เนื้อหาวันที่ : 2007-06-13 08:22:09 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1800 views

ครึ่งปีแรก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยตกฮวบ

ผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคจาก 47 ประเทศชิ้นล่าสุดจาก เอซีนีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลก พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยตกลงมากถึง15 จุด จากระดับ 107 ไปยัง 92 เมื่อเทียบจากผลสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมา

ผลการสำรวจออนไลน์ของผู้บริโภคจาก 47 ประเทศชิ้นล่าสุดจาก เอซีนีลเส็น ผู้นำด้านการวิจัยทางการตลาดและข้อมูลชั้นนำของโลก พบว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทยตกลงมากถึง15 จุด จากระดับ 107 ไปยัง 92 เมื่อเทียบจากผลสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมา พบผู้บริโภคชาวไทยมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน และเกือบครึ่งรู้สึกไม่ค่อยมั่นใจกับสถานะทางการเงินของพวกเขาในปีหน้า ส่งผลให้ชาวไทยติดลำดับแรกของโลกอีกครั้งในความตั้งใจที่จะออมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายในสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต

.

จากผลการสำรวจของนีลเส็นพบว่าค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกตกลงเล็กน้อยจากระดับ 99 จากการสำรวจในรอบเดือนตุลาคมปีที่แล้ว มาที่ระดับ 97 ในรอบการสำรวจในเดือนเมษายนปีนี้ ประเทศอินเดียยังคงติดอันดับแรกที่ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นสูงสุดอีกครั้ง ด้วยคะแนน 135 ซึ่งลดลงเล็กน้อยจาก 137 จากการสำรวจครั้งที่ผ่านมา รองลำดับสองได้แก่ นอร์เวย์ (132) และลำดับสามได้แก่ เดนมาร์ก (127) 

.

ส่วนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคชาวไทย ในการสำรวจครึ่งปีแรกในปี 2549 อยู่ที่ระดับที่ 95 และเพิ่มขึ้น 12 จุดจาก 95ไปยังระดับ 107 จุดของครึ่งปีหลังในปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การสำรวจครั้งล่าสุดของครึ่งปีแรก ประจำปี 2550 พบว่า ความเชื่อมั่นชองชาวไทยตกมากถึง15 จุด มาระดับที่ 92 ซึ่งถือเป็นระดับที่ลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก

.

ในทวีปเอเชีย แปซิฟิค เวียดนาม ยังคงเป็นประเทศที่น่าจับตามองด้วยระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจาก 106 ในครึ่งปีแรกในปี 2549 ไปสู่116 ของครึ่งปีหลังในปีเดียวกัน และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 118  ในครึ่งปีแรกของปีนี้ ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่  5 ของโลกที่ผู้บริโภคมีความมั่นใจมากที่สุด ควบคู่มากับฮ่องกงด้วยความเชื่อมั่นในระดับเดียวกัน ( 118) โดยเพิ่มจาก 111 จากการสำรวจในรอบที่ผ่านมา

.
พบผู้บริโภคชาวไทยมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงานและไม่เชื่อมั่นในสถานภาพทางด้านการเงิน

ผู้บริโภคชาวไทยถูกจัดอยู่ในสิบประเทศแรกที่มีความกังวลเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน โดยแสดงให้เห็นจากอัตราความกังวลที่เพิ่มมากของผู้บริโภคชาวไทยที่ แสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า ไม่ค่อยดี และ ไม่ดี เพิ่มขึ้นจาก 44% จากการสำรวจในเดือนตุลาคม ปี 2549 เป็น 66% จากการสำรวจครั้งล่าสุด นอกจากนี้ยังพบว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคชาวไทย (45%) มีความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า โดยเพิ่มขึ้นจาก 30% จากการสำรวจในรอบหกเดือนที่ผ่านมา

.
ชาวไทยครองแชมป์การออมมากที่สุดในโลก

ผู้บริโภคชาวไทยเพียง 35% เชื่อว่าขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการซื้อสินค้าที่ตนต้องการในอีก 12 เดือนข้างหน้า ประเทศไทยยังคงติดในลำดับแรกของโลกเป็นครั้งที่สามติดต่อกันที่มีจำนวนนักออมมากที่สุดในโลกถึง 67% ที่มีความประสงค์จะเก็บเงินในส่วนที่เหลือเพื่อเก็บออมหลังจากใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

.

