พีระมิดนั้นนับเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับการกล่าวขานถึงความสามารถ และชาญฉลาดของชาวอียิปต์โบราณ เนื่องด้วยการที่จะสร้างพีระมิดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย
หลาย ๆ ท่านคงมีประเทศหรือสถานที่ท่องเที่ยวในฝันที่อยากจะไปให้ได้ซักครั้งหนึ่งในชีวิต อย่างเช่น จีน ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ ฯลฯ แต่สำหรับผู้เขียนแล้วสิ่งที่อยากจะไปดูชมให้เป็นบุญตาก็ต้องนี่เลยพีระมิดแห่งอียิปต์ เนื่องด้วยความทึ่งที่พีระมิดเป็น 1 สุดยอด 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ในยุคโบราณที่ยืนยงมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนอีก 6 รายการที่เหลือก็คือ เทวรูปเทพเจ้าเซอุส มหาวิหารเดียนา สวนลอยบาบิโลน หอประภาคารฟาโรส เทวรูปโคโลสซูส และสุสานมุสโซเลียม แม้จะได้รับการจารึกไว้แต่ปัจจุบันก็ค่อนข้างเลือนรางกลายเป็นตำนาน เนื่องจากไม่สามารถหาซากของสถานที่เหล่านี้เจอ จากรูปทรงสามเหลี่ยมของพิระมิดที่ดูน่าอัศจรรย์ ผู้เขียนจะนำมาเป็นแนวคิดในการบริหารทีมงานของโครงการ สถาปัตยกรรมบันลือโลกอย่างพีระมิดไม่เพียงแต่ถูกนำมาใช้ในงานด้านการบริหารเท่านั้น หากใครที่ได้มีการติดตามแนวทางการเรียนรู้สมัยใหม่ คงจะเริ่มเห็นแผนบริหารรูปพีระมิดมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบพีระมิดของการบริโภคอาหาร ที่ระบุว่าหมวดอาหารในกลุ่มใดที่เหมาะหรือไม่เหมาะแก่การกิน |
. |
. |
รูปที่ 1 พีระมิดหมวดหมู่อาหาร |
. |
ไม่รู้เรียกว่าพีระมิดอะไรแต่ขอบอกว่าพบในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษของน้องนักเรียนในระดับชั้นประถม หรือคุณผู้หญิงที่กำลังมองหาแนวทางในการลดความอ้วนก็จะพบพีระมิดของการจัดสัดส่วนอาหารอยู่ด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงจะขอกล่าวถึงพีระมิดของจริงให้ได้ทึ่งสักเล็กน้อยก่อนที่เข้าถึงพีระมิดบริหารทีมงาน |
. |
พีระมิดสถาปัตยกรรมบันลือโลก |
พีระมิดนั้นนับเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับการกล่าวขานถึงความสามารถ และชาญฉลาดของชาวอียิปต์โบราณ เนื่องด้วยการที่จะสร้างพีระมิดนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะลักษณะโครงสร้างของพีระมิดนั้น มีความสูงใหญ่และต้องได้ฐานที่แข็งแรงจึงจะสามารถรองรับ และจัดเรียงหินแต่ละก้อนให้ขึ้นสู่จุดสูงของยอดได้ |
. |
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญในยุคปัจจุบัน ได้วิเคราะห์ถึงวิธีการสร้างพีระมิดของชาวอียิปต์โบราณว่า พีระมิดถูกออกแบบให้มีการสร้างฐานที่เป็นจัตุรัส และทำการคำนวณทิศทางในการวางตำแหน่งจากดวงดาวเพื่อให้หันหน้าของพีระมิดไปยังทิศเหนือ ทิศใต้ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก เมื่อวางฐานได้เป็นที่เรียบร้อยก็เริ่มการก่อสร้างด้วยการวางหินที่สลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไป โดยการจัดเรียงก้อนหินนั้นจะใช้คนงานชนชั้นกลาง ซึ่งต่างก็มีจิตใจมุ่งมั่นที่จะสร้างพีระมิด เนื่องจากนับถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับฝังพระศพของกษัตริย์เพื่อรอการฟื้นคืนชีพอีกครั้ง |
. |
. |
.รูปที่ 2 มหาพีระมิดแห่งเมืองกิซาร์ |
.. |
