เนื้อหาวันที่ : 2012-01-13 17:53:05 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1449 views

การเปลี่ยนปัญหาด้านการขยายตัวของข้อมูลให้เป็นโอกาสทางธุรกิจ

ข้อมูลขนาดใหญ่ที่แต่ละองค์กรธุรกิจมีอยู่ในมือจะมีประโยชน์และมีค่าหากมีการนำมาใช้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถเปลี่ยนให้เป็นสารสนเทศได้

          วิกฤตการณ์หนี้ในยุโรปและการฟื้นตัวที่เชื่องช้าของเศรษฐกิจโลกกำลังสร้างความไม่แน่นอนให้กับธุรกิจในทุกประเภท และเพื่อให้สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ไปให้ได้ จำเป็นที่องค์กรธุรกิจจะต้องคิดนอกกรอบและมองหากลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อผลักดันให้องค์กรเติบโต

โดยภาวะข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งก่อนหน้านี้เชื่อว่าจะเป็นปัญหาที่ค่อย ๆ ชัดเจนขึ้นและมีผลโดยตรงต่อต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบไอที กำลังกลายเป็นทรัพยากรใหม่ที่มีคุณค่าและสามารถช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ใหม่ๆ ให้กับองค์กรภายใต้เงื่อนไขที่ว่าข้อมูลขนาดใหญ่จะมีประโยชน์และมีค่าหากมีการนำมาใช้อย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถเปลี่ยนให้เป็นสารสนเทศได้

โดยจากการสำรวจล่าสุดของบริษัท ไอดีซี1 พบว่านอกจากองค์กรส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะยังไม่ได้มีการนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์แล้ว พวกเขายังไม่ได้เตรียมการเพื่อจะดำเนินการกับข้อมูลขนาดใหญ่ดังกล่าวอีกด้วย

          องค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เข้าร่วมทำแบบสำรวจในครั้งนี้ มากกว่า 50% ไม่ได้เตรียมการหรือมีแผนสำหรับการรองรับข้อมูลขนาดใหญ่ แม้ว่าโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบันขององค์กรเหล่านั้นจะมีศักยภาพเพียงพอสำหรับการใช้งานในอีก 12 เดือนข้างหน้า

แต่หลายแห่งยอมรับว่าการขยายตัวของข้อมูลกำลังแซงหน้าความสามารถด้านการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพของตน องค์กรเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังยอมรับอีกด้วยว่า ระบบของตนไม่สามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าจะทำให้ข้อมูลเชื่อมโยงกัน ปรับใช้ได้อย่างทันท่วงที และเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์เชิงลึก และการตัดสินใจได้ แม้ว่าสิ่งนี้จะเป็นวิกฤตที่มีผลต่อความสำเร็จทางการแข่งขันก็ตาม

          คิดใหม่เพื่อการเติบโตใหม่
          จากการสำรวจของบริษัท ไอดีซี สะท้อนความเป็นจริงให้เห็นว่า ผู้บริหารไอทีหลายแห่งในองค์กรขนาดใหญ่ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังไม่ได้มองการณ์ไกลถึงเรื่องความสำคัญในการจัดการกับการขยายตัวของข้อมูล องค์กรเหล่านี้ขาดกลยุทธ์ด้านการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่ออุดช่องว่างระหว่างความต้องการทางธุรกิจของตนกับความสามารถในระบบไอทีเพื่อนำไปสู่สารสนเทศอัจฉริยะที่สามารถใช้งานได้จริง

เว้นแต่พวกเขาจะแปรรูปศูนย์ข้อมูลของตนให้เป็นศูนย์สารสนเทศอันทรงคุณค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นองค์กรขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ก็จะพบกับความยุ่งยากในการดำเนินธุรกิจ 

ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจสามารถประสบผลสำเร็จได้อย่างยั่งยืน จำเป็นที่พวกเขาจะต้องใช้แนวทางใหม่ๆ ในการคิดและวิเคราะห์มุมมองด้านไอทีและธุรกิจของตนเพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้เพื่อตอบสนองความท้าทายในอนาคตได้

