เนื้อหาวันที่ : 2007-05-15 18:07:01 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 4041 views

การป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกด้วยโปรแกรมเออร์โกโนมิก ตอนที่ 1

โดย เออร์โกโนมิก (Ergonomics) นี้ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษาความสัมพันธ์ ที่เหมาะสมระหว่างคนกับงานที่ทำรวมไปจนถึงเครื่องมือ อุปกรณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น ในปัจจุบันได้มีการนำเอาเออร์โกโนมิกมาประยุกต์ใช้กันในเกือบทุกสายงาน ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรการออกแบบ วิศวกรการผลิต นักออกแบบอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

เมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ผู้เขียนนึกครึ้มอกครึ้มใจอย่างไรขึ้นมาก็ไม่ทราบ ไปหยิบเอาแฟ้มบทความก่อนหน้านี้ขึ้นมาอ่านดู เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ในระยะหลัง ๆ นี้ ไม่ค่อยได้พูดถึงเรื่องของเออร์โกโนมิกเลย ดังนั้น จึงถือโอกาสนี้มานำเสนอเรื่องการใช้โปรแกรมเออร์โกโมิกในการป้องกันความผิดปกติของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกจากการทำงาน หรือ Work - Related Musculoskeletal Disorders (WMSDs) และก่อนที่จะไปพูดถึงรายละเอียดของโปรแกรมดังกล่าว ก็ขออนุญาตทบทวนความจำเกี่ยวกับเออร์โกโนมิกซักเล็กน้อย

.

โดย เออร์โกโนมิก (Ergonomics) นี้ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของการศึกษาความสัมพันธ์ ที่เหมาะสมระหว่างคนกับงานที่ทำรวมไปจนถึงเครื่องมือ อุปกรณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนสภาวะแวดล้อมในการทำงาน ที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น  ในปัจจุบันได้มีการนำเอาเออร์โกโนมิกมาประยุกต์ใช้กันในเกือบทุกสายงาน ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรการออกแบบ วิศวกรการผลิต นักออกแบบอุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 

.

ส่วนเรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้จะเกี่ยวข้องกับการใช้โปรแกรมเออร์โกโนมิก ในการประเมินพื้นที่ปฏิบัติงานในแง่มุมของการก่อให้เกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อ และโครงกระดูกของผู้ปฏิบัติงาน นั่นคือเราจะมาประเมินกันดูว่าลักษณะงานที่ทำเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ตลอดจนสภาวะแวดล้อมในการปฏิบัติงานนั้น ๆ จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความผิดปกติของกล้ามเนื้อ กระดูกข้อต่อและเส้นเอ็นต่าง ๆ หรือไม่ ซึ่งการประเมินนี้จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้ประกอบการเอง ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อที่จะได้ทำการออกแบบแผนงานที่มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันอาการบาดเจ็บหรือผิดปกติของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกอันเนื่องมาจากการทำงาน

.

อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโครงกระดูก เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ปฏิบัติงานมักจะประสบอยู่เสมอ ซึ่งจะรบกวนทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทำให้ปฏิบัติงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร และเป็นสาเหตุหลักประการหนึ่งที่ทำให้ขาดงานและบางทีอาจถึงขั้นลาออก เพราะทนต่อการสะสมของอาการบาดเจ็บต่อไปไม่ได้ โดยอาการบาดเจ็บนั้นมาจากอาการตึง ยึด ปวด เกร็งหรือความเครียด ที่มีต่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อันเนื่องมาจากการทำงานร่วมกับเครื่องจักร เครื่องมือ รวมถึงลักษณะการวางท่าทาง การเคลื่อนไหวและการออกแรงที่มากเกินไปหรือไม่ถูกวิธี ลักษณะอาการจะปรากฏออกมาในรูปแบบต่าง ๆ  เช่น เจ็บหลัง การตึงของข้อต่อ อาการเคล็ดขัดยอก ความเครียดทางสายตา อาการที่เกี่ยวกับโพรงกระดูกข้อมือ เอ็นอักเสบ การบาดเจ็บสะสม เป็นต้น

.

อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกแบบเฉียบพลันนี้ ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาตั้งแต่เริ่มต้นก็สามารถที่จะลุกลามจนเป็นปัญหาเรื้อรังหรืออาจถึงขั้นพิการได้เลยทีเดียว

.

