เนื้อหาวันที่ : 2012-12-07 11:14:50 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2354 views

บางจากฯ-สผ. จับมือถือปัญหา EIA รับเศรษฐกิจอาเซียน

จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ทำให้สามารถมองเรื่องสิ่งแวดล้อมได้อย่างครอบคลุมในทุกด้าน

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนา เรื่อง "พัฒนา EIA ไทยไปอาเซียน" เพื่อสร้างความเข้าใจต่อผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และเป็นเวทีให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของการทา EIA พร้อมแนวทางการแก้ไข ยังประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน ณ โรงแรม S31 สุขุมวิท กรุงเทพฯ บริษัทที่ปรึกษาผู้มีสิทธิทำรายงาน EIA คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงาน  EIA ตลอดจน เจ้าหน้าที่ของ สผ. มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมของ AEC

นายสันติ กล่าวว่า ในส่วนของผู้ประกอบการ EIA เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่นำมาใช้ในการคาดการณ์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและป้องกันผลกระทบ สิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาไว้ล่วงหน้า ดังนั้น การลงทุนของผู้ประกอบการไทยควรมีการดูแล ป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ดี เมื่อคิดจะไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ประเทศเจ้าของพื้นที่ รวมทั้งดูแลประชาชนของประเทศที่เข้าไปลงทุน สำหรับนักลงทุนจากต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย คงอยากเห็นการดำเนินขั้นตอนการทำ EIA ที่ชัดเจน รวดเร็ว ทั้งการขออนุมัติ และการออกใบอนุญาตต่างๆ 

อนึ่ง โครงการขนาดใหญ่ที่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงาน  EIA เช่น โครงการนิคมอุตสาหกรรม โครงการด้านแหล่งน้ำ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โครงการเหมืองแร่ โครงการถนน โครงการท่าเทียบเรือ ฯลฯ คณะกรรมการผู้ชำนาญการจะต้องพิจารณาในประเด็นที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในระดับภูมิภาคจะให้ความสำคัญเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือการลดก๊าซเรือนกระจก ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน ความหลากหลายทางชีวภาพ มรดกโลก การอนุรักษ์พลังงาน และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงผลกระทบระหว่างประเทศ

นอกจากนี้ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย สผ. ได้รับมอบหมายให้พิจารณากำหนดระยะเวลาของขั้นตอนการตัดสินใจของหน่วยงานที่มี หน้าที่ออกใบอนุญาต ให้กับโครงการที่เข้าข่ายอาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง ตามมาตรา 67 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 เพื่อให้มีความชัดเจนในขั้นตอนและระยะเวลาในการอนุญาต

การปรับปรุงระบบ EIA ควรมีการหารือร่วมกันระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ในการที่จะพัฒนากลไก ขั้นตอนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ของกลุ่ม AEC เพื่อให้เป็นกรอบหรือมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะช่วยบูรณาการนโยบายและกระบวนการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการ ประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน การประเมิน สิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ระดับภูมิภาค อันจะเป็นมาตรการในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บางจากฯ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยดูแล สิ่งแวดล้อมภายในบริษัท และสนับสนุนให้ความร่วมมือกับหน่วยงาน บุคคลภายนอก รวมทั้งมีการรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA ด้วย ซึ่งการที่ผู้ประกอบการในโครงการพัฒนาต่างๆ ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ทำให้สามารถมองเรื่องสิ่งแวดล้อมได้อย่างครอบคลุมในทุกด้าน

ตามกฎหมายด้านส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเจ้าของโครงการต้องมีมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคม จัดทำรายงานฯ เพื่อให้ผู้พิจารณารายงานฯ หรือคณะกรรมการผู้ชำนาญการซึ่งมีความชำนาญในด้านต่างๆ ให้ความเห็นต่อโครงการเพื่อให้นักลงทุนนำไปปรับปรุงโครงการลงทุนให้ดีขึ้น

"ผมคิดว่าการลงทุนที่ยั่งยืนต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความร่วมมือและช่วยสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมและเพื่อลูกหลานในอนาคต" ดร.อนุสรณ์ กล่าว