เนื้อหาวันที่ : 2011-11-07 15:00:03 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1488 views

โซลูชั่นใหม่ดีพ ซิเคียวริตี้ 8.0 และซิเคียว คลาวด์ 2.0

เทรนด์ ไมโคร เปิด โชว์วิสัยทัศน์ด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนกลางที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น

          เทรนด์ ไมโคร เปิดตัวโซลูชั่นใหม่ดีพ ซิเคียวริตี้ 8.0 และซิเคียว คลาวด์ 2.0  เผยวิสัยทัศน์ด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนกลางที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น

          บริษัท เทรนด์ ไมโคร อินคอร์ปอเรท (TYO: 4704;TSE: 4704) เผยวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเฟรมเวิร์กการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนกลางที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น พร้อมประกาศเปิดตัวโซลูชั่นรุ่นใหม่ของระบบเสมือนจริงและการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ ได้แก่ Deep Security 8.0 และ SecureCloud 2.0 ภายในงาน CloudSec 2011 ซึ่งเป็นงานประชุมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ระดับภูมิภาคครั้งแรก ณ ประเทศสิงคโปร์ 

          วิสัยทัศน์ด้านการรักษาความปลอดภัยที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นในยุคหลังพีซี ข้อมูลจากบริษัท การ์ทเนอร์ อิงค์. ระบุว่าขณะนี้อุตสาหกรรมด้านการรักษาความปลอดภัยกำลังอยู่บนทางแยกที่ต้องเผชิญหน้ากับเส้นทางอันซับซ้อนและเต็มไปด้วยการโจมตีองค์กรแบบมีเป้าหมายที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวของการใช้อุปกรณ์มือถือส่วนบุคคลที่ไม่ปลอดภัย และการปรับใช้ระบบคลาวด์เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา

ทั้งนี้เป็นที่คาดกันว่าภายในสิ้นปี 2557 การเพิ่มจำนวนของบริการสนับสนุนการทำงานร่วมกันและระบบอีเมลผ่านคลาวด์ (cloud email and collaboration services: CECS) จะอยู่ที่ระดับ 10% และนี่ถือเป็น "จุดเปลี่ยนสำคัญ" ของการปรับใช้ระบบคลาวด์อย่างต่อเนื่องในวงกว้าง

          บริษัท การ์ทเนอร์ เชื่อว่านี่เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับองค์กรขนาดใหญ่บางแห่ง โดยเฉพาะองค์กรที่มีขนาด เล็กกว่าและองค์กรในภาคอุตสาหกรรมที่ยังไม่มีการตอบสนอง เช่น ร้านค้าปลีก งานบริการ และการผลิต ในการเคลื่อนย้ายผู้ใช้บางส่วนให้เข้าสู่ CECS ในช่วงสองปีถัดไปนี้เป็นอย่างน้อย อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ได้กล่าวเตือนว่าความพร้อมในการปรับเปลี่ยนจะแตกต่างกันออกไปตามผู้ให้บริการและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง

          โมเดลการรักษาความปลอดภัยแบบใหม่จากบริษัท เทรนด์ ไมโคร ให้ความสำคัญกับข้อมูลด้วยการผสานรวมขีดความสามารถด้านการปกป้องข้อมูลและภัยคุกคามไว้ภายในเฟรมเวิร์กเดียวกัน ซึ่งนั่นจะทำให้สามารถมองเห็นผู้ใช้ที่กำลังเข้าถึงข้อมูล ตลอดจนชนิดข้อมูลที่มีการเข้าถึง ช่วงเวลา สถานที่ และวิธีการที่ใช้ในการเข้าถึง

นอกจากนี้โมเดลดังกล่าวยังนำเสนอเทคโนโลยีการป้องกันภัยคุกคามที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นในลักษณะของเซ็นเซอร์อัจฉริยะที่จะทำหน้าที่ตรวจจับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องและที่มีอยู่ภายในระบบเพื่อช่วยในการระบุการโจมตีแบบมีเป้าหมายได้อย่างทันท่วงที และเทคโนโลยีการป้องกันข้อมูลที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นที่จะนำเสนอการรับรู้เกี่ยวกับการใช้งานข้อมูลที่ครอบคลุมในทุกตำแหน่งที่ตั้ง

โมเดลใหม่นี้ได้ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโครงสร้างพื้นฐานเทรนด์ ไมโคร สมาร์ท โพรเท็คชั่น ด้วยการระบุความเกี่ยวโยงของข้อมูลจากการสืบค้นรายวันที่มีจำนวนมากกว่า 70,000 ล้านครั้ง รวมทั้งขณะนี้ได้ให้การปกป้องผู้ใช้ไปแล้วกว่า 130 ล้านรายนับตั้งแต่มีการเปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2551

การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในการก้าวสู่ระบบคลาวด์
          ในส่วนมาตรฐานของระบบเสมือนจริงและการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ที่กำลังมีการพัฒนาอยู่นั้น บริษัท เทรนด์ ไมโคร ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐชั้นนำหลายแห่ง ทั้งในฐานะสมาชิกและในฐานะที่ปรึกษา อาทิ Singapore Infocomm Technology Federation (SITF), Information Technology Protection Agency (IPA) of Japan, Cloud Security Alliance (CSA), Commission on the Leadership Opportunity in U.S. Deployment of the Cloud (CLOUD) เป็นต้น และในฐานะที่เป็นสมาชิกของ CSA และประธานร่วมของกลุ่ม Virtualization and Technology Compartmentalization Group

          สำหรับการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของหน่วยงานกำกับดูแลและพัฒนากิจการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Infocomm Development Authority: IDA) ในสิงคโปร์เพื่อจัดการกับข้อกังวลเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์นั้น บริษัท เทรนด์ ไมโคร กำลังแบ่งปันประสบการณ์และความรู้โดยอาศัยแนวทางข้อตกลงระดับการบริการ (SLA) และการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ระดับชาติต่างๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการพัฒนาและการปรับใช้แนวทางและมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ในสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ที่กำลังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน

          ออสการ์ ชาง รองประธานฝ่ายบริหารประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า “สิงคโปร์ถือเป็นผู้นำในด้านการก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์และเรายอมรับในแนวทางและความมุ่งมั่นของ IDA ที่ได้ให้การสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ เรามุ่งมั่นที่จะสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและองค์กรธุรกิจในเอเชียให้สามารถก้าวเข้าสู่ระบบคลาวด์ได้อย่างปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีชั้นเยี่ยม นวัตกรรมที่มีการพัฒนาออกมาอย่างต่อเนื่อง และความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคามระดับโลก”

          จากรายงานล่าสุดของบริษัท การ์ทเนอร์ ที่ครอบคลุมจนถึงปี 2557 พบว่าขณะนี้ยังไม่มีการรับรองที่เพียงพอจากผู้จำหน่ายโซลูชั่นรายอื่นๆ เกี่ยวกับการจัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ความต่อเนื่องของธุรกิจ และการกู้คืนระบบ ซึ่งนั่นทำให้ 30% ขององค์กรเกิดความไม่มั่นใจที่จะนำระบบการประมวลผลแบบคลาวด์เชิงพาณิชย์มาใช้งาน

          เดฟ แอสเพรย์ รองประธานด้านการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร กล่าวว่า “บริษัท เทรนด์ ไมโคร คาดว่าในช่วงปี 2555 และหลังจากนั้น องค์กรธุรกิจจะต้องการระบบรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมและมีความอัจฉริยะมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ของการบริโภคระบบไอทีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและความซับซ้อนที่เพิ่มมากขึ้นของการโจมตี

องค์กรธุรกิจจึงต้องการระบบป้องกันภัยคุกคามที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและความสามารถในการจัดการระบบรักษาความปลอดภัยของตน จะเห็นได้ว่าจากการที่บริษัท เทรนด์ ไมโคร ได้เข้าไปมีส่วนสนับสนุนตลอดจนได้ร่วมทำงานกับหน่วยงานภาครัฐ สมาคมอุตสาหกรรม และองค์กรธุรกิจต่างๆ นั้น ทำให้บริษัทมีแพลตฟอร์มที่ดีที่สามารถช่วยให้องค์กรธุรกิจมีระบบป้องกันที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้รับโอกาสใหม่ๆ และได้รับประโยชน์จากระบบประมวลผลแบบคลาวด์ ตลอดจนสามารถใช้งานอุปกรณ์ไอทีต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ”

การปกป้องหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก
          เมื่อเดือนที่แล้ว เทรนด์ ไมโคร ดีพ ซิเคียวริตี้ (Trend Micro Deep Security) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรักษาความปลอดภัยสำหรับเซิร์ฟเวอร์ ได้รับผ่านเกณฑ์รับรองระดับ 4 จาก Canadian Common Criteria Evaluation และ Certification Scheme โดย EAL4+ ถือเป็นระดับความเชื่อมั่นสูงสุดที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานภาครัฐที่กำหนดให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองจาก Common Criteria จึงสามารถมั่นใจได้ว่าข้อกำหนด การปรับใช้ และการประเมินผลของ Deep Security จะเป็นไปตามมาตรฐานและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบได้

ทั้งนี้เกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งได้รับการยอมรับแล้วใน 25 ประเทศ ถือเป็นความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยจากประเทศต่างๆ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

          สำหรับข้อตกลงเพิ่มเติมล่าสุดที่ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัท วีเอ็มแวร์ นั้น บริษัท เทรนด์ ไมโคร จะสนับสนุนการ โออีเอ็ม VMware vShield Endpoint เพื่อนำเสนอโซลูชั่นแบบผสานรวมเข้ากับเทรนด์ ไมโคร ดีพ ซิเคียวริตี้ และจากการดำเนินการดังกล่าวได้ทำให้บริษัท เทรนด์ ไมโคร เป็นหนึ่งในผู้จำหน่ายรายแรกที่สามารถจัดหาสิทธิ์ใช้งาน การปรับใช้ และประสบการณ์ด้านการสนับสนุนสำหรับโซลูชั่น VMware vShield Endpoint แบบผสานรวมให้กับลูกค้าได้

การเคลื่อนไหวที่แข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
          จะเห็นได้ว่าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น ยอดจำหน่ายของบริษัท เทรนด์ ไมโครในส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับเซิร์ฟเวอร์ในสภาพแวดล้อมระบบเสมือนช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 มีอัตราการขยายตัวที่ระดับ 116% เมื่อเทียบกับ ปีที่แล้ว โดยภาครัฐถือได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการนำโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์เข้ามาใช้งาน ตามด้วยธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพและสถาบันทางการเงิน ขณะที่ภาคโทรคมนาคมก็กำลังดำเนินการนำร่องผสานรวมการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบเสมือนจริงให้เป็นข้อเสนอในลักษณะของโครงสร้างพื้นฐานในรูปของการให้บริการ

          ทั้งนี้การเปิดตัวโซลูชั่นรุ่นใหม่ของระบบเสมือนจริงและการรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบคลาวด์ถือเป็นการขยายนวัตกรรมและการมีบทบาทในฐานะผู้นำของบริษัท เทรนด์ ไมโคร ในตลาด โดย Deep Security 8.0 เป็นโปรแกรมป้องกันมัลแวร์แบบไม่ต้องติดตั้งลงเครื่องโปรแกรมแรกสำหรับสภาพแวดล้อมระบบเสมือน และเป็นโปรแกรมแรกที่ได้รวมเอาการป้องกันการบุกรุกและการป้องกันแอพพลิเคชั่นบนเว็บเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นแบบไม่ต้องติดตั้งลงเครื่องซึ่งครอบคลุมทั้งในสภาพแวดล้อมการประมวลผลแบบคลาวด์ ระบบเสมือน และระบบจริง

          ขณะที่ SecureCloud เป็นการป้องกันข้อมูลในระบบคลาวด์ที่มีแนวทาง มุ่งเน้นการผสานรวมการจัดการที่สำคัญโดยยึดตามนโยบาย การเข้ารหัสลับที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรม และการตรวจสอบความถูกต้องของเซิร์ฟเวอร์เสมือนเพื่อให้สามารถปรับใช้ข้อมูลในสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ส่วนตัวได้อย่างปลอดภัยและง่ายดาย ซึ่งนั่นจะทำให้การปรับใช้คลาวด์เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น สามารถลดต้นทุนได้อย่างมาก และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบได้ดีขึ้นกว่าเดิม

ทั้งนี้ Deep Security 8.0 และ SecureCloud 2.0 จะทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเฟรมเวิร์กการรับรู้เชิงบริบทที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องของศูนย์ข้อมูลแบบไดนามิก