          การแก้ไขวิกฤตการณ์ระบบจัดเก็บข้อมูลที่ซับซ้อน
          ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วในปัจจุบันและการเพิ่มจำนวนของข้อมูลแบบไร้โครงสร้าง เช่น ไฟล์วิดีโอ รูปภาพ และเสียง ทำให้บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีต้องพบกับความท้าทายมหาศาลในด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล

ปรากฏการณ์ข้อมูลท่วมท้นที่มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วนี้ยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับความจำเป็นที่จะต้องนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้เพิ่มขึ้น เช่น การประมวลผลแบบคลาวด์และระบบเสมือนจริง ซึ่งสวนทางกับการจัดสรรงบประมาณด้านไอทีที่มีความรัดกุมเพิ่มมากขึ้นในเวลานี้ และด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้จึงนำไปสู่วิกฤตการณ์ใหม่ที่ซับซ้อนอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารด้านไอที

          การขยายตัวที่รวดเร็วของข้อมูลขนาดใหญ่ – จากรายงานของโปรแกรมติดตามระบบดิสก์จัดเก็บข้อมูลประจำไตรมาสสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia/Pacific Quarterly Disk Storage Systems Tracker ) ของบริษัท ไอดีซี ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2554 ระบุว่าจำนวนดิสก์จัดเก็บข้อมูลที่จำหน่ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นญี่ปุ่น) มีจำนวนเพิ่มขึ้น 74.2%  เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2553 โดยมีระดับความจุรวมที่ 1,824 เพตาไบต์

เนื่องจากการขยายตัวอย่างมากของข้อมูลขนาดใหญ่นี่เองที่ทำให้การจัดการข้อมูลเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องประหลาดใจเพราะจากการสำรวจเดียวกันนี้ ยังพบด้วยว่าผู้บริหารด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้จัดอันดับ “การขยายตัวโดยรวมของข้อมูล” ว่าเป็นความท้าทายสูงสุดสำหรับการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล

          ผลกระทบของการประมวลผลแบบคลาวด์และระบบเสมือนจริง – ขณะนี้กำลังมีการนำเทคโนโลยีคลาวด์เข้ามาใช้งานมากขึ้นเพื่อให้ได้ฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลายในระบบไอที ตั้งแต่การกำหนดค่าโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์พื้นฐานและการประมวลผลเนื้อหาที่มุ่งเน้นข้อมูลไปจนถึงการจัดเตรียมบริการที่มีสารสนเทศเป็นตัวผลักดัน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเริ่มมีการนำมาใช้เพิ่มมากขึ้น แต่จากการสำรวจของบริษัท ไอดีซี กลับพบว่า ประเด็นด้านความปลอดภัยยังคงถูกอ้างถึงอย่างต่อเนื่องว่าเป็นอุปสรรคสำคัญในการนำเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาใช้งานภายในองค์กร การสำรวจยังพบด้วยว่าองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจำนวนมากกำลังเริ่มนำเซิร์ฟเวอร์เสมือนเข้ามาใช้งานในครั้งแรกและกำลังประสบกับปัญหา ความซับซ้อน และปริมาณงานในด้านการจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มสูงขึ้น

แต่เนื่องจากการประมวลผลแบบคลาวด์และระบบเสมือนจริงถือเป็นแนวโน้มหลักของปีที่กำลังจะมาถึงนี้ บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีจึงจะต้องค้นหาโซลูชั่นที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับผลกระทบดังกล่าวให้ได้

          การปรับลดขนาดงบประมาณด้านไอที – จากมุมมองทางธุรกิจ ขณะนี้ผู้บริหารด้านไอทีหลายรายพบว่าตนเองกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เนื่องจากระบบเศรษฐกิจโลกยังคงเปราะบางและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ทำให้งบประมาณด้านไอทีขององค์กรหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกดูจะไม่มีการปรับขยายตัวแต่อย่างใด

แม้ว่าความต้องการด้านไอทีจะยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม ยิ่งกว่านั้นผู้บริหารด้านไอทีของภูมิภาคแห่งนี้ยังจำเป็นที่จะต้องพัฒนากลยุทธ์ที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าทีมงานของตนสามารถดึงข้อมูลออกมาใช้ประโยชน์ให้ได้เพื่อนำไปสู่ประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เพิ่มสูงขึ้น

          โซลูชั่นระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบเสมือน
          จะเห็นได้ว่าการผสานรวมที่เพิ่มขึ้นและเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดมากขึ้นได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสามารถเปลี่ยนปัญหาให้กลายเป็นโอกาสได้ การใช้โซลูชั่นคลาวด์ส่วนตัวแบบเสมือน (นั่นคือโซลูชั่นคลาวด์ส่วนตัวที่ได้รับการจัดการจากผู้จำหน่ายภายนอก) มีแนวโน้มจะเป็นกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดมากกว่าการที่องค์กรจะสร้างระบบคลาวด์ส่วนตัวของตนเองหรือเสริมโครงสร้างระบบคลาวด์ที่มีอยู่เดิมของตน

เนื่องจากในขณะนี้ผู้จำหน่ายระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบเสมือนจำนวนมากกำลังนำเสนอประสิทธิภาพและความปลอดภัยระดับสูง ซึ่งได้รับการยืนยันจากการศึกษาของไอดีซีที่ระบุว่า ระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบเสมือนมีความปลอดภัยยิ่งกว่าระบบไอทีแบบคลาวด์ภายในองค์กร อันเนื่องมาจากเหตุผลง่ายๆ นั่นคือสัญญาทางธุรกิจที่จะต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามข้อตกลงระดับการบริการ ซึ่งถือเป็นการผสานรวมแรงจูงใจทางการเงินเข้ากับระดับบริการได้อย่างลงตัว

ผู้จำหน่ายระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบเสมือนสามารถบรรลุผลดังกล่าวได้ด้วยการสร้างระบบแบบรวมที่ผสานรวมเซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล และเครือข่ายไว้ในแพลตฟอร์มเดียว

ด้วยส่วนประกอบทั้งหมดที่ออกแบบและสร้างให้ทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม ผู้จำหน่ายจึงสามารถนำเสนอประสิทธิภาพและความปลอดภัยในระดับสูงสุดด้วยอินเทอร์เฟซการจัดการเดียวที่ครอบคลุมระบบในทุกด้าน สิ่งนี้ทำให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีเยี่ยมและการปรับขยายได้อย่างประหยัดเมื่อต้องแปลงระบบเดิมให้เป็นโซลูชั่นระบบคลาวด์คุณภาพสูงในราคาที่ไม่แพงมากนักสำหรับลูกค้าองค์กร

          กลยุทธ์คลาวด์แบบสามระดับชั้น
          จากการขยายตัวอย่างมหาศาลของข้อมูลขนาดใหญ่ และการที่บริษัทต่างๆ กำลังเผชิญกับปัญหาการเพิ่มจำนวนของเทคโนโลยีขณะที่มีทรัพยากรน้อยลง แผนกไอทีไม่สามารถทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ข้อมูลแบบง่ายๆ ได้อีกต่อไป ชุดโซลูชั่นคลาวด์ที่ครอบคลุมจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้พวกเขาได้รับมูลค่าสูงสุดจากสารสนเทศของตน

          กลยุทธ์ 3 ระดับชั้นของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ซึ่งประกอบด้วยระบบคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหา และระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศ ได้นำเสนอแนวทางแบบหลายระดับชั้นที่จะช่วยให้องค์กรสามารถจัดการกับการขยายตัวของข้อมูลของตน ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการรวบรวมและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อสร้างมุมมองที่ครอบคลุมยิ่งขึ้นและนวัตกรรมที่จะผลักดันมูลค่าเชิงกลยุทธ์และแก้ปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยากได้ โดยอาจสรุปได้ดังนี้

