เนื้อหาวันที่ : 2012-06-28 12:07:17 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1601 views

ชิเซโด้ ย้ายฐานผลิตไปเวียดนาม ส.อ.ท.ร้องรัฐแก้กม.ทำผู้ผลิตชิ่ง

ส.อ.ท.ชี้รัฐควรเร่งแก้ข้อบังคับการผลิตเครื่องสำอาง หวั่นผู้ผลิตย้ายฐาน แบรนด์ดัง ชิเซโด้ นำร่องย้ายเข้าเวียดนาม

ส.อ.ท.ชี้รัฐควรเร่งแก้ข้อบังคับการผลิตเครื่องสำอาง หวั่นผู้ผลิตย้ายฐาน แบรนด์ดัง ชิเซโด้ นำร่องย้ายเข้าเวียดนาม แฉ อย.รู้ปัญหา แต่เกิดขัดแย้งภายในจึงเพิกเฉย จับตาวิกฤตยุโรปทำคำสั่งซื้อหดถึง70%

นางเกศมณี เลิศกิจจา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในงานสัมมนา "เออีซีกับความท้าทายของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย" ว่าขณะนี้บริษัทชิเชโด ผู้จำหน่ายเครื่องสำอางรายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น เตรียมยกเลิกการว่าจ้างโรงงานในไทยผลิตเครื่องสำอางชิเชโด รวมทั้งแผนการสร้างโรงงานผลิตเครื่องสำอางในไทย เพื่อหันไปให้โรงงานในประเทศเวียดนามเป็นผู้ผลิตแทน เนื่องจากเห็นว่ากฎระเบียบของไทยเป็นอุปสรรค์ต่อขีดความสามารถการแข่งขันอย่างมาก โดยเฉพาะการกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการแจ้งรายละเอียดก่อนวันผลิตสินค้า ซึ่งต่างจากประเทศอื่นที่แจ้งรายละเอียดก่อนวางจำหน่ายสินค้า 3 วัน

นอกจากนี้ในข้อบังคับของไทย ระบุถึงสารบางชนิดที่ห้ามนำมาผลิตเครื่องสำอางตามระเบียบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) แต่ในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรป อนุญาตให้ใช้ได้ ดังนั้น เมื่อมีคำสั่งผลิตโรงงานที่ตั้งอยู่ในไทยจึงไม่สามารถผลิตได้ ทั้งที่สินค้าดังกล่าวไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่ายในเมืองไทย ซึ่งปัญหาดังกล่าว อย.รับทราบดี แต่ทราบว่ามีความขัดแย้งภายในองค์กรจึงไม่ได้แก้ไขเรื่องดังกล่าวให้ถูกต้อง

ขณะเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แสดงความกังวลกับทางกลุ่มเครื่องสำอางเพราะทำให้เสียโอกาสด้านการลงทุนของประเทศในฐานะหน่วยงานชักจูงหลักของประเทศ

นางเกศมณี กล่าวอีกว่า  ไทยต้องเร่งแก้กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคในการแข่งขัน เพราะนอกจากชิเชโดแล้วยังมีผู้ผลิตเครื่องสำอางระดับโลกในประเทศยุโรป และสหรัฐ อีกหลายราย มีแผนที่จะยกเลิกโครงการตั้งโรงงานในไทยเช่นกัน สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เวียดนาม และอินโดนีเซียได้ประโยชน์เพราะนักลงทุนต้องการตั้งฐานการผลิตในอาเซียนเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี ในปี 2558

มูลค่าตลาดเครื่องสำอางโดยรวมในไทยปีนี้น่าจะอยู่ที่กว่า 400,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นราว 20% โดยตลาดหลักคือ อาเซียน ญี่ปุ่น ส่วนยุโรปแม้ไม่ใช่ตลาดหลักแต่ต้องเฝ้าติดตา