เนื้อหาวันที่ : 2011-11-02 14:23:20 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2541 views

ต่างชาติเชื่ออุตฯ ยานยนต์ไทยฟื้นเร็ว แนะหาซัพพลายเออร์ทดแทนลดผลกระทบ

กลุ่มอุตฯ ยานยนต์ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน มั่นใจไทยยังคงเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์ในภูมิภาค น้ำท่วมกระทบแค่ระยะสั้น แนะ 3 แนวทางฟื้นฟูปัญหาซัพพลายเชน

          กลุ่มอุตฯ ยานยนต์ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน มั่นใจไทยยังคงเป็ศูนย์กลางผลิตรถยนต์ในภูมิภาค น้ำท่วมกระทบแค่ระยะสั้น แนะ 3 แนวทางฟื้นฟูปัญหาซัพพลายเชน

          ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก เปิดเผยว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในไทยหลายรายจะสามารถกลับมาผลิตรถยนต์ได้อีกครั้งในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้

          มร. วิเวก ไวยา ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ได้ให้ความเห็นว่า บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิจำกัด ซึ่งได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดนั้นคาดว่าจะกระทบกับยอดการผลิตร 10,000-15,000 คัน ในระหว่างที่มีการปิดโรงงานไปกว่า 5 สัปดาห์

ขณะที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ รายใหญ่ในประเทศอย่างโตโยต้าและอีซูซุนั้นได้รับผลกระทบทางอ้อมคือการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต เนื่องจากมีโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมด้วย คาดว่าในส่วนของโตโยต้านั้นจะสูญเสียการผลิตราว 30,000-35,000 คัน ส่วนอีซูซุนั้นจะ สูญเสียการผลิตราว 10,000-15,000 คัน

          “และหากผู้ผลิตรถยนต์หลายรายยังไม่สามารถกลับมาผลิตรถยนต์ได้ตามปกติภายใน 2-3 สัปดาห์นี้ คาดว่าไทยจะสูญเสียกำลังการผลิตรวมประมาณ 80,000-100,000 คัน แต่ก็คาดว่าผู้ผลิตก็น่าจะสามารถกลับมาเพิ่มกำลังการผลิตทดแทนได้ ด้วยการเพิ่มชั่วโมงการทำงานและใช้กำลังการผลิตในโรงงานทุกแห่งอย่างเต็มที่ในช่วงระยะเวลา 2 เดือนจนถึงสิ้นปีนี้” มร. ไวยากล่าว

          ส่วนผลกระทบต่อการส่งออกในตลาดต่างประเทศนั้น ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการส่งออกราว 54-55% ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ มีการส่งออกในประเทศออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ยุโรป, ตะวันออกกลาง, เม็กซิโก, แอฟริกาใต้ และบรูไน โดยรุ่นรถที่จะถูกส่งออกจากผู้ผลิตในไทยที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม เช่น ฮอนด้า แจ๊ซ, ซีวิค, ซิตี้ และแอคคอร์ด รวมถึง รถกระบะไฮลักซ์ของโตโยต้าด้วย

          ทั้งนี้ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากการเกิดน้ำท่วม เป็นเหตุผลหลักสำหรับผู้ผลิตจำนวนมากที่ต้องหยุดสายการผลิตรถยนต์ จึงได้มีการเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูปัญหาของซัพพลายเชน ด้วยการหาแนวทาง 3 ข้อคือ การเพิ่มระยะเวลาการสต๊อกชิ้นส่วนเพื่อให้ผู้ผลิตมีสต๊อกเพียงพอสำหรับอย่างน้อย 1 เดือน หากมีการหยุดชะงักใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาชิ้นส่วน

          การใช้กลยุทธ์การจัดหาชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์หลายแหล่งที่ไม่เพียงแต่จากซัพพลายเออร์หลายบริษัทเท่านั้น แต่ควรจะเลือกใช้ซัพพลายเออร์จากหลายภูมิภาคเพื่อช่วยลดผลกระทบลงหากสถานการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นอีกครั้ง และสุดท้ายคือการลดความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนด้วยการเลือกสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติน้อย

          อาทิ ผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่นที่ได้ไปลงทุนในต่างประเทศที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติน้อย โดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศที่ไปตั้งฐานการผลิตราว 80-90% ส่วนชิ้นส่วนอื่น ๆ อาจจะนำเข้าจากญี่ปุ่นหรือประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคแทน

          "การผลิตรถยนต์ในประเทศไทย จะได้รับผลกระทบในระยะสั้น ซึ่งเกิดจากการขาดชิ้นส่วนรถยนต์ซึ่งเป็นผลมาจากน้ำท่วม แต่ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในระยะกลางถึงระยะยาว ทำให้ประเทศไทยยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคนี้"