เนื้อหาวันที่ : 2012-02-15 10:28:51 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1424 views

เอ็นฟอร์ซ เผยกลยุทธ์ปี 55 ปักธงขึ้นแท่นผู้นำ IT Security Distributor

เอ็นฟอร์ซ เผยกลยุทธ์ปี 55 เน้นสร้างความพอใจสูงสุดรักษาฐานลูกค้า ตั้งเป้าเป็นที่ 1 ผู้นำ IT Security Distributor สัญชาติไทยรายแรก

          เอ็นฟอร์ซ เผยกลยุทธ์ปี 55 เน้นสร้างความพอใจสูงสุดรักษาฐานลูกค้า ตั้งเป้าเป็นที่ 1 ผู้นำ IT Security Distributor สัญชาติไทยรายแรก

          เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ประกาศนโยบายการดำเนินธุรกิจปี 55 สร้างความพึงพอใจสูงสุดเพื่อรักษาฐานกลุ่มลูกค้าเดิม ด้วยกลยุทธ์การทำตลาดชูจุดเด่นผลิตภัณฑ์และบริการเป็นหลัก พร้อมตั้งเป้าขอเป็นที่ 1 ผู้นำ IT Security Distributor สัญชาติไทยรายแรก 

นายนักรบ เนียมนามธรรม
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด

           นายนักรบ เนียมนามธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจรในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2555 บริษัทฯ มีนโยบายดูแลลูกค้า และสร้างความพึงพอใจสูงสุด ตั้งแต่เรื่องการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การวางแผนการตลาด และอัพเดตข้อมูลเทคโนโลยีซีเคียวริตี้ให้กับกลุ่มลูกค้าเอ็นฟอร์ซฯ เดิมให้เป็นอย่างดี

       กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียวริตี้ ซิสเต็มส์ เอพี จำกัด ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายระบบรักษาความปลอดภัยครบวงจรในประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2555 บริษัทฯ มีนโยบายดูแลลูกค้า และสร้างความพึงพอใจสูงสุด ตั้งแต่เรื่องการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ การวางแผนการตลาด และอัพเดตข้อมูลเทคโนโลยีซีเคียวริตี้ให้กับกลุ่มลูกค้าเอ็นฟอร์ซฯ เดิมให้เป็นอย่างดี

เนื่องจากรายได้บริษัทฯ ส่วนใหญ่ 90 เปอร์เซ็นต์มาจากกลุ่มลูกค้าเดิม ได้แก่  กลุ่มลูกค้าองค์กรภาครัฐ กลุ่มลูกค้าโทรคมนาคม   หรือเซอร์วิส โพวายเดอร์  กลุ่มลูกค้าการเงินธนาคาร  กลุ่มลูกค้าอุตสาหกรรม  และกลุ่มลูกค้าสถาบันการศึกษา  พร้อมทั้งตั้งเป้าปีนี้รายได้โต 20 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมาแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากจำนวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์แบบ โมบาย ดีไวซ์ เช่น แทบเล็ตพีซีและสมาร์ทโฟน นั้นได้มีจำนวนมากกว่าผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ทั่วไปจึงเห็นได้ว่าโลกของเราได้เข้าสู่การใช้งานโมมายอย่างเต็มตัว

โดยในปี 2555 ทุกค่ายไม่ว่าจะเป็นค่ายยักษ์ใหญ่จากอเมริกา หรือแม้กระทั่งเอเชีย ต่างก็นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ได้พัฒนาออกสู่ตลาด ทำให้แทบเล็ตพีซีและสมาร์ทโฟนต่างๆที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ตลอดจนการรองรับแอพพลิเคชั่นได้มากกว่าเดิม นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนเทคโนโลยีของในปีนี้ก็ว่าได้ แต่เรื่องความปลอดภัยและแนวโน้มของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังนั้นก็เป็นที่น่าจับตามอง

          “ดังนั้นเอ็นฟอร์ซฯ ในฐานะตัวแทนจัดจำหน่ายระบบรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร และมีศักยภาพในการนำเสนอโซลูชั่นด้านซีเคียวริตี้จึงใช้กลยุทธ์ทำตลาดโดยชูจุดเด่นผลิตภัณฑ์และบริการเป็นหลัก เนื่องจากบริษัทฯ ได้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้นำด้านไอที ซีเคียวริตี้ และเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก

นอกจากเอ็นฟอร์ซฯ มีผลิตภัณฑ์ที่ดีสุดแล้ว เรายังมีการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายที่ดีที่สุดอีกด้วย  ซึ่งการให้บริการนี้จะรวมถึงเรื่องบุคคลากร ที่บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องเทคนิคและการบริหารจัดการ เป็นต้น โดยในปีนี้บริษัทฯ มีแผนเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 ผลิตภัณฑ์ และตั้งเป้าของเป็นที่ 1 ผู้นำทางด้าน IT Security Distributor สัญชาติไทยรายแรก” 
 