สำหรับพีระมิดที่ถือเป็นสุดยอดนับเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกก็ คือ มหาพีระมิดแห่งเมืองกิซาร์ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ ณ เมืองกีเซ ตอนเหนือของกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์ ประกอบไปด้วยพีระมิดใหญ่ 3 องค์ คือ พีระมิดที่บรรจุพระศพของฟาโรห์คีออปส์ คีเฟรน และไมเซอริมุส พีระมิดคีออปส์เป็นพีระมิดที่ใหญ่ที่สุด สร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 3500 ปีก่อนคริสต์ศักราช เดิมสูงถึง 481 ฟุต แต่ปัจจุบันลดลงเหลือ 450 ฟุต ฐานของพีระมิดครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 32.5 ไร่ สร้างขึ้นโดยการใช้หินทรายตัดเป็นแท่งสี่เหลี่ยมก้อนละประมาณ 2.5 ตัน ถึง 30 ตัน โดยใช้หินทั้งหมดกว่า 2.3 ล้านก้อน ใช้แรงงานทาสและกรรมกรในการก่อสร้าง ประมาณ 100,000 คน ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 20 ปี |
. |
พีระมิดกับพลังแห่งความเร้นลับ |
พีระมิดนั้นนอกจากจะเป็นที่สนใจของคนทั่วโลกในด้านของสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ ยังเป็นที่สนใจในส่วนของความลี้ลับที่ซ่อนอยู่ภายในโครงสร้างของตัวมันเอง ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเก็บสมบัติที่มีมูลค่ามหาศาลของกษัตริย์ การค้นพบพระศพของกษัตริย์ที่ทำเป็นมัมมี่ โดยที่ร่างกายไม่บุบสลายแม้เวลาจะผ่านมานับพันๆ ปี ห้องต่าง ๆ ที่ถูกซ่อนไว้ภายในพีระมิด ซึ่งถูกจัดวางไว้อย่างเป็นปริศนา ฯลฯ ในทางวิทยาศาสตร์ยังได้เชื่อว่า รูปร่างของพีระมิดนั้นเป็นแหล่งที่ก่อเกิดพลังธรรมชาติ ที่ได้รับพลังจากดวงอาทิตย์ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์แปลก ๆ มีนักวิทยาศาสตร์หลายแขนงได้พยามพิสูจน์พลังของพีระมิด เช่น ทดลองนำเอาเนื้อสัตว์วางไว้ใต้โครงสร้างแบบพีระมิด ปรากฏว่าเนื้อสัตว์นั้นมีการเน่าเปื่อยช้ากว่าเนื้อปกติทั่วไป ทดลองกับเมล็ดพืชด้วยการวางเมล็ดไว้ในพีระมิดจำลองปรากฏว่าพืชนั้นมีการเจริญเติบโตดีกว่าเมล็ดพืชทั่ว ๆ ไป หรือในสถานที่สำคัญ ๆ ที่ต้องการดึงดูดความสนใจก็ใช้วิธีการสร้างอาคารหรือสถานที่พักผ่อนให้มีรูปลักษณะของพีระมิด ส่วนในความเชื่อที่เคยได้ยินมา เช่น ถ้าหากพับเงินให้มีลักษณะของรูปสามเหลี่ยมแล้วใส่กระเป๋าเสื้อหรือกระเป๋าเงินไว้ ก็จะช่วยให้เงินไหลเข้ากระเป๋าดี อันนี้ก็ถือเป็นความเชื่อส่วนบุคคล |
. |
พีระมิดบริหารทีม |
สิ่งหนึ่งที่ตระหนักได้นอกจากความยิ่งใหญ่ของพีระมิดก็คือ การจัดเรียงชั้นหิน เราจะสังเกตว่าสาเหตุที่พีระมิดแห่งเมืองกิซาร์นั้นคงอยู่มาได้นับพัน ๆ ปี ก็เนื่องด้วยมีโครงสร้างที่สมบูรณ์จากการจัดวางก้อนหินให้มีฐานที่กว้าง และเป็นจัตุรัสทำให้การวางหินในแถวต่อ ๆ ไปเกิดความมั่นคงจนถึงจุดยอด เช่นเดียวกันหากต้องการที่จะให้ทีมนั้นมีความมั่นคง และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พีระมิดของทีมก็จะต้องถูกจัดโครงสร้างให้สมบูรณ์ มีก้อนหินมารองรับนับตั้งแต่ฐานไปจนถึงยอด แต่บรรดาก้อนหินที่จะนำมาใช้ในการสร้างพีระมิดบริหารทีมนั้น จะต้องเป็นก้อนหินที่ส่งเสริมและเกื้อกูลให้ทีมนั้นเกิดประสิทธิภาพในการทำงานอย่างแท้จริง |
. |
หิน 10 ก้อนเพื่อสร้างพีระมิดบริหารทีม |
ในการสร้างพีระมิดบริหารทีมนั้นจะต้องใช้ก้อนหินจำนวนทั้งสิ้น 10 ก้อน ซึ่งหินทั้ง 10 ก้อนนี้ ก็คือแนวทางในการดำเนินการสำคัญเพื่อทำให้เกิดทีมที่ดีและมีประสิทธิภาพ ถือเป็นหลักบริหารทีมอีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างง่าย ๆ หรืออาจนำไปใช้วิเคราะห์ว่าทีมของท่านนั้นมีโครงสร้างตามเกณฑ์นี้หรือไม่ |
. |
เนื่องจากการสร้างพีระมิดสำหรับบริหารทีมนั้นมีจำนวนก้อนหินที่ใช้ 10 ก้อน จึงต้องจัดโครงสร้างของการเรียงให้ใหม่เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ โดยจัดจำนวนชั้นของการเรียงไว้ 4 ชั้น ในชั้นล่างสุดนับเป็นชั้นที่ 1 ชั้นบนสุด คือ ชั้นที่ 4 วางหินจำนวน 4 3 2 1 ตามลำดับแสดงได้ ดังรูปที่ 3 |
