เรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้และเลือกใช้หม้อไอน้ำหรือ Boiler เกี่ยวกับความเป็นมาของเจ้าหม้อไอน้ำ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงไฟฟ้า และโรงพยาบาล เริ่มเอาไอน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการขับเคลื่อนเครื่องจักร เครื่องยนต์และถ่ายเทความร้อน วิศวกรชาวอังกฤษ ได้คิดค้นดัดแปลงเครื่องจักรไอน้ำที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ก็คือ รถจักรไอน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นยุคเริ่มต้นของวิวัฒนาการทางอุตสาหกรรมของโลกเลยก็ว่าได้
ด้วยอุณหภูมิที่พุ่งขึ้นสูงถึงเกือบ 40 องศาเซลเซียส แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติวิสัยของภูมิอากาศในฤดูร้อนบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งตามความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแล้ว อากาศร้อนๆ แบบนี้ ยังดีกว่าอากาศหนาวจับใจในเดือนที่ผ่านมา เพราะยังไงๆ ก็เป็นเรื่องปกติไม่ใช่เพราะความวิปริตผิดฤดูที่ชวนให้คิดถึงบรรยากาศในหนังประเภท ‘The day after tomorrow’ เป็นไหนๆ ว่าไหม |
. |
สำหรับเรื่องที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ ก็คือเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้และเลือกใช้หม้อไอน้ำหรือ Boiler และก่อนที่จะไปว่ากันถึงเรื่องรายละเอียด ก็ขออนุญาตทวนความจำกันสักเล็กน้อย เกี่ยวกับความเป็นมาของเจ้าหม้อไอน้ำ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงไฟฟ้า และโรงพยาบาล |
. |
โดยบุคคลแรกที่ริเริ่มเอาไอน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการขับเคลื่อนเครื่องจักร เครื่องยนต์และถ่ายเทความร้อน ก็คือ เจมส์ วัตต์ (James Watt) วิศวกรชาวอังกฤษ ซึ่งได้คิดค้นดัดแปลงเครื่องจักรไอน้ำที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี ก็คือ รถจักรไอน้ำ ซึ่งนับว่าเป็นยุคเริ่มต้นของวิวัฒนาการทางอุตสาหกรรมของโลกเลยก็ว่าได้ |
. |
ซึ่งหม้อไอน้ำ (Boiler) นี้ ก็คือ เครื่องกำเนิดไอน้ำชนิดภาชนะปิด ทำด้วยเหล็กกล้าหรือวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ภายในประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนเก็บน้ำและส่วนเก็บไอน้ำ ผลลัพธ์ที่ได้คือพลังไอน้ำและความร้อน จัดว่าเป็นเครื่องจักรที่มีอันตรายสูง ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลหม้อไอน้ำจึงควรที่จะมีความรู้เพียงพอ ไม่เช่นนั้นแล้วอาจจะเกิดการระเบิดและก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ |
. |
ส่วนการทำงานของหม้อไอน้ำไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตามแต่ จะมีหลักการทำงานเหมือนกัน นั่นก็คือ หลังจากที่ได้รับความร้อนจากแหล่งความร้อน ไม่ว่าจะเป็นจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ไฟฟ้าหรือพลังงานนิวเคลียร์แล้ว ก็จะส่งผ่านความร้อนไปยังน้ำที่อยู่ภายในหม้อน้ำ จนกระทั่งน้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำ หลังจากที่ได้ทวนความจำกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเราก็มาว่ากันถึงเรื่องรายละเอียดของความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำกันดีกว่า |
. |
1. อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยหม้อไอน้ำ |
. |
แม้ว่าหม้อไอน้ำจะมีโครงสร้างที่แข็งแรง และประกอบขึ้นด้วยชิ้นส่วนที่จำเป็นครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสามารถที่จะเกิดการระเบิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยเพิ่มเข้าไปด้วย ดังนี้ |
