เนื้อหาวันที่ : 2012-03-05 14:18:25 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1903 views

การผลิตภาคอุตฯ เดือนม.ค. หด 15.15%

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. 2555 หดตัว 15.15% ขณะที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เริ่มฟื้นตัวจากน้ำท่วม

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เผยการผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ม.ค. 2555 หดตัว 15.15% ขณะที่อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เริ่มฟื้นตัวจากน้ำท่วม

การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2555 หดตัวร้อยละ 15.15 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหดตัวลดลงจากเดือนธันวาคม 2554 จากการฟื้นตัวหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยทําให้อัตราการใช้กําลังการผลิตในเดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 58.48 

อุตสาหกรรมสําคัญส่วนใหญ่ สามารถฟื้นฟูการผลิต และสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ซึ่งในเดือนมกราคม 2555 ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 2.90 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 49.05 จากการเร่งผลิตตามคําสั่งซื้อที่ค้างอยู่จํานวนมาก

สําหรับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านดัชนีผลผลิตขยายตัวร้อยละ 2.33 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนประกอบและการขนส่งสินค้ากลับเข้าสู่ภาวะปกติ ประกอบกับความต้องการซื้อสินค้าเพื่อทดแทนของเดิมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนมกราคมยังคงหดตัวร้อยละ 46.36 เนื่ องจากโรงงานผู้ผลิตหลายรายยังอยู่ในระหว่างการซ่อมแซมเครื่ องจักร และติดตั้งเครื่องจักรใหม่ 

สําหรับอุตสาหกรรมการผลิต Hard Disk Drive ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 32.03 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากน้ําท่วมทําให้เครื่องจักรในการผลิตได้รับความเสียหาย แต่อย่างไรก็ดีเมื่ อเทียบกับเดือนก่อนการผลิตมีแนวโน้มขยายตัวขึ้น เนื่องจากโรงงานที่ กลับเข้าสู่ ภาวะปกติเร่งทําการผลิตเพื่ อชดเชยในช่วงน้ำท่วม การผลิตเหล็กในเดือนมกราคม 2555 ดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 22.56  เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตที่ยังคงหดตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้แก่ รถยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตเสื้อผ้าสําเร็จรูปดัชนีผลผลิตหดตัวร้อยละ 21.18 ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาราคาฝ้ายที่เป็นวัตถุดิบสําคัญ ถึงแม้ว่าราคาฝ้ายจะปรับลดลง แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติอยู่ จึงทําให้ผู้ผลิตไม่มีความมั่นใจที่จะสต๊อกวัตถุดิบไว้ จึงทําให้การผลิตชะลอลง ประกอบกับการชะลอตัวของตลาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก 

การจําหน่ายสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2555 มีระดับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.61 ซึ่งเป็นไปตามการผลิตที่เริ่มฟื้นตัวจากเหตุการณ์อุทกภัย แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนดัชนีส่งสินค้ายังคงหดตัวร้อยละ 11.22 ส่วนสินค้าคงคลังนั้นยังคงมีระดับลดลงต่ อเนื่ องจากเดือนตุลาคม 2554 โดยดัชนีสินค้าสําเร็จรูป คงคลังหดตัวร้อยละ 3.05 

สําหรับอัตราการใช้กําลังการผลิตปรับตัวเพิ่ มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 อยู่ ที่ ระดับร้อยละ 58.48 ส่ วนการใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงจากภาวะการผลิตในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นลดลง ได้แก่ การผลิตสิ่งทอและเสื้อผ้าสําเร็จรูป โดยดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 8.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม