ไออาร์พีซีถอดใจ ขายทิ้งกิจการปั๊มน้ำมัน TPI ทั้งหมด 77 แห่ง แต่ยังเหลือให้เช่าต่อไปอีก 11 ปั๊มแค่ 3 ปี ส่วนดีลเลอร์ 34 ปั๊มทยอยหมดสัญญาตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้ เหตุขาด ทุนยับไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านบาท ซ้ำนโยบายที่ผ่านมายังต้องขายน้ำมัน "ต่ำกว่า" ชาวบ้านถึง 20-30 สตางค์/ลิตร เพื่อดึงดูดลูกค้า สุดท้ายไปไม่ไหว แข่งกับปั๊มน้ำมัน แบรนด์อื่นๆ ไม่ได้
ไออาร์พีซีถอดใจ ขายทิ้งกิจการปั๊มน้ำมัน TPI ทั้งหมด 77 แห่ง แต่ยังเหลือให้เช่าต่อไปอีก 11 ปั๊มแค่ 3 ปี ส่วนดีลเลอร์ 34 ปั๊มทยอยหมดสัญญาตั้งแต่เดือนมิถุนายนนี้ เหตุขาด ทุนยับไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านบาท ซ้ำนโยบายที่ผ่านมายังต้องขายน้ำมัน "ต่ำกว่า" ชาวบ้านถึง 20-30 สตางค์/ลิตร เพื่อดึงดูดลูกค้า สุดท้ายไปไม่ไหว แข่งกับปั๊มน้ำมัน แบรนด์อื่น ๆ ไม่ได้ |
. |
หลังจากที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้ามาบริหารโรงกลั่นน้ำมัน TPI เดิมภายใต้ชื่อใหม่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) แล้ว ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันภายใต้แบรนด์ TPI จำนวน 77 แห่งก็ถูกผู้บริหารใหม่จับตามองทันทีว่า ภายใต้ภาวะการแข่งขันของสถานีบริการน้ำมันปัจจุบัน สถานีบริการน้ำมัน TPI จะสามารถแข่งขันได้หรือไม่ |
. |
เบื้องต้นได้มีการวางแนวทางไว้ 4 แนว ทาง ได้แก่ 1)ลงทุนปรับโฉมสถานีบริการใหม่หมด 2)ปรับเพียงนำร้านสะดวกซื้อ เซเว่นอีเลฟเว่น เข้ามาเสริมเพื่อดึงดูดลูกค้า 3)ยกเลิกธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด และ 4)ให้ ปตท.เช่าพื้นที่เพื่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) และมาถึงวันนี้ผู้บริหาร ปตท.ได้ตัดสินใจถึงอนาคตสถานีบริการน้ำมัน TPI แล้ว |
. |
นางจิตรา ถาวระ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดูแลบริษัทในเครือ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ (TPI) เดิม กล่าวกับ "ประชา ชาติธุรกิจ" ว่า IRPC จะยุบเลิกธุรกิจค้าปลีกน้ำมันทั้งหมดภายในปี 2550 นี้ จากจำนวนสถานีบริการน้ำมันทั้งหมด 77 แห่งทั่วประเทศ หลังจากที่ประสบภาวะการขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง |
. |
โดยบริษัทจะประกาศขายสถานีบริการน้ำมัน TPI ทั้งหมด แบ่งเป็น 1)สถานีบริการน้ำมัน 34 แห่งที่เป็นพื้นที่ของเอกชน ในจำนวนนี้เป็นสถานีบริการน้ำมันภายใต้แบรนด์ TPI จำนวน 24 แห่ง กับสถานีบริการน้ำมันในส่วนของผู้บริหาร TPI เดิม และในส่วนตระกูลเลี่ยวไพรัตน์เป็นเจ้าของจำนวน 10 แห่ง ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการยุบเลิกไปแล้วเป็นจำนวน 12 แห่ง |
. |
2)สถานีบริการน้ำมัน TPI ในส่วนของดีลเลอร์จำนวน 32 แห่งนั้น จะให้ทยอยปิดตามสัญญาที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งสัญญาส่วนใหญ่เป็นสัญญาปีต่อปี และจะทยอยหมดสัญญาตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนจนถึงช่วงเดือนธันวาคม 2550 นี้ และ 3)สถานีบริการน้ำมัน TPI ในส่วนที่เป็นพื้นที่ครอบครองของ IRPC ที่ให้เอกชนเช่าใช้พื้นที่จำนวน 11 แห่งนั้น จะให้เช่าอีกต่ออีก 3 ปี |
. |
สาเหตุหลักของการยุบเลิกธุรกิจค้าปลีกน้ำมันของ TPI เดิมก็คือ 1)การขาดทุนมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่ภาวะการแข่งขันสูง ในขณะที่ "ค่าการตลาด" ติดลบส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกขาดทุนอย่างหนัก ที่สำคัญการจำหน่ายน้ำมันภายใต้แบรนด์ TPI ไม่สามารถแข่งขันกับบรรดาผู้ค้าน้ำมันรายอื่นๆ เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้ ที่สำคัญน้ำมันภายใต้แบรนด์ TPI ที่ผ่านมาต้องจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่ารายอื่นๆ ถึง 20-30 สตางค์/ลิตร เพื่อดึงดูดลูกค้า ส่งผลให้ ขาดทุนสะสมอยู่ที่ 100 ล้านบาท/ปี |
. |
2)การขาดการบริหารธุรกิจค้าปลีกในแบบมืออาชีพในขณะที่การแข่งขันสูง และ 3)พนักงานในธุรกิจน้ำมันของ TPI มีมากกว่า 900 คน ซึ่งเป็นอัตรากำลังที่สูงจนเกินไปกว่าที่ IRPC จะดูแลได้ทั้งหมดในภาวะปัจจุบัน |
