เนื้อหาวันที่ : 2011-09-26 09:29:48 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1946 views

นวัตกรรมด้านสังคมในภาครัฐเพื่อการสร้างอนาคตที่แข็งแกร่ง

การคาดการณ์ทั่วโลกเกี่ยวกับผลระยะยาวจากภาวะเศรษฐกิจขาลงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อพิจารณาภูมิภาคเอเชีย พบว่าภูมิภาคแห่งนี้มีแรงต้านทานที่ค่อนข้างสูง

โดย ไมเคิล ฮักสตรอม
รองประธานฝ่ายบริหาร
บริษัท แซส ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียแปซิฟิก

 
           การคาดการณ์ทั่วโลกเกี่ยวกับผลระยะยาวจากภาวะเศรษฐกิจขาลงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อพิจารณาภูมิภาคเอเชีย เราพบว่าภูมิภาคแห่งนี้มีแรงต้านทานที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเส้นทางการค้าสายใหม่ที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับออสเตรเลีย และวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคแห่งนี้อยู่ในระดับคงที่แล้ว ขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคยุโรปยังคงบอบช้ำกับวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นมุมมองที่ค่อนข้างแตกต่างกันอย่างเห็นได้อย่างชัด

           ด้วยลักษณะของการเชื่อมต่อถึงกันที่ครอบคลุมทั่วโลก จึงไม่มีประเทศใดที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากภาวะเกือบล่มสลายของสถาบันการเงินระดับโลก แม้ว่าภูมิภาคดังกล่าวจะมีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหรือรู้สึกว่าได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากภาวะเศรษฐกิจขาลงดังกล่าว แต่ก็ยังคงต้องใช้เวลานานในการตัดสินใจเชิงนโยบายโดยพิจารณาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่เกี่ยวข้องกับความยุ่งยากที่คุณประสบ แต่ผู้ที่จะสามารถประสบความสำเร็จได้ในอนาคตนั้นจะต้องเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้และเข้าถึงระบบโลกาภิวัฒน์ ความต้องการของประชาชน และความเป็นจริงเชิงเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลง

โดยรวมแล้ว ขณะนี้เราพบว่ารัฐบาลต่างๆ ทั่วโลกกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่เหมือนกันหลายประการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในโครงการที่เพิ่มสูงขึ้น ประชากรสูงอายุ ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่าเดิม แรงกดดันที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาล ความโปร่งใส และการสร้างความเชื่อถือขึ้นใหม่ ตลอดจนความต้องการที่เพิ่มขึ้นในบริการของภาครัฐและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการปฏิรูปครั้งสำคัญในด้านการศึกษาและสาธารณสุข ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นท่ามกลางรายได้จากภาษีที่ลดลงและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด

เราต้องการนวัตกรรม ไม่ใช่การช่วยเหลือตามสถานการณ์
          ผู้นำรัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างดีที่สุดในการคาดการณ์แนวโน้มต่างๆ และความต้องการในอนาคต แต่เนื่องจากแรงกดดันที่มีอยู่ ทำให้หน่วยงาน กระทรวง และคณะรัฐมนตรีต้องตอบสนองต่อความไม่แน่นอนเหล่านั้นด้วยวิธีการที่หลากหลาย

การตอบสนองทางบวกเบื้องต้นจะอยู่ในรูปของการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้นและการตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่รวดเร็วโดยไม่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงการจัดเตรียมเทคโนโลยีที่สำคัญที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ในระยะยาว แนวทางแก้ไขเหล่านี้มักจะถูกใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นและเป็นสิ่งที่ผมเรียกว่า Social Innovation 1.0

จากประสบการณ์ของผม หน่วยงานภาครัฐมีการกระทำเพื่อต่อสู้กับวิกฤตการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งในสามแนวทางดังนี้
          1. ประเทศที่มีปฏิกิริยาตอบสนองแบบฉับพลัน (Knee-Jerk Reactions) ที่ตอบสนองด้วยโครงการที่ไม่แน่นอนหรือการกำหนดแนวทางที่ช่วยบรรเทาความวิตกกังวล แม้ว่าการกระทำเหล่านี้จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริการสำหรับพลเมืองหรือความสามารถในการแข่งขันของประเทศก็ตาม

          2. รัฐบาลที่มีแนวทางรอดู แล้วค่อยดำเนินการ (Wait-and-See Approach) ภายใต้แนวคิดที่ว่าทุกอย่างจะสามารถดำเนินการได้อย่างปกติเมื่อรอให้สถานการณ์กลับคืนเป็นปกติเสียก่อน พวกเขาไม่ยอมรับความปกติที่ใหม่และไม่ยอมรับว่าเวลาที่ผ่านไปแล้วจะไม่กลับคืนมา โดยในความเป็นจริงแล้ว ปัจจุบันคือการเริ่มต้นมาตรฐานใหม่ที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจโลกแบบใหม่หรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจดิจิตอลนั่นเอง