องค์ประกอบของโปรแกรมเออร์โกโนมิก มีอยู่ 7 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 มองหาสัญญาณที่แสดงถึงปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน

ขั้นตอนที่ 2 การจัดเตรียมขั้นตอนสำหรับปฏิบัติการป้องกัน

ขั้นตอนที่ 3 การฝึกอบรมและให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน

ขั้นตอนที่ 4 การเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบเหตุการณ์ที่แสดงว่าเกิดปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน

ขั้นตอนที่ 5 พัฒนามาตรการควบคุมปัญหา

ขั้นตอนที่ 6 การบริหารจัดการด้านสุขภาพ

ขั้นตอนที่ 7 ปฏิบัติการเออร์โกโนมิกเชิงรุก

.

ขั้นตอนที่ 1: มองหาสัญญาณที่แสดงถึงปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน

.

1.การสังเกตสัญญาณที่อาจบ่งชี้ว่าเกิดปัญหาขึ้น โดยสัญญาณประเภทนี้ ได้แก่

.

- ข้อมูลที่แสดงความถี่ของพนักงานประจำที่ร้องเรียน บ่นหรือขาดงาน จากสาเหตุการเคล็ดขัดยอก การล้า การปวดตึง ความรู้สึกไม่สะดวกกาย อันเนื่องมาจากงานต่าง ๆ ที่ทำหรืองานที่มีกระบวนการทำงานในลักษณะซ้ำ ๆ และมีความถี่สูงเป็นเวลานานหรืองานที่ต้องใช้แรงมากและอาการบาดเจ็บ เหล่านั้นยังคงอยู่แม้ว่าจะข้ามคืนแล้วก็ตาม  

.
- ข้อมูลความถี่การไปพบแพทย์ของพนักงานที่แสดงถึง WMSDs       
.

- งานในพื้นที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่จะเกิด WMSDs เช่น งานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ต้องทำซ้ำ ๆ งานที่ต้องใช้แรงมาก งานที่ต้องยก ถือ หิ้ว ลากหรือดันสิ่งของหนัก งานที่ต้องทำในลักษณะเอื้อมเหนือศีรษะ งานที่ทำให้พนักงานวางลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้อง หรืองานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์สั่นสะเทือน เป็นต้น

.

- ข้อมูลจากแหล่งอื่น ๆ เช่น วารสารด้านสุขภาพ หรือบริษัทประกันสุขภาพที่ใช้บริการอยู่ ซึ่งได้กล่าวถึงความเสี่ยงของ WMSDs ที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติงานในธุรกิจนั้น ๆ ของผู้ประกอบการ

.

- ข้อมูลที่บอกถึงกรณีการพบ WMSDs ในคู่แข่งหรือธุรกิจที่คล้ายคลึงกัน

.

- มีการเสนอความเห็นต่อผู้บริหารถึงเรื่องการปรับปรุงเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนลักษณะงานที่ทำอยู่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน เพิ่มผลผลิตและมาตรฐานให้มากกว่าที่เป็นอยู่

. 

โดยปกติแล้ว WMSDs ที่เกิดขึ้นในสถานที่ปฏิบัติงานประเภทต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกันออกไป เช่น

- สายงานผลิต สถิติที่พบมากที่สุด คือ อาการปวดหลัง

- สำนักงาน โดยเฉพาะแผนกที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ มักพบอาการปวดหัว หลัง อาการเครียดทางสายตา ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการมองเห็น

- โกดังสินค้า มักพบอาการตึงหรือปวดบริเวณคอ หัวไหล่ มือ แขน ไหล่ และหลัง เนื่องจากการยก ถือ หิ้ว ลาก หรือ ดันสิ่งของหนัก  เป็นต้น

.

2.กำหนดระดับความเข้มของโปรแกรมเออร์โกโนมิก โดยดูจากสัญญาณที่แสดงถึงปัญหา WMSDs ที่พบในพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น ถ้าสัญญาณที่พบมาจากหลายสายงาน หรือหลายจุดปฏิบัติงาน และเกี่ยวข้องกับพนักงานส่วนใหญ่ ก็ควรที่จะใช้โปรแกรมเออร์โกโนมิกอย่างเต็มรูปแบบ ในทางกลับกันถ้าสัญญาณที่สงสัย หรือคาดว่าจะเป็นปัญหามีจำนวนจำกัด และเกี่ยวข้องกับพนักงานเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเลือกใช้โปรแกรมเออร์โกโนมิกเพียงบางส่วนได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปัญหาที่เกิดขึ้น

. 

