เนื้อหาวันที่ : 2013-10-01 06:12:30 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1535 views

ชี้ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินสูงสุดในภูมิภาคเอเชีย

กลุ่มอลิอันซ์ รายงานผลสำรวจความมั่งคั่งทั่วโลก ชี้ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินสูงสุดในภูมิภาคเอเชีย

กลุ่มอลิอันซ์เยอรมนีซึ่งเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นหลักของบมจ. อลิอันซ์ อยุธยาประกันชีวิตเปิดเผย "รายงานผลสำรวจความมั่งคั่งของโลก" ฉบับที่สี่ ซึ่งทำการสำรวจสถานการณ์สินทรัพย์และหนี้สินของภาคครัวเรือนในกว่า 50 ประเทศทั่วโลกจากผลสำรวจดังกล่าวพบว่าสินทรัพย์ทางการเงินในภาคครัวเรือนทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากปี 2555 คิดเป็นร้อยละ8.1

การเติบโตในอัตราที่แข็งแกร่งที่สุดในรอบหกปีและยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาวหลังจากที่มีการปรับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ร้อยละ4.6ต่อปี (ในระหว่างปี 2544 – 2555 ) หนึ่งในปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนการเติบโตของปีที่แล้วก็คือภาวะตลาดหุ้นที่อยู่ในแนวโน้มที่เป็นเชิงบวก ทำให้สินทรัพย์ที่อยู่ในรูปของหลักทรัพย์ขยายตัวถึงร้อยละ 10.4 เป็นผลทำให้มูลค่ารวมของสินทรัพย์ทางการเงินทั่วโลกเพิ่มขึ้นทำสถิติใหม่ที่ 111 ล้านล้านยูโร (ประมาณ 4,455 ล้านล้านบาท)

ในขณะเดียวกัน การเติบโตของภาวะหนี้สินยังคงต่ำอยู่ที่ร้อยละ2.9ในปี 2555 เป็นปีที่สี่หลังจากการล่มสลายของเลห์แมน สัดส่วนหนี้สินทั่วโลก (แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของจีดีพี) ลดลงไปอีก 1 จุด มาอยู่ที่ร้อยละ65.9 เปรียบเทียบกับร้อยละ71.6ในปี 2552 สะท้อนให้เห็นว่าสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิทั่วโลก (สินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้นลบด้วยหนี้สิน) มีอัตราการเติบโตเป็นเลขสองหลัก คือ ร้อยละ10.4 โดยทุกภูมิภาคต่างได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตที่แข็งแกร่งในครั้งนี้ เอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) มีการเติบโตสูงถึงร้อยละ16.7สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของทั่วโลกเป็นอย่างมาก ซึ่งปีที่แล้วมีเพียงทวีปออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เท่านั้นที่เติบโตเร็วกว่า

“ผู้ออมเงินในภูมิภาคเอเชียสามารถผ่านพ้นวิกฤตการเงินโลกมาได้อย่างดีจนถึงปัจจุบัน” ศ.ดร.ไมเคิลไฮส์หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโสกลุ่มอลิอันซ์ ประเทศเยอรมนี กล่าวและว่า “ในขณะที่ภูมิภาคที่ร่ำรวยอย่างทวีปอเมริกาและยุโรปเพิ่งจะประคับประคองตัวเองให้กลับมาอยู่ในระดับดีกว่าก่อนเกิดวิกฤตได้เพียงเล็กน้อยเมื่อปีที่แล้วนี่เอง ซึ่งระดับความมั่งคั่งของภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ณ สิ้นปี 2555ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ70จากช่วงที่ขึ้นสูงสุดในปี 2550 แต่พัฒนาการล่าสุดแสดงให้เห็นว่าแม้แต่ภูมิภาคเอเชียก็ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเงิน ยังไม่อาจที่จะนิ่งนอนใจได้ เอเชียจำเป็นต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดกับเรื่องของจุดอ่อนในเชิงโครงสร้างต่อไป”

 ผลจากการวิเคราะห์ระยะยาวยืนยันว่าเอเชียเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก นับตั้งแต่ปี2543 ประเทศในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) มีการเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิโดยเฉลี่ยร้อยละ14 ต่อปี ตามด้วยภูมิภาคที่เกิดใหม่อื่นๆ (emerging regions) เช่น ประเทศในแถบละตินอเมริกา (ร้อยละ11.6) และยุโรปตะวันออก (ร้อยละ11.0) ส่วนสินทรัพย์ทางการเงินเฉลี่ยต่อประชากรในแถบเอเชียเมื่อปลายปี2555 คิดเป็นจำนวนเงินรวม 3,650 ยูโร(ประมาณ 146,491บาท)สูงกว่าประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ในโลก

อย่างไรก็ตามประเทศในแถบเอเชียเหล่านี้กับประเทศที่พัฒนาแล้วยังคงมีความแตกต่างอย่างมากและยังห่างไกลกับค่าเฉลี่ยสินทรัพย์ทางการเงินของโลกที่16,240 ยูโร (ประมาณ 651,783บาท) แต่ค่าเฉลี่ยของประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียเองก็มีความแตกต่างอยู่ค่อนข้างมาก(แม้ว่าจะไม่ได้รวมประเทศญี่ปุ่น)ในทางตรงกันข้าม ยังคงมีประเทศที่ยากจนอย่างอินเดียและอินโดนีเซียที่พบว่าสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิต่อประชากรมีระดับต่ำกว่า1,000 ยูโร โดยประมาณ (ประมาณ 40,134 บาท) ในขณะที่อีกมุมหนึ่งของภูมิภาค อย่างเช่นประเทศเกาหลีใต้และไต้หวันกลับมีระดับความมั่งคั่งในระดับเดียวกับประเทศในแถบยุโรปตะวันออก

ในภาพรวม แม้ว่าความพยายามในการลดช่องว่างด้านสินทรัพย์จะดำเนินไปอย่างดีเยี่ยมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่การเดินทางยังคงอีกยาวไกล พร้อมด้วยปัจจัยใหม่ที่เข้ามาเสริมปัญหา ได้แก่ การเติบโตของหนี้สินส่วนบุคคลที่รวดเร็วกว่าการเติบโตของสินทรัพย์ในช่วง12 ปีที่ผ่านมา ประเทศในเอเชีย(ยกเว้นญี่ปุ่น)มีภาระหนี้สินต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ12.7 ต่อปี ระดับการเติบโตของหนี้สินเพิ่มขึ้นจากร้อยละ12.3 ในช่วงปี2546-2550 เป็นร้อยละ15.8 ในช่วงปี2551-2555 สวนทางกับการเติบโตของสินทรัพย์ที่ชลอตัวลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2550แม้ว่าหนี้สินส่วนบุคคลจะยังคงอยู่ในระดับต่ำในประเทศเหล่านี้ แต่ก็ยังเป็นสิ่งที่เราควรจับตาดูความเคลื่อนไหวนี้อย่างใกล้ชิด เพราะเอเชียไม่ควรพลาดอย่างที่อเมริกาและยุโรปเคยพลาดมาแล้ว การเติบโตอย่างรวดเร็วของหนี้สินไม่เคยก่อให้เกิดความยั่งยืน” นายไฮส์ กล่าว

สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศไทย ที่ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา จาก 7 ใน 9 ปี การเติบโตของหนี้สินสูงกว่าการเติบโตของสินทรัพย์ประชากรโดยเฉลี่ยโดยมีเพียงปีที่แล้วเท่านั้นที่หนี้สินเพิ่มขึ้นร้อยละ18.6 ขณะที่สินทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ22.7 โดยการเติบโตของหนี้สินนี้เกิดจากการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของตลาดหลักทรัพย์ไทยซึ่งผลักดันให้สัดส่วนของเงินฝากในธนาคาร

