เนื้อหาวันที่ : 2007-05-15 10:21:07 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3196 views

หลักสูตรการพัฒนาที่ปรึกษา

หลักสูตรการพัฒนาที่ปรึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้ขอรับบริการได้ ผู้ที่ต้องการเป็นที่ปรึกษาต้องผ่านหลักสูตรพื้นฐาน

หลักสูตรการพัฒนาที่ปรึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาให้แก่ผู้ขอรับบริการได้นั้น ผู้ที่ต้องการเป็นที่ปรึกษาอย่างน้อยต้องผ่านหลักสูตรพื้นฐาน และมีโอกาสฝึกอบรมภาคปฏิบัติกับที่ปรึกษาอาวุโสสักระยะหนึ่งในสถานประกอบการ เพื่อได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคต่าง ๆ ให้เกิดความชำนาญและความมั่นใจมากขึ้น สมัยที่ผู้เขียนเริ่มเป็นที่ปรึกษาใหม่ ๆ มีโอกาสดีได้เดินตามผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นหลายท่าน จากโครงการ JICA (Japan International Cooperation Agency) เป็นเวลานับปี หรือที่เรียกว่า OJT (On the Job Training) ทำให้เกิดความมั่นใจ และสร้างความเชื่อมั่นในการให้คำปรึกษาแก่ผู้ขอรับบริการ เพราะกระบวนการให้บริการคำปรึกษาแนะนำนั้น หากมีบางสิ่งที่ผู้ขอรับบริการขาดความมั่นใจในตัวที่ปรึกษาแล้ว กระบวนการให้คำปรึกษานั้นจะยุติลงทันที ถึงแม้ที่ปรึกษาจะมาจากหน่วยงานใดหรือสถาบันการศึกษาใดก็ตาม เพราะความน่าเชื่อถืออยู่ที่ตัวบุคคลมากกว่าหน่วยงานหรือสถาบันที่ตนสังกัด ดังนั้น อาชีพที่ปรึกษาจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น แต่หากขาดคุณสมบัติของการเป็นที่ปรึกษาที่ดี และมองงานบริการให้คำปรึกษาเป็นเพียงแค่รายได้เสริมหรืองานอดิเรก นอกเหนือจากภาระกิจหลักของตนที่ทำอยู่แล้ว วิชาชีพนี้ก็คงไม่เหมาะกับบุคคลดังกล่าว ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณจะต้องทุ่มเทเวลาและความตั้งให้กับงานที่ปรึกษาอย่างเต็มที่ ส่วนเรื่องจรรยาบรรณเป็นอีกเรื่อง หนึ่ง ที่จะกล่าวในบทต่อไป

.

บุคคลที่เหมาะกับหลักสูตรการพัฒนาที่ปรึกษา ควรมีคุณลักษณะ ดังนี้

1. มีความทะเยอทะยานที่จะเป็นที่ปรึกษามืออาชีพ

2. มีพื้นฐานทางด้านการบริหารที่สามารถประเมินและให้คำแนะนำแก่สถานประกอบการได้

3. เป็นบุคคลที่สถานประกอบการต้องการให้เป็นที่ปรึกษาภายในองค์กรหรือสนับสนุนกิจการของธุรกิจ

4. มีความทะเยอยานที่จะเป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในอนาคต

.

หลักสูตรการพัฒนาที่ปรึกษา ประกอบไปด้วย 3 หลักสูตร คือ

1. หลักสูตรพื้นฐาน

2. หลักสูตรการวินิจฉัยสถานประกอบการ
3. หลักสูตรการปรับโครงสร้างและพัฒนาองค์กร
.

โดยเฉพาะหลักสูตรการวินิจฉัยสถานประกอบการจะต้องฝึกอบรมเชิงปฏิบัติในภาคสนามหรือที่เรียกว่า OJT โดยมุ่งเน้นพัฒนาความสามารถของที่ปรึกษาให้เป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง และสามารถปรับโครงสร้างการบริหารขององค์กรให้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

.

.

รูปที่ 2 แสดงหลักสูตรการพัฒนาที่ปรึกษา

.

1. หลักสูตรพื้นฐาน (Base Course) ประกอบด้วยวิชาหลัก ดังนี้

- การบริหารโรงงาน (Plant Management)

.

วัตถุประสงค์

1. ให้มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการและการผลิต

2. เข้าใจระบบการทำงานในโรงงาน

3. สามารถนำความรู้ไปออกแบบระบบควบคุมการผลิตให้เหมาะสมกับประเภทผลิตภัณฑ์

4. สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิต ผังโรงงานและระบบส่งกำลังบำรุงได้

.

ความรู้พื้นฐาน

ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการผลิตและการปฏิบัติงานในโรงงาน การวิเคราะห์ปัญหาการผลิต การวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ การบำรุงรักษาเครื่องจักร การวางผังโรงงาน และการเคลื่อนไหวในการทำงาน ศึกษาเวลาและการไหลของงาน ตลอดจนผลิตภาพในการผลิตโดยอาศัยหลักการ IE เทคนิค มาช่วยวิเคราะห์การทำงาน การบริหารสินค้าคงคลัง การควบคุมคุณภาพ การประกันคุณภาพ การควบคุมต้นทุน การวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการผลิต การพัฒนาทักษะให้พนักงานสามารถทำงานได้หลายหน้าที่ ตลอดจนบูรณาการการผลิตกับการขาย

.

- การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human  Resource Management )

วัตถุประสงค์

1. สามารถดูแลรักษาและพัฒนาบุคลากร
.

2. ออกแบบการทำงานของพนักงานเพื่อสร้างกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์

.

ความรู้พื้นฐาน

ศึกษาการจัดโครงสร้างองค์กร การวางแผน การอำนวยการ การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กร เช่น การสรรหา การคัดเลือก การฝึกอบรม สวัสดิการและการจูงใจบุคลากรในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ยังวิเคราะห์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การกำหนดนโยบายและแผนฝึกอบรม การประเมินผลงานและพัฒนาความสามารถพนักงานในด้านสมรรถนะและการสนับสนุนการทำงานของพนักงาน การแก้ไขปัญหาบุคลากร แรงงานสัมพันธ์  กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ของแรงงาน

.

- การบริหารการตลาด ( Marketing Management )

.

วัตถุประสงค์

1. มีความรู้พื้นฐานด้านการตลาดและออกแบบกลยุทธ์การตลาด

2. เข้าใจการบริหารการขาย

3. เข้าใจการตลาดส่วนผสมตามสถานการณ์ต่าง ๆ

.

ความรู้พื้นฐาน

ศึกษาการบริหารการตลาด เทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การแบ่งส่วนตลาด การพยากรณ์ความต้องการของตลาด โดยอาศัยการวิจัยตลาด การเลือกกล ยุทธ ์และการจัดการเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด การวางแผนการตลาด การจัดโครงสร้างการบริหารการตลาด การควบคุมและการประเมินผล การกำหนดกล ยุทธ ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด  การกำหนดราคาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การแข่งขันการตลาดในระดับสากล  รวมถึงการพัฒนาตลาด

.

- การบริหารการเงิน (Financial Management)

วัตถุประสงค์

1. มีความรู้พื้นฐานทางการเงิน

2. มีความเข้าใจการบริหารและวิเคราะห์การเงิน

3. สามารถนำกลยุทธ์ทางการเงินไปประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ต่าง ๆ

.

ความรู้พื้นฐาน

ศึกษาและวิเคราะห์หลักการบริหารการเงิน และการวางแผนทางการเงิน เงินทุนหมุนเวียน การจัดหาเงินทุน การจัดทำงบการเงิน  และนโยบายทางการเงินที่มีผลกระทบต่อมูลค่าของกิจการ วิเคราะห์การเงิน วิเคราะห์จุดคุ้มทุน การบริหารกำไร ขาดทุนและควบคุมต้นทุน ตลอดจนการออกแบบระบบบัญชีธุรกิจ

.

- ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการ (Management Information System)

วัตถุประสงค์

1. มีความรู้ในการออกแบบระบบข้อมูลให้สอดคล้องกับการบริหารงาน

2. สามารถแยกความต้องการและเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรได้

.

ความรู้พื้นฐาน

ศึกษาระบบข้อมูลและสารสนเทศขององค์กรธุรกิจ การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่มีอยู่ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำสุด เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารหรือลูกค้า สร้างระบบและวิเคราะห์ข้อมูลในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายในองค์กร

.

- การบริหารแผนและกลยุทธ์ (Strategic and Planning Management)

วัตถุประสงค์

1. สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร

2. สามารถนำความรู้ในแขนงต่าง ๆ มาใช้ในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์

3. สามารถวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางเลือกกลยุทธ์ในการตัดสินใจ

.

ความรู้พื้นฐาน

ศึกษารูปแบบกลยุทธ์และทฤษฎีกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ ศึกษารูปแบบความคิดและวิสัยทัศน์ของบริษัท ศึกษาสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเงิน การตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คู่แข่งขัน ตลอดจนวิธีการดำเนินงานของธุรกิจ ศึกษากล ยุทธ ์การบริหารงานธุรกิจจากกรณีศึกษาต่าง ๆ กล ยุทธ ์โครงสร้างธุรกิจ การกระจายกล ยุทธ ์ทางธุรกิจ กล ยุทธ ์การแข่งขัน กล ยุทธ ์ระหว่างประเทศ กล ยุทธ ์การลดต้นทุนในองค์กร

.

2.  หลักสูตรการวินิจฉัยสถานประกอบการ (Company Diagnosis Course)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เรียนรู้เทคนิคการปรับปรุงและประเมินสถานประกอบการโดยอาศัยความรู้ที่เรียนมาจากหลักสูตรพื้นฐานและประสบการณ์ในภาคปฏิบัติมาประยุกต์ใช้งาน

2. เข้าใจโครงสร้างการบริหารงานของหน่วยงานในสถานประกอบการ เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง

.

ในทางปฏิบัติของหลักสูตรต้องการให้ที่ปรึกษาที่เข้ารับการฝึกอบรม ได้วินิจฉัยไปพร้อม ๆ กับที่ปรึกษาอาวุโส ที่มีประสบการณ์มากกว่า เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ จากการทำงานจริงมาประยุกต์ใช้กับทฤษฎีที่เรียนมาแล้ว เป็นการพัฒนาที่ปรึกษาให้มีประสบการณ์และสร้างความมั่นใจมากขึ้น ดังรูปที่ 2

.

.

รูปที่ 2 แสดงการฝึกอบรมและการให้คำปรึกษาเชิงปฏิบัติการในสถานประกอบการ (ที่มา: Mr. H Suzuki)

.

หลักสูตรวินิจฉัยสถานประกอบการประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

1. ด้านการบริหารงานทั่วไป

2. ด้านการขายและการตลาด

3. ด้านการผลิตและเทคโนโลยี

4. ด้านทรัพยากรมนุษย์

5. ด้านการเงินและการบัญชี

(รายละเอียดของหลักสูตรจะกล่าวในบทต่อไป)

.
3. หลักสูตรการปรับโครงสร้างและพัฒนาองค์กร (Company Restructuring & Development)

วัตถุประสงค์

- เรียนรู้และเข้าใจแนวทางการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพ

- พัฒนาธุรกิจองค์กรในเชิงกลยุทธ์การบริหารและการตลาด

- ปรับโครงสร้างการบริหารองค์กร การบริหารระบบข้อมูลและกระบวนการผลิต

- พัฒนาบุคลากรและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ สร้างวัฒนธรรมองค์กรใหม่ทั้งบุคคลและกลุ่มให้เหมาะสม

.

สรุป            

สรุปภาพรวมของหลักสูตรการพัฒนาที่ปรึกษา จะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และสะสมประสบการณ์ ให้แก่ที่ปรึกษาในการแก้ปัญหา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพสถานประกอบการ ในหลักสูตรจะมีโปรแกรมยาวต่อเนื่องตลอดทั้งปี ดังรูปที่ 3 แสดงหลักสูตรการฝึกอบรมประจำปี

.

ซึ่งไม่เคยเห็นในบ้านเราสักเท่าไหร่ ดังนั้นการพัฒนาที่ปรึกษาของเราจะไม่พบว่ามีหน่วยงานใดกระทำกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะคนที่จะเข้ามาสู่วงการนี้มีน้อย และเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยแน่นอนที่จะพอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเองได้อย่างยั่งยืน จึงพบว่าที่ปรึกษาส่วนใหญ่มักมาจากบุคลากรในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางวิชาการมากกว่าบุคคลทั่วไป แต่ในหลายๆ โครงการของภาครัฐที่ผ่านมาพบว่าบุคลากรจากสถาบันการศึกษาบางท่าน ยังขาดประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาให้กับสถานประกอบการ และขาดความพร้อมในด้านเวลาที่ให้แก่สถานประกอบการเท่าที่ควร จึงทำให้ผู้ที่ขอรับบริการต้องผิดหวังและไม่ได้ประโยชน์จากโครงการอย่างเต็มที่ เพราะภาระกิจหลักของบุคลากรเหล่านั้นไม่ใช่เป็นที่ปรึกษาให้แก่สถานประกอบการ หน้าที่หลัก คือ การสอนและงานวิจัยที่มีคุณภาพต่างหาก

.

ดังนั้น จึงคาดหวังอะไรจากบุคลากรดังกล่าวไม่ได้ หากเป็นโครงการลงทุนของภาคเอกชนเอง ก็คงเสียค่าใช้จ่ายไม่มากเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นโครงการของภาครัฐ การสูญเสียงบประมาณแผ่นดินที่เก็บภาษีจากประชาชน มันคุ้มค่าต่อผลลัพธ์ที่ได้หรือไม่ เพราะมันเป็นช่องทางที่บุคลากรของสถาบันการศึกษาบางท่าน อาศัยสถาบันการศึกษาที่ดูดีกว่าบริษัทเอกชนทั่วไป ทำมาหากินแทนที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ ผู้เขียนเคยได้รับการร้องเรียนจากผู้ขอรับบริการหลายราย จนบางรายต้องขอยกเลิกโครงการก่อนจบโครงการก็มี (ถ้านำเงินเหล่านี้ไปสร้างแท็งค์น้ำหรือห้องน้ำให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนชนบทที่ยากจน น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า)  และตราบใดที่หน่วยงานของรัฐยังพยายามคิด ที่จะรวบรวมที่ปรึกษาทั้งหลายมาขึ้นทะเบียน โดยไม่ตรวจสอบความรู้ความสามารถในการเป็นที่ปรึกษาอย่างจริงจัง ก็คงไม่มีความหมายอะไร ถ้าได้ที่ปรึกษาเหล่านี้จำนวนมากที่มีแต่ปริมาณแต่ไร้ความสามารถ

.

การที่ปรึกษาโดยทั่วไปมักจะมีลักษณะการทำงานที่สามารถควบคุมการทำงานของตนเองได้เป็นอิสระระดับหนึ่ง ในกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ขอรับบริการนั้น การควบคุมการทำงานของตนเองจะเกี่ยวข้องกับตัวที่ปรึกษาโดยตรง ดังนั้นคุณสมบัติของที่ปรึกษาในด้านประสบการณ์นับว่าเป็นสิ่งสำคัญ และยิ่งไปกว่านั้นที่ปรึกษาบางรายจะมีมาตรฐานเป็นของตนเอง โดยมีรูปแบบและวิธีการเฉพาะตัวที่พัฒนาจากความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา หลักสูตรการพัฒนาที่ปรึกษาดังกล่าว จึงช่วยพัฒนาทักษะความเป็นที่ปรึกษาให้เป็นมืออาชีพได้มากขึ้น

.

.

 

รูปที่ 3 แสดงหลักสูตรการฝึกอบรมประจำปี ที่มา:  Japan Productivity Center for Socio-Economic Development