เนื้อหาวันที่ : 2012-03-19 10:59:49 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1273 views

เบลล์แล็ปส์ผลิตชิปความเร็ว 400G ตัวแรกของโลก

อัลคาเทล-ลูเซ่น เผย เบลล์แล็ปส์ พัฒนาชิปใหม่ความเร็ว 400 กิกาบิตต่อวินาทีแรกของโลกเพิ่มความเร็วเครือข่ายไฟเบอร์ออปติคขึ้น 4 เท่า

          อัลคาเทล-ลูเซ่น เผย เบลล์แล็ปส์ พัฒนาชิปใหม่ความเร็ว 400 กิกาบิตต่อวินาทีแรกของโลกเพิ่มความเร็วเครือข่ายไฟเบอร์ออปติคขึ้น 4 เท่า

          อัลคาเทล-ลูเซ่น (Euronext Paris and NYSE: ALU) ประกาศว่าเบลล์แล็ปส์ของอัลคาเทล-ลูเซ่นได้พัฒนาชิปใหม่ Photonic Service Engine (PSE) ให้กับเครือข่ายไฟเบอร์ออปติค ซึ่งจะขยายคาปาซิตี้ได้เท่าตัว และขับให้เครือข่ายปัจจุบันมีความเร็วขึ้นอีก 4 เท่า นับว่าเป็นชิปความเร็ว 400G แรกของโลก เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานสมาร์ทโฟนและทราฟฟิคประเภทวิดีโอที่มีมากขึ้น

          ในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าบริการด้านคลาวด์ บริการข้อมูลโมบายและบรอดแบนด์ผลักดันให้ผู้ให้บริการต่างๆ เร่งขยายคาปาซิตี้ความเร็วของเครือข่ายของตนอยู่ตลอดเวล่า หัวใจสำคัญ 400G PSE นี้จะเป็นคำตอบให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายที่มีเครือข่ายออปติคที่ความเร็ว 100G อยู่ให้เพิ่มความเร็วได้อีก 4 เท่าตัว ในขณะที่สามารถรองรับการยกระดับไปสู่การสร้างเครือข่ายความเร็ว 400G ได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ

          ทั้งนี้ เมื่อดูการใช้งานเครือข่ายที่ความเร็ว 100G ของผู้ให้บริการทั่วโลกจะพบว่าในรายงาน OVUM:High Speed Optics: Global 40G/100G Market Outlook, January 2012 ขององค์กรวิจัยโอวุมได้รายงานว่าอัลคาเทล-ลูเซ่นอยู่ในตำแหน่งผู้นำในตลาดโซลูชั่น 100G ออปติค โดยครองตลาดอยู่ 69% ซึ่งหมายความว่า เครือข่ายส่วนใหญ่ทั่วโลกพร้อมที่จะใช้ชิป 400G ใหม่นี้ทันที

          ผู้ให้บริการสามารถนำชิป 400G PSE ใหม่นี้ไปใช้ในทุกส่วนของเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ในส่วนเมโทรจนถึงส่วนภูมิภาคและส่วน Ultra-long haul และจะส่งสัญญาณ Wavelength บนสายโฟโตนิคใหม่หรือสายเดิมก็ได้ ทั้งนี้ชิปใหม่นี้ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับอุปกรณ์ Alcatel-Lucent 1830 Photonic Service Switch (PSS) ที่นิยมใช้ในเครือข่ายกว่า 120 เครือข่ายทั่วโลก ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้เครือข่ายสามารถรับ-ส่งทราฟฟิคได้เร็วถึง 23 เทราบิตบนสายไฟเบอร์ออปติคแบบเดี่ยว เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นกว่า 50% ในขณะที่ช่วยลดการบริโภคพลังงานต่อกิกาบิตได้มากถึง 33%

          “ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรเช่นอัลคาเทล-ลูเซ่นกับผู้ชี่ยวชาญของเทเลคอมเน็ทเวิร์คโปรดักชั่นในครั้งนี้ ทำให้ดอยช์เทเลคอม แล็ปส์มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพของการรับ-ส่งสัญญาณผ่านการใช้งานอินเตอร์เน็ตจริงให้ดีขึ้นมากหลายเท่าตัวนี้” มร. เฮนริค อาร์โนร์ล ผู้จัดการของดอยช์เทเลคอม แล็ปส์ (Deutsche Telecom’s Innovation Laboratories: T-Labs) กล่าว

          ทั้งนี้ อุปกรณ์ 1830 PSS ใช้ชิปประเภท PSE ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโครงสร้างสถาปัตยกรรมเครือข่ายชั้นสูง (High Leverage NetworkTM: HLM Architecture) ของอัลคาเทล-ลูเซ่น ซึ่งเป็นการออกแบบให้มีศักยภาพสร้างคาปาซิตี้ขนาดใหญ่ในขณะที่ช่วยลดต้นทุนด้านเครือข่ายทรานสปอร์ตรวมทั้งลดความซับซ้อนของเครือข่ายส่วนคอร์ได้อีกด้วย