เนื้อหาวันที่ : 2006-05-22 11:22:09 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1757 views

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของ KOPEC ได้รับรางวัล BE Award

โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของเกาหลีออกแบบโดยซอฟท์แวร์ 3 มิติทั้งหมด เป็นโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของเกาหลีที่ได้รับรางวัล BE

 

KOPEC บริษัทวิศวกรรมชั้นนำที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและก่อสร้างโรงไฟฟ้า ใช้ซอฟท์แวร์ PlantSpace ของเบนท์ลีย์ ในการออกแบบโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของเกาหลี นับเป็นครั้งแรกที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของเกาหลีได้รับการออกแบบโดยซอฟท์แวร์ 3 มิติทั้งหมด โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ชิน-โคริ (Shin-Kori Nuclear Plant) ในเกาหลีทำให้ KOPEC ได้รับรางวัล BE Award ในสาขา Plant: Multidiscipline Engineering

 

รางวัล BE Awards of Excellence ซึ่งตัดสินโดยคณะกรรมการอิสระซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญของอุตสาหกรรมและจะมีการมอบรางวัลที่งานเลี้ยงฉลองที่จัดขึ้นระหว่างการประชุม BE Conference ประจำปี (www.be.org) มอบให้เพื่อเป็นเกียรติแก่ผลงานสุดพิเศษของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเบนท์ลีย์เพื่อปรับปรุงสาธารณูปโภคของโลก โครงการเหล่านี้สร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมของพวกเขา และแสดงให้เห็นถึงจินตนาการและความชำนาญด้านเทคนิคขององค์กรที่สร้างโครงการเหล่านั้นขึ้นมา พิธีมอบรางวัล BE Awards of Excellence ในปีนี้ จะมีขึ้นในวันที่ 22 พ.ค. ที่เมืองชาร์ลอตต์ รัฐนอร์ธแคโรไลน่า KOPEC เป็นผู้รับเหมาระดับแนวหน้าที่จัดหาบริหารด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และบริการอื่นๆ ให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ชิน-โคริ หน่วย 1 และ 2 ของบริษัทคันไซ อิเล็คทริค พาวเวอร์ คอมพานี โรงงานนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี

 

KOPEC ดำเนินงานด้านวิศวกรรมโดยอิงกับแบบจำลอง 3 มิติเดี่ยวที่ช่วยปรับปรุงความแม่นยำและความสอดคล้องในการออกแบบ ในขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนการออกแบบและการก่อสร้าง JikLae Jo ผู้ควบคุมกลุ่มงานวิศวกรรมของ KOPEC สำหรับโรงงานชิน-โคริหน่วย 1 และ 2 อธิบายว่า การสร้างแบบจำลองโรงงานทั้งหลังด้วยรูปแบบ 3 มิติช่วยประหยัดเวลาได้มาก แบบจำลอง 3 มิติได้ถูกนำไปใช้เพื่อทำให้เกิดภาพร่างปกติและภาพร่าง 3 มิติได้โดยอัตโนมัติโดยใช้ความพยายามน้อยที่สุด

 

นายโจกล่าวต่อว่า เรานำเวลาที่เหลือมาเพิ่มรายละเอียดให้แบบจำลองและนำมาใช้ตรวจสอบแบบจำลองว่ามีเหตุขัดข้องหรือไม่ อย่างไร รวมถึงปัญหาอื่น ๆ นอกจากนี้เรายังได้พัฒนาระบบเวิร์คโฟลว์การจัดการแบบ 3 มิติที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งจะทำให้บรรดาวิศวกรโครงการสามารถสื่อสารกันได้แบบเรียลไทม์เพื่อจัดการงานออกแบบตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ

 

การใช้ MicroStation, PlantSpace และ TriForma ของเบนท์ลีย์ ทำให้ KOPEC สร้างแบบจำลองท่อ อุปกรณ์ องค์ประกอบด้านโครงสร้างและสถาปัตยกรรมได้ และนำมารวมกันเป็นแบบจำลองเดียว ข้อมูลของส่วนประกอบถูกใส่เข้าไปในฐานข้อมูล PlantSpace และถูกใช้เพื่อติดตามสิ่งของทั้งหมดในโครงการ แม้แต่ฐานวางก็ถูกทำเป็นแบบจำลองและทำเป็นรูปแบบ 3 มิติโดยใช้โปรแกรม Support Manager ระบบควบคุมแบบจำลอง PlantSpace ถูกนำมาใช้เพื่อควบคุมการเข้าถึงอุปกรณ์อันหลากหลายในแบบจำลองนั้น ทำให้วิศวกรหลายร้อยคนสามารถทำงานกับแบบจำลอง 3 มิติไปพร้อมๆกันโดยไม่เกิดปัญหาใด ๆ

 

โจกล่าวเสริมว่า เราเลือกเครื่องมือสร้างแบบจำลองของเบนท์ลีย์มาใช้ในโครงการนี้เพราะเบนท์ลีย์ให้แพลตฟอร์มที่ทรงพลังที่สุดสำหรับการออกแบบโรงงานขนาดใหญ่ในรูปแบบ 3 มิติ ตัวอย่างเช่นระบบควบคุมแบบจำลองทำให้การบังคับใช้กระบวนการออกแบบที่เป็นมาตรฐานสำหรับการผลิตภาพร่างสามมิติ ภาพร่างโครงร่างท่อ และการวิเคราะห์ที่เน้นเป็นพิเศษของหน่วยต่างๆของโรงงานง่ายขึ้น เช่นเดียวกับโปรแกรม Interference Manager ที่ให้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงที่ตรวจจับการเสียดสีได้อย่างอัตโนมัติ