นางจันทิรา ลือสกุล กรรมการผู้จัดการ เอซีนีลเส็น (ประเทศไทย) กล่าวว่า "สาเหตุที่ผู้บริโภคมีความต้องการที่จะออมเงินมากในภาวะนี้ อาจจะอธิบายได้จากความกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสในด้านการงาน ความกังวลในด้านสถานะทางการเงินของตนในปีหน้า รวมทั้งความคิดที่ว่าเวลานี้อาจจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมกับการจับจ่ายใช้สอย"

.

นอกจากความตั้งใจที่จะออมเงินแล้ว การใช้จ่ายทางด้านการท่องเที่ยวและการพักผ่อนหย่อนใจ  ยังคงเป็นทางเลือกที่ผู้บริโภคชาวไทยนิยมในการใช้จ่าย (50%) มาก รองลงมาคือ สินค้าทางด้านเทคโนโลยี่ (38%) การปรับปรุงบ้าน (32%) และความต้องการซื้อเสื้อผ้าใหม่ (31%) ตามลำดับ

.

ผู้บริโภคชาวไทยติดอยู่ในสิบประเทศแรกของโลกเมื่อพิจารณาถึงความวิตกกังวลทางด้านเศรษฐกิจ(59%), การเมือง ( 46%)และ ผู้ก่อการร้าย( 19%). โดยชาวไทยจำนวนมากที่สุดในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิคกังวลมากกับ สถานการณ์ผู้ก่อการร้าย โดยพบความกังวลเพิ่มขึ้นถึงหกเปอร์เซ็นต์จากการสำรรวจรอบที่ผ่านมา

.
ผู้บริโภคทั่วโลกตื่นตัวต่อภาวะโลกร้อน

นอกจากความกังวลทางด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ และความมั่นคงทางด้านงาน ภาวะโลกร้อนกำลังเป็นเป็นประเด็นที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสำคัญมาก โดยเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของความกังวลของผู้บริโภคจากทั่วโลกจาก 7% จากการสำรวจในรอบที่ผ่านมาเป็น16% ในรอบนี้ โดยผู้บริโภคชาวไทยก็ให้ความสำคัญกับปัญหานี้เพิ่มมากขึ้นเช่นกันโดยเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นจาก 12% เป็น 18%

.

นางจันทิรา กล่าวเสริมว่า "เนื่องจากการเผยแพร่ทางสื่อเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหานี้ เรื่องที่น่ายินดีก็คือ ผู้บริโภคชาวไทยได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหานี้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยมีจำนวนผู้ที่ตระหนักถึงปัญหานี้สูงกว่าระดับเฉลี่ยของเอเชีย แปซิฟิคที่ 14 และระดับเฉลี่ยของโลกที่ 16"

.

ส่วนผู้บริโภคที่มีความเชื่อมั่นน้อยที่สุดส่วนใหญ่มาจากกลุ่มประเทศในแถบยุโรป ส่วนประเทศในแถบเอเชีย แปซิฟิค ได้แก่ เกาลีใต้(50) ญี่ปุ่น(68)  และไต้หวัน (68) ที่มีความเชื่อมั่นในระดับที่ต่ำ จากการสำรวจทั่วโลกพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ใน โปรตุเกศ เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และฮังการี ค่อนข้างที่จะไม่มีความเชื่อมั่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตลาดงาน สถานะทางการเงินของพวกเขา หรือความพร้อมในการจับจ่ายใช้สอย ชาวยุโรปและชาวอเมริกาเหนือ คือคนกลุ่มแรกที่ยอมรับว่าพวกเขาไม่มีเงินเหลือเก็บที่จะใช้จ่ายในสิ่งอื่นที่ต้องการเลย