58 มาตรการที่เป็นรูปธรรมที่จะช่วยให้ภาคการขนส่งของภูมิภาคเอเชียสามารถลเต้นทุน ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยมลพิษ
ตัวแทนจาก 17 ประเทศและ 30 องค์กรกว่า 100 คน ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ ตลอด 3 วันของการประชุม ได้มีการเสนอ 58 มาตรการที่เป็นรูปธรรมที่จะช่วยให้ภาคการขนส่งของภูมิภาคเอเชียสามารถลเต้นทุน ลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยมลพิษ
การขนส่งสินค้าที่ปกป้องสิ่งแวดล้อม
ภาคการขนส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์เป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญต่อการเติบโตของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก อย่างไรก็ตาม ภาคการขนส่งสินค้าก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายอันเนื่องมาจากต้นทุนทางด้านการขนส่งที่สูงในหลายประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโต การจ้างงาน รวมทั้งการดำรงชีวิต และที่สำคัญคือผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (มลพิษทางอากาศ การใช้ทรัพยากร และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) ที่เกิดจากภาคการขนส่งและระบบโลจิสติกส์มีอัตราสูงมาก “จำนวนยานพาหนะจากภาคการขนส่งคิดเป็นร้อยละ 5 ของยานพาหนะบนท้องถนนทั้งหมด แต่มีสัดส่วนของการปล่อยมลพิษถึงร้อยละ 60" มร. บัมบัง ซูซานโตโน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ประเทศอินโดนีเซีย กล่าว
ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ โดยใช้การเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งเป็นทางรถไฟ ทางน้ำ และปรับปรุงประสิทธิภาพของรถบรรทุกมาตรการที่สามารถทำได้ทันทีเพื่อที่จะช่วยให้บริษัทและประเทศต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1. การเปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า 2. เปลี่ยนไปใช้รูปแบบการขนส่งที่ปล่อยคาร์บอนน้อย เช่น ทางรถไฟและการขนส่งทางน้ำ 3. การปรับปรุงมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของรถบรรทุกและเชื้อเพลิงที่ใช้
ความร่วมมือและหาแนวทางให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
ในการส่งเสริมการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทผู้ผลิต บริษัทขนส่งสินค้าทางเรือ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ภาครัฐและภาคประชาสังคม
"ระบบโลจิสติกส์เป็นเหมือนเกมการเล่นฟุตบอล ที่ต้องร่วมมือกันเป็นทีม" ฮันส์ ดิทริช ฮาซิส จากสถาบัน ของสถาบันเศรษฐศาสตร์การจัดส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์” กล่าว หากมีการใช้รถบรรทุกร่วมกัน ใช้ศูนย์รวมการขนส่ง มีการแลกเปลี่ยนการขนส่งสินค้าและสร้างพันธมิตร บริษัทเอกชนจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มากทีเดียว
ในส่วนของรัฐบาลนั้น ก็สามารถสนับสนุนแนวทางดังกล่าวด้วยการสร้างแรงจูงใจด้านผลตอบแทน และเป็นตัวกลางที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โครงการ SmartWay จากประเทศสหรัฐอเมริกา และโครงการการบริหารจัดการด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ในประเทศไทย เป็นตัวอย่างของการดำเนินการดังกล่าว นอกจากนี้ องค์กรเอ็นจีโอ และสมาคมภาคเอกชนก็สามารถให้การสนับสนุนดังเช่นกรณีของกรีนเฟรทยุโรป (Green Freight Europe)
ประเทศนำและการบูรณาการในระดับภูมิภาค
ประเทศในเอเชียและแปซิฟิกมีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ภูมิศาสตร์ และการเมืองที่แตกต่างกันไป การจัดลำดับความสำคัญในการขนส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงแตกต่างกันไปด้วย เห็นได้จากโครงการด้านกรีนเฟรทจากที่ตัวแทนของประเทศต่างๆ ได้เสนอในงานประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้
การขนส่งสินค้าไม่ได้หยุดอยู่ที่พรมแดนของประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นมาตรการในระดับภูมิภาคจึงมีความสำคัญ เพื่อผลักดันให้เกิดการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกันทั้งภูมิภาค
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จัดขึ้นโดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ซึ่งมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคในการพัฒนาให้เกิดการขนส่งสินค้าและระบบโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการเสริมสร้างศักยภาพและการสนับสนุนด้านการลงทุน
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นองค์กรของรัฐบาลเยอรมันที่ดำเนินการทั่วโลก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน GIZ ปฏิบัติงานในนามของกระทรวงต่างๆ ภายใต้รัฐบาลเยอรมัน รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศเยอรมนีและต่างประเทศ รัฐบาลของประเทศต่างๆ และองค์กรนานาชาติ อาทิ สหภาพยุโรป องค์การสหประชาชาติ และธนาคารโลก GIZ ดำเนินงานอยู่ในกว่า 130 ประเทศทั่วโลก และมีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ 17,000 คน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่
ศิริพร ตรีพรไพรัช
ผู้จัดการฝ่ายงานประชาสัมพันธ์, GIZ
โทรศัพท์ 66 2 661 9273 ต่อ 63 E-mail: siriporn.treepornpairat@giz.de