          3. ประเภทที่สามคือการที่ผู้นำและรัฐบาลใช้ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสในการสร้างอนาคตที่เข้มแข็งกว่าเดิม (Build for a Stronger Future) และเตรียมพร้อมให้การสนับสนุนความต้องการของประชาชนที่จะเกิดเพิ่มขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย

          จะเห็นได้ว่าทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา รัฐบาลที่จัดอยู่ในประเภทที่สามจะมีบางสิ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ พวกเขาได้เริ่มลงทุนในเศรษฐกิจดิจิตอลและกำลังใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ ผมเชื่อว่าการวิเคราะห์จะเปิดประตูสู่ยุคดิจิตอล การวิเคราะห์จะช่วยให้รัฐบาลและองค์กรต่างๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจนเสริมสร้างความสามารถของบุคคลากรและองค์กรโดยรวมให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม

          ฉบับล่าสุดของ Intelligence Quarterly ได้รวมตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมจำนวนมากของการใช้การวิเคราะห์สำหรับการสร้างอนาคตที่เข้มแข็งกว่าเดิม นั่นคือ
          การพยากรณ์การใช้พลังงานของประเทศและการลดการโกงภาษีในแอฟริกาใต้
          การบรรลุแนวทางที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศในกรุงเฮก
          การลดค่าใช้จ่ายสาธารณะได้อย่างมากในเดนมาร์ก
          การลดจำนวนผู้บาดเจ็บและการลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขในสวีเดน

นวัตกรรมทางสังคมและการปฏิรูปรัฐบาล
          เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม เจ้าหน้าที่รัฐบาลทั่วโลกจึงต้องการนวัตกรรมในรูปของโซลูชั่นที่สามารถรวมเอาทุกสิ่งเข้าไว้ด้วยกันได้ ในการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ได้ยอมรับศักยภาพที่การวิเคราะห์สามารถมีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ด้วยการตีพิมพ์รายงานล่าสุดเรื่อง Enabling Transformation: Information and Communication Technologies and the Networked Society ซึ่งระบุว่า

          เนื่องจากโลกของเรามีการเชื่อมต่อถึงกันเพิ่มมากขึ้น ศักยภาพในการสร้างมูลค่ารูปแบบใหม่ จึงขยายตัวอย่างมากเนื่องจากจะมีบุคคลและอุปกรณ์ใหม่ๆ เชื่อมต่อเข้ามา...ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับความสามารถของระบบโครงข่ายไฟฟ้า การทำนายการจราจรติดขัดก่อนที่จะเกิดขึ้น หรือการเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพการไหลของข้อมูลระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ โดยไอซีทีได้ถูกกำหนดให้เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับสังคมคาร์บอนต่ำ (low-carbon) ที่มีการปฏิรูป

          ความท้าทายของคุณในฐานะผู้นำคือการให้ความสำคัญกับการเดินหน้าในลักษณะเชิงรุกและการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ด้วยการมองปัญหาที่มีอยู่ให้เป็นโอกาสในการสร้างอนาคตที่ดีขึ้น

          เมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุคแห่งดิจิตอลด้วยขีดความสามารถที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม โดยที่ทุกคนต่างพกพาอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้ และองค์กรกำลังท่วมท้นไปด้วยข้อมูลที่มีปริมาณเกินความสามารถในการจัดเก็บที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ การวิเคราะห์จะกลายเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับการปฏิรูปรัฐบาลและการก้าวเข้าสู่ยุค Social Innovation 2.0

          Social Innovation 2.0 ในความหมายของผมก็คือยุคที่มีรัฐบาลสามารถใช้การวิเคราะห์เพื่อจัดเตรียมการสนทนาแบบเรียลไทม์กับประชาชนแต่ละคนและกับประชาชนทุกๆ คน โดยที่ความเข้าใจถึงความต้องการของประชาชนนั้นจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่รายงานและตัวเลขเท่านั้น แต่จะคลอบคลุมในทุกเรื่องและเชื่อถือได้ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการใช้การวิเคราะห์เพื่อผลักดันความเข้าใจอย่างแท้จริงให้กลายเป็นความต้องการของประชาชน โดยเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพและไม่กระทบต่อประสิทธิผลที่จะเกิดขึ้น

          เป้าหมายสูงสุดคือการตอบสนองความต้องการของประชาชนและการคาดการณ์โดยที่เกิดความสูญเสียและการรั่วไหลให้น้อยที่สุด ตลอดจนมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น จะเห็นได้ว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับประชาชนที่แนบแน่นยิ่งขึ้นและความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนที่ดีขึ้นนั้นสามารถช่วยบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้ อีกทั้งยังจะเป็นการให้ความสำคัญกับเสียงของประชาชนและทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับรัฐบาลในการใช้ประโยชน์แนวความคิดจากประชาชนได้อย่างเต็มที่

เรียนรู้จากภาคเอกชน
          จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถปรับปรุงมาตรการด้านสาธารณสุขในเชิงป้องกันและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถอยู่นอกโรงพยาบาลได้ยาวนานขึ้นด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถตอบสนองเชิงรุกต่ออุปสงค์และอุปทานด้านพลังงานของเราในระดับจุลภาคที่จะช่วยให้มีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นได้โดยที่ลดการผลิตให้น้อยลง จะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถจัดการภัยก่อการร้ายในลักษณะเดียวกันกับที่เราจัดการการทุจริตทางการเงินและลดการคัดกรองที่สนามบินในแนวทางเดียวกับที่เราระงับการทำธุรกรรมของบัตรเครดิต

          รัฐบาลสามารถเรียนรู้ได้จากแนวทางที่ภาคเอกชนได้นำมาใช้ นั่นคือการใช้การวิเคราะห์ จะเห็นได้ว่าการตอบสนองลูกค้าแต่ละรายได้ในเวลาจริง การปรับใช้ซัพพลายเชนให้เหมาะสม การจัดการความเสี่ยง และการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน คือแนวทางทั้งหมดที่บริษัทเอกชนสามารถปรับใช้ได้อย่างสำเร็จ และรัฐบาลสามารถเอาไปเป็นแบบอย่างผ่านการสร้างนวัตกรรมและเป็นพันธมิตรร่วมระหว่างรัฐกับเอกชนได้

          สิ่งสำคัญที่สุดไม่เพียงแต่การได้รับข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับประชาชน แต่ยังป็นการใช้ข้อมูลและความรู้เหล่านั้นอย่างชาญฉลาดและเป็นธรรมในการดำเนินการและยกระดับสังคมให้ดียิ่งขึ้น ผมตื่นเต้นที่ได้เห็นรัฐบาลหลายแห่งใช้การวิเคราะห์เป็นตัวขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคดิจิตอล และผมตื่นเต้นที่ได้เห็นผู้นำในจำนวนที่มากขึ้นได้กลายเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านการวิเคราะห์ พวกเขาไม่ใช่รัฐบาลที่อยู่ในกลุ่มรอดูสถานการณ์ก่อนที่จะลงมือทำ หรือมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉับพลันต่อสภาพการณ์ปัจจุบัน แต่พวกเขากำลังใช้การวิเคราะห์เพื่อเริ่มสร้างอนาคตที่ดีขึ้นแล้วในตอนนี้

          เนื่องจากเศรษฐกิจโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงและได้เปิดประตูไปสู่สิ่งที่เรียกว่า เศรษฐกิจดิจิตอลใหม่ ผู้นำประเทศจึงต้องแน่ใจให้ได้ว่าประชาชนของตนมีความปลอดภัย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการวางแผนการตอบสนองที่เหมาะสมต่อความท้าทายด้านประชากรที่มีการเปลี่ยนแปลง และการบังคับใช้กฎระเบียบอย่างเหมาะสม อีกทั้งยังต้องสามารถกำจัดปัญหาเรื่องความไร้ประสิทธิภาพที่มีอยู่ให้หมดสิ้นไปได้ด้วย จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์สามารถเป็นจุดเข้าถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีพร้อมอยู่แล้วได้

          ด้วยความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ จะทำให้ผู้นำรัฐบาลไม่เพียงแต่สามารถกำจัดความไร้ประสิทธิภาพที่มีอยู่ในขณะนี้ออกไปได้ แต่ยังเป็นการปฏิรูปภาครัฐและเตรียมเศรษฐกิจท้องถิ่นให้มีความพร้อมด้านการแข่งขัน อีกทั้งยังสามารถดำเนินการได้ในแนวทางที่โปร่งใสและครอบคลุมที่จะนำไปสู่ความไว้วางใจและความศรัทธาได้ในอนาคต

          ในขณะที่อนาคตกำลังคืบคลานเข้ามา ความเป็นผู้นำและสำนึกแห่งนวัตกรรมของคุณจะเป็นคำตอบ