. |
"เราจะไม่ทำค้าปลีกแล้ว ทำไปแล้วขาดทุนก็ไม่รู้จะทำไปทำไม การขายทิ้งจะช่วยลดภาระที่เราพยุงไว้ออกไปได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นผลดีมากกว่าเสียด้วยซ้ำ ที่ผ่านมาน้ำมันของเราขายสู้แบรนด์ เมเจอร์ออยล์ไม่ได้อยู่แล้ว แต่จะมีส่วนหนึ่งเช่นปั๊มที่เป็นสวัสดิการให้กับพนักงานที่จังหวัดระยองต้องเก็บไว้ ซึ่งจะมีพนักงานที่ใช้บริการถึง 5,000-7,000 คน" นางจิตรากล่าว |
. |
ส่วนสถานีบริการน้ำมัน TPI อีก 11 แห่ง ที่เป็นพื้นที่ครอบครองของ IRPC ภายหลังจากหมดสัญญาเช่าในปี 2553 ทาง IRPC อาจจะมีการหยิบธุรกิจค้าปลีกน้ำมันขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง เป็นไปได้ว่า IRPC อาจจะจำหน่ายน้ำมันคุณภาพสูง เพื่อสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ไม่ใช่กลุ่มน้ำมันทั่วไป ซึ่งกลุ่มผู้ค้าน้ำมันเดิมครองตลาดอยู่แล้ว |
. |
ซึ่งจะสอดคล้องกับช่วงที่โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อขยายกำลังการผลิตของ IRPC แล้วเสร็จในระยะที่ 1 ซึ่งจะทำให้โรงกลั่นน้ำมันมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตเพียง 225,000 บาร์เรล/วัน ที่สำคัญจะได้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มน้ำมันที่มีคุณภาพสูงขึ้นด้วย อาจจะเป็นโอกาสดีที่จะพลิกฟื้นกลับมาทำธุรกิจนี้ในอนาคต |
. |
"ตอนนี้ยังไม่รู้นะว่าจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ หากจะมาจับค้าปลีกน้ำมัน premium เราแค่เล็งๆ ไว้ เอาไว้ 3 ปีต่อจากนี้แล้วค่อยมาคิดอีกทีดีกว่าว่าจะมีความเป็นไปได้หรือไม่กับธุรกิจนี้" |
. |
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานเพิ่มเติมเข้ามาว่า สถานีบริการน้ำมันของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ภายใต้แบรนด์ "TPI" มีจำนวนทั้งหมด 77 แห่ง แบ่งเป็นในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯจำนวน 14 แห่ง พื้นที่ปริมณฑล 6 แห่ง พื้นที่ภาคกลางจำนวน 11 แห่ง พื้นที่ภาคเหนือ 6 แห่ง พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 23 แห่ง พื้นที่ภาคตะวันออกจำนวน 14 แห่ง พื้นที่ภาคตะวันตกจำนวน 3 แห่ง และในพื้นที่ภาคใต้จำนวน 3 แห่ง |
. |
ล่าสุดนอกจากการประกาศขายสถานีบริการน้ำมัน TPI แล้ว เมื่อเร็วๆ นี้ IRPC ยังได้ลงนามว่าจ้างให้บริษัทเชลล์โกลบอลโซลูชั่น (ประเทศไทย) ที่มีความชำนาญในด้านอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี เข้ามาเป็น "ที่ปรึกษา" ในการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อขยายกำลังการผลิต ดูภาพรวมการผลิตตั้งแต่การบริหารจัดการบุคลากร ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการลงทุนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด |
. |
และจากผลการศึกษาของบริษัทเชลล์โกล บอลฯในครั้งนี้ มีการคาดการณ์เบื้องต้นว่า IRPC จะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 1,100-1,300 เหรียญสหรัฐ แบ่งการลงทุนเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้ ใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงระยะแรกนี้ประมาณ 3 ปี หรือแล้วเสร็จช่วงปี 2552 ซึ่งจะปรับปรุงไปพร้อมๆ กับระยะที่ 2 ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงปี 2553 |
. |
การเพิ่มประสิทธิภาพของโรงกลั่น IRPC ครั้งนี้คาดว่าจะทำให้ "ค่าการกลั่น" ดีขึ้นถึง 30 เซนต์/บาร์เรลในช่วงแรก และจะดีขึ้นถึง 60 เซนต์/บาร์เรลในระยะเวลา 2 ปี อย่างไรก็ตาม นายปิติ ยิ้มประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไออาร์พีซีฯ ตั้งเป้าให้มีค่าการกลั่นดีขึ้นถึง 1 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ที่สำคัญจะทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นปัจจุบันที่ผลิตจริงที่ 190,000 บาร์เรล/ วัน (กำลังผลิตเต็มอยู่ที่ 225,000 บาร์เรล/วัน) ให้ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 260,000 บาร์เรล/วัน หากมีการลงทุนครบทั้ง 2 |
. |
ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ |