เนื้อหาวันที่ : 2007-05-14 19:43:53 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 930 views

กรมทางหลวง รื้อใหม่แผนลงทุนมอเตอร์เวย์ 7 สาย หลังงบมีจำกัด

กรมทางหลวงรื้อใหม่แผนลงทุนมอเตอร์เวย์ 7 สาย มูลค่ากว่า 2 แสนล้าน หลังงบประมาณมีจำกัด เผยปี"51 ทำได้แค่ขยายถนนวงแหวนรอบนอก ช่วงรามอินทรา-บางปะอิน ระยะทาง 46 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 4,500 ล้านบาท ชงคมนาคมของบฯเบิกจ่าย 2,600 ล้านบาท ค่าเวนคืนถนน 11 สาย

กรมทางหลวงรื้อใหม่แผนลงทุนมอเตอร์เวย์ 7 สาย มูลค่ากว่า 2 แสนล้าน หลังงบประมาณมีจำกัด เผยปี"51 ทำได้แค่ขยายถนนวงแหวนรอบนอก ช่วงรามอินทรา-บางปะอิน ระยะทาง 46 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 4,500 ล้านบาท ชงคมนาคมของบฯเบิกจ่าย 2,600 ล้านบาท ค่าเวนคืนถนน 11 สาย

.

นายทรงศักดิ์ แพเจริญ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้กรมทางหลวงอยู่ระหว่างจัดลำดับความสำคัญการลงทุนของโครงการขนาดใหญ่ โครงการทางพิเศษระหว่างเมือง จำนวน 7 สายทาง ตามแผนที่ได้จัดทำไว้ในปี 2550-2554 ซึ่งเป็นระยะเร่งด่วน เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้แต่ละปีมีค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอต่อการลงทุนขนาดใหญ่มากนัก จึงต้องมีการเรียงลำดับใหม่โดยจะพิจารณาความเหมาะสมว่าโครงการใดจะต้องก่อสร้างก่อน ส่วนโครงการใดที่สามารถชะลอได้ก็ให้ชะลอออกไป

.

"ตอนนี้เราต้องเร่งทำโครงการเก่าที่เป็นภารกิจให้เสร็จก่อน เช่น ขยาย 4 เลนทั่วประเทศ ซึ่งยังขาดแคลนงบประมาณที่จะนำมาพัฒนา สำหรับโครงการขนาดใหญ่ ดูแล้วถ้าสายไหนมีความ จำเป็นจริงๆ ก็จะทำ แต่งบประมาณยังไม่มี อาจต้องใช้วิธีกู้เงินมาก่อสร้างแทน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา"

.

นายทรงศักดิ์กล่าวว่า สำหรับโครงการมอเตอร์ เวย์ 7 สายทาง ที่มีแผนจะก่อสร้างวงเงิน 213,238 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ตอนชลบุรี-พัทยา ตอนพัทยา-มาบตาพุด 2.สายวงแหวนรอบนอกตะวันออก ตอนรามอินทรา-บางปะอิน

.

3.สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ตอนสระบุรี-นครราชสีมา ตอนบางปะอิน-สระบุรี 4.สายนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ ตอนสมุทรสงคราม-ชะอำ ตอนนครปฐม-สมุทร สงคราม 5.สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ตอนบางใหญ่-บ้านโป่ง ตอนบ้านโป่ง-กาญจนบุรี 6.สายบางปะอิน-นครสวรรค์ ตอนบางปะอิน-อ่างทอง ตอนอ่างทอง-นครสวรรค์ และถนนวงแหวนรอบนอกชั้นที่ 3

.

ดูแล้วที่จะทำได้ก่อน คือ การขยายช่องการจราจรถนนวงแหวนรอบนอก จากช่วงรามอินทรา-บางปะอิน ระยะทาง 46 กิโลเมตร ใช้งบฯก่อสร้าง 4,500 ล้านบาท เริ่มปี 2551-2553 ส่วนที่เหลืออาจจะต้องรอให้ผลกระทบสิ่งแวดล้อมผ่านก่อน เพราะตอนนี้เรื่องสิ่งแวดล้อมผ่านค่อนข้างยาก นอกจากนี้ยังมีผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการรวมถึงการเวนคืนที่ดินอีกด้วย"

.

นายทรงศักดิ์กล่าวต่อว่า ภารกิจอีกอย่างที่เร่งด่วนในขณะนี้ คือ การเบิกจ่ายงบประมาณ ซึ่งจากการรวบรวมรายละเอียดในเบื้องต้น จำนวน 2,600 ล้านบาทที่จะนำมาใช้จ่ายก่อน โดยได้ทำเรื่องเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว

.

ประกอบด้วย ค่าเวนคืน 11 สาย วงเงิน 806 ล้านบาท คือ สายบางคูวัด จำนวน 200 ล้านบาท สายสุขาภิบาล 1-วงแหวนรอบนอก วงเงิน 200 ล้านบาท ทางต่างระดับรังสิต วงเงิน 100 ล้านบาท สายรัชดาฯ-รามอินทรา วงเงิน 86 ล้านบาท แยกต่างระดับมีนบุรี วงเงิน 17.5 ล้านบาท แยกถนนกิ่งแก้วเชื่อมบางนา-ตราด วงเงิน 7 ล้านบาท สายเอกชัย วงเงิน 5 ล้านบาท สายวงแหวนนครราชสีมา วงเงิน 10 ล้านบาท สายชลบุรี-พัทยา วงเงิน 80 ล้านบาท ทางเลี่ยงเมืองบูเกะตา วงเงิน 80 ล้านบาท สายวารินชำราบ ตอนอุบลฯ-แยกทางหลวงหมายเลข 24 ตอน 1 วงเงิน 21 ล้านบาท

.

นอกจากนี้มีจ่ายค่าเค วงเงิน 597 ล้านบาท จ่ายให้กับโครงการที่ทำเร็วกว่าแผนวงเงิน 217 ล้านบาท มีสายโชคชัย-หนองกี่ ตอน 2 ทางลอดแยกเกษตรศาสตร์ เลี่ยงเมืองสุพรรณบุรี ตอน 4 สายรัชดาฯ-รามอินทรา ตอน 3 สายสุโขทัย-พิษณุโลก ตอน 2 ที่เหลือเป็นค่าจำเป็นต้องจ่าย วงเงิน 24 ล้านบาท เช่น จ้างที่ปรึกษา เป็นต้น ค่าซ่อมบำรุงและอำนวยความปลอดภัยจำนวน 999 ล้านบาท

.

"สำหรับโครงการใหม่.ที่จะเปิดประกวดราคาในเร็วๆ นี้ ให้ดำเนินการตามปกติ จะไม่มีการชะลอ แต่จะนำเงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติมาใช้ในโครงการอื่นไปก่อน เพราะเซ็นสัญญาไม่ทันเดือนมิถุนายนตามที่รัฐบาลให้นโยบายไว้ ซึ่งจะไปเบิกงบประมาณของปี 2551 แทน"

.

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