. |
. |
รูปที่ 3 การจัดเรียงหินสำหรับพีระมิดบริหารทีม |
. |
พีระมิด ชั้นที่ 1 คือ ชั้นฐานหลักของพีระมิดบริหารทีมประกอบไปด้วยแนวหิน 4 ก้อน |
พีระมิด ชั้นที่ 2 คือ ชั้นโครงสร้างที่ 2 ของพีระมิดบริหารทีมประกอบไปด้วยแนวหิน 3 ก้อน |
พีระมิด ชั้นที่ 3 คือ ชั้นโครงสร้างที่ 3 ของพีระมิดบริหารทีมประกอบไปด้วยแนวหิน 2 ก้อน |
พีระมิด ชั้นที่ 4 คือ ยอดพีรามิดที่ประกอบด้วยหินเพียง 1 ก้อน |
. |
พีระมิดชั้นที่ 1 ชั้นฐานหลัก |
พีระมิดชั้นที่ 1 นับเป็นชั้นของหินที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นฐานของพีระมิดที่จะต้องรองรับโครงสร้างทั้งหมดของพีระมิด ในพีระมิดจริง ๆ หินชั้นนี้ จะต้องวางให้เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส และหากมีการจัดวางได้กว้างความสูงของพีระมิดก็จะสูงเด่นเป็นสง่าและโค่นล้มได้ยาก ในสมัยโบราณชาวอียิปต์เปรียบหินชั้นนี้ไว้ว่า เป็นกลุ่มของประชาชนที่นับเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ สำหรับพีระมิดบริหารทีมประกอบไปด้วยจำนวนหิน 4 ก้อนที่นับเป็นพื้นฐานของการสร้างทีม คือ |
. |
. |
หินก้อนที่ 1 เข้าใจในเป้าหมาย |
ในการจัดทำโครงการใด ๆ ก็ตามการกำหนดเป้าหมายถือเป็นรูปแบบของการจัดบริหารโครงการที่สำคัญ แต่ที่สำคัญกว่าการกำหนดเป้าหมาย นั่นก็คือ การหาวิธีให้สมาชิกในทีมเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวัตถุประสงค์ และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ สาเหตุที่ต้องนำเอาหินก้อนนี้มาเป็นหินก้อนแรกในการสร้างฐานพีระมิด ก็เนื่องด้วยความสำคัญที่ควรมาเป็นอันดับแรก บ่อยครั้งที่โครงการนั้นไม่ประสบผลสำเร็จ ก็เนื่องจากทีมงานนั้นไม่เข้าใจถึงเป้าหมายอย่างแท้จริง การเข้าใจในเป้าหมายอย่างแท้จริงนั้น แตกต่างไปจากการรับทราบในเป้าหมาย เพราะรูปแบบของการดำเนินงานหรือปฏิบัตินั้นจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทีมงานที่เข้าใจถึงเป้าหมายจะมีความตั้งใจ และมุ่งมั่นในงานของโครงการมากกว่าทีมงานที่รับทราบเป้าหมาย พูดง่าย ๆ ก็คือ หากสมาชิกในทีมเข้าใจถึงเป้าหมายก็จะเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และเกิดวิสัยทัศน์ต่อการทำงานเป็นทีม |
. |
การเข้าใจถึงเป้าหมายอย่างชัดเจนนั้นนับเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นสำหรับทุก ๆ คนในทีม เพราะช่วยให้ทีมทราบกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่นั้นว่าอยู่ในขั้นตอนใด เมื่อใดที่จะบรรลุเป้าหมายทีมต้องทำอะไร และอะไรเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือสมาชิกของทีมสามารถทำงานร่วมกันได้โดยง่าย ไม่ติดขัดเพราะมีความเข้าใจในแนวทางเดียวกัน |
. |
การเข้าใจถึงเป้าหมายที่ชัดเจนถือเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับสมาชิกในทีม เนื่องด้วยสมาชิกนั้นเข้าใจในการทำงาน เมื่อดำเนินการไปถึงขึ้นตอนใดก็เกิดความฮึกเหิมที่จะทำงานในขั้นตอนนั้น ๆ ให้เสร็จลุล่วงไป |
. |
การเข้าใจถึงเป้าหมายที่ชัดเจนจะก่อความรู้สึกให้สมาชิกในทีมเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของในงาน หรือกิจกรรมที่ทำเนื่องด้วยเกิดความเข้าใจว่าตนมีหน้าที่อะไร ต้องทำอะไรและอย่างไร เทียบได้กับการเป็นเจ้าของกิจการไม่ว่างานอะไรก็ตาม ที่จะต้องทำให้เกิดความสำเร็จต่อโครงการ ก็จะต้องทำอย่างเต็มที่ซึ่งสิ่งนี้นับเป็นการส่งผลดีทั้งต่อทีมและโครงการ |
. |
สำหรับวิธีการบริหารทีมด้วยการสร้างความเข้าใจในเป้าหมายนี้อาจใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การอบรม การประชุม หรือแม้กระทั่งการพูดคุย แต่หลังจากที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว จะต้องทดสอบสมาชิกด้วยว่ามีความเข้าใจในเป้าหมายมากน้อยเพียงใดด้วยวิธีการง่าย ๆ เช่น การเขียนรายการความเข้าใจในเป้าหมายเป็นข้อ ๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่โครงการกำหนดไว้ หากพบว่ามีความตรงกันก็แสดงว่าสมาชิกในทีมมีความเข้าใจในเป้าหมาย แต่หากไม่ตรงกันก็จะต้องคิดหาวิธีแก้ไข |
. |
หินก้อนที่ 2 กำหนดบทบาทหน้าที |
การกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนจะช่วยให้สมาชิกในทีมเข้าใจถึงสาเหตุที่ต้องเข้ามาอยู่ในทีม และรับทราบถึงภาระที่ต้องรับผิดชอบ เมื่อใดก็ตามที่การทำงานภายในทีมนั้นเกิดปัญหาหรือมีความขัดแย้ง การยกเอาหน้าที่รับผิดชอบขึ้นมาใช้ในการแก้ปัญหา ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยคลี่คลายความขัดแย้งนั้น ๆ ลงไปได้ โดยการพิจารณาทำความเข้าใจและยอมรับในเงื่อนไขของกฎเกณฑ์และกติกาที่สร้างขึ้นมา เพื่อรักษาความสัมพันธ์ภายในทีม โดยเป้าหมายสูงสุดก็เพื่อการบรรลุเป้าหมายของโครงการ |
. |
ในการกำหนดบทบาทหน้าที่ให้กับทีมนั้น จะสามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี หากให้สมาชิกภายในทีมมีส่วนร่วมด้วยการปรึกษาหารือ หรือจัดประชุมโดยประเด็นหลัก 2 ประเด็นที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดบทบาทหน้าที่ คือ |
1. บทบาทหน้าที่ในงาน นับเป็นส่วนแรกที่จำเป็นจะต้องมีการประชุมชี้แจงในรายละเอียด เพื่อให้สมาชิกของทีมทราบถึงหน้าที่ในการทำงานอย่างถูกต้อง การแบ่งหน้าที่สำหรับรับผิดชอบงานนั้น จะต้องพิจารณาจากความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญที่มีอยู่ในแต่ละบุคคล ซึ่งนอกจากจะเป็นการจัดแบ่งงานให้กระจายได้อย่างลงตัวแล้ว ยังถือเป็นการนำเสนอความสามารถของสมาชิกในทีมให้องค์กรได้รับทราบ และเกิดความเชื่อมั่นในการทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิก |
. |
2. บทบาทหน้าที่ในการร่วมงาน นอกจากการดำเนินการตามบทบาทหรือหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว อีกหนึ่งบทบาทที่สมาชิกในทีมควรถือปฏิบัติร่วมกันเช่นเดียวกับการทำงาน ก็คือ การปฏิบัติต่อกันเมื่อมีการทำงานร่วมกัน สิ่งที่เน้นในการปฏิบัติงานร่วมกันนั้น จะเน้นไปในด้านของการช่วยเหลือในงานนั้น ๆ อย่างจริงจัง และเป็นไปในความสัมพันธ์ที่ดี ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล มีความยืดหยุ่นในการทำงาน และที่สำคัญรู้จักการให้อภัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของการร่วมงานเป็นไปในแนวทางที่ดี |
. |
หินก้อนที่ 3 เปิดใจสื่อสาร |
การเปิดใจสื่อสารนับเป็นหินก้อนสำคัญก้อนที่ 3 ในการสร้างพีระมิดบริหารทีมงาน เนื่องด้วยเน้นในรายละเอียดของการทำความเข้าใจและรักษาสัมพันธภาพ ไม่สามารถที่จะใช้วิธีการบังคับหรือนำเอากฎเกณฑ์ใด ๆ มาเป็นข้อกติกาได้ การสื่อสารที่ไม่ดีพอระหว่างสมาชิกภายในทีม ก่อให้เกิดปัญหาที่หลากหลายนับตั้งแต่เรื่องเล็กน้อย เช่น การทะเลาะ โต้เถียง ไปจนกระทั่งปัญหาที่ยากต่อการแก้ไข เช่น การใช้กำลัง การไม่ลงรอยกันก่อให้เกิดความขัดแย้งภายในทีม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการดำเนินงานของโครงการ ด้วยเหตุนี้เอง การเปิดใจสื่อสารจึงนับเป็นการแก้ปัญหาด้วยการให้สมาชิกภายในทีมหันหน้าเข้าหากัน เพื่อเปิดใจยอมรับในความคิดเห็นของสมาชิกอย่างไม่ปิดกั้น แต่สามารถโต้แย้งในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาการสื่อสารก็ คือ การฟัง การเปิดใจ และการถาม |
. |
1.การฟัง การฟังเป็นการเริ่มต้นการสื่อสารที่ดีเหมาะสำหรับสมาชิกทุกคนภายในทีม และต้องถือปฏิบัติเป็นอันดับแรก เนื่องจากช่วยให้เกิดความเข้าใจถึงแนวคิด ความต้องการของสมาชิกภายในทีมได้เป็นอย่างดี สิ่งที่ได้จากการฟังนั้นจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นข้อมูลเก็บไว้ในสมอง เพื่อให้เกิดความคิดพิจารณาในรายละเอียดหรือข้อมูลที่ได้นั้นว่าเหมาะสม หรือสมควรมากน้อยเพียงใดก่อนที่จะมีการโต้แย้งหรือตัดสินใจ |
. |
2.การเปิดใจ การเปิดใจเป็นกระบวนการลำดับต่อมาหลังจากที่ได้ผ่านกระบวนการฟัง หรืออาจะเป็นการเริ่มต้นในการพูดคุยกับสมาชิกภายในทีม จุดสำคัญของการเปิดใจก็คือ การอธิบายถึงแนวคิด และความต้องการที่ซ่อนอยู่ภายใน ในบางครั้งการเปิดใจก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยลดความตึงเครียดในการทำงาน ตลอดจนเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสมาชิกภายในทีม |
. |
3. การถาม การถามเป็นกลยุทธ์ที่เปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่าง 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ถามและฝ่ายผู้ตอบ ประโยชน์ของการสื่อสารในจุดนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความข้องใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ตั้งหัวข้อคำถามขึ้น ส่วนผู้ถูกถามก็มีโอกาสได้ชี้แจง หรือแก้ข้อกล่าวหาให้สมาชิกภายในทีมเข้าใจปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง |
. |
สรุปประโยชน์ของการเปิดใจสื่อสาร |
1. การเปิดใจสื่อสารช่วยสนับสนุนให้สมาชิกภายในทีมมองเห็นปัญหาร่วมกัน และนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้ในงานอย่างมีประสิทธิภาพ |
2. การเปิดใจสื่อสารทำให้สมาชิกในทีมมีโอกาสสื่อสารกันอย่างเข้าใจด้วยวิธีการง่าย ๆ คือ การพูด และการฟัง |
3. การเปิดใจสื่อสารส่งเสริมให้มีการสื่อสารสองทาง คือ ผู้พูด และผู้ฟัง |
4. การเปิดใจสื่อสารช่วยพัฒนาความสามารถในการพูดและการฟัง อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการใช้สมองในการพิจารณาข้อมูลที่ได้รับจากการฟัง |
5. การเปิดใจสื่อสารช่วยให้การทำงานร่วมกันของสมาชิกภายในทีมเกิดความเข้าใจ เนื่องจากมีการพูดคุยถึงสิ่งที่ต้องการ ตลอดจนปัญหา และร่วมกันหาทางแก้ไขอันจะนำไปสู่การทำงานในรูปแบบของทีมเวิร์ค |
. |
หินก้อนที่ 4 การสร้างข้อตกลง |
หลังจากที่สมาชิกในทีมนั้นได้เข้าใจในเป้าหมาย รู้ถึงบทบาทหน้าที่ และเปิดใจยอมรับต่อกันแล้วก็จะต้องมาสร้างกฎ และกติกาในการตัดสินใจ ซึ่งก็คือ หินก้อนที่ 4 การสร้างข้อตกลง โดยความหมายของการสร้างข้อตกลงก็เป็นรูปแบบของการระดมความคิดของสมาชิกภายในทีมในลักษณะของประชาธิปไตยว่าต้องการที่จะใช้วิธีการใดในการตัดสินใจ หรือตกลงใจสำหรับการดำเนินกิจกรรม หรืองานต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ใช้วิธีการลงคะแนน ใช้วิธีการโหวต โดยแต่ละวิธีที่ยกขึ้นมาอ้างอิงนั้นจะต้องประกอบไปด้วยเหตุและผลว่าทำไมต้องเลือกใช้วิธีการนี้เป็นข้อตกลง |
. |
สาเหตุโดยหลักที่จะต้องมีการสร้างข้อตกลงนั้น ก็เพื่อที่จะเป็นการตั้งกติกาให้มีการยอมรับที่เป็นมติที่รับทราบโดยทั่วกัน แต่หากต้องการเปลี่ยนแปลงในภายหลังก็สามารถทำได้แต่จะต้องมีการปรึกษาหารือ และสร้างข้อตกลงใหม่อีกครั้งจึงจะถือเป็นมาตรฐานในครั้งต่อ ๆ ไป |
. |
สำหรับการสร้างข้อตกลงโดยทั่วไปที่มักนิยมใช้กัน ได้แก่ การลงคะแนนหยั่งเสียง การตัดสินใจโดยผู้เชี่ยวชาญ การตัดสินใจโดยผู้มีอำนาจ แต่หากต้องการมาตรฐานเพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ดีที่สุด สำหรับการดำเนินงานอาจใช้วิธีการทางด้านสถิติ เช่น การคิดค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ การหาค่าเบี่ยงเบน การวิเคราะห์ในทางคณิตศาสตร์ ฯลฯ การจะเลือกใช้วิธีการใดก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของงานนั้น ๆ และการตัดสินใจของสมาชิกเป็นสำคัญ |
. |
พีระมิดชั้นที่ 2 ชั้นโครงสร้างที่ 2 |
ในสมัยอียิปต์เปรียบเทียบหินชั้นนี้ว่าเป็นหินของบรรดาขุนนาง ซึ่งเป็นผู้ที่ช่วยเหลือกษัตริย์ในการบริหารบ้านเมือง จึงนับเป็นชั้นหินที่มีความสำคัญ และหากนำมาเปรียบกับพีระมิดการบริหารทีมงาน ก็นับว่าเป็นหินชั้นฐานที่ก่อตัวและเป็นโครงสร้างที่รองรับหินชั้นบน โดยจำนวนของหินในชั้นนี้มีจำนวน 3 ก้อน คือ |
. |
. |
หินก้อนที่ 5 การมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม |
การมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมของสมาชิกในทีมนั้น นับเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการสื่อสารกันของสมาชิก จะแตกต่างกันเพียงแต่ว่า การมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมเป็นหินก้อนที่วางในชั้นบนขึ้นมา หากลำดับความสำคัญก็ต้องยกให้การสื่อสารนั้นมาเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงเข้ามามีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกของทีม |
. |
แนวทางของการมีส่วนร่วมนั้นจะแตกต่างไปจากการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย เพราะหากเป็นในลักษณะนั้นจะหมายถึงภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ แต่การมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมนั้นเน้นในด้านของการประสานความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกภายในทีม หรือเน้นให้เกิดความสมานสามัคคีด้วยการยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ หากสามารถทำได้โดยไม่เป็นการก้าวก่ายหน้าที่ใคร ยกตัวอย่างเช่น ในการจัดทำเอกสารต่าง ๆ หากปรากฏว่ามีเอกสารที่ต้องการอย่างเร่งด่วน และสมาชิกที่มีหน้าที่รับผิดชอบนั้นทำงานล้นมือ สมาชิกที่เหลือและมีความสามารถก็สามารถเข้าไปช่วยเหลือในการจัดพิมพ์ จัดเอกสาร จัดรูปเล่ม ได้ |
. |
สำหรับการเข้าไปมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกในทีมจะต้องทำความเข้าใจเพราะอาจมองได้ใน 2 ส่วน คือ หากมองว่าเป็นการก้าวก่าย การช่วยเหลืองานก็จะไม่เกิดขึ้น แต่หากมองว่าเป็นงานที่ต้องทำผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่แล้วนั้นก็จะขาดประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากจะไม่เกิดผลดีแล้วยังเป็นการสร้างความถดถอยให้กับทีม |
. |
หินก้อนที่ 6 คุณค่าในความหลากหลาย |
สำหรับหินก้อนที่ 6 นั้นนับเป็นหัวใจสำคัญของพีระมิดบริหารทีม โดยสังเกตที่ตำแหน่งของการจัดวางจะถูกวางยังตำแหน่งกึ่งกลางพีระมิดเทียบได้กับตำแหน่งของหัวใจ ดังนั้น หินก้อนนี้จึงเป็นหินที่มีคุณค่าต่อทีมซึ่งก็คือ ความหลากหลายของสมาชิกที่เข้ามารวมกันเป็นทีม |
. |
ความหลากหลายที่กล่าวถึงนี้อาจบ่งชี้ให้หมายถึง การคัดเลือกสมาชิกเข้าสู่ทีมนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องคัดเลือกเอาเฉพาะผู้ที่เรียนได้เกรดสูง ๆ จบจากสถาบันที่มีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว หรือคัดเลือกเอาเฉพาะเพศชายหญิง แต่ละเลยเพศที่สาม หรือคัดเลือกเอาเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่สำเร็จ โดยละเลยผู้ที่จบการศึกษาใหม่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะต้องถูกลบล้างไปเพราะในความหมายของหินก้อนที่ 6 ที่เป็นหัวใจสำคัญของพีระมิดบริหารทีมนั้น เน้นย้ำให้เห็นคุณค่าของความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเห็นคุณค่าความหลากหลายในความสามารถของสมาชิก เช่น ในโครงการที่ต้องอาศัยความคิดริเริ่มใหม่ ๆ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ตู้ปลาต้องอาศัยผู้ที่มีความคิดแปลก ๆ เพื่อให้สินค้าขายได้ การคัดเลือกสมาชิกของทีมก็จะต้องเห็นคุณค่าของความคิดที่หลากหลายแทนการคัดเลือกที่ตัวบุคคล เป็นต้น |
. |
สำหรับการเห็นคุณค่าของความหลากหลายนี้ไม่ได้ให้หมายความว่า ให้ทำการคัดเลือกสมาชิกใหม่แต่หากให้หมายถึงการสังเกตถึงความสามารถของสมาชิกของทีมว่า มีความสามารถในด้านใดก็ให้พัฒนาความสามารถในด้านนั้น ๆ เพิ่มขึ้น หรือสมาชิกภายในทีมนั้นมีความคิดริเริ่มในสิ่งใดก็ให้มองเห็นถึงคุณค่าของสิ่งนั้น ๆ เพราะอาจเป็นการจุดประกายให้กับสมาชิกในทีมได้เป็นอย่างดี |
. |
หินก้อนที่ 7 การบริหารความขัดแย้ง |
การดำเนินงานหรือการจัดกิจกรรมใด ๆ ในโครงการนั้น หากมีการทำงานที่ประกอบไปด้วยคนหมู่มาก สิ่งหนึ่งที่พบได้เสมอในกระบวนการทำงาน ก็คือ ความขัดแย้ง ซึ่งอาจมีรูปแบบที่แสดงออกหลากหลาย ทั้งการโต้แย้ง การทะเลาะ การประทะ ก่อให้เกิดความไม่ลงรอยกัน สิ่งที่ตามมาก็คือเกิดความเสียหายต่องานนั้น ๆ โดยตรง ส่วนใหญ่ปมของความขัดแย้งนั้นมักเกิดจากความไม่เข้าใจกันของแต่ละฝ่าย ยิ่งหากเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในทีมเดียวกัน ก็นับเป็นสิ่งที่สร้างความเสียหายใหญ่หลวง เนื่องจากส่งผลให้สมาชิกขาดประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงการ แต่ความขัดแย้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะหากมีการบริหารความขัดแย้งให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ ความขัดแย้งนั้นก็จะเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ทำให้เกิดการตรวจสอบต่อมาตรฐานการทำงาน หรือการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับโครงการโดยตรงเช่นกัน |
. |
ดังนั้น การบริหารความขัดแย้งจึงเป็นก้อนหินอีกก้อน ที่จะช่วยสร้างให้พีระมิดบริหารทีมงานนั้นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา สำหรับวิธีการบริหารความขัดแย้งนั้นจะต้องอาศัยผู้มีประสบการณ์สูง ในการไกล่เกลี่ยสมาชิกให้มีความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์อาจยกตัวอย่างได้ ดังนี้ |
1.หากเกิดความขัดแย้งของสมาชิกภายในทีมในลักษณะที่มีความคิดเห็นแตกแยก แนวทางในการบริหารจะต้องพิจารณาเลือกเอาแนวทางที่ตรงกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือเป็นแนวทางที่ได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ |
. |
2.ในบางครั้งอาจใช้วิธีการกระตุ้นความขัดแย้งด้วยการสนับสนุน หรือให้กำลังใจเพื่อให้ความขัดแย้งนั้นกลายเป็นการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย แล้วเลือกเอาเฉพาะแนวคิดที่ดีเป็นประโยชน์มาประยุกต์ใช้ในงาน |
. |
3.เพิ่มประสิทธิภาพของทีมด้วยการนำเอาความขัดแย้งเข้ามาใช้งาน ด้วยการให้สมาชิกนั้นมีการโต้แย้งกันในประเด็นต่าง ๆ ของงาน จนในที่สุดเมื่อถึงบทสรุปงานที่ได้จะเป็นงานที่มีคุณภาพเนื่องจากผ่านการยอมรับของสมาชิกในทีม |
. |
พีระมิดชั้นที่ 3 ชั้นโครงสร้างที่ 3 |
สำหรับพีระมิดชั้นที่ 3 เป็นพีระมิดที่ประกอบไปด้วยหิน 2 ก้อน ดังต่อไปนี้ |