โดยเฉลี่ยลดลงต่ำกว่าร้อยละ50 สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิเป็นจำนวน316พันล้านยูโร(ประมาณ12,683 พันล้านบาท)ซึ่งยังคงสูงกว่าหนี้สินรวมคิดเป็น1.4 เท่า อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้สินต่อจีดีพีไต่ขึ้นไปถึง77% สูงกว่าในประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศ (เช่นประเทศเยอรมนีปี 2555: ร้อยละ59)

 อย่างไรก็ตาม พบว่าภาคครัวเรือนของไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของสินทรัพย์สุทธิทางการเงินสูงที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชีย จากการที่คนไทยมีสินทรัพย์สุทธิเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ32.5ทำให้คนไทยโดยเฉลี่ยแล้ว จะมีมูลค่าสินทรัพย์ที่ประมาณ 1,460 ยูโร(ประมาณ58,596บาท)จากข้อมูลช่วงปลายปี2555

เฉกเช่นกับปีก่อนๆ "รายงานผลสำรวจความมั่งคั่งทั่วโลก"ได้จัดกลุ่มเจ้าของสินทรัพย์ทั่วโลกออกเป็น3ระดับ1. ผู้ที่มีความมั่งคั่งในระดับต่ำหมายถึงผู้ที่มีสินทรัพย์ต่ำกว่า 4,900ยูโร(ประมาณ 196,659บาท)2. ผู้ที่มีความมั่งคั่งในระดับกลาง หมายถึงผู้ที่มีสินทรัพย์สุทธิระหว่าง4,900-29,200ยูโร(ประมาณ196,659 – 1,171,925บาท)และ 3. ผู้ที่มีความมั่งคั่งในระดับสูงหมายถึงผู้ที่มีสินทรัพย์สูงกว่า29,200ยูโร(1,171,925บาท)

ขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจทำให้กลุ่มผู้มั่งคั่งในระดับต่ำเพิ่มสูงขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สถานการณ์ในกลุ่มประเทศยากจนพบว่า ประชาชนในกลุ่มผู้มั่งคั่งระดับกลางมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเพียงแค่ปีที่แล้วเพียงปีเดียว มีจำนวน เพิ่มสูงขึ้นถึง140ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นประชากรชาวจีน บ่งชี้ว่าผู้มีความมั่งคั่งในระดับกลางหรือชนชั้นกลางที่มีอยู่ประมาณ860ล้านคน อาศัยอยู่ในกลุ่มประเทศที่กลุ่มอลิอันซ์ได้ทำการศึกษาในปี 2555 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การเติบโตของชนชั้นกลาง ไม่ได้เริ่มขึ้นจากปีที่แล้วเท่านั้น แต่ถือเป็นการเติบโตต่อเนื่อง ในช่วง12ปีที่ผ่านมา

โดยเฉพาะประเทศที่จัดเป็นประเทศในตลาดใหม่ เช่น ยุโรปตะวันออกและละตินอเมริกามีการเติบโตของจำนวนชนชั้นกลางเพิ่มเป็นสองเท่าของอัตราการเติบโตของจำนวนชนชั้นกลางทั่วโลก ในขณะที่เอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) มีการเติบโตสูงขึ้นถึงกว่าสิบเท่า แสดงให้เห็นว่าโฉมหน้าชนชั้นกลางทั่วโลกได้เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง โดยเมื่อปี 2543 ร้อยละ 60 ของชนชั้นกลางอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ หรือ ยุโรปตะวันตก หากแต่ในปัจจุบัน ชนชั้นกลางจาก 1 ใน 2คนจะมาจากทวีปเอเชีย และแนวโน้มดังกล่าวก็ยังจะดำเนินต่อไป ขณะที่ตัวเลขของชนชั้นกลางในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกที่ลดลงต่ำกว่าร้อยละ 30