ขั้นตอนที่ 2: การจัดเตรียมขั้นตอนสำหรับปฏิบัติการป้องกัน

1.กำหนดโปรแกรมเออร์โกโนมิกให้เป็นส่วนหนึ่ง ของโปรแกรมด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของบริษัท ควรมีการพิจารณาและกำหนดให้โปรแกรมเออร์โกโนมิก เป็นส่วนหนึ่งในการชี้บ่งถึงอันตรายในพื้นที่ปฏิบัติงาน แม้ว่าหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการแจกแจงอันตราย  การบันทึกเหตุการณ์ การตรวจประเมิน มาตรการควบคุม และเทคนิคในการบริหารจัดการด้านสุขภาพของโปรแกรมเออร์โกโนมิกนั้น จะเน้นเฉพาะเจาะจงไปที่ปัจจัยเสี่ยงด้านเออร์โกโนมิก และ WMSDs ก็ตาม แต่โดยรวม ๆ แล้วหลักการพื้นฐานก็คือ การประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และการควบคุมอันตรายต่าง ๆ ในพื้นที่ปฏิบัติงาน  เช่นเดียวกับโปรแกรมด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยนั่นเอง และเมื่อพื้นที่ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย เราก็สามารถที่จะลดต้นทุนด้านการเสียเวลา การขาดงาน ค่าชดเชยต่าง ๆ  ฯลฯ นอกจากนี้ ยังช่วยให้เราสามารถที่จะพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ให้มีการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่อีกด้วย

. 

2.การแสดงออกถึงพันธะกิจของฝ่ายบริหารถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้โปรแกรมเออร์โกโนมิก ประสบผลสำเร็จโดยผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญกับโปรแกรมเออร์โกโนมิก ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งช่วยให้องค์กรสามารถดำรงไว้ซึ่งความปลอดภัย และสุขอนามัยของสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด มีการกำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมเออร์โกโนมิก  จัดลำดับขั้นตอนของโปรแกรมเออร์โกโนมิกที่จะช่วยพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร ให้คำปรึกษาและสนับสนุนในทุก ๆ ด้านที่จำเป็น ประชุมร่วมกับพนักงานผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้างาน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้เข้าใจตรงกันถึงนโยบายและแผนงานสำหรับการปฏิบัติงานด้านเออร์โกโนมิก ตั้งเป้าหมายและระยะเวลาในการดำเนินโปรแกรมเออร์โกโนมิกเพื่อที่จะลดปํญหา WMSDs

. 

3.จัดตั้งทีมงานที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมเออร์โกโนมิก โดยทีมงานจะต้องประกอบด้วยตัวแทนจากทุกแผนก ๆ ละ 1-2 คน รวมถึงวิศวกร ช่างซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งมีความจำเป็นในกรณีที่ต้องจัดซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องมือใหม่ และบุคลากรด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย โดยมีที่ปรึกษาเป็นผู้จัดการในแต่ละแผนก และเลือกหัวหน้าทีมหรือตัวแทนที่มีวุฒิภาวะและความสามารถเพียงพอในการรวบรวมข้อมูล มีความเข้าใจในปัญหา ประสานงานได้ดีกับทุกฝ่าย และสามารถเป็นตัวแทนในการสรุปรายงานถึงเนื้อหาทั้งหมด ตลอดจนความคืบหน้าให้ฝ่ายบริหารได้รับทราบและเข้าใจตรงกันได้    

. 

ขั้นตอนที่ 3: การฝึกอบรมและให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงาน

ในการแจกแจงและแก้ไขปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องมีระดับความรู้ และทักษะเกี่ยวกับเออร์โกโนมิก จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรม ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้โปรแกรมเออร์โกโนมิก ประสบผลสำเร็จ เป้าหมายโดยรวมของการฝึกอบรม ก็คือ เพื่อให้ผู้จัดการ หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงาน สามารถที่จะแจกแจง ถึงลักษณะกิจกรรมในงาน ซึ่งอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด WMSDs สามารถที่จะสังเกตสัญญาณและลักษณะอาการของ WMSDs ได้ และมีส่วนร่วมในการพัฒนายุทธศาสตร์ที่จะควบคุมหรือป้องกัน WMSDs ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจเป็นอย่างดีถึงอันตราย และสามารถที่จะช่วยแจกแจงและควบคุมปัญหา WMSDs ได้

.

1.องค์ประกอบของการฝึกอบรม

.

- กำหนดให้การฝึกอบรมเป็นสิ่งที่จำเป็น ในกรณีที่มีหลักฐานหรือเหตุการณ์ ที่ได้จากการเก็บสถิติและตรวจสอบข้อมูลด้านสุขภาพ รวมถึงผลจากการวิเคราะห์งานที่ทำ ซึ่งชี้บ่งว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำการควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้านเออร์โกโนมิก ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานจะต้องได้รับการฝึกอบรม เพื่อที่จะได้เข้าใจ และสามารถสนับสนุนมาตรการควบคุมได้อย่างถูกต้อง

- แจกแจงความจำเป็นของหัวข้อการฝึกอบรม โดยผู้เข้ารับการฝึกอบรม จะถูกแบ่งออกเป็นลำดับชั้นของการฝึกอบรม ซึ่งจะได้รับคำแนะนำด้านเออร์โกโนมิกที่เข้มข้นแตกต่างกันออกไป

- แจกแจงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุด ก็คือ วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ต้องชัดเจน ถูกต้อง สังเกตได้ และใส่ใจในภาคปฏิบัติ

- พัฒนารูปแบบหรือกิจกรรมการเรียนรู้ เช่น การใช้สื่อทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ

- การดำเนินการฝึกอบรม ต้องคำนึงถึงภาษาและระดับความรู้ของผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานที่พวกเขาทำ
.

- ประเมินประสิทธิภาพของการฝึกอบรม ซึ่งวิธีที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ การตั้งคำถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่ฝึกอบรม และสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่องานที่ทำ ซึ่งการวัดความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม หรือการพัฒนาทักษะนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็น ส่วนการติดตามประเมินผล จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน หรือการพัฒนางานนั้นอาจต้องใช้เวลาพอสมควร

.

- พัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรม ถ้าผลการประเมินพบว่าวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมไม่ประสบผลสำเร็จ ควรมีการทบทวนองค์ประกอบของแผนการฝึกอบรมเสียใหม่ ซึ่งต้องมีการแก้ไขข้อบกพร่องที่พบในการฝึกอบรมที่ผ่านมาด้วย

.

2.การฝึกอบรมเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกด้านเออร์โกโนมิก มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงาน

.

- สามารถที่จะตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิด WMSDs และเข้าใจวิธีการโดยทั่วไปในการควบคุมสิ่งเหล่านั้น

- แจกแจงถึงสัญญาณและลักษณะอาการของ WMSDs ซึ่งเป็นผลมาจากการเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น

- รับทราบถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการได้ใช้ในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้น และรู้ถึงบทบาทของผู้ปฏิบัติงานและการมีส่วนร่วมในกระบวนการนั้น ๆ

- รับทราบถึงขั้นตอนและวิธีในการรายงานถึงปัจจัยเสี่ยงและ WMSDs ที่พบในระหว่างการปฏิบัติงาน รวมถึงทราบรายชื่อของบุคคลในทีมงานเออร์โกโนมิกที่ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา โดยผู้ปฏิบัติงานจะได้รายงานต่อบุคคลเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

.

3.การฝึกอบรมในการวิเคราะห์งานและมาตรการควบคุม มีจุดประสงค์เพื่อ

- สาธิตวิธีการวิเคราะห์งานที่ทำอยู่ เพื่อที่จะได้แจกแจงถึงปัจจัยเสี่ยงสำหรับ WMSDs ได้อย่างถูกต้อง

- เลือกวิธีที่จะปฏิบัติและประเมินมาตรการควบคุม

. 

4.การฝึกอบรมในการแก้ปัญหา มีจุดประสงค์เพื่อ

- แจกแจงฝ่าย พื้นที่ และงานที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยง  ผ่านทางการทบทวนรายงานประจำปีของบริษัท ข้อมูลจดบันทึกต่าง ๆ การเดินสังเกต และการสำรวจเป็นกรณีพิเศษ

- แจกแจงเครื่องมือและเทคนิคที่จะใช้ในการวิเคราะห์งาน และจัดเป็นพื้นฐานสำหรับการให้ข้อเสนอแนะ

- พัฒนาทักษะแก่ทีมที่ตั้งขึ้นมาในการแก้ปัญหา

-  แนะนำหนทางในการควบคุมอันตรายจากเออร์โกโนมิก บนพื้นฐานของการวิเคราะห์งานและรับฟังข้อคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงาน ฝ่ายบริหาร และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

. 

