เนื้อหาวันที่ : 2015-09-30 13:38:27 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3420 views

อุตสาหกรรมรถยนต์ยังคงขยายตัวร้อยละ 13.3 แม้ MPI สค.58 หดตัว

อุตสาหกรรมรถยนต์ยังขยายตัวดีที่ร้อยละ 13.3 แต่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2558 หดตัวร้อยละ 8.3 เผยภาพการผลิตของประเทศในเอเชียในช่วงปี 2557 และ 2558 ยังเปราะบาง โดยมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ยังคงขยายตัวในระดับต่ำ เกาหลีใต้ และ ไต้หวัน มี  MPI ติดลบในบางช่วงเวลา สอดคล้องกับภาคการผลิตของไทย

นายณัฐพล รังสิตพล รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนสิงหาคม 2558 หดตัวร้อยละ 8.3 อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมรถยนต์ยังคงขยายตัวได้ดี โดยขยายตัวในระดับ 2 หลักที่ร้อยละ 13.3 โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่ลดลงอาทิ HDD โทรทัศน์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ ขณะที่ภาพการผลิตของประเทศในเอเชียในช่วงปี 2557 และ 2558 ที่ผ่านมายังมีทิศทางเปราะบางโดยประเทศที่ยังขยายตัวได้   เช่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ก็ยังขยายตัวในระดับต่ำ ขณะที่ในบางประเทศอย่างเกาหลีใต้ และ ไต้หวัน มี  MPI ติดลบในบางช่วงเวลา สอดคล้องกับภาคการผลิตของไทย

ขณะที่การส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบรถยนต์ยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า แต่ตลาดส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไม่รวมทองคำแท่งในเดือนสิงหาคม 2558 หดตัวร้อยละ 8.2  ยังคงหดตัวต่อเนื่องตามการลดลงของการส่งออกสินค้าที่มีราคาเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันดิบ อาทิ เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ ประกอบกับการส่งออกสินค้าสำคัญหลายรายการปรับตัวลดลง อาทิเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น อย่างไรก็ตามก็ยังได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปตลาดสหรัฐ ตลาด CLMV รวมถึงตลาดสหภาพยุโรปที่ขยายตัว

ในส่วนของอุตสาหกรรมรถยนต์  การผลิตมีจำนวน 159,470 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.26 การจำหน่ายในประเทศ มีจำนวน 61,991 คัน ลดลงร้อยละ 9.94  และการส่งออกมีจำนวน 101,982 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.88 โดยการส่งออกรถยนต์นั่ง มีจำนวน 38,588 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.96 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศแถบยุโรป เอเชีย และอเมริกาเหนือ การส่งออกรถกระบะ 1 ตันและ PPV มีจำนวน 63,394 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 9.97 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศแถบโอเชียเนีย ยุโรป อเมริกากลางและใต้

สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.06  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมาจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ที่ ปรับตัวลดลงร้อยละ 26.81 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดปรับตัวลดลง เช่น HDD Monolithic IC และ Semiconductor ปรับตัวลดลงร้อยละ 32.18 18.92 และ 3.80 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการคอมพิวเตอร์และโน้ตบุ๊กในตลาดโลกลดลง

ประกอบกับเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกลดลง ส่วนอุตสาหกรรมไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.91 กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดปรับตัวลดลง เช่น เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนคอนเดนซิ่งยูนิต คอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น และเครื่องรับโทรทัศน์ ลดลงร้อยละ 5.57 7.68 4.53 และ 74.45 ตามลำดับ

เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศชะลอตัวลง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา จึงส่งผลให้ความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงตามไปด้วย รวมถึงได้รับผลกระทบจากตลาดส่งออกหลักที่ยังไม่ฟื้นตัว (ยุโรป และญี่ปุ่น) สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์มีผู้ผลิตบางรายย้ายฐาน การผลิตไปประเทศในกลุ่มอาเซียน ยกเว้นเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนแฟนคอยล์ยูนิต ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ส่วนอุตสาหกรรมเหล็กนั้น การบริโภคเหล็กของไทยเดือนสิงหาคมปี 2558 มีปริมาณ 1.43 ล้านตัน ลดลง ร้อยละ 8.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน  การผลิตมีปริมาณ 0.57 ล้านตัน ลดลง ร้อยละ 14.93 การส่งออกมีมูลค่า 64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง ร้อยละ 5.88 สำหรับการนำเข้า 616 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลง ร้อยละ 14.80  เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่ จึงทำให้กำลังซื้อลดลง

นอกจากนี้เป็นผลมาจากราคาเหล็กในตลาดโลกที่ลดลง  จึงมีผลทางจิตวิทยาทำให้ผู้ซื้อชะลอการสั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน มีการผลิตที่ลดลงแทบทุกชนิด เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนและเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ชะลอตัวลง  รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง เนื่องจากปัญหาเหล็กนำเข้าจากจีนเข้ามาแข่งกับตลาดในประเทศ  สำหรับเหล็กทรงยาว การผลิตลดลงแทบทุกผลิตภัณฑ์  โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงแทบทุกตัว คือ เหล็กเส้นกลม เหล็กเส้นข้ออ้อย เนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้าง  ประกอบกับการแข่งขันจากเหล็กราคาถูกจากประเทศจีน  ส่งผลให้ผู้ผลิตในประเทศไม่สามารถแข่งขัน

ขณะที่อุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น การผลิตเส้นใยสิ่งทอผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 1.89 9.60 และ 3.02 ตามลำดับ เนื่องจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อต่างประเทศในผลิตภัณฑ์เส้นใยสังเคราะห์  ประกอบกับผู้ใช้นำเข้าผ้าผืนจากต่างประเทศ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและนำเข้าในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถผลิตได้ สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป มีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปซึ่งอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว การส่งออก เดือนสิงหาคม ปี 2558 มีมูลค่าลดลงในผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอร้อยละ 3.82จากการลดลงในตลาดคู่ค้าได้แก่ อินโดนีเซีย จีน เวียดนาม และ อินเดีย ในส่วนผลิตภัณฑ์ผ้าผืน มีมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 9.70ในตลาดอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ อินโดนีเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงเช่นกันร้อยละ 11.46จากคำสั่งซื้อในตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่นลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต

Index

 

2556

2557

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

ธ.ค.

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรม

171.26

171.94

168.32

170.53

166.01

178.52

156.24

172.00

168.90

165.01

169.41

165.99

166.09

165.62

168.19

อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) %

-0.9

0.4

-2.11

1.3

-2.6

7.5

-12.5

10.1

-1.8

-2.3

2.7

-2.0

0.1

-0.3

1.6

อัตราการ

เปลี่ยนแปลง (YOY) %

-4.0

-10.7

-6.3

-5.6

-4.5

-10.5

-4.1

-4.0

-6.3

-5.3

-2.6

-3.9

-3.0

-3.7

-0.1

อัตราการใช้

กำลังการผลิต %

63.47

63.08

59.91

62.13

58.92

64.47

56.41

61.57

60.59

60.07

60.38

60.97

60.69

59.78

59.77

 

Index

 

2558

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย.

พ.ค.

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ดัชนีผลผลิต

อุตสาหกรรม

169.23

 

171.03

 

175.41

 

145.71

 

158.86

 

155.80

 

154.58

 

155.38

อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) %

0.6

 

1.1

 

2.6

 

-17.2

 

9.4

 

-1.9

 

-0.8

 

0.5

อัตราการ

เปลี่ยนแปลง (YOY) %

-0.8

 

3.0

 

-1.7

 

-7.1

 

-7.6

 

-7.7

 

-6.3

 

-8.3

อัตราการใช้

กำลังการผลิต %

61.48

 

61.22

 

63.64

 

52.68

 

56.94

 

57.09

 

58.67

 

57.77

(ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม) วันพุธที่ 30 กันยายน 2558