เนื้อหาวันที่ : 2007-06-05 09:17:16 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1579 views

ก.พลังงานดันโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ปี 2563-2564 มาแน่

อีก 13 ปีข้างหน้า กระทรวงพลังงาน ทำล้ำหน้าบรรจุไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ระหว่างปี 2554-2564 เป็นที่เรียบร้อย แถมไม่เปิดโอกาสให้มี โรงไฟฟ้าหรือพลังงานทางเลือกอื่นใน 2 ปีสุดท้ายของแผนให้คนไทยตัดสินใจ อ้างเทคโนโลยี ทันสมัย แต่ไม่มีใครพูดถึงโทษมหัต นักวิชาการ/ NGO เป็นห่วงชี้ให้เห็นถึงผลเสีย ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน-นิวเคลียร์

มาแน่ 2 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 4,000 MW ในอีก 13 ปีข้างหน้า กระทรวงพลังงาน ทำล้ำหน้าบรรจุไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ระหว่างปี 2554-2564 เป็นที่เรียบร้อย แถมไม่เปิดโอกาสให้มี โรงไฟฟ้าหรือพลังงานทางเลือกอื่นใน 2 ปีสุดท้ายของแผนให้คนไทยตัดสินใจ อ้างเทคโนโลยี ทันสมัย แต่ไม่มีใครพูดถึงโทษมหัต นักวิชาการ/ NGO เป็นห่วงชี้ให้เห็นถึงผลเสีย ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน-นิวเคลียร์

.

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้อนุมัติแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ PDP (Power Development Plan) ฉบับล่าสุด (2550-2564) ซึ่งจัดทำโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ว่า กพช.ได้ตัดสินใจที่จะใช้แผน B2 เป็นแผนหลัก โดยพิจารณาจากโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง รวมกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี 2555-2564 รวม 21,250 เมกะวัตต์

.

ประกอบไปด้วย โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า 2,700 เมกะวัตต์, การรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศร้อยละ 20 กำลังผลิต 5,401 เมกะวัตต์, โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 12,600 เมกะวัตต์, การรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก หรือ SPP รวม 900 เมกะวัตต์ และที่สำคัญก็คือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ หรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จำนวน 2 โรง ที่ถูกระบุเข้ามาในแผนเพิ่มเติมสูงถึง 4,000 เมกะวัตต์ในช่วงปี 2563-2564

.

ทั้งนี้ การตัดสินใจที่เพิ่มจำนวนโรงไฟฟ้าถ่านหิน กับ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ตาม แผนหลัก (B2) ของกระทรวงพลังงาน ได้ก่อให้เกิดการ วิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายในข้อที่ว่า โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แบบจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับความไม่มั่นใจที่ว่า ประเทศไทยพร้อมแล้วหรือยังที่จะรับเทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จากต่างประเทศ หากเกิดการรั่วไหล โดยมีชีวิตของคนไทยเป็นประกัน

.

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้เคยกล่าวไว้ว่า เมื่อพิจารณาในเรื่อง "ต้นทุน" ทั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินและโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ถือเป็นอีกทางเลือกที่มีความเป็นไปได้ในขณะนี้ เพราะปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงอื่นๆ โดยเฉพาะ ก๊าซธรรมชาติ/น้ำมัน ปัจจุบันมีราคาผันผวนตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ Ft ปรับขึ้นหลายครั้ง

.

ปัจจุบันอยู่ที่ 73.42 สตางค์/หน่วย ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องเลือกระหว่างการใช้ไฟฟ้าที่มีราคาแพง แต่สิ่งแวดล้อมไม่ได้รับผลกระทบกับต้นทุนการผลิตที่ต่ำแต่สิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบบ้างว่า "ต้องการให้เป็นแบบใด"

.

ปัจจุบันเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก้าวหน้าไปมากถึงขั้นที่ว่า จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยมาก ดังนั้นสิ่งที่กระทรวงพลังงาน จะต้องดำเนินการต่อจากนี้ไปก็คือ การเร่งทำ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีถ่านหิน ให้มากที่สุด ซึ่งตกหนักอยู่ที่ กฟผ.ในฐานะรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการได้คล่องตัวกว่า และกฟผ.เอง ถือว่ามีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอย่าง "โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ" ใน จังหวัดลำปางอยู่แล้ว

.

อย่างไรก็ตาม เมื่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าถูกเผยแพร่ออกไป พร้อมกับความชัดเจนในเรื่องของโรงไฟฟ้าถ่านหิน กับ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะเข้ามาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เสียงคัดค้าน โดยเฉพาะจากกลุ่มที่เคยได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในอำเภอบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมตัวกัน "กดดัน" ให้นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ยกเลิกการระบุโรงไฟฟ้าถ่านหินในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ซึ่งได้ผลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะไม่มี โรงไฟฟ้าถ่านหินเกิดขึ้นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์แน่นอน

.

ในขณะเดียวกันได้ออกมายืนยันว่า การเปิดประมูลโรงไฟฟ้าใหม่ หรือ IPP ที่จะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้ หากรายใดเสนอโรงไฟฟ้าถ่านหิน เข้ามาจะต้อง "รับผิดชอบกับปัญหาทั้งหมด" ที่จะเกิดตามมา กระทรวงพลังงานไม่สามารถรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้นได้ จน IPP หลายรายอย่าง บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO ปรับแผนยื่นประมูลเป็นโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติทั้งหมด เพื่อลดความเสี่ยงลง

.

จนมีคำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ เมื่อไม่ต้อง การโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในขณะเดียวกันผู้ใช้ไฟฟ้า ยังต้องการให้ค่าไฟฟ้าถูกลง "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" จะถือเป็นทางเลือกอีกทางในระยะยาวได้หรือ ไม่ จากความเป็นไปได้คล้ายคลึงกับโรงไฟฟ้าถ่านหิน กล่าวคือ ต้นทุนต่ำ และเทคโนโลยีล้ำ หน้าไปมากโดยเฉพาะในเรื่องของ ความปลอดภัย แต่หากเกิดข้อผิดพลาด ความเสียหายในชีวิต และสิ่งแวดล้อมจะเกิดขึ้นมหาศาลจนยากที่จะควบคุมได้

.

"ความน่ากลัวในกรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ก็คือ ในอดีตเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่ถูกกล่าวกันในวงการสัมมนาเกี่ยวกับพลังงาน แต่ขณะนี้กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินการล้ำหน้าไปมากแล้วจนถึงขั้นระบุ การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 2,000 MW 2 โรงรวม 4,000 MW เอาไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไปแล้วในระหว่างปี 2563 - 2564 ในขณะที่ในระหว่างช่วง 2 ปีนี้จะไม่มี โรงไฟฟ้าถ่านหิน-โรงไฟฟ้าเอกชนรายย่อย เข้าสู่ระบบทางด้านการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นเล็กน้อยระหว่าง 20-40 MW จนดูเหมือนกับว่า ถ้าไม่มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 โรงนี้ ไทยจะไม่มีทางเลือกในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแบบอื่นๆ หรือ เพิ่มการรับซื้อไฟฟ้าจากประเทศใกล้เคียงเลย" ผู้เกี่ยวข้องในวงการพลังงานตั้งข้อสังเกต

.

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