5.ข้อที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษและการระวังล่วงหน้า

-ผู้ประกอบการควรใช้ข้อมูลและวิธีการเพื่อปรับให้เข้ากับงานที่มีลักษณะเฉพาะบุคคลหรือกลุ่มที่ถูกกำหนดให้มีบทบาทในการควบคุมอันตรายด้านเออร์โกโนมิก ควรที่จะได้รับข้อแนะนำหรือวิธีในการแจกแจงปัญหา  การวิเคราะห์งานและเทคนิคในการแก้ปัญหา จากผู้เชี่ยวชาญที่เป็นคนฝึกอบรม

- จุดประสงค์ของการฝึกอบรมไม่ได้คาดหวังให้ผู้ปฏิบัติงาน หัวหน้างานหรือผู้จัดการ สามารถวินิจฉัยโรคหรือรักษา WMSDs เพียงแต่ต้องการปลูกฝังความเข้าใจว่า

. 

ปัญหาด้านสุขภาพประเภทใดที่จะเกี่ยวข้องกับงานที่ทำ และสามารถที่จะประเมินสถานการณ์ด้านสุขภาพได้ การฝึกอบรมควรรวมไปถึงการทำให้ทราบว่างาน หรือกิจกรรมประเภทใด ที่นอกเหนือจากงานที่ทำ เป็นเหตุให้เกิดอาการบาดเจ็บด้านกล้ามเนื้อและโครงกระดูกได้

. 

- การฝึกอบรมควรคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย คือผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรม ควรที่จะพิจารณาให้เหมาะสมกับระดับความรู้ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม และภาษาที่ใช้ในการฝึกอบรมควรที่จะเข้าใจได้ง่าย

. 

- ผู้ที่ทำการฝึกอบรมหรือวิทยากรมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะทำให้การฝึกอบรมสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ควรเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ กรณีเป็นบุคคลภายในองค์กร ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านเออร์โกโนมิกโซลูชัน และเข้าใจดีถึงรายละเอียดลักษณะของกิจกรรมในพื้นที่ปฏิบัติงาน แต่ถ้าเป็นผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กร นอกจากจะมีความรู้ด้านเออร์โกโนมิกโซลูชัน แล้วก่อนทำการฝึกอบรมควรมีการทำความคุ้นเคย หรือรับทราบลักษณะงานในพื้นที่ รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของบริษัท เพื่อที่จะได้ปรับเนื้อหาหรือข้อแนะนำในการฝึกอบรมให้เหมาะสมและสัมพันธ์กัน

. 

ตารางที่ 1 แสดงลำดับชั้นของการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเออร์โกโนมิก

.

. 

* ทีมงานเออร์โกโนมิกที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาควรเพิ่มคำแนะนำถึงสิ่งจำเป็นในการสร้างทีมและการเห็นพ้องกันในการพัฒนากระบวนการ นอกเหนือไปจากการประยุกต์เทคนิคด้านเออร์โกโนมิก

** การรับทราบข้อมูลความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเออร์โกโนมิก สำหรับผู้ปฏิบัติงานทั่วไปทุกคน อาจใช้การเข้าห้องประชุมเพื่อแนะนำหรืออาจเผยแพร่ข้อมูลโดยการแจกเอกสารก็ได้       

. 
ขั้นตอนที่ 4: การเก็บรวบรวมข้อมูลและตรวจสอบเหตุการณ์ที่แสดงว่าเกิดปัญหา WMSDs ในพื้นที่ปฏิบัติงาน   
. 

เมื่อตัดสินใจที่จะเริ่มต้นโปรแกรมเออร์โกโนมิก ขั้นตอนที่จำเป็น ก็คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดขอบเขตและลักษณะของปัญหาหรือที่คาดว่าจะเป็นปัญหา รวมไปถึงการเลือกใช้เทคนิคและเครื่องมือต่าง ๆ ในการพัฒนาวิธีสำหรับการแจกแจงปัญหา

. 

