื่อมต่อ แน่นอนว่าอุตสาหกรรมหลากหลายแขนงยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ IoT โดยบทบาทของ Wi-Fi คงยังเป็นแกนหลักในการเชื่อมต่อทุกสิ่งบนโลก และจะมีความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ wireless solutions ของซีบราได้ที่:
https://www.zebra.com/gb/en/products/networks/wireless-lan.html

 

[1] http://standards.ieee.org/news/2014/ieee_802_11ac_ballot.html