เนื้อหาวันที่ : 2013-03-04 12:06:20 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2158 views

กรีนพีซเรียกร้องผู้สมัครผู้ว่าฯ สร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองปลอดขยะ

ปริมาณการเพิ่มขึ้นของขยะในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องสามารถสะท้อนถึงปัญหาและประสิทธิภาพการจัดการด้านขยะเป็นอย่างดี

ปริมาณการเพิ่มขึ้นของขยะในกรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง(1)สามารถสะท้อนถึงปัญหาและประสิทธิภาพการจัดการด้านขยะเป็นอย่างดี น่าเสียดายที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ ส่วนใหญ่ต่างไม่คิดนำแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนมาใช้  ดังนั้น กรีนพีซ ขอเรียกร้องให้ผู้สมัครผู้ว่าฯวางรากฐานนโยบายสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองปลอดขยะหรือ “ขยะเหลือศูนย์(2) ” โดยส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น แทนการเน้นการใช้วิธีแก้ปัญหาที่ปลายทาง เช่น การใช้เทคโนโลยีอันตรายเช่น เตาเผาขยะ” นางสาวเบญจจรัส วัฒนาพิเชษฐพงศ์  ผู้ประสานงานด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  กล่าว

กรีนพีซได้ทำการสำรวจนโยบายของผู้สมัครผู้ว่าฯ ในเรื่องการจัดการขยะในกรุงเทพฯเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนที่ผ่านมา โดยผลการสำรวจพบว่าไม่มีผู้สมัครผู้ว่าฯคนใดเสนอนโยบายการจัดการขยะอย่างยั่งยืนให้แก่คนกรุงเทพฯ และที่เลวร้ายไปกว่านั้นพบว่าผู้สมัครเกือบทุกคนให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีเตาเผาขยะซึ่งสามารถก่ออันตรายและใช้เงินลงทุนสูง


นางสาวเบญจจรัส กล่าวต่อว่า  เตาเผาขยะเป็นหนึ่งในตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อให้เกิดการปนเปื้อนสารพิษในอากาศ แหล่งน้ำและอาหาร โดยเฉพาะสารไดออกซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งมีชีวิต ขณะเดียวกันการกำจัดขยะด้วยการเผาแบบนี้เป็นการบั่นทอนความพยายามของสังคมในการลดและรีไซเคิลขยะ อีกทั้งการเผายังส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศด้วย  แม้ว่าจะมีการเสนอโครงการโรงงานเผาขยะที่สามารถนำความร้อนจากการเผาไหม้ไปผลิตกระแสไฟฟ้าแต่ในความจริงแล้วปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ได้นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับพลังงานความร้อนที่เตาเผาขยะใช้ ดังนั้น กรีนพีซ จึงขอเสนอขอเรียกร้องให้ผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดังต่อไปนี้

1.      1. ให้ความสำคัญเรื่องปัญหาขยะอย่างแท้จริง โดยมีการวางเป้าหมายให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มี “ขยะเหลือศูนย์” ซึ่งสามารถทำได้โดยเน้นการใช้มาตรการเชิงรุก เช่น การลดปริมาณขยะ การนำขยะไปรีไซเคิล และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่  

2.      2.นำเครื่องมือนโยบายทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน ตามหลักการ “ผู้ปล่อยมลพิษเป็นผู้จ่าย”   เช่น การสร้างแรงจูงใจให้คนเข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวกับการลดและแยกขยะ การเก็บภาษีมลพิษกับผู้ผลิตขยะ เป็นต้น

3.       3.กรุงเทพมหานครควรเปลี่ยนงบประมาณที่ใช้ในการลงทุนในโครงการกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีที่เป็นอันตรายและสิ้นเปลือง เช่น การสร้างโรงงานเผาขยะ มาใช้สนับสนุนโครงการ “ขยะเหลือศูนย์” ซึ่งสามารถปรับแผนงานของโครงการให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละชุมชนในกรุงเทพฯ

ทั้งนี้การสำรวจเรื่อง “นโยบายการบริหารจัดการขยะในกรุงเทพฯ ของผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปีพ.ศ.2556” ที่จัดทำขึ้นโดยกรีนพีซในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมรับรู้ถึงแง่มุมต่างๆของนโยบายนั้นๆ อันจะเป็นเป็นเครื่องมือในการประกอบการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ และการติดตามการนำนโยบายไปปฏิบัติในอนาคต โดยกรีนพีซได้ตั้ง คำถาม 3 ประเด็น ที่มุ่งเน้นที่เรื่องการวางแผนการจัดการขยะของผู้สมัคร วิธีการบังคับใช้แผนงานและทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ ของผู้สมัคร เกี่ยวกับเทคโนโลยีเตาเผาขยะ โดยมีผู้สมัคร 11 คนจาก 25 คนได้ตอบคำถามเหล่านี้  สามารถดูรายระเอียดได้ที่เว็บไซต์ของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้(3) http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/summary-BMA-candidate-vision/

“การเสนอนโยบายการบริหารจัดการขยะที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญมากต่อคนไทยทั้งประเทศ เพราะการจัดการขยะนั้นคืองานหลักขั้นพื้นฐานของการพัฒนาเมือง ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ที่จะอาศัยอยู่