เครื่องชี้บ่งด้านสุขภาพและการแพทย์ มีดังนี้ คือ

1.การติดตามรายงานของผู้ปฏิบัติงาน

- ต้องมั่นใจได้ว่าผู้ปฏิบัติงานมีอิสระ ในการรายงานลักษณะอาการของความเครียดทางด้านร่างกาย ซึ่งถือว่าเป็นกุญแจสำคัญของโปรแกรมเออร์โกโนมิก ผลการรายงานในระยะเริ่มแรกควรเริ่มพิจารณาแก้ไขมาตรการที่บกพร่อง ก่อนที่จะเกิดผลกระทบอย่างรุนแรงกับงานที่ทำ ความใส่ใจในระยะเริ่มแรกต่อการร้องเรียนของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานที่ทำ ในส่วนที่มีผลจากความเมื่อยล้าทางด้านร่างกายมากเกินไป ความเครียด และความไม่สะดวกกาย  อาจเป็นสัญญาณที่ชี้บ่งถึงปัญหาด้านเออร์โกโนมิก ควรที่จะติดตามรายงานเหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายงานที่เกี่ยวข้องกับ WMSDs ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น รายงานเหล่านี้จะชี้บ่งถึงความจำเป็นในการประเมินงานที่ทำ เพื่อที่จะระบุถึงปัจจัยเสี่ยงด้านเออร์โกโนมิก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาของ WMSDs โดยเทคนิคในการประเมินงานที่ทำนี้ จะมีการกล่าวถึงในภายหลัง

. 

2 . ทบทวนบันทึกข้อมูลที่มีอยู่

- ตรวจสอบข้อมูลด้านการบาดเจ็บและการป่วยจากบันทึกข้อมูลที่มีอยู่ เช่น ค่าชดเชยพนักงานที่บาดเจ็บ ค่าประกัน การลาป่วย และการขอย้ายแผนก หรือรายงานการตรวจสุขภาพประจำปีของบริษัท ซึ่งจะทำให้ทราบถึงลักษณะของปัญหา WMSDs เพื่อที่จะได้เข้าไปศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นอย่างทันท่วงที

. 

3. การสำรวจอาการ

- การสำรวจอาการหรือการสัมภาษณ์จะช่วยในการระบุความเป็นไปได้ของปัญหา WMSDs ซึ่งบางทีก็ไม่ทันสังเกตเห็น ในส่วนของการสัมภาษณ์ ควรเพิ่มคำถามเกี่ยวกับชนิด  การเริ่มมีอาการและระยะเวลาของอาการ แบบฟอร์มสำรวจอาการ ควรที่จะรวมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่จะชี้ความเชื่อมโยงถึงตำแหน่งและอัตราของระดับความรู้สึกไม่สะดวกกายจากการทำงานที่ได้ประสบมาบนส่วนที่แตกต่างกันของร่างกายผู้ปฏิบัติงาน โดยมีข้อสันนิษฐานว่า ความรู้สึกไม่สะดวกกาย หรืออาการเหล่านั้น น่าจะเชื่อมโยงกับการเพิ่มความเสี่ยงของ WMSDs    

. 

- ข้อด้อยของแบบสอบถามสำรวจอาการ คือ ความเชื่อมั่นในผลการรายงาน ปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากการปรากฏหรือไม่ปรากฏของ WMSDs อาจมีอิทธิพลต่อการรายงาน รวมถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายของแบบสอบถาม ซึ่งอาจทำให้สับสนได้ ดังนั้น ควรใช้คำถามที่ชัดเจนและเกี่ยวข้องโดยตรงกับลักษณะเฉพาะของงานที่ทำ การได้ข้อมูลจากการสำรวจอาการ จะช่วยในการแจกแจงลักษณะงาน หรือองค์ประกอบของงานที่ทำอยู่ สามารถนำไปวิเคราะห์เออร์โกโนมิกได้อย่างถูกต้อง   

. 

แบบฟอร์มการสำรวจอาการ จะทำให้ได้ข้อมูลที่จะแจกแจงส่วนต่าง ๆ  ของร่างกาย ที่มีแนวโน้มจะเพิ่มระดับความไม่สะดวกกาย อันเป็นผลมาจากการออกแบบสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม โดยวิธีการกรอกแบบฟอร์มนั้นต้องไม่ระบุชื่อของผู้ให้ข้อมูล และไม่มีการบังคับให้ทำแบบสำรวจ นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานควรที่จะกรอกแบบฟอร์มด้วยตัวเอง แต่ถ้าผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจ ผู้รับผิดชอบในการสำรวจจึงค่อยทำการจัดกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน แล้วอธิบายถึงรายละเอียดของแบบฟอร์มนั้น ๆ  สิ่งที่ยากอีกประการหนึ่ง ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจอาการ ก็คือ การเลือกว่าการตอบสนองใดบนแบบสอบถาม ที่จะบ่งชี้ถึงปัญหาซึ่งต้องทำการประเมินต่อไป วิธีหนึ่งที่ใช้คือการตรวจนับคะแนนในแต่ละหัวข้อจากแบบสอบถาม โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดจนถึงน้อยที่สุด

. 