. |
. |
หินก้อนที่ 8 การสร้างบรรยากาศ |
ในการทำงานร่วมกันนั้นนอกจากที่จะใช้การบริหารความขัดแย้ง เป็นสิ่งที่ช่วยไกล่เกลี่ยให้สมาชิกทำงานด้วยกันอย่างปกติสุขแล้ว การสร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกัน ก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การทำงานร่วมกันของสมาชิกนั้นอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข |
. |
แนวทางของการสร้างบรรยากาศของหินก้อนที่ 8 นี้ ไม่ได้เน้นย้ำไปในเรื่องของการจัดแต่งสถานที่ หรือจัดหาสิ่งของสวยงามมาใช้งาน แต่จะหมายถึงการสร้างบรรยากาศจากภายในของตัวสมาชิกเอง พูดง่าย ๆ ก็คือ การฝึกให้สมาชิกนั้นเป็นผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจ อันดับต้น ๆ ที่ควรฝึกให้สมาชิกรู้สึกนั่นก็คือ ความซื่อสัตย์ ซึ่งถือเป็นคุณธรรมที่สมาชิกภายในทีมจะต้องมีต่อตนเอง และมีต่อสมาชิกด้วยกัน การที่มีความซื่อสัตย์นั้นจะช่วยให้การทำงานร่วมกันนั้น เกิดความไว้วางใจเพราะแต่ละคนต่างก็มีความซื่อสัตย์ต่อกัน นอกจากคุณธรรมประจำใจแล้วการสร้างความเชื่อถือ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สมาชิกในทีมจะต้องสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีในการทำงานร่วมกัน และการติดต่อกับบุคคลภายนอก สำหรับวิธีการสร้างความเชื่อถือให้เกิดกับตนเองนั้น จะต้องอาศัยทั้งการปฏิบัติตนและใช้เวลาเนื่องจากความเชื่อถือนั้น มิใช่เพียงจะเป็นการนำเสนอเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องมีการสนองจากคนรอบข้างด้วย คือ ได้รับการยอมรับนับถือจากสมาชิกหรือบุคคลอื่น |
. |
หินก้อนที่ 9 การสร้างความสัมพันธ์ |
การสร้างความสัมพันธ์ภายในทีมนั้นหากพูดในแง่ทฤษฏีแล้วค่อนข้างง่าย แต่ในชีวิตจริง ๆ ค่อนข้างที่จะก่อเกิดได้ยาก หรือหากเกิดความสัมพันธ์แล้วก็ต้องประคับประคองกันอย่างเต็มที่ เนื่องด้วยสภาวะชีวิตในปัจจุบันแม้ทำงานเป็นทีมเดียวกัน การแข่งขันก็ยังมีให้เห็นอยู่ ในบางครั้งการสร้างความสัมพันธ์ก็เป็นไปในลักษณะของธุรกิจเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่หากมีความมุ่งมั่นที่จะบริหารทีมให้เป็นเลิศนั้น การสร้างความสัมพันธ์จะเป็นเสมือนสิ่งยึดเหนี่ยวให้สมาชิกได้เข้าใจในสมาชิกด้วยกัน และสามารถดำเนินตามเป้าหมายที่วางไว้ได้เป็นอย่างดี รูปแบบหรือวิธีการสร้างความสัมพันธ์ในทีมนั้นไม่ได้มีรูปแบบตายตัว เพราะพื้นฐานของสมาชิกในแต่ละทีมอาจแตกต่างกัน แต่วิธีการที่ง่ายก็คงจะหนีไม่พ้นการจัดอบรมหรือจัดให้มีกิจกรรมร่วมกันในลักษณะของการพักผ่อน ยกตัวอย่างเช่น บิลเกต์ มหาเศรษฐีเจ้าของกิจการของไมโคซอฟต์นั้น ต้องการสร้างความสัมพันธ์ให้กับบรรดาพนักงาน กิจกรรมที่บิลเกตต์จัดให้กับบรรดาพนักงานนั้น เป็นกิจกรรมของการเข้าค่ายที่สนุกสนาน มีการแข่งขัน เล่นเกม พายเรือ จากนั้นก็รับประทานอาหารอย่างง่าย ๆ นี่ก็นับเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องลงทุนอะไรมากมายแต่ได้ใจของพนักงานไปเต็ม ๆ |
. |
พีระมิดชั้นที่ 4 พีระมิดชั้นบน ประกอบไปด้วยหิน 1 ก้อน |
หินก้อนที่ 10 การมีส่วนร่วมของผู้นำ |
. |
. |
มีความซื่อตรง ยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิก อีกทั้งต้องมีความสามารถในการดูแลเอาใจใส่ เรียกได้ว่าต้องเป็นทั้งครูและผู้ฝึกสอนสมาชิก หรือในอีกความหมายก็คือ ผู้ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมด้วยการเป็นผู้นำนั้น จะต้องผ่านแนวทางของหินทั้ง 9 ก้อนด้วยการศึกษาและปฏิบัติให้ได้ก่อนที่จะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนี้ |