1.1 ลิ้นนิรภัย เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของหม้อไอน้ำ ใช้สำหรับป้องกันหม้อไอน้ำระเบิด เนื่องจากความดันสูง โดยทำหน้าที่ระบายไอน้ำออกไปภายนอก เมื่อเกิดภาวะที่ความดันภายในหม้อน้ำสูงเกินกว่าที่ตั้งไว้ โดยลิ้นนิรภัย มี 3 แบบ คือแบบสปริง แบบน้ำหนักถ่วงโดยตรง และแบบคานน้ำหนัก โดยการเลือกใช้ควรเลือกลิ้นนิรภัยที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของบ่าลิ้น ไม่ต่ำกว่า ½ นิ้ว และควรติดตั้งลิ้นนิรภัยไว้ใกล้หม้อไอน้ำมากที่สุด และไม่มีวาล์วคั่น ในกรณีที่หม้อไอน้ำมีพื้นที่รับความร้อนมากกว่า 500 ตารางฟุต ควรมีลิ้นนิรภัย 2 ชุด |
. |
1.2 ฝานิรภัย เป็นอุปกรณ์นิรภัยที่ใช้กับหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลวหรือก๊าซ ช่วยป้องกันแรงกระแทกที่เกิดจากการระเบิดของแก๊สที่ค้างอยู่ในห้องเผาไหม้ มิฉะนั้นแล้วชุดหัวฉีดจะชำรุดได้ สามารถติดตั้งได้ที่ด้านหน้า ด้านข้างหรือด้านหลังของหม้อไอน้ำ |
. |
1.3 เครื่องควบคุมระดับน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ควรติดตั้งไว้กับหม้อไอน้ำทุกเครื่อง โดยเฉพาะหม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำในหม้อไอน้ำให้อยู่ในช่วงที่กำหนด นิยมใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ แบบอิเล็กโทรด และแบบลูกลอย |
. |
1.4 สวิตซ์ควบคุมความดัน ทำหน้าที่ควบคุมความดันภายในหม้อไอน้ำให้อยู่ในช่วงที่กำหนดหรือตั้งไว้ การทำงานจะอาศัยความดันควบคุมหัวฉีด |
. |
1.5 เครื่องดักไอน้ำ ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์อัตโนมัติ สำหรับระบายน้ำที่ค้างอยู่มากในท่อ ให้ออกไปภายนอก สาเหตุที่ควรติดตั้ง เพราะไอน้ำที่ออกจากหม้อไอน้ำ เมื่อสัมผัสกับท่อจ่ายไอน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำ ก็จะเกิดการกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำค้างอยู่ตามท่อ ถ้าปริมาณน้ำที่ค้างอยู่มาก ก็จะทำให้เกิดอันตราย และทำให้ประสิทธิภาพของไอน้ำลดลง |
. |
1.6 สัญญาณเตือนภัยอัตโนมัติ เป็นอุปกรณ์แจ้งอันตรายเมื่อระดับน้ำในหม้อน้ำต่ำกว่าที่ใช้งานปกติ โดยสามารถที่จะติดตั้งร่วมกับเครื่องควบคุมระดับน้ำ หรือบางชนิดอาจติดตั้งแยกต่างหากก็ได้ โดยสัญญาณที่เตือนภัยมีทั้งที่เป็นแบบเสียง และแบบแสง |
. |
2. อุบัติเหตุจากหม้อไอน้ำ |
. |
อุบัติเหตุจากหม้อไอน้ำที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ก็คือ หม้อไอน้ำระเบิด ซึ่งเกิดขึ้นเพราะมีชิ้นส่วนของโครงสร้างหม้อไอน้ำฉีกขาด อันเนื่องมาจากความดันที่สูงเกินไปของไอน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนจากบริเวณท่อไฟใหญ่ ผนัง และเปลือก ความรุนแรงของไอน้ำที่สูงเกินได้พุ่งออกมาจะมีเสียงดังสนั่นคล้ายกับระเบิด ซึ่งสาเหตุของหม้อไอน้ำระเบิดพอที่จะสรุปได้ดังนี้ |
2.1 เลือกใช้ประเภทของหม้อไอน้ำไม่เหมาะสมกับประเภทงานที่ใช้ |
2.2 หม้อไอน้ำที่ใช้ไม่ได้มาตราฐานความปลอดภัย ทั้งในส่วนของวัสดุ แบบโครงสร้าง และอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย |
2.3 ใช้งานหม้อไอน้ำที่ความดันสูงกว่าที่กำหนด โดยการปรับตัวลิ้นนิรภัยให้ระบายไอน้ำที่ความดันสูงเกินไป |
2.4 ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำไม่มีความรู้ ความชำนาญเพียงพอในการปฏิบัติงานควบคุม |
2.5 ขาดการดูแล ตรวจสอบ บำรุงรักษาหม้อไอน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัย |
2.6 น้ำที่ใช้ป้อนเข้าไปในหม้อไอน้ำมีคุณสมบัติไม่เหมาะสม เช่น มีความกระด้างมากเกินไป มีภาวะความเป็นกรด-ด่าง มีสารละลายในน้ำ หรือมีตะกอนและความขุ่นมากเกินไป เป็นต้น |
2.7 มีการดัดแปลงอุปกรณ์หม้อไอน้ำโดยขาดความชำนาญ และไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม |
2.8 ทำการติดตั้งไม่ถูกหลักความปลอดภัย และสถานที่ติดตั้งไม่เหมาะสม |
2.9 ซื้อหม้อไอน้ำมือสองหรือหม้อน้ำเก่ามาใช้ โดยพิจารณาไม่ถี่ถ้วนถึงสภาพการใช้งาน ซึ่งถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก |
2.10 เมื่อเกิดปัญหาการใช้งานหม้อไอน้ำแล้ว ผู้ที่ทำการซ่อมแซมขาดความเข้าใจ ไม่รอบคอบ |
. |
. |
3. มาตราการป้องกันอันตรายจากหม้อไอน้ำ |
. |
3.1 การเลือกหม้อไอน้ำ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ควรทำการตรวจสอบว่างานที่เราจะนำเอาหม้อไอน้ำไปใช้นั้น ต้องการคุณสมบัติของหม้อไอน้ำอย่างไรบ้าง เช่น ขนาด โครงสร้าง อุปกรณ์ความปลอดภัยต่าง ๆ ลักษณะการติดตั้ง การตรวจเช็คหรือซ่อมบำรุงสามารถทำได้ง่ายหรือไม่ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด โดยในกรณีที่เป็นหม้อไอน้ำใหม่ ควรมีการพิจารณาดังนี้ |
1). การเลือกซื้อหม้อไอน้ำที่ผลิตจากต่างประเทศ ควรจะพิจารณาว่าได้รับมาตราฐานคุณภาพสินค้าใดๆ บ้างหรือไม่ เช่น ASME (The American Society of Mechanical Engineering) BS (British Standard) DIN (Deutsches Institute Fur Normung) JIS (Japanese Industrial Standard) หรือมาตราฐานอื่นๆ จากประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ |
. |
2). การเลือกซื้อหม้อไอน้ำที่ผลิตในประเทศ ควรเลือกซื้อจากบริษัทหรือโรงงานที่เชื่อถือได้ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ มีวิศวกรจากบริษัทผู้ขายที่สามารถให้คำแนะนำและติดตั้งได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการบริการหลังการขายที่ดี ตรวจสอบและพิจารณาดูถึงวัสดุและอุปกรณ์ของหม้อไอน้ำ ว่าเหมาะสมกับประเภทของงานที่จะนำไปใช้หรือไม่ |
. |
ส่วนในกรณีที่เป็นหม้อไอน้ำเก่า ควรจะพิจารณาอย่างละเอียดเป็นพิเศษ โดยจัดหาวิศวกรผู้มีความรู้ความชำนาญเพียงพอที่จะมาตรวจสอบโครงสร้าง ส่วนประกอบและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของหม้อไอน้ำ ว่ามีครบถ้วนและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่เพียงใด และมีการทดสอบการใช้งานจริงก่อนตัดสินใจซื้อ |
. |
3.2 การใช้งานและการบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ |
- การติดตั้งหม้อไอน้ำควรคำนึงถึงสถานที่ที่ใช้ติดตั้งและขนาดของหม้อไอน้ำ ศึกษาคู่มืออย่างละเอียด ทางที่ดีควรให้วิศวกรผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเป็นผู้ติดตั้งให้ |
- ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ ควรมีความรู้ความชำนาญเพียงพอ ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ |
- มีการตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานของหม้อไอน้ำอยู่เสมอ ทั้งก่อนและหลังใช้งาน |
- มีการบำรุงรักษาส่วนประกอบและอุปกรณ์ความปลอดภัยต่างๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยมีการจดบันทึกรายงานเป็นหลักฐาน พร้อมสรุปผลการตรวจสอบให้ฝ่ายบริหารทราบ |
- อย่าใช้งานหม้อไอน้ำจนเกินกำลัง หรือดัดแปลงโดยไม่ถูกหลักวิศวกรรม |
- เมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับการใช้งานหม้อไอน้ำ ควรปรึกษาวิศวกรของบริษัทผู้ขายหม้อไอน้ำ อย่าลงมือแก้ไขเองอาจจะเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ |
. |
3.3 การตรวจทดสอบความปลอดภัยหม้อไอน้ำ |
มีการตรวจสอบระบบการทำงานและอุปกรณ์ความปลอดภัย ตามระยะเวลาและมาตราฐานความเหมาะสมที่กำหนดไว้ |
การตรวจสอบประจำปี ควรตรวจสอบโดยวิศวกรผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาติขึ้นทะเบียนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น |
ควรมีการทำความสะอาดหม้อไอน้ำทั้งในส่วนที่สัมผัสน้ำและส่วนที่สัมผัสไฟ |
ตรวจสอบดูว่าโครงสร้างของหม้อไอน้ำยังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่ มีการแตกร้าว รั่วซึม หรือเสียรูปทรงหรือไม่ |
ต้องทำการพิจารณาส่วนประกอบและอุปกรณ์ที่สำคัญของหม้อไอน้ำเป็นพิเศษ และควรถอดออกมาทำความสะอาดอยู่เสมอ ถ้าพบว่าชำรุดหรือสึกหรอ ต้องรีบซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ในทันที |
ควรทดสอบอัดน้ำที่ความดัน 1.5 เท่าของความดันการใช้งาน |
. |
ตารางที่ 2 แสดงระยะเวลาการตรวจสอบและบำรุงรักษาหม้อไอน้ำ |
. |
. |
หมายเหตุ : CH (CHECKING ) หมายถึง การตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่าMT (MAINTAINANCE ) หมายถึง การบำรุงรักษา |