จากจำนวนและความรุนแรงของการร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน ผลจากคะแนนหรือลำดับจำนวนและความรุนแรงที่มีการร้องเรียนมากที่สุด จะถือว่าเป็นหัวข้อแรกที่ต้องมีการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในงานที่ทำ และพิจารณากำหนดมาตรการลดความเสี่ยงนั้น นอกจากนั้นยังต้องมีการสำรวจอาการซ้ำโดยใช้แบบฟอร์มเดิม เพื่อที่จะตรวจสอบดูว่ามาตรการที่ใช้แก้ปัญหาได้ผลหรือไม่ โดยทำการสำรวจ 1 เดือนให้หลังจากการสำรวจในครั้งแรก และควรที่จะทำการสำรวจในวัน เวลา ของเดือนที่พ้องกันกับการสำรวจในครั้งแรก เช่น สำรวจครั้งแรกในเวลาเช้าวันจันทร์ต้นเดือน การสำรวจในครั้งต่อมาต้องเหมือนกัน เพราะการสำรวจในเวลาเช้าวันจันทร์เทียบกับเวลาบ่ายวันศุกร์อาจให้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยน เนื่องจากแรงจูงใจของผู้ปฏิบัติงานจะต่างกัน

. 

ตัวอย่างที่ 1: แบบฟอร์มการสำรวจอาการ

 .

.

*(เป็นตัวเลขจำนวนชั่วโมงทั้งหมดของการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน 100 คน/ ปี โดยประมาณว่าผู้ปฏิบัติงาน 1 คน มีจำนวนชั่วโมงการทำงานทั้งหมด 2,000 ชั่งโมง / ปี)

.

ตัวอย่างการคำนวณ เช่น

A. โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกขนาดเล็กแห่งหนึ่ง มีพนักงานฝ่ายผลิตที่ทำงานเต็มเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 125 คน ในจำนวนนี้แยกเป็นแผนกประกอบแผงวงจร 75 คน และประกอบผลิตภัณฑ์ 50 คน จากการตรวจสอบข้อมูลบันทึกด้านการแพทย์ของบริษัทพบว่า ในปี 2003 ระบุว่ามีพนักงานจำนวน 20 คน มีอาการปวดบริเวณมือและข้อมือ โดยแยกเป็นผู้ที่ทำงานด้านการเดินสายแผงวงจร จำนวน 14 คน และอีก 6 คน ทำด้านการประกอบแผงวงจร จากข้อมูลบันทึกด้านการแพทย์ของบริษัท ในปี 2004 ระบุว่าพบเหตุการณ์เช่นเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นใหม่  5 กรณี โดยเป็นการทำงานเดินสายแผงวงจร 4 และอีก 1 เป็นการทำงานด้านประกอบผลิตภัณฑ์

 

 

.

.

B. จากข้อมูลเบื้องต้นในปี 2003 ระบุว่ามีเหตุการณ์ 20 กรณีของ WMSDs และเกิดเหตุการณ์ใหม่ 5 กรณี ในปี 2004 ดังนั้นในระยะเวลา 2 ปี มีเหตุการณ์รวม 25 กรณี

 

 

.

.

จากตัวอย่างข้อมูล A และ B แสดงให้เห็นว่ามีงานมากกว่า 1 งานที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุการเกิด WMSDs และจากการคำนวณพบว่าส่วนต่างของ IR และ PR มากกว่า 2 เท่า เป็นการระบุหรือชี้บ่งว่าควรที่จะมีการประเมินเพื่อกำหนดมาตรการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

.

เอกสารอ้างอิง

Elements of Ergonomics Programs : A primer Based on Workplace Evaluations of Musculoskeletal Disorders byAlexanderL.Cohen,ChristopherC.Gjessing,LawrenceJ.Fine,BruceP.Bernard,Jamesd.McGlothlin;U.S.Departmentof Health and HumanServices,Public HealthService,Centers for  Disease Control and Prevention,National Institute for Occupational Safety and Health.