เนื้อหาวันที่ : 2013-01-25 17:27:03 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1554 views

โรแลนด์ ดีจี คอร์ปอเรชั่น ลงทุนเปิดโรงงานผลิตในไทยเป็นแห่งแรกในโลก

พร้อมหนุนให้เป็นฐานการส่งออกไปยังทั่วโลก เพื่อรองรับความต้องที่เพิ่มมากขึ้น

โรแลนด์ ดีจี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ผู้นำในนวัตกรรมเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทแบบ wide-format ได้ทำการเปิดโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทในไทย และเป็นที่แรกของโลก ซึ่งการเปิดโรงงานผลิตในนิคมอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สินสาคร เพส 2 ถือว่าเป็นการขยายฐานการผลิตของบริษัทฯ ไปยังต่างประเทศเป็นครั้งแรกของ โรแลนด์ โดยคาดว่าโรงงานผลิตแห่งใหม่นี้ จะเป็นฐานการผลิตหลักในภูมิภาค และเป็นศูนย์กลางการส่งออกที่สำคัญของกลุ่มบริษัทฯ อีกด้วย

มร. มาซาฮิโร โทมิโอกะ ประธานบริษัท โรแลนด์ ดีจี คอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) ได้เล่าถึงการจัดตั้งโรงงานผลิตในไทยว่า “เมื่อการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาและในเอเชียมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในระยะยาว ทางเราจึงได้เห็นความจำเป็นที่ต้องขยายฐานการผลิตมายังประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการของสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นในหมู่ประเทศดังกล่าว ด้วยระบบการขนส่งและการคมนาคมที่สะดวก บวกกับฝีมือแรงงานของคนไทยที่ปราณีต การสนับสนุนของภาคอุตสหกรรม รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางด้านการค้าการลงทุนที่ทางกรมส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI มอบให้กับบริษัทต่างชาติที่มาลงทุน ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งการลงทุนที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และเหมาะเป็นศูนย์กลางการส่งออกของบริษัทฯ”

จากเหตุอุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทยเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลาเดียว ทำให้ขบวนการผลิตวัตถุดิบถูกชะงักลง และส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการผลิตสินค้าของบริษัทเพื่อป้อนให้กับลูกค้า การที่บริษัทฯ ได้ตัดสินใจขยายฐานการผลิตมายังต่างประเทศอย่างเช่นประเทศไทยนั้น จะสามารถลดต้นทุนในการผลิต และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางด้านราคา รวมถึงลดความเสี่ยงในการผลิตและการจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบในกรณีการเกิดอุทกภัยธรรมชาติ

ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา สกุลเงินเยนได้อ่อนค่าลงไปบ้างแล้ว แต่หลังเหตุการณ์ล้มละลายของ Lehman Brother ในประเทศสหรัฐอเมริกา (หรือที่รู้จักในนามของ Lehman Shock) ทำให้ค่าสกุลเงินเยนเกิดการแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ดังนั้น บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องหามาตราการมารับมือ และการที่โรงงานในประเทศไทยแห่งนี้ใช้สกุลเงินอื่นๆ นอกเหนือจากสกุลเงินเยน ในการจัดซื้อจัดหาชิ้นส่วนจะช่วยให้บริษัทลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนลงได้ นอกจากนี้ จากการที่บริษัทได้ขยายตัวมาเป็นกลุ่มบริษัทระดับโลก เราได้ปรับโครงสร้างองค์กรของกลุ่มโดยรวม ภายใต้โครงการ “Global One” เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่ซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมด้านการบริหารจัดการได้อย่างรวดเร็วและมีความยืดหยุ่น จากการปรับโครงสร้างองค์กรนี้ โรงงานในประเทศไทยจะกลายเป็นฐานปฏิบัติการระดับภูมิภาค และจะมีประสิทธิภาพสูงในการตอบสนองต่อความต้องการของประเทศกำลังพัฒนาให้ได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนช่วยให้สามารถกำหนดราคาขายที่เหมาะสมกับตลาด สำหรับในอนาคตอันใกล้นี้ เราคาดหวังว่าโรงงานแห่งนี้จะมิได้ทำหน้าที่ด้านการผลิตและจัดซื้อจัดหาเท่านั้น แต่จะเข้ามามีบทบาทในการวางแผนและออกแบบผลิตภัณฑ์อีกด้วย

โรแลนด์ ดีจี (ดีจี ซึ่งย่อมาจาก Digital Group) ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1981 ในประเทศญี่ปุ่น โดยเป็นบริษัทลูกของบริษัท Roland Corporation บริษัทผู้เชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งก่อนที่จะจัดตั้งโรแลด์ ดีจีขึ้นมานั้น เทคโนโลยีในด้านคอมพิวเตอร์ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงต้นปี 80 โดยบริษัทคอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลก อาทิ Apple IBM และ NEC ต่างแข่งขันพัฒนาผลิตคอมพิวเตอร์ออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรก ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้บริหาร พร้อมตะหนักถึงบทบาทและอิทธิพลของคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทาง โรแลนด์ ได้นำเอาความได้เปรียบทางดิจิตอลเทคโนโลยีมาพ่วงต่อกับเทคโนโลยีอันทันสมัยของคอมพิวเตอร์และพัฒนาจนได้สินค้าคุณภาพเพื่อเจาะตลาดใหม่

โดยโรแลนด์ ดีจี ได้เริ่มต้นจากการพัฒนาด้านคอมพิวเตอร์ดนตรี หรือ Computer Music ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแต่งและบรรเลงดนตรีโดยใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงการพัฒนาปากกาออกแบบ Pen Plotter (เพ็นพลอตเตอร์) ซึ่งใช้สำหรับถ่ายทอดโน้ตเพลงที่สร้างขึ้นมาโดยคอมพิวเตอร์ดนตรีด้วยวิธีการจับเพนพลอตเตอร์ให้เคลื่อนที่ไปตามแนวนอน (แกน X) และแนวตั้ง (แกน Y) บนกระดาษ ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ตลาดของ เพน พลอตเตอร์ ได้มีการเจริญเติมโตอย่างรวดเร็วมาก และได้ขยายการทำงานสู่วงการออกแบบและพัฒนาสำหรับภาคอุตสาหกรรมและการออกแบบในวงการก่อสร้าง ในช่วงนี้เองที่บริษัทได้เริ่มศึกษาหาทางเลือกเพิ่มเติม โดยนำหัวคัตเตอร์ (cutter) มาแทนที่ปากกา อันเป็นที่มาของการพัฒนาเครื่องตัด (คัตเตอร์พลอตเตอร์) และต่อมาได้เพิ่มแกนความสูง (แกน Z) เข้าไป ทำให้พัฒนามาเป็นเครื่องสกัดและครื่องสลักแบบ 3D ได้ด้วย ในช่วงทศวรรษที่ 1990 ถือเป็นช่วงที่โรแลนด์เปลี่ยนตัวผลิตภัณฑ์หลักมาเป็นเครื่องตัดโดยหันมามุ่งเน้นตลาดทำป้าย ด้วยความตระหนึกถึงความสำคัญของป้ายชนิดสี และตลาดเครื่องพิมพ์สี โรแลนด์จึงได้พัฒนาและผลิตเครื่องพิมพ์อิงเจ็ทสีแบบหน้ากว้าง ซึ่งปัจจุนัน มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าร้อยละ 40 ของตลาดโลก รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้นวัตกรรม 3D ซึ่งประกอบด้วยเครื่องสกัด 3D เครื่องสแกน 3D และเครื่องสลัก

โดยเงินลงทุนถึง 200 ล้านบาท การก่อสร้างของโรงงานได้เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 และเปิดทำการในเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน ด้วยเหตุอุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทยและบริเวณโดยรอบกรุงเทพฯในปีที่ผ่านมา ทางบริษัทฯ จึงได้คำนึงถึงการออกแบบโรงงานนี้ เพื่อรองรับปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยพื้นของโรงงานได้ยกสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 1.9 เมตร และใต้อาคารมีเสา 300 ต้น ความยาว 26 เมตร คอยรองรับฐานด้านล่าง ในกรณีพื้นเกิดการยุบตัวของดิน

มร. อะกิรา ซูซากิ ประธานบริษัท โรแลนด์ ดิจิติล กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวถึงการเปิดโรงานในไทยเป็นครั้งแรกว่า “หลังจากที่ได้ทำการเปิดโรงงานอย่างเป็นการในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทางบริษัทได้นำเอา Digital YATAI ซึ่งเป็นนวัตกรรมการผลิตแบบ Cell Production System ที่พัฒนาโดยโรแลนด์ ดีจี มาใช้ในสายงานการเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็บแบบ wide-format รุ่น RE-640/RA-640 โดยนวัตกรรมดังกล่าว จะระบุการประกอบเครื่องอิงค์เจ็ทในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียดผ่านจอมอนิเตอร์ ซึ่งวิธีดังกล่าว สามารถลดความผิดพลาดและได้สินค้าที่มีคุณภาพเทียบเท่ากับสินค้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น และด้วยระบบ Digital YATAI เจ้าหน้าที่หนึ่งคนสามารถผลิตสินค้าอย่างง่ายดาย ซึ่งตั้งแต่เริ่มสายการผลิตในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาจนถึงปลายปี 2555 ทางโรงงานสามารถผลิตได้กว่า 400 ยูนิต และได้ทำการส่งออกเครื่องพริ้นเตอร์รุ่น RE-640/RA-640 เป็นล๊อลแรกในวันที่ 27 ตุลาคม 2555 สู่ประเทศจีน อินเดีย แอฟริการใต้ และในทวีปยุโรป  โดยภายในปีนี้ ทางบริษัทจะสามาถผลิตเครื่องพริ้นท์รุ่นดังกล่าวได้ถึง 3700 ยูนิต และเพิ่มเป็น 5000 ยูนิตในปี 2557 ส่วนการผลิตพริ้นเตอร์ในรุ่นอื่น ๆ อาทิเครื่องพริ้นเมทเทอริท รุ่น VS Series คาดว่าจะเริ่มสายงานการผลิตในประเทศไทย ภายในกลางปีนี้”

“การมาเปิดโรงงานผลิตในประเทศไทย ทำให้โรแลนด์สามารถผลิตสินค้าที่มีราคาย่อมเยาว์ขึ้น และรองรับความต้องการของเครื่องพริ้นท์เตอร์ที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในตลาดเอเชีย ในปัจจุบันวัสถุดิบและส่วนประกอบทุกชิ้นล้วนนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น แต่ทางบริษัทมีแผนที่จะจัดซื้อวัสถุดิบและส่วนประกอบหลักจากในไทยและลดการนำเข้าถึง 30 เปอร์เซ็นต์ภายในปลายปีนี้ และคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต นอกเหนือจากนั้น ผู้ผลิตชิ้นส่วนวัสถุดิบของเราจากประเทศญี่ปุ่นยังมีแผนที่จะย้ายฐานการผลิตมายังไทย ซึ่งจะทำให้เราสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้มากขึ้น” มร. ซูซากิ กล่าว

โรแลนด์ ดีจี ได้มีการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการผ่านพันธมิตรและคู่ค้าใน 133 ประเทศรอบโลก รวมถึง ผู้แทนจำหน่ายหลักถึง 9 บริษัท โดยมี บริษัท เอสวีโอเอ จำกัด (มหาชน) รวมอยู่ด้วย ซึ่งนอกเหนือจากการเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายในไทยมานานกว่า 25 ปี บริษัทเอสวีโอเอ ยังเป็นบริษัทตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้าของโรแลนด์ในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เขมร ลาว และเวียดนาม

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โรแลนด์ได้เห็นเทคโนโลยีทางด้าน Computer graphic ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และด้วยเทคโนโลยีที่คิดค้นโดยโรแลนด์สามารถเปลี่ยนผลงานที่สร้างสรรค์โดยศิลปิน นักออกแบบ และคนที่ทำงานเกี่ยว digital image จากจินตนาการ ให้เป็นสินค้าต้นแบบ หรืองานศิลปะที่น่าทึ่ง ซึ่งจินตนาการเหล่านี้ ได้สอดคล้องกับคำขวัญของบริษัท “Imagine.” หรือ “จินตนาการ” ซึ่งเป็นคำสั้นๆ แต่มีความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นแรงผลักดันให้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นได้

“เราเชื่อว่า ‘Imagine.’ สามารถเปิดโลกกว้างอย่างไม่รู้จบ และจากจุดเริ่มต้นที่ “จินตนาการ” ในวันนี้ โรแลนด์ ดีจี มุ่งมั่นที่จะทำงานพัฒนาผลิตสินค้าให้ลูกค้าของเราที่มีอยู่รอบโลก พร้อมเปลี่ยนจินตนาการให้เป็นจริงได้ ดั่งเช่นสโลแกนของบริษัทฯ Transforming their Imagination into Reality” มร. โทมิโอกะ กล่าวตบท้าย