          นายนักรบ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับภาพรวมตลาดระบบรักษาความปลอดภัยในไทยนั้นมีการแข่งขันสูง ซึ่งในตลาดเอ็นเตอร์ไพรส์มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยบริษัทฯมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ส่วนแนวโน้มและทิศทางระบบรักษาความปลอดภัยในไทยที่น่าจับตามองได้แก่

          • อันดับที่1 คือ คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)  เห็นจากช่วงที่เกิดมหาอุทกภัยเมื่อปลายปีที่แล้วระบบดาต้า เซ็นเตอร์ จมน้ำ หรือเซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถทำงานได้ แต่คลาวด์ทำให้สามารถทำงานได้ไม่หยุดชะงัก หลายบริษัทได้นำมาใช้และพัฒนาต่อยอดให้ระบบทำงานได้ราบรื่นเสมือนว่าระบบดาต้า เซ็นเตอร์ ที่ล่มไปนั้นไม่ได้ทำให้งานหยุดชะงักเลย

ในขณะที่คลาวด์ ซีเคียวริตี้ (Cloud Security) จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคลาวด์ คอมพิวติ้งไม่ว่าจะเป็นคลาวด์ สาธารณะ (Public Cloud) หรือ คลาวด์ ส่วนตัว  (Private Cloud) เพราะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับระบบคลาวด์ คอมพิวติ้ง สำหรับผู้ใช้

เพราะหากระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งไม่มีการวางระบบรักษาความปลอดภัย จะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือต่อผู้ใช้ นอกจากนั้นยังอาจถูกบุกรุกหรือโจมตีจากภัยร้ายต่างๆ เนื่องจากระบบ คลาวด์ เป็นเทคโนโลยีที่สามารถเคลื่อนที่ตลอดเวลา ดังนั้น การสร้างความปลอดภัยให้ระบบคลาวด์ให้มั่นคงถาวรจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีคลาวด์ ซีเคียวริตี้จึงเป็นอีกเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง

          • อันดับที่ 2 คือ เวอร์ชวลไลเซชั่น  (Virtualization)  เป็นเทคโนโลยีที่น่าจะได้รับความนิยมและมีคนใช้งานค่อนข้างแพร่หลาย โดยถูกออกแบบที่ให้ความสำคัญในการลดต้นทุนทั้งการบริหารและการจัดการ

          • อันดับที่ 3 คือ การจัดการการแสดงตัวตน (Identity Management) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์  เพราะผู้ใช้ส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ได้ตลอดเวลา แม้จะอยู่ในองค์กรที่ใช้ระบบการบริหารงานแบบปิดก็ตาม แต่การจัดการการแสดงตัวตน ( Identity Management) นี้จะช่วยในด้านแอพลิเคชั่นการเข้าระบบ โดยระบุว่าคุณเป็นใคร มีหน้าที่อย่างไรและอยู่ที่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมีในระบบ เพราะทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถ Tag หรือทราบข้อมูลผู้ใช้ได้

          • อันดับที่ 4 คือ โฮสต์ แชร์ริ่ง ทูลส์  (Hosted Sharing Tools) ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีเช่น Google Doc หรือซอฟต์แวร์ Share Point ต่างๆ สามารถสร้างโฮสต์ แชร์ริ่ง ทูลส์  เสริมได้อีกมากมาย เช่น การใช้แอพลิเคชั่นบนเสิร์ฟเวอร์ หรือบนคลาวด์ ซึ่งเทคโนโลยีนี้น่าจับตามองในฐานะที่เป็นเทคโนโลยีสำคัญในการช่วยลดต้นทุน

          • อันดับที่ 5 คือ การเข้ารหัส (Encryption) และ key Management เนื่องด้วยทุกอย่างในการสื่อสารระหว่างต้นทางกับปลายทางไม่ว่าจะเป็น 3G, WiFi หรือแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่เป็นอินเทอร์เน็ตทั่วไป ในทางปฏิบัติแล้วสามารถ Sniff หรือดักจับข้อมูล และ Decrypt หรือถอดรหัส Packet Data ได้ อย่างไรก็ตามสำหรับข้อมูลที่มีความสำคัญระหว่างองค์กรหรือผู้ใช้ การใช้การเข้ารหัส (Encryption) อย่างเดียวไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการทำ key Management เช่น ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรหัสตลอดเวลา เพื่อเป็นการตรวจสอบระบบหรือการสื่อสารให้มีความปลอดภัยและเข้ารหัสได้ถูกต้องอยู่เสมอ