          ระบบคลาวด์สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน – รวมเซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่ายจำนวนมากที่ใช้ทรัพยากรแบบผสานรวมและเสมือนจริงเข้าไว้ด้วยกันและสามารถปรับขยายได้ตามต้องการ สิ่งนี้จะนำเสนอในรูปของโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระ (ไดนามิก) ได้อย่างแท้จริงและแพลตฟอร์มเดียวสำหรับข้อมูลที่สามารถใช้เป็นพื้นฐานสำหรับบริการคลาวด์ที่หลากหลาย เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูล โครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม และแม้แต่ซอฟต์แวร์แบบบริการ (Software-as-a-service)

          ระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหา – ให้เครื่องมืออัจฉริยะสำหรับจัดทำดัชนีข้อมูล ค้นหา และสืบค้นข้อมูลในทุกรูปแบบได้บนแพลตฟอร์มเดียว การจัดการวงจรชีวิตและความอิสระจากแอพลิเคชั่น       ถือเป็นสิ่งสำคัญของระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหา ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้เพื่อให้บริการในหลายรูปแบบ เช่น การเก็บข้อมูลถาวรและการสร้างเนื้อหาในรูปแบบบริการ (Content-as-a-service)      ซึ่งทำให้สามารถค้นหา แบ่งปัน และใช้งานข้อมูลได้ง่ายขึ้น

ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้อมูลได้อีกด้วย และจากการใช้เทคโนโลยีของบลูอาร์ก (BlueArc) (ผลจากการเข้าซื้อล่าสุดของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์) ระบบคลาวด์สำหรับเนื้อหาจะมีความสามารถของระบบเสมือนจริงที่ยึดตามไฟล์ (file-based virtualization) การแบ่งระดับชั้นอัจฉริยะแบบในตัว และความสามารถด้านการย้ายข้อมูลอัตโนมัติสำหรับข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง

          ระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศ –  นำเสนอเฟรมเวิร์กแบบผสานรวมในระบบเปิดสำหรับข้อมูลทั้งแบบไม่มีโครงสร้างและมีโครงสร้างที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถแปรรูปศูนย์ข้อมูลของตนเป็นศูนย์สารสนเทศได้ โดยจะสนับสนุนส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นต่อการจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งเริ่มตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานแบบปรับเปลี่ยนได้อย่างอิสระ การวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วสูงสุด การย้ายข้อมูลที่ผ่านการผสานรวมแล้ว ไปจนถึงฟังก์ชันการค้นหาที่มีประสิทธิภาพ

ระบบคลาวด์สำหรับสารสนเทศไม่เพียงแต่เป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยองค์การในการแยกแยะและได้รับมูลค่าจากข้อมูลของตนเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาที่ว่าทุกคนสามารถมั่นใจได้ในความสามารถของเทคโนโลยีที่จะเข้ามาตอบคำถามที่ซับซ้อนซึ่งมีความจำเป็นต่อการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาล ซึ่งท้ายที่สุดจะให้มุมมองใหม่ที่สามารถสร้างงานและแม้แต่สร้างสังคมให้เป็นสถานที่ที่ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย


1หมายเหตุ : รายงานของบริษัท ไอดีซี เรื่อง  “The Changing Face of Storage: A Rethink of Strategy that Goes Beyond the Data”, ตุลาคม 2554  ได้มาจากการสำรวจผู้บริหารด้านไอที 150 คนในองค์กรขนาดใหญ่ที่สุดบางแห่งในประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ในส่วนเฉพาะ 16 ส่วน ซึ่งเป็นการดำเนินการสำรวจของบริษัท ไอดีซี ที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ http://www.hds.com/go/apacwp

บทความโดย นายสุนิล ชวาล
ผู้อำนวยการกลุ่มซอฟต์แวร์และโซลูชั่นคลาวด์
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก