เนื้อหาวันที่ : 2011-09-27 16:50:43 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 2005 views

พิชัย ชูธงไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานทดแทนในอาเซียน

พิชัย รมว.พลังงาน ระบุอาเซียนปักธงปี 58 พัฒนาพลังงานทดแทนได้ถึง 15% โชว์ศักยภาพไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนอาเซียน

          พิชัย รมว.พลังงาน ระบุอาเซียนปักธงปี 58 พัฒนาพลังงานทดแทนได้ถึง 15% โชว์ศักยภาพไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนอาเซียน

          “พิชัย” ชูธงไทยเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานทดแทนในอาเซียน พร้อมติดตามความคืบหน้าความร่วมมือด้านพลังงานหลัก เตรียมพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดประชุม World Economic Forum ปีหน้า 

          นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากการที่ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงาน ครั้งที่ 29 (ASEAN Ministers on Energy Meeting : AMEM) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-21 กันยายน 2554 ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาราม ได้มีการหยิบยกประเด็นว่าอาเซียนมีศักยภาพด้านพลังงานทดแทนสูงมาก

โดยอาเซียนได้ตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาพลังงานทดแทนให้ได้ถึง 15% ภายในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่รวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) โดยจากการตั้งเป้าหมายดังกล่าว จะถือเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้เป็นศูนย์กลางด้านพลังงานทดแทน (Biofuel Regional Hub) ของอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยมีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพ ด้านกำลังการผลิตและการกลั่นที่อยู่ในระดับสูง อีกทั้งประเทศไทยยังตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สะดวกต่อการขนส่งในภูมิภาคอีกด้วย

“สำหรับศักยภาพพลังงานทดแทนที่เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาเป้าหมายพลังงานทดแทนในอาเซียน ปี 2558 ได้ครอบคลุมถึง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานใต้พิภพ พลังงานชีวมวล และพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ ผมมีความเชื่อว่าประเทศไทยของเราพร้อมเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่ และการดำเนินนโยบายด้านพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงานประเทศไทย ก็จะเป็นไปในแนวทางดังกล่าวด้วย” นายพิชัยกล่าว

          ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 29 ภายใต้วิสัยทัศน์ 2020 หรือ ความเชื่อมโยงด้านพลังงานในอาเซียน (ASEAN Connectivity) ถือเป็นเรื่องสำคัญและเป็นยุทธศาสตร์หลัก เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นกลุ่มประเทศผู้นำเข้าพลังงาน

โดยประเด็นสำคัญของ ASEAN Master Plan Connectivity ที่มีส่วนสำคัญในสาขาพลังงานอยู่ 2 โครงการ คือ โครงการเชื่อมโยงท่อก๊าซธรรมชาติอาเซียน (Trans ASEAN Gas Pipeline) และโครงการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าอาเซียน(ASEAN Power Grid : APG) ซึ่งมีแผนปฏิบัติงานความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน ปี 2553 - 2558 เป็นกรอบงานหลัก พร้อมทั้งระบุถึงความร่วมมือหลัก 7 ด้าน คือ ระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ท่อส่งก๊าซอาเซียน ประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานหมุนเวียน พลังงานนิวเคลียร์ การแบ่งปันข้อมูล และนโยบายและการวางแผน

          ทั้งนี้ การประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 29 ภายใต้วิสัยทัศน์ 2020 หรือ ความเชื่อมโยงด้านพลังงานในอาเซียน (ASEAN Connectivity) ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นยุทธศาสตร์หลัก เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีฐานะเป็นกลุ่มประเทศผู้นำเข้าพลังงานเป็นส่วนใหญ่

โดยประเด็นสำคัญของ ASEAN Master Plan Connectivity ที่มีส่วนสำคัญในสาขาพลังงานอยู่ 2 โครงการ คือ โครงการเชื่อมโยงท่อก๊าซธรรมชาติอาเซียน (Trans ASEAN Gas Pipeline) และโครงการเชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าอาเซียน(ASEAN Power Grid : APG) ซึ่งมีแผนปฏิบัติงานความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน ปี 2553 - 2558 เป็นกรอบงานหลัก พร้อมทั้งระบุถึงความร่วมมือหลัก 7 ด้าน คือ ระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ท่อส่งก๊าซอาเซียน ประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานหมุนเวียน พลังงานนิวเคลียร์ การแบ่งปันข้อมูล และนโยบายและการวางแผน

          นอกจากนี้ที่ประชุมได้ชื่นชมตัวชี้วัดความสำเร็จ 2 ประการสำคัญตามแผนปฏิบัติงานนี้ คือ จากเป้าหมายลดการใช้พลังงาน หรือความเข้มขันด้านพลังงาน (Energy Intensity: EI) ให้ได้ร้อยละ 8 ภายในปี 2553 (จากระดับการใช้พลังงานเมื่อปี 2548) อาเซียนได้ลดการใช้พลังงานไปแล้วร้อยละ 4.97 ซึ่งนับว่าเป็นความคืบหน้าที่เกินเป้าหมาย และในระยะยาว อาเซียนมีเป้าหมายลดความเข้มข้นด้านพลังงานลงร้อยละ 25 ภายในปี 2573

          สำหรับการประชุมร่วมกับประเทศคู่เจรจาทั้ง 8 ประเทศนั้น อาเซียนมุ่งการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการใช้พลังงานของตนเอง เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีความก้าวหน้าและเชี่ยวชาญด้านพลังสามารถให้คำปรึกษากับอาเซียนได้ ทั้ง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย รัสเซีย และ สหรัฐอเมริกา และอาเซียนยังจะลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานกับทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency - IEA) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือของ IEA ที่มีต่ออาเซียนในการดำเนินงานและบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติงานอาเซียน

โดยเนื้อหาหลักของ MOU นี้คือ การจัดทำ IEA’s Energy Technology Perspectives (ETP) 2012 และ Technology Prospects on the ASEAN Power Generation Sector ความร่วมมือ 2 เรื่องนี้จะช่วยให้อาเซียนได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน เพื่อช่วยในการพัฒนาและนำพลังงานสะอาดมาใช้ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มประเทศอาเซียน

          นอกจากนี้ประเทศไทยได้ใช้โอกาสนี้ในการแจ้งให้รัฐมนตรีพลังงานอาเซียนทราบว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม World Economic Forum on East Asia ในปี 2555 ซึ่งประเด็นด้านพลังงานถือเป็นหนึ่งในประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้