เนื้อหาวันที่ : 2011-09-20 09:17:02 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3067 views

ยอดขายรถเดือน ส.ค. เพิ่ม 20% ยอดค้างจองอื้อ

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยสถานการณ์ตลาดรถยนต์ยอดขายเดือน ส.ค. พุ่งเฉียด 8 หมื่นคัน รวม 8 เดือนเพิ่ม 19.6% ขณะที่ยอดค้างจองยังเหลืออีกเพียบ

          โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย เปิดเผยสถานการณ์ตลาดรถยนต์เดือน ส.ค. พุ่งเฉียด 8 หมื่นคัน รวม 8 เดือนเพิ่ม 19.6% ขณะที่ยอดค้างจองยังเหลืออีกเพียบ

          นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนสิงหาคม 2554 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 79,043 คัน เพิ่มขึ้น 20.3% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 35,545 คัน เพิ่มขึ้น 26.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 43,498 คัน เพิ่มขึ้น 15.7% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 37,309 คัน เพิ่มขึ้น 14.8%

ประเด็นสำคัญ
          1.) ตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม มีปริมาณการขาย 79,043 คัน เพิ่มขึ้น 20.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 35,545 คัน เพิ่มขึ้น 26.4% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่มีปริมาณการขาย 43,498 คัน เพิ่มขึ้น 15.7% เป็นผลจากค่ายรถญี่ปุ่นซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ในประเทศไทยมากกว่า 85% ได้เพิ่มกำลังการผลิตเพื่อเร่งส่งมอบรถค้างจองให้เร็วขึ้น อย่างไรก็ดีรถยนต์รุ่นใหม่ที่เพิ่งแนะนำเข้าสู่ตลาดและรถยนต์รุ่นยอดนิยม ยังคงมียอดค้างจองอยู่เป็นจำนวนมาก

          2.) ตลาดรถยนต์สะสม 8 เดือนแรก มีปริมาณการขาย 583,958 คัน เพิ่มขึ้น 19.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 24.3% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น16.1% เป็นผลมาจากความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ กำลังซื้อของผู้บริโภคที่อยู่ในเกณฑ์ดีสะท้อนจากราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัว อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ และการขยายตัวของสินเชื่อทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน

          3.) ตลาดรถยนต์ในเดือน กันยายน ยังคงเติบโตต่อเนื่อง จากการเพิ่มกำลังการผลิตของค่ายรถญี่ปุ่น ความนิยมต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่ และมาตรการลดภาษีรถยนต์คันแรกที่มีผลบังคับใช้ทันที แต่ทั้งนี้ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศอาจส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ได้

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนสิงหาคม 2554
          1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 79,043 คัน เพิ่มขึ้น 20.3%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 32,108 คัน เพิ่มขึ้น 18.9% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,104 คัน เพิ่มขึ้น 13.0% ส่วนแบ่งตลาด 16.6%
         
          2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 35,545 คัน เพิ่มขึ้น 26.4%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,756 คัน เพิ่มขึ้น 41.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.3%
          อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,990 คัน ลดลง 23.3% ส่วนแบ่งตลาด 19.7%
          อันดับที่ 3 นิสสัน 4,254 คัน เพิ่มขึ้น 62.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%

          3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 37,309 คัน เพิ่มขึ้น 14.8%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,328 คัน ลดลง 1.8% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,194 คัน เพิ่มขึ้น 14.1% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,973 คัน เพิ่มขึ้น 132.1% ส่วนแบ่งตลาด 16.0%
          *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,359 คัน
          มิตซูบิชิ 1,804 คัน - โตโยต้า 1,515 คัน- อีซูซุ 973 คัน - ฟอร์ด 67 คัน

          4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 32,950 คัน เพิ่มขึ้น 12.4%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,813 คัน ลดลง 1.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,221 คัน เพิ่มขึ้น 11.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,169 คัน เพิ่มขึ้น 149.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.7%

          5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 43,498 คัน เพิ่มขึ้น 15.7%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,352 คัน เพิ่มขึ้น 3.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,104 คัน เพิ่มขึ้น 13.0% ส่วนแบ่งตลาด 30.1%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,973 คัน เพิ่มขึ้น 132.1% ส่วนแบ่งตลาด 13.7%
 
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – สิงหาคม 2554
          1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 583,958 คัน เพิ่มขึ้น 19.6%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 216,404 คัน เพิ่มขึ้น 9.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.1%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 105,144 คัน เพิ่มขึ้น 12.0% ส่วนแบ่งตลาด 18.0%
          อันดับที่ 3 ฮอนด้า 60,879 คัน ลดลง 15.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%

          2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 261,332 คัน เพิ่มขึ้น 24.3%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 104,914 คัน เพิ่มขึ้น 24.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.1%
          อันดับที่ 2 ฮอนด้า 56,778 คัน ลดลง 13.6% ส่วนแบ่งตลาด 21.7%
          อันดับที่ 3 นิสสัน 32,265 คัน เพิ่มขึ้น 84.8% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%

          3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 277,174 คัน เพิ่มขึ้น 17.0%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 100,187 คัน ลดลง 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 96,161 คัน เพิ่มขึ้น 10.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 41,508 คัน เพิ่มขึ้น 131.6% ส่วนแบ่งตลาด 15.0%
          *ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 27,685 คัน
          มิตซูบิชิ 12,727 คัน - โตโยต้า 9,167คัน - อีซูซุ 5,149 คัน - ฟอร์ด 642 คัน

          4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 249,489 คัน เพิ่มขึ้น 17.4%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 91,020 คัน เพิ่มขึ้น 2.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 91,012 คัน เพิ่มขึ้น 9.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 28,781 คัน เพิ่มขึ้น 159.5% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%

          5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 322,626 คัน เพิ่มขึ้น 16.1%
          อันดับที่ 1 โตโยต้า 111,490 คัน ลดลง 1.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
          อันดับที่ 2 อีซูซุ 105,144 คัน เพิ่มขึ้น 12.0% ส่วนแบ่งตลาด 32.6%
          อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 41,509 คัน เพิ่มขึ้น 131.6% ส่วนแบ่